เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 69

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 69

 

อัลกุรอาน โองการนี้ กล่าวถึงเรื่องราวของอิบรอฮีม (อ.) ซึ่งท่านได้พบกับมลักองค์หนึ่งผู้เป็นตัวแทนของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ถูกประทานลงมา โองการกล่าวว่า

 

وَلَقَدْ جَاءَتْ رُسُلُنَا إِبْرَاهِيَم بِالْبُشْرَى‏ قَالُوا سَلَاماً قَالَ سَلَامٌ فَمَا لَبِثَ أَن جَاءَ بِعِجْلٍ حَنِيذٍ

 

คำแปล :

 

69. แน่นอน บรรดาทูตของเราได้มายังอิบรอฮีมพร้อมทั้งข่าวดี พวกเขากล่าวว่า สลาม (ขอความศานติ) จงมีแด่ท่าน (อิบรอฮีม) กล่าวว่า (สลาม) ขอความศานติ จงมีแด่พวกท่าน ดังนั้น เขาไม่ได้ชักช้าที่จะนำลูกวัวย่างออกมา

 

คำอธิบาย :

 

ส่วนหนึ่งของชีวิตผู้ทำลายเจว็ด

 

ลำดับต่อไปจะกล่าวถึงชีวประวัติของศาสดาอีบรอฮีม (อ.) ซึ่งเป็นศาสดาผู้ยิ่งใหญ่คนที่สี่ที่ถูกกล่าวไว้ในบทนี้ กล่าวคือผู้เป็นวีรบุรุษในการทำลายเจว็ดและรูปปั้นทั้งหลาย แน่นอน รายละเอียดเกี่ยวกับชีวประวัติของท่านศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ ได้ถูกสาธยายไว้ในบทต่างๆ อย่างละเอียด เช่น ในบทบะเกาะเราะฮ์ บทอาลิอิมรอน บทนิซาอ์ บทอันอาม บทอันบิยาอ์ และบทอื่นๆ อีก ในที่นี้จะอธิบายขีวประวัติของท่านศาสดาเพียงส่วนเดียว ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของหมู่ชนลูฎ และการลงโทษที่มีต่อหมู่ชนนี้ ซึ่งเป็นหมู่ชนที่ลืมเลือน

 

1. เรื่องราวของศาสดาอีบรอฮีม (อ.) ได้ถูกกล่าวไว้ในบทต่างๆ หลายบทด้วยกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเหตุการณ์ที่ท่านได้พบกับมลัก ซึ่งมลักได้มาหาท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เนื่องด้วยภารกิจสำคัญ 2 ประการ กล่าวคือ

 

ประการแรก มลักได้มาหาศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เนื่องจากต้องการแจ้งข่าวดีแก่ท่านว่าในไม่ช้านี้ท่านจะได้บุตรชายคนหนึ่ง

 

ประการที่สอง มะลาอิกะฮ์ (เทวทูต) ได้มาเพื่อลงโทษหมู่ชนของลูฏ

 

2. รายงานฮะดีษบทหนึ่งจากอิมามญะอ์ฟัร อัซซอดิก (อ.) กล่าวว่า มลักที่มาหาท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) มี 4 องค์ด้วยกันประกอบด้วย ญิบรออีล มีกาอีล อิสรอฟีล และกะรูอีล

 

3. รายงานฮะดีษกล่าวว่า ข่าวดีที่ได้แจ้งแก่ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) คือ การถือกำเนิดของศาสดาอิสมาอีล และอิสฮาก ซึ่งขณะนั้นท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) อยู่ในวัยชราภาพ และจนถึงขณะนั้นยังไม่มีบุตรแม้แต่คนเดียว

 

4. เมื่อเผชิญหน้ากับคนอื่นสิ่งจำเป็นที่ต้องแสดงออกคือ การกล่าวสลาม และจำเป็นต้องตอบรับสลามโดยฉับพลัน ในลักษณะที่ว่า โองการนี้ได้กล่าวให้สลามและตอบรับอย่างฉับพลัน โดยไม่มีช่องว่างแม้แต่เพียงคำเชื่อมก็ตาม

 

5. หนึ่งในมารยาทของการต้อนรับแขกคือ การเชื้อเชิญให้รับประทานอาหาร ซึ่งเจ้าของบ้านต้องตระเตรียมอาหารให้แขกโดยรีบด่วน เนื่องจากแขกเมื่อมาถึงเขาต้องเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าและหิว

 

6. หนึ่งในมารยาทอีกประหนึ่งของการต้อนรับแขกคือ เจ้าของบ้านต้องเป็นผู้นำเอาอาหารไปเลี้ยงแขก ซึ่งต้องมีจำนวนมากเป็นพิเศษและต้องเป็นอาหารชนิดดี พร้อมกับต้องกล่าวเชิญแขกให้ร่วมสำรับอาหาร

 

7. การทำลูกวัวย่างเพื่อต้อนรับแขก หรืออาจเป็นมารยาทของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ในการต้อนรับแขกท่านจึงได้ปฏิบัติเช่นนั้น หรืออาจเป็นเพราะว่าแขกมีจำนวนหลายคน ผนวกกับจำนวนมิตรสหายและคนรับใช้อีกหลายคน จึงต้องทำอาหารชนิดพิเศษขึ้นมา

 

8. อาจเป็นไปได้ที่มลักของพระเจ้าจะปรากฏกายมาในรูปร่างของมนุษย์ ซึ่งยากยิ่งนักที่จะจำแนกระหว่างพวกเขากับมนุษย์

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1.มารยาทในการสนทนา คือ การกล่าวสลามต่อกัน

 

2. การต้อนรับแขกด้วยมารยาทและอาหารเลิศรสเป็นมารยาทของบรรดาศาสดา (อ.)

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม