เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 8-11

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 8-11

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึง การเย้ยหยันของบรรดาผู้ปฏิเสธที่มีต่อความสัจจริงของการลงโทษ โองการกล่าวว่า

8. وَلَئِنْ أَخَّرْنَا عَنْهُمُ الْعَذَابَ إِلَى‏ أُمَّةٍ مَعْدُودَةٍ لَيَقُولُنَّ مَا يَحْبِسُهُ أَلَا يَوْمَ يَأْتِيهِمْ لَيْسَ مَصْرُوفاً عَنْهُمْ وَحَاقَ بِهِم مَا كَانُوا بِهِ يَسْتَهْزِءُونَ‏

คำแปล :

8. และมาตรว่าเรายืดเวลาการลงโทษพวกเขาออกไปอีกหนึ่งกำหนดเวลา พวกเขาก็จะกล่าวว่า อะไรได้ยับยั้งการลงโทษไว้เล่า พึงรู้เถิด วันซึ่งการลงโทษจะมายังพวกเขาจะไม่ละเว้นไปจากพวกเขา และสิ่งที่พวกเขาได้เยาะเย้ยนั้นจะห้อมล้อมพวกเขา

คำอธิบาย :

บรรดาผู้ศรัทธาเปี่ยมด้วยศักยภาพ ส่วนผู้ปฏิเสธด้อยด้วยคุณภาพ

ลักษณะ แรกที่ได้กล่าวถึงพวกเขาคือ การเย้ยหยัน ด้วยข้อเท็จจริงและการเยาะเย้ยเกี่ยวกับชะตาชีวิต ที่สำคัญเป็นผลมาจากความไม่รู้และความยโสโอหัง เมื่อพวกเขาได้ยินถูกคุกคามและขู่โดยท่านศาสดาถึงบทลงโทษอันแสนสาหัสสำหรับคนชั่วที่กระทำความผิด, พวกเขาได้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ ทรงตรัสว่า "เมื่อใดก็ตามที่พวกเราปล่อยการลงโทษผ่านไปสักสองสามเช้าของวันใหม่ พวกเขาก็จะพูดด้วยความไม่อายว่า อะไรได้ยับยั้งการลงโทษไว้เล่า เพราะเหตุใดได้ล่าช้าออกไป เกิดอะไรขึ้นกับการโทษหรือ การลงโทษเดินทางไปทางไหนเสียเล่า ?

1.คำว่า อุมมัต ตามรากของคำหมายถึงการแนบสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ เมื่อกลุ่มชนรวมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกันจึงเรียกว่า อุมมัต

คำๆ นี้ บางครั้งหมายถึงเวลาด้วยเช่นกัน ซึ่งวัตถุประสงค์ของโองการนี้ก็คือ กาลเวลา นั่นเอง

2. รายงานจำนวนมากมายกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของประโยคที่กล่าวว่า กำหนดเวลาหนึ่ง หมายถึงจำนวนผู้ให้การช่วยเหลือมะฮฺ (อ.) ซึ่งมีจำนวนเพียงน้อยนิดเท่านั้น กล่าวคือการลงโทษผู้กระทำความผิดได้ถูกมอบไม้ให้อยู่ในอำนาจของเหล่าสหายของมะฮฺดียฺ (อ.)[1]

แน่นอน รายงานเหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นถึงความหมายด้านในของโองการ ซึ่งได้อธิบายถึงกฎทั่วไปของผู้อธรรมทั้งหลาย

3. บรรดาผู้ปฏิเสธต่างเย้ยหยันความสัตย์จริงและการลงโทษของพระเจ้า นอกจากนั้นพวกเขายังได้เยาะเย้ยคำเตือนสำทับของบรรดาศาสดาทั้งหลาย ประหนึ่งว่าพวกเขากำลังเล่นอยู่กับไป

4. การลงโทษของพระเจ้ามีการกำหนดเวลามาตรฐานเอาไว้แล้ว และแม้ว่าพระเจ้าทรงปล่อยเวลาให้ล่าช้าออกไป ไม่ได้หมายความว่าพระองค์ยกเลิกการลงโทษบรรดาผู้ปฏิเสธ หรือพวกอธรรมก็หาไม่ ทว่าบางครั้งอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ปล่อยการลงโทษไปล่าออกไปก็เนื่องจากความโปรดปรานและความเหมาะสม

บทเรียนจากโองการ :

1. การที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ปล่อยเวลาการลงโทษให้ล่าช้าออกไปนั้น ท่านจงอย่าได้เย้ยหยันเป็นอันขาด เพราะการลงโทษของพระองค์เป็นจริงแน่นอนเสมอ

2. อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตอบอย่างฉับพลันแก่ผู้เยาะเย้ยว่า การลงโทษของพระองค์มีแน่นอน

อัลกุรอาน โองการที่ 9 บทฮูด

อัลกุรอาน โองการนี้ กล่าวถึงมนุษย์ที่มีคุณภาพและศักยภาพเพียงน้อยนิด และคุณลักษณะของพวกเขา โองการกล่าวว่า

9. وَلَئِنْ أَذَقْنَا الإِنْسَانَ مِنَّا رَحْمَةً ثُمَّ نَزَعْنَاهَا مِنْهُ إِنَّهُ لَيَئُوسٌ كَفُورٌ

คำแปล :

9. และถ้าเราได้ให้มนุษย์ลิ้มรสความเมตตาจากเรา แล้วเราได้ดึงคืนกลับมาจากเขา เขานั้นก็จะกลายเป็นผู้หมดหวังและสิ้นศรัทธา

คำอธิบาย :

อีกประเด็นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของพวกเขาคือ การด้วยคุณภาพและศักยภาพครั้นเมื่อพวกเขาต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์ยากหรืออุปสรรคปัญหา รวมถึงการถอดถอนความโปรดปรานจากพวกเขา พวกเขาก็จะกลายเป็นผู้หมดหวังและสิ้นศรัทธาทันที

1. คำว่า อินซาน หรือมนุษย์ในโองการข้างต้นไม่ได้หมายถึงมนุษย์ทุกคน ทว่าวัตถุประสงค์ของโองการคือกลุ่มชนที่ไร้การศึกษา ปราศจากการฝึกอบรมที่ดีและทำตนไร้ค่าในสังคม ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะอดทนอดกลั้นต่ออุปสรรคปัญหา และการทดสอบของพระเจ้า อีกทั้งพวกเขาจะสิ้นหวังอย่างรวดเร็วและแสดงความอกตัญญูออกมาทันที

2. มนุษย์ทั้งหลายที่ไม่รู้จักวิทยปัญญาของพระเจ้าหรือไม่รู้จักสถานภาพของตนเอง เขาจะตัดสินโดยฉับพลันและจะสิ้นหวังอย่างรวดเร็ว หรือไม่ก็กลายเป็นคนสิ้นศรัทธาและอกตัญญู แต่ถ้าเขารู้และยอมรับว่าความเมตตาโปรดปรานทั้งหมดอยู่ในอำนาจของพระเจ้า และไม่ได้หมายความว่าการให้ความโปรดปรานทั้งหมดบ่งบอกให้เห็นถึงความเมตตา หรือการถอดถอนความเมตตาจากพวกเขาบ่งบอกให้เห็นถึงความโกรธกริ้วของพระองค์ ฉะนั้น ไม่ว่าท่านจะตกอยู่ในสภาพใดก็ตามด้วยความโปรดปรานของพระองค์ จงมีความหวังและจงขอบคุณพระองค์ไม่ว่าท่านจะได้รับความโปรดปรานมากหรือน้อยก็ตาม

3. โองการข้างต้นกล่าวถึงความโปรดปรานของพระเจ้า โดยใช้คำว่า เราะฮฺมัต นั่นแสดงให้เห็นว่าความโปรดปรานของอัลลอฮฺ (ซบ.) นั่นเป็นความการุณย์และความประเสริฐอันมากมายของพระองค์ ดังนั้น ถ้าหากเป็นไปตามสิทธิของผู้ที่มีสิทธิได้รับความโปรดปราน ซึงพระองค์ให้แก่พวกเขา พวกเขาก็จะมีส่วนร่วมในความโปรดปรานเหล่านั้น เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

บทเรียนจากโองการ :

1. มนุษย์บางคนมีคุณภาพเพียงเล็กน้อยและอกตัญญู

2.บางครั้งเมื่อความเมตตาได้หลุดลอยมือไป ก็จงอย่าสิ้นหวังและไม่ขอบคุณ

อัลกุรอาน โองการที่ 10 บทฮูด

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงมนุษย์ที่มีคุณภาพต่ำอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งคุณลักษณะโดยรวมของพวกเขา โองการกล่าวว่า

10. وَلَئِنْ أَذَقْنَاهُ نَعْمَاءَ بَعْدَ ضَرَّاءَ مَسَّتْهُ لَيَقُولَنَّ ذَهَبَ السَّيِّئَاتُ عَنِّي إِنَّهُ لَفَرِحٌ فَخُورٌ

คำแปล :

10. และถ้าเราได้ให้เขาลิ้มรสความโปรดปรานหลังจากความทุกข์ยากได้ประสบกับเขา เขาก็จะกล่าวว่า ความเลวร้าย ได้ผ่านพ้นไปจากฉันแล้ว แล้วเขาก็กลายเป็นผู้คึกคะนอง หยิ่งยโส

คำอธิบาย :

ข้อเสียที่สามของพวกเขาคือ เมื่อพวกเขาได้รับความโปรดปราน พวกเขาจะแสดงความภาคภูมิใจและความหยิ่งยโสออกมาทันที พวกเขาได้ลืมทุกสิ่งทุกอย่าง

1.บางที่วัตถุประสงค์ของ ซัยยิอาต (ความทุกข์ยากเลวร้าย)  ในโองการข้างต้นอาจหมายถึง ความทุกข์ใจหรือความระทมขมขื่นใจ หรืออุปสรรคทางโลก ซึ่งมีโอกาสที่สิ่งเหล่านี้อาจถูกขจัดให้หมดไปจากพวกเขา หรืออาจหมายถึงบาปกรรม ซึ่งนำความทุกข์ใจมาสู่มนุษย์และมนุษย์ต้องชดเชยในสิ่งเหล่านั้น

แน่นอน อาจเป็นไปได้เช่นกันว่า วัตถุประสงค์คือ การขจัดความชั่วร้ายต่างๆ ทั้งในแง่ของวัตถุปัจจัยและมโนกรรมให้หมดไปจากพวกเขานั่นเอง

2. ในโองการข้างต้นและโองการก่อนหน้านี้ กล่าวถึงคุณลักษณะที่ไม่ดีของมนุษย์ที่ด้อยคุณภาพ ซึ่งมีมาตรฐานในการวัดคุณภาพของพวกเขาดังนี้

2.1 เมื่อความโปรดปรานได้หลุดลอยมือไปพวกเขาจะสิ้นหวังกำลังใจ

2.2 เมื่อความโปรดปรานได้หลุดลอยมือไปพวกเขาจะแสดงความอกตัญญูทันที

2.3 เมื่อได้รับความโปรดปรานต่างๆ พวกเขาจะแสดงความดีใจและตื่นเต้น

2.4 เมื่อได้รับความโปรดปรานต่างๆ  พวกเขาจะภาคภูมิใจแสดงความยโสโอหัง และคิดว่าตนเองดีกว่าคนอื่นเสมอ

3. การตีความโองการนี้และโองการก่อนหน้านี้โดยใช้คำว่า อะซักนา (ลิ้มรส) หมายถึงพระองค์ทรงให้พวกเขาได้ลิ้มรสความโปรดปรานบ้าง หมายถึงบางคนนั้นอาจมีคุณภาพต่ำมาก เมื่อเขาได้รับความโปรดปรานเพียงน้อยนิด พวกเขาก็จะหลงลืมและหลงตัวเองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

บทเรียนจากโองการ :

1. มนุษย์ที่ด้อยคุณภาพ เมื่อได้ลิ้มรสความโปรดปรานเพียงน้อยนิดเขาก็จะวิเคราะห์ไปในทางที่ผิดพลาด และคิดเอาเองว่าความเลวร้ายได้หมดไปจากตัวเองแล้ว

2. จงอย่าเป็นผู้ด้อยในคุณภาพ และเมื่อได้ลิ้มรสความโปรดปรานก็จงอย่าแสดงความยิ่งยโส หรือแสดงความภาคภูมิใจชนิดไร้สาระ

อัลกุรอาน โองการที่ 11 บทฮูด

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงมนุษย์ที่มีคุณภาพและประพฤติปฏิบัติคุณงามความดี โองการกล่าวว่า

11. إِلَّا الَّذِينَ صَبَرُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ أُولئِكَ لَهُم مَغْفِرَةٌ وَأَجْرٌ كَبِيرٌ

คำแปล :

11. เว้นแต่บรรดาผู้อดทนและปฏิบัติความดีทั้งหลาย ชนเหล่านั้น พวกเขาจะได้รับการอภัยโทษและรางวัลอันยิ่งใหญ่

คำอธิบาย :

1. โองการก่อนหน้านี้กล่าวถึงคุณลักษณะของมนุษย์ที่ด้อยคุณภาพ แต่ได้ใช้ความ อินชานหรือมนุษย์ ในรูปแบบรวม ส่วนโองการนี้ได้กล่าวในลักษณะของการยกเว้นชนบางกลุ่มหรือบางจำพวกเอาไว้

มนุษย์ที่ดีหมายถึง บุคคลที่มีความขันติธรรม ใจกุศล มีศักยภาพและมีคุณภาพเพียบพร้อม ครั้นเมื่อความโปรดปรานได้หลุดลอยมือเขาไป เขาจะไม่สิ้นหวังหรือหมดความศรัทธาและจะไม่แสดงความอกตัญญูออกมา ขณะเดียวกันเมื่อพวกเขาได้รับความโปรดปราน พวกเขาก็จะไม่แสดงความภาคภูมิใจอย่างออกหน้าออกตา หรือแสดงความยโสโอหังออกมา

2. การทำความดีงามและความอดทนมีผลลัพธ์ 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือเป็นการชำระล้างความผิดบาปต่างๆ อีกประการหนึ่งคือเขาจะได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่จากพระเจ้า

บทเรียนจากโองการ :

1. ความขันติธรรมและการประพฤติความดี จะส่งเสริมให้มนุษย์มีความสมบูรณ์และเป็นคนมีคุณภาพ

2. ถ้าหากปรารถนาที่จะได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่จากพระเจ้า จงอดทนและประพฤติความดีงาม


อ้างอิง


[1]บิฮารุลอันวาร เล่ม 9 หน้า 103, เล่ม 51 หน้า 44 ฮะดีซที่ 1, เล่ม 58 ฮะดีษที่ 51
    

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม