ศาสดาองค์สุดท้าย (คอตะมุนนะบียีน)

ศาสดาองค์สุดท้าย (คอตะมุนนะบียีน)

ถ้าหากพิจารณาถึงความเป็นนิรันดรของศาสนาอิสลามแล้ว เท่ากับเป็นการปฏิเสธข้อสมมุติฐานที่ว่าอาจมีการแต่งตั้งศาสดาองค์อื่นลงมาเพื่อยกเลิกบทบัญญัติอิสลาม ทว่าข้อคลางแคลงเหล่านี้จะหมดไปกล่าวคือ มีศาสดาองค์อื่นถูกประทานลงมาและได้ทำหน้าที่ยกเลิกศาสนาอิสลาม ดังเช่นที่มีศาสดาจำนวนมากก่อนเว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลามหน้านี้มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งที่ศาสดาในบางสมัย ได้อยู่ร่วมกับศาสดาที่เป็นเจ้าของบทบัญญัติ เช่น ศาสดาลูฏอยู่ร่วมสมัยกับศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และท่านได้ถือปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสดาอิบรอฮีม หรือศาสดาจำนวนมากได้ถูกแต่งตั้งลงมาหลังจากศาสดาที่เป็นเจ้าของบทบัญญัติ ซึ่งศาสดาเหล่านั้นได้ถือปฏิบัติตามบทบัญญัติของท่านศาสดาเหล่านั้น เช่น ศาสดาในวงศ์วานของบนีอิสรออีลเป็นต้น ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องกล่าวถึงการเป็นศาสดาองค์สุดท้ายของศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เป็นประเด็นที่แยกออกไปต่างหาก เพื่อมิให้ข้อสงสัยดังกล่าวหลงเหลืออีกต่อไป

เหตุผลของอัล-กุรอานที่บ่งบอกถึงการเป็นศาสดาสุดท้าย

หนึ่งในความจำเป็นของศาสนาอิสลามก็คือ สายโซ่แห่งการเป็นศาสดาของบรรดาศาสดาได้สิ้นสุดลงที่ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) โดยที่หลังจากท่านแล้วจะไม่มีศาสดาองค์ใดถูกแต่งตั้งลงมาอีก ซึ่งศาสนิกอื่นก็ทราบเป็นอย่างดีถึงประเด็นดังกล่าวและรู้ว่าการเป็นศาสดาองค์สุดท้ายของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เป็นหลักการของอิสลามซึ่งมุสลิมทั้งหลายต้องเชื่อในประเด็นดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ความเชื่อดังกล่าวจึงเป็นหนึ่งในความจำเป็นของศาสนาที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยการพิสูจน์แต่อย่างใด ขณะเดียวกันประเด็นที่กล่าวถึงนี้ยังสามารถพิสูจน์ได้ด้วยโองการและรายงานที่เชื่อได้ต่าง ๆ เช่น โองการทีกล่าวว่า

มุฮัมมัดมิได้เป็นบิดาของผู้ใดในหมู่บุรุษของพวกเจ้า แต่เป็นเราะซูลของอัลลอฮฺ และเป็นนบีองค์สุดท้ายแห่งบรรดานบี (1) ซึ่งโองการนี้ได้กล่าวแนะนำว่าท่านศาสดามุฮัมมัดเป็นบรมศาสดาและเป็นศาสดาองค์สุดท้าย

ศัตรูอิสลามบางคนกล่าวแย้งถึงการเป็นศาสดาองค์สุดท้ายของท่านมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ไว้สองประเด็นคือ

ประการที่ 1 คำว่า คอตัม นั้นหมายถึงแหวนซึ่งบางที่จุดประสงค์ของโองการอาจหมายถึงแหวนจริง ๆ ก็ได้

ประการที่ 2 สมมุติว่าคำว่า คอตัม นั้นได้มีความหมายตามที่กล่าวมา ความหมายของโองการก็น่าจะหมายถึงการอธิบายความต่อเนื่องของการเป็นศาสดา โดยท่านศาสดาองค์สุดท้ายมิได้หมายถึงความสิ้นสุดความต่อเนืองของการเป็นเราะซูล

คำตอบที่หนึ่ง การที่กล่าวว่า คอตัม นั้นหมายถึงแหวน หมายถึงสื่อหรือเครื่องมือที่ทำให้สิ้นสุดบริบูรณ์นั่นเอง ดังนั้น คำว่า แหวน ในบางครั้งก็ถูกกล่าวเรียกว่าสื่อของความจบบริบูรณ์ หรือเป็นสื่อที่ทำให้สิ้นสุดลง เช่น จดหมาย สาร หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันเมื่อลงตราหัวแหวนกำกับลงไป เท่ากับว่าเป็นการบ่งบอกถึงการจบสิ้นใจความของจดหมายหรือสารนั้น

คำตอบที่สอง บรรดาเราะซูลทุกท่านย่อมอยู่มีฐานะการเป็นนบีโดยปริยาย ดังนั้น เมื่อสภาวะการเป็นนบีสิ้นสุดลงสภาวะการเป็นเราะซูลก็สิ้นจะสุดลงด้วยเช่นกัน ดังที่กล่าวผ่านมาแล้วในบทเรียนที่ 29 ถึงแม้ว่าความเข้าใจคำว่า นบี จะไม่ครอบคลุมเหนือการเป็นเราะซูลก็ตาม ทว่าในทัศนะหนึ่งนบีมีฐานะครอบคลุมเหนือการเป็นเราะซูล

เหตุผลของรายงานที่บ่งบอกถึงการเป็นศาสดาสุดท้าย

 เหตุผลที่บ่งบอกถึงการเป็นศาสดาองค์สุดท้ายของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) มีรายงานจำนวนมากมายกล่าวเน้นย้ำและรับรองประเด็นดังกล่าวไว้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือฮะดีซมันซิลัต (2) ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺเชื่อว่ารายงานดังกล่าวเป็นรายงานที่เชื่อถือได้ ซึ่งรายงานมาจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยที่ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยใด ๆ ในความถูกต้องของรายงาน

เมื่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ได้ยกทัพทำสงครามตะบูกนอกเมืองมะดีนะฮฺ ท่านได้มอบหมายงานการดูแลนครมะดีนะฮฺให้อยู่ในความรับชอบของท่านอะลี (อ.) โดยมอบให้ท่านอะลีเป็นผู้ดุแลกำกับการภารกิจต่าง ๆ ของบรรดามุสลิมแทนท่านในขณะนั้น ซึ่งทำให้ท่านอะลีมิได้มีโอกาสเข้าร่วมสงครามดังกล่าว อันเป็นสาเหตุทำให้ท่านเกิดความเสียใจและหลั่งน้ำตาออกมาจากนัยนาทั้งสอง ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) จึงได้กล่าวแก่ท่านอะลีว่า

اَمَا تَرْضَي اَن تَكُوْنَ مِنِّي بِمَنْزِلَهِ هَارُون مِنْ مُوْسَي اِلَّا اَنّه لا نبي بعدي

เจ้าไม่พอใจดอกหรือที่เจ้าอยู่ในฐานะเดียวกันกับฉัน ในฐานะของฮารูนกับมูซา

หลังจากนั้นท่านได้กล่าวประโยคนี้อย่างฉับพลันว่า จะมีความแตกต่างกันตรงที่ว่าภายหลังจากฉันแล้ว จะไม่มีนบีองค์ใด้ได้รับการแต่งตั้งลงมาอีก เพื่อประชาชนจะได้ไม่มีความสงสัยเคลือบแคลงในประเด็นดังกล่าวอีกต่อไป

ในรายงานอื่นจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า โอ้ ประชาชาติเอ๋ยจะไม่มีนบีองค์ใดหลังจากฉัน และจะไม่มีประชาชาติใดหลังจากพวกเจ้า (3)

อีกรายหนึ่งจากท่านศาสด (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า โอ้ บรรดาประชาชาติทั้งหลายจะไม่มีองค์ใดภายหลังจากฉัน และจะไม่มีแบบฉบับใดอีกหลังจากแบบฉบับของฉัน (4)

นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ 1, 69, 83, 87, 129, 168, 193, 230 กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวได้ และยังมีรายงานอื่น ๆ ตลอดจนบทดุอาอฺ และบทซิยาเราะฮฺจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ที่กล่าวเน้นถึงประเด็นดังกล่าวไว้ (การเป็นศาสดาองค์สุดท้าย) ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะกล่าวในที่นี้ทั้งหมด

ความเร้นลับของสภาวะสิ้นสุดการเป็นศาสดา

ดังที่กล่าวไปแล้ว ว่า วิทยปัญญาของการมีศาสดาจำนวนมากมาย และการถูกแต่งตั้งลงมาอย่างต่อเนื่องของศาสดาเหล่านั้นในช่วงเวลาต่างยุคต่างสมัย ก็เพื่อเผยแผ่สาส์นของพระเจ้าตามจุดต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งประชาชาติมิได้ถูกจำกัดให้อยู่กับศาสดาเพียงองค์เดียวที่ทำการประกาศสั่งสอน อีกด้านหนึ่งการแพร่ขยายและความยุ่งยากในการสร้างความพันธ์ ตลอดจปรากฏการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม การกำหนดบทบัญญัติใหม่ ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ก่อนหน้านี้สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดยืนยันให้เห็นถึงความต้องการศาสดา อีกด้านหนึ่งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือการล่มสลายของหลักการ เนื่องจากการเวลาทีผ่านพ้นไปอย่างยาวนาน ประกอบการแทรกแซงของเหล่าทรชนคนโง่เขลาเบาปัญญา ความเห็นแก่ตัวความยะโสโอหังของประชาชาติในกลุ่มต่าง ๆ ที่ปรากฏอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้บ่งบอกให้เห็นว่าจำต้องมีการสอนสั่งอย่างถูกต้องของพระเจ้าโดยผ่านขบวนการของศาสดาทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ เงื่อนไขในการประกาศสาส์นของพระเจ้าแก่ประชาโลกโดยผ่านท่านศาสดา โดยได้รับความร่วมมือจากเหล่าสาวกและตัวแทนจึงเป็นสิ่งถูกต้อง ประกอบกับศาสนบัญญัติและกฎหมายเพียงฉบับเดียวนั้นไม่สามารถตอบปัญหาใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแน่นอน อีกทั้งคำพยากรณ์และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับปัญหาในแนวทางเหล่านั้น หลักประกันของการดำรงอยู่ของหลักการโดยปราศจากการแก่ไขเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ไม่จำเป็นต้องอาศัยการแต่งตั้งศาสดาองค์อื่นลงมา

แต่ความรู้ทั่วไปของมวลมนุษย์ไม่สามารถจำแนกเงือนไขเหล่านี้ได้ ซึ่งพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงรอบรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกาล พระองค์เท่านั้นที่สามารถประการสิ้นสุดการประทานศาสดา ขณะที่ภารกิจดังกล่าวได้ถูกกระทำและถูกชี้แจงไว้ในตอนท้ายของคัมภีร์แห่งฟากฟ้า

แต่การสิ้นสุดสภาวะการเป็นศาสดามิได้หมายถึงการตัดความสัมพันธ์ด้านการชี้นำ ระหว่างพระเจ้ากับหมู่ปวงบ่าวทั้งหลาย ทว่าเมื่อใดก็ตามที่พระองค์เล็งเห็นความเหมาะสม พระองค์สามารถดลวิชาการอันเร้นลับแก่บ่าวที่พระองค์ทรงประสวค์ มีความเหมาะสมและสามารถรองรับวิชาการเหล่านั้นได้ แม้ว่าวิชาการเหล่านั้นจะไม่ได้มาในรูปของวะฮฺยูหรือนบูวัตก็ตาม ดังหลักความเชื่อของชีอะฮฺที่ว่าหลักการและวิชาการต่าง ๆ ได้ถูกดลให้แก่บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ดังจะกล่าวอธิบายในบทต่อไปอินชาอัลลอฮฺ

ตอบข้อสงสัยบางประการ

จากคำอธิบายที่ได้กล่าวมาข้างต้นถึงเรื่องความเร้นลับในการสิ้นสุดสภาวะการเป็นนบี

ประการที่หนึ่ง ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) สามารถประกาศสาส์นของท่านให้ไปถึงมือประชาชนได้ด้วยการช่วยเหลือของเหล่าสาวก และบรรดาตัวแทนทั้งหลายของท่าน

ประการที่สอง ความบริสุทธิ์ของคัมภีร์อัล-กุรอานจากการถูกเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้านอันเป็นหลักประกันสำคัญ

ประการที่สาม บทบัญญัติของอิสลามสามารถเป็นคำตอบแก่ความต้องการของมนุษย์ชาติได้ จนถึงการอวสานของโลก

แต่อาจะป็นไปได้ว่าบางทีอาจมีผู้สร้างความแคลงใจเกี่ยวกับประเด็นสุดท้าย ดังเช่นในอดีตเคยเกิดความยุ่งยากในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม การวางรากฐานทางเศรษฐกิจ การกำหนดบทบัญญัติใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติก่อนหน้านั้น โดยเหตุนี้ พระเจ้าทรงแต่งตั้งศาสดาองค์ต่อมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ขณะที่ถ้าพระองค์ทรงแต่งตั้งศาสดาองค์ใหม่มาจริง จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและการล่มสลายของบทบัญญัติของศาสดามุฮัมมัดทันที ความสัมพันธ์ด้านสังคมก็จะทวีความยุ่งยากมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมิได้บ่งบอกถึงความต้องการในบทบัญญัติใหม่ ๆ ดอกหรือ

คำตอบ จำเป็นต้องกล่าวว่า ดังที่กล่าวผ่านมาแล้วว่าการกำหนดศาสนบัญญัติ หรือการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคม ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์อันเป็นรากฐานสำคัญของสังคมนั้น มิได้อยู่ในมือของมนุษย์ธรรมดาทั่วไป เนื่องจากเรามิได้มีความสามารถครอบคลุมเหนือเหตุปัจจัย วิทยปัญญาต่าง  ๆ และศาสนบัญญัติทั้งหลาย ทว่าเหตุผลแห่งความเป็นนิรันดรของศาสนาอิสลามและความเป็นศาสดาองค์สุดท้ายของศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ทำให้พบว่าสังคมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์อันเป็นพื้นฐานของอิสลามแต่อย่างใด

แน่นอน การพบเห็นปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม สิ่งเหล่านี้มิได้ปฏิเสธว่าไม่มีความต้องการในการกำหนดกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ ทว่าในบทบัญญัติของอิสลามสำหรับการกำหนดกฎเกณฑ์และรายละเอียดเหล่านี้ ได้ถูกกำหนดไว้ในหลักอุซูลและบทบัญญัติต่าง ๆ ที่ถูกนำเสนอไว้แล้ว ซึ่งปฐมบทของความเหมาะสมสามารถเป็นตัวกำหนดรากฐานสำคัญของกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านั้น และถ่ายทอดออกเป็นบทบัญญัติ ซึ่งคำอธิบายรายละเอียดของประเด็นดังกล่าว สามารถศึกษาได้จากหลักนิศาสตร์อิสลาม หมวดอำนาจของรัฐอิสลาม (อาจเป็นของอิมามมะฮฺซูมหรือวิลายะตุลฟะกีฮฺ)


อ้างอิง

[1] (อัล-กุรอาน บทอัล-อะฮฺซาบ โองการที่ 40)
[2] บิฮารุลอันวาร เล่ม  37 หน้า 254, 289, เซาะฮีบุคคอรียฺ เล่ม 3 หน้า 58, เซาะฮียฺมุสลิม เล่ม 2 หน้า 323, สุนันอิบนิมาญะฮฺ เล่ม 1 หน้า 28, มุสตัดร็อกอัลฮากิม เล่ม 3 หน้า 109, มุสนัดอะฮฺมัด อิบนิ ฮันบัล เล่ม 1 หน้า 331, เล่ม 2 หน้า 369, 437
[3] วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 1 หน้า 15, คิซอล เล่ม 1 หน้า 322. เล่ม 2 หน้า 487
[4] วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 18, หน้า 555, มันลายะเฎาะเราะฮุลฟะกีฮฺ เล่ม 4 หน้า 163, บิฮารุลอันวาร เล่ม 22 หน้า 531, กัชฟุลฆอมมะฮฺ เล่ม 1 หน้า 21

ขอขอบคุณเว็บไซต์อัชชีอะฮ์