เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 102 บทยูนุส

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน โองการที่ 102 บทยูนุส

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงเรื่องราวของชนก่อนหน้านั้น และภัยคุกคามจากบรรดาผู้ปฏิเสธ โองการกล่าวว่า

102. فَهَلْ يَنْتَظِرُونَ إِلَّا مِثْلَ أَيَّامِ الَّذِينَ خَلَوْا مِن قَبْلِهِمْ قُلْ فَانْتَظِرُوا إِنِّي مَعَكُم مِنَ الْمُنتَظِرِينَ‏

คำแปล :

102. พวกเขา (มุชริก) จะไม่คอยดูสิ่งใดนอกจากคอยดูเยี่ยงวันทั้งหลายของบรรดาผู้ที่ล่วงลับไปก่อนพวกเขา จงกล่าวเถิด จงคอยดูเถิด แท้จริงฉันจะเป็นคนหนึ่งคอยร่วมกับท่าน

คำอธิบาย :

หลังจากนั้นอัลกุรอานได้ใช้คำพูดในลักษณะของการคู่บังคับ แต่เป็นไปในลักษณะของการถามว่า กลุ่มชนที่ดื้อรั้นและอวดดีไร้ความศรัทธาเขาจะรอคอยอะไร นอกจากการรอคอยดูความพินาศ การลงโทษ และชะตากรรมอันเลวร้ายของชนรุ่นก่อน ที่ยโสโอหัง เช่น ฟิรเอานฺ หรือนิมรูดทั้งหลาย และบรรดาผู้ให้การช่วยเหลือ และศัตรูของเขา

ในสุดท้ายของโองการได้กล่าวเตือนพวกเขา โดยมีบัญชาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงกล่าวเถิดว่า เมื่อพวกเจ้าเป็นเช่นนี้ และไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมและความคิด พวกท่านก็จงรอคอยเถิด ซึ่งฉันก็จะร่วมคอยกับพวกเจ้าด้วย

พวกท่านเฝ้ารอคอยความล่มจมในการเชิญชวนไปสู่สัจธรรม เราก็รอคอยชะตากรรมอันเลวร้ายและการลงโทษอันเจ็บปวดสำหรับพวกท่าน ดังเช่นชะตากรรมของผู้ยโสในอดีตที่ผ่านมา

สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ คำถามในประโยคที่กล่าวว่า พวกเขาจะไม่คอยดูสิ่งใด เป็นคำถามในเชิงปฏิเสธ หมายถึงพวกเขาไม่ได้รอคอยสิ่งใดนอกจากชะตากรรมอันเลวร้ายเท่านั้น

 คำว่า อัยยาม  (วัน) แม้ว่าจะเป็นพหูพจน์ของคำว่า เยาม์ หมายถึงวัน แต่ในที่นี้หมายถึง เหตุการณ์อันเจ็บปวด ที่ได้เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของประชาชาติรุ่นก่อน

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม