ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 3

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 3

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงวัตถุประสงค์อื่นของอัลกุรอาน พร้อมกับการตักเตือนบรรดาผู้ที่เป็นปรปักษ์ทั้งหลาย โองการกล่าวว่า

3. وَأَنِ اسْتَغْفِرُوا رَبَّكُمْ ثُمَّ تُوبُوا إِلَيْهِ يُمَتِّعْكُم مَتاعاً حَسَناً إِلَى‏ أَجَلٍ مُسَمّىً وَيُؤْتِ كُلَّ ذِي فَضْلٍ فَضْلَهُ وَإِن تَوَلَّوْا فَإِنِّي أَخَافُ عَلَيْكُمْ عَذَابَ يَوْمٍ كَبِيرٍ

คำแปล :

3. และนั่นคือ พวกจงขอลุแก่โทษจากพระผู้อภิบาลของพวกท่าน แล้วจงกลับใจสู่พระองค์ เพื่อพวกท่านจะได้รับประโยชน์จากปัจจัยที่ดีไปจนถึงวาระที่ถูกกำหนดไว้ แล้วพระองค์ทรงประทานความโปรดปรานของพระองค์แก่ทุก ๆ ผู้มีความดี และหากพวกท่านผินหลังให้ ดังนั้น แท้จิรงแล้ว ฉันกลัวแทนพวกท่านซึ่งการลงโทษในวันอันยิ่งใหญ่

คำอธิบาย :

1. โองการข้างต้นในความเป็นจริงแล้วมาอธิบายโองการแรกของบทนี้ กล่าวคือโองการแรกบ่งชี้ให้เห็นถึงความต่อเนื่องและความสัมพันธ์กันของโองการอันเป็นเป้าหมายของอัลกุรอาน ส่วนโองการที่สองแนะนำว่าวัตถุประสงค์ดังกล่าวคือ เตาฮีด ส่วนโองการนี้ได้เรียกร้องเชิญชวนประชาชนให้กลับไปยังพระองค์[8]

2. วัตถุประสงค์ของประโยคที่กล่าวว่า “ประโยชน์จากปัจจัยที่ดี” หมายถึงการมีชีวิตอยู่อย่างสุขกายสบายใจ ชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีคือ ชีวิตที่นำพามนุษย์ไปสู่ความรุ่งเรืองเท่าที่เป็นไปได้ กล่าวคือ ได้รับความโปรดปรานอนันต์ มีความปลอดภัย มีการเป็นอยู่ที่สุขสบาย มีเกียรติยศ และมีอำนาจบารมี

3. จุดประสงค์ของ การประทานความโปรดปรานแก่ทุกๆ ผู้มีความดี หมายถึงมนุษย์ทุกคนที่มีคุณสมบัติและความประพฤติดีมากกว่า เขาก็จะได้รับผลรางวัลมากกว่า และแน่นอนสิทธิของเขาจะไม่ถูกทำลายให้สูญเสีย[9]

4. โองการนี้จะเห็นว่ากล่าวถึง การลุแก่โทษและการกลับใจไว้ด้วยกัน แน่นอนว่า วัตถุประสงค์ของการลุแก่โทษคือ การละเว้นการสักการรูปปั้นบูชาและเรียกร้องการอภัยโทษ ส่วนวัตถุประสงค์ของ การเตาบะฮฺ (กลับใจ) คือการมีศรัทธาต่ออัลลอฮฺ[10]

5. อันดับแรกมนุษย์ต้องวิงวอนขอการอภัยโทษจากพระองค์ เพื่อจะได้สะอาดบริสุทธิ์จากบาปกรรม หลังจากนั้นจึงเตรียมพร้อมที่จะกลับตัวกลับใจไปสู่พระองค์

6. การลุแก่โทษและการกลับใจคือ ปัจจัยสำคัญสำหรับมนุษย์ในการได้รับประโยชน์จากความโปรดปรานอันดีงามจากโลกนี้

7. การกลับตัวกลับใจจากการตั้งภาคีเทียบเคียงเป็นวาญิบ ส่วนการละทิ้งการกลับใจจากภาคีถือเป็นบาปใหญ่ซึ่งต้องได้รับการลงโทษอันแสนสาหัส

8. อาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักข้อที่สี่ของการเชิญชวนของท่านบรรดาศาสดาคือ การกลับใจสู่พระองค์ ซึ่งหลังจากการชำระล้างบาปกรรมจนปราศจากมลทินด้วยการลุแก่โทษแล้ว จงปาวนาตนเองให้เข้ากับคุณลักษณะของพระองค์ เนื่องจากการกลับไปสู่พระองค์ ไม่มีสิ่งใดเกินเลยไปจากการย้อมตนเองด้วยคุณลักษณะของพระองค์

ตามความเป็นจริงแล้ว จะเห็นว่าอัลกุรอานได้สาธยายให้เห็นถึงขั้นตอนสำคัญ 4 ประการ ของการเชิญชวนไปสู่สัจธรรม ซึ่ง 2 ประการแรกเป็นเรื่องของความเชื่อศรัทธา ส่วน 2 ประการหลังเป็นเรื่องการปฏิบัติตัว เรื่องของความเชื่อศรัทธาได้แก่ การยอมรับในหลักของเตาฮีด (การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว) และการต่อสู้กับการตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้าควบคู่ไปกับการยอมรับการเป็นนบีของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ)

และหลังจากขัดเกลาบาปกรรมพร้อมกับย้อมตัวเองให้เข้ากับคุณลักษณะของพระเจ้า หรือการมีจริยธรรมของพระองค์ คือการสร้างชีวิตใหม่ของตนด้วยการปฏิบัติ อันถือว่าเป็น 2 คำสั่งสอนของอัลกุรอาน

และสุดท้ายพระองค์ได้ตรัสสรุปถึงมรรคผลของการกระทำทั้งหลายว่า อาจเห็นด้วย หรือเป็นปรปักษ์ขัดแย้ง พระองค์จึงกำชับว่า พึงระวังขั้นตอนทั้ง 4 ประการไว้ให้ดี เนื่องจากเมื่อใดที่หลักการทั้งสี่ประการได้ถูกปกปักษ์รักษา พระองค์จะทำให้ชีวิตการเป็นอยู่ของพวกท่านประสบแด่ความเจริญผาสุก และความรุ่งเรืองบนโลกนี้ตลอดไป

บทเรียนจากโองการ :

1. หนึ่งในเป้าหมายของอัลกุรอานคือ การเรียกร้องเชิญชวนประชาชนไปสู่การกลับตัวกลับใจยังพระผู้อภิบาล

2. การลุแก่โทษและการกลับใจ เป็นหลักประกันให้มนุษย์ได้มีชีวิตที่ดีเจริญรุ่งเรืองตราบชั่วอายุขัย

3. บุคคลใดมีความประเสริฐมากกว่าย่อมได้รับผลรางวัลมากกว่าตามไปด้วย