ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 94 บทยุนุส

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 94 บทยุนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงการยืนยันความถูกต้องของอัลกุรอาน โดยชาวคัมภีร์ แต่หลังจากนั้นพวกเขาก็ตั้งความสงสัยขึ้นอีก โองการกล่าวว่า

94. فَإِن كُنْتَ فِي شَكٍّ مِمَّا أَنْزَلْنَا إِلَيْكَ فَسْأَلِ الَّذِينَ يَقْرَءُونَ الْكِتَابَ مِن قَبْلِكَ لَقَدْ جَاءَكَ الْحَقُّ مِن رَبِّكَ فَلَا تَكُونَنَّ مِنَ الْمُمْتَرِينَ‏

คำแปล :

94. หากจ้าอยู่ในการสงสัยในสิ่งที่เราได้ประทานลงมาแก่เจ้า ดังนั้น จงถามบรรดาผู้อ่านคัมภีร์ (แห่งพระเจ้า) ก่อนเจ้า แน่นอนยิ่ง สัจธรรมจากพระผู้อภิบาลของเจ้าได้มายังพวกเจ้าแล้ว ดังนั้น จงอย่าอยู่ในหมู่ผู้สงสัย

คำอธิบาย :

จงอย่าปล่อยให้ความลังเลสงสัยเกิดขึ้น

ในโองการที่ผ่านมาได้กล่าวถึงบางส่วนของชีวประวัติของบรรดาศาสดา และเรื่องราวของชนก่อนหน้านั้นไปแล้ว และอาจมีบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงบางส่วน และบรรดาผู้ปฏิเสธคำเชิญชวนของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) อยู่ในการสงสัยความถูกต้อง อัลกุรอานจึงเชิญชวนพวกเขาว่าถ้าหากต้องการสร้างความเข้าใจ และความถูกต้องของคำพูดเหล่านี้ ให้กลับไปพิจารณาคัมภีร์ของชาวคัมภีร์ทั้งหลาย ว่าเป็นอย่างไร และเป็นเพราะเหตุใดปัญหาต่างๆ เหล่านี้จึงบันทึกอยู่ในคัมภีร์ของพวกเขา

1. จากประเด็นนี้อัลกุรอานจึงได้เน้นย้ำว่า “แน่นอนยิ่ง สัจธรรมจากพระผู้อภิบาลของเจ้าได้มายังพวกเจ้าแล้ว” ด้วยเหตุนี้ “จงอย่าอยู่ในหมู่ผู้สงสัย”

อาจเป็นไปได้ว่า โองการข้างต้นได้วิพากในประเด็นใหม่และเป็นประเด็นที่มีความเป็นเอกเทศเกี่ยวกับ ความสัตย์จริงใจการเชิญชวนของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) โดยกล่าวแก่บรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหลาย “หากจ้าอยู่ในการสงสัยในสิ่งที่เราได้ประทานลงมาแก่เจ้า ดังนั้น จงถามบรรดาผู้อ่านคัมภีร์ (แห่งพระเจ้า) ก่อนเจ้า เช่น ภัมภีร์เตารอตและอินญิล ซึ่งได้ประทานแก่ชาวคัมภีร์ทั้งหลาย”

สาเหตุแห่งการประทานโองการ ซึ่งนักตัฟซีรบางท่าน (ตัฟซีรอบุลฟุตูฮฺ รอซียฺ เล่ม 6 หน้า 227 ตอนอธิบายโองการดังกล่าว) ได้กล่าวเอาไว้ ซึ่งได้สนับสนุนความหมายดังกล่าว กล่าวคือ มีผู้ปฏิเสธกลุ่มหนึ่งชาว กุเรช กล่าวว่า อัลกุรอานไม่ได้ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า ทว่าชัยฏอน ได้เอาสิ่งนี้มาให้มุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) คำพูดของเขาได้กลายเป็นสาเหตุทำให้คนบางกลุ่มมีความสงสัยเรื่องการถูกประทานลงมาของอัลกุรอาน อัลอลฮฺ จึงได้ประทานโองการข้างต้นลงมาเพื่อตอบข้อสงสัยของพวกเขา

2. ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ได้รับวะฮฺยูผ่านความปรีชาญาณ ซึ่งการสงสัยในความปรีชานั้นไม่มีความหมายแต่อย่างใด เนื่องจากบุคคลนั้นได้รับรู้ความจริงและแก่แท้ของความจริง ดังเช่นการรับรู้ถึงการมีอยู่ของตัวเอง ไม่มีผู้ใดสงสัยในการมีอยู่ของตน

ดังนั้น แม้ว่าโองการข้างต้นจะกล่าวถึงท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ท่านศาสดาไม่เคยมีความคลางแคลงสงสัยในวะฮฺยูแม้แต่น้อย ฉะนั้น กลุ่มชนอันเป็นเป้าหมายที่โองการกล่าวถึงคือ บรรดาผู้ปฏิเสธและตั้งภาคีเทียบเคียงทั้งหลาย เนื่องจากพวกเขามีความสงสัยในตัวท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอัลกุรอาน

3. ประเด็นสำคัญคือ โองการนี้ได้กล่าวด้วยประโยคที่เป็นเงื่อนไข โดยกล่าวว่า “ถ้าสูเจ้าอยู่ในการสงสัย” ซึ่งประโยคที่เป็นเงื่อนไขไม่ได้บ่งบอกให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีเงื่อนไขแต่อย่างใด ทว่าบางครั้งต้องการเน้นประเด็นเรื่องราว หรือต้องการอธิบายกฎเกณฑ์บางประการเท่านั้นเอง

อีกนัยหนึ่ง บุคคลที่อัลกุรอานกล่าวถึงคือ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) แต่จุดประสงค์ต้องการพาดพิงถึงบุคคลอื่น

บทเรียนจากโองการ :

1.เมื่อท่านเกิดความสงสัยคลางแคลงใจ จงถามผู้รู้

2. เมื่อความจริงได้ปรากฏขึ้นความสงสัยและความเท็จก็มลายไป

3.สัญลักษณ์ของความสัจจริงของอัลกุรอานและท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) สามารถค้นหาได้จากคัมภีร์ฟากฟ้าฉบับอื่น