เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที 99 บทยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที 99 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงความศรัทธาอันไม่ถูกยอมรับหรือความศรัทธาแบบเสียไม่ได้ โองการกล่าวว่า

99. وَلَوْ شَاءَ رَبُّكَ لَآمَنَ مَنْ فِي الْأَرْضِ كُلُّهُمْ جَميعاً أَفَأَنْتَ تُكْرِهُ النَّاسَ حَتَّى‏ يَكُونُوا مُؤْمِنِينَ‏

คำแปล  :

99. และมาตรว่าพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงประสงค์ แน่นอน ผู้ที่อยู่ในแผ่นดินทั้งมวลจะมีศรัทธา ดังนั้น เจ้าจะบังคับมวลชนจนพวกเขาจนกระทั่งพวกเขาเป็นผู้ศรัทธากระนั้นหรือ

คำอธิบาย :

ความศรัทธาแบบบังคับไร้มรรคผล

1. โองการนี้ได้ประทานลงมาเพื่อปลอบใจท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ว่าจงอย่าเสียใจต่อกลุ่มชนหนึ่งที่ไม่ศรัทธา เนื่องจากความศรัทธานั้นเป็นความจำเป็นของเจตคติเสรี และความอิสระ

2. โองการข้างต้นได้เตือนสำทับอีกครั้งหนึ่งว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาอย่างมีอิสรเสรี พระองค์ไม่ทรงประสงค์ที่จะบีบบังคับให้มนุษย์มีศรัทธาในศาสนา แม้แต่ศาสดา (ซ็อล ฯ) พระองค์ทรงกำชับให้หลีกเลี่ยงการบีบบังคับให้มวลชนมีศรัทธา

3. คำว่า อิกรอฮ์ หมายถึงมนุษย์ได้เป็นผู้สร้างเงื่อนไขหรือกำหนดให้บุคคลอื่นกระทำไปตามความต้องการของตน โดยที่บุคคลนั้นไม่เต็มใจกระทำ หรือบังคับให้ยอมรับในสิ่งหนึ่งโดยที่บุคคลนั้นไม่สมัครใจ แน่นอน ถ้าการมีศรัทธาของบุคคลหนึ่งเป็นเช่นนี้ จะถือว่าการศรัทธานั้นไม่มีค่าแต่อย่างใด เนื่องจากความศรัทธาของเขาไม่ได้เกิดจากความเต็มใจ หรือไม่ได้เกิดจากเจตจำนงเสรีนั่นเอง เพราะฉะนั้น ความศรัทธาและศาสนาเป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นจากใจ ไม่ใช่อาวุธยุทโธปกรณ์ที่จะใช้บีบบังคับผู้คนให้ยอมจำนน

บทเรียนจากโองการ :

1. อัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ทรงประสงค์ที่จะบีบบังคับผู้คนให้มีศรัทธา มิเช่นนั้นผู้คนก็จะกลายเป็นผู้มีศรัทธาทั้งหมด

2. จงอย่าบีบบังคับมวลชนให้มีศรัทธา เนื่องจากความศรัทธาที่เกิดจากการบีบบังคับเป็นศรัทธาที่ไม่ถูกตอบรับ ทว่าความศรัทธาต้องเกิดจากความรู้ และความอิสระจึงจะถือว่ามีคุณค่า

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม