เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 74-75

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 74-75

 

อัลกุรอาน ทั้งสองโองการนี้กล่าวถึง การสนทนาของศาสดาอิบรอฮีมเกี่ยวกับการช่วยเหลือหมู่ชนของลูฏ และคุณลักษณะของท่าน โองการกล่าวว่า

 

وفَلَمَّا ذَهَبَ عَنْ إِبْرَاهِيمَ الرَّوْعُ وَجَاءَتْهُ الْبُشْرَى‏ يُجَادِلُنَا فِي قَوْمِ لُوطٍ* إِنَّ إِبْرَاهِيمَ لَحَلِيمٌ أَوَّاهٌ مُنِيبٌ‏

 

คำแปล :

 

74. ครั้นเมื่อความตระหนกคลายไปจากอิบรอฮีมแล้ว และมีข่าวดี (บุตรชาย) ได้มายังเขา เขาได้เจรจากับเราในเรื่องหมู่ชนของลูฏ

 

75. แท้จริง อิบรอฮีมเป็นผู้มีขันติ จิตใจอ่อนโยน และหันหน้าเข้าหาอัลลอฮ์เสมอ

 

คำอธิบาย :

 

โองการก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นแล้วว่า เมื่อศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ทราบว่าแขกที่มาไม่ใช่กลุ่มชนที่มีอันตราย หรือจะมารบกวนแต่อย่างใด พวกเขาเป็นทูตมาจากองค์พระผู้อภิบาล ดั่งคำพูดที่พวกเขากล่าวว่า พวกเขามีหน้าที่มาจัดการหมู่ชนของลูฏ

 

1. โองการแรกได้กล่าวถึงการเจรจาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของศาสดาอิบรอฮีม (อ) เกี่ยวกับการช่วยเหลือหมู่ชนของลูฎ ส่วนโองการที่สองได้บ่งชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของการเจรจา กล่าวคือการเจรจาของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากอิบรอฮีม (อ.) คาดว่า จนถึงขณะนั้นการลงโทษของพระเจ้ายังไม่แน่นอน ดังนั้น เป็นไปได้ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) จะทรงเมตตาและให้ความอนุเคราะห์ หรือให้ความช่วยเหลือหมู่ชนของลูฎก็เป็นไปได้ เนื่องจากศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เป็นผู้มีขันติธรรมสูง และมีจิตใจอ่อนโยนท่านเป็นห่วงเป็นใยพวกเขา จึงได้เจรจากับมวลมลาอิกะฮ์ที่เป็นทูตลงมา

 

2. ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เป็นห่วงประชาชนอย่างยิ่ง จึงได้พยายามเจรจา เพื่อว่าจะไถ่โทษของพวกเขาได้

 

3. อัลกุรอาน โองการข้างต้นได้กล่าวแนะนำว่า การเจรจาระหว่างอิบรอฮีม (อ.) กับมลาอิกะฮ์นั้น ประหนึ่งเป็นการเจรจาระหว่างท่านศาสดากับอัลลอฮ์

 

4.จากการวิเคราะห์โองการและฮะดีษเข้าใจได้ว่า ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้เจรจากับมะลาอิกะฮ์ใน 2 ประเด็นด้วยกัน ประเด็นที่หนึ่ง เกี่ยวข้องกับผู้ศรัทธาจากหมู่ชนของลูฎ ซึ่งท่านศาสดาได้กล่าวกำชับถึงการมีอยู่ของพวกเขากับมลาอิกะฮ์ ซึ่งบรรดามลาอิกะฮ์ กล่าวตอบว่าศาสดาลูฎและครอบครัวของท่านจะได้รับการช่วยเหลือ ยกเว้นภรรยาของท่าน (อัลกุรอาน บทอังกะบูต 31-32) ประเด็นที่สอง ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้เจรจาขอให้หมู่ชนของลูฎดำรงอยู่ต่อไป

 

ซึ่งการเจรจาในประเด็นนี้ไม่เป็นผล เนื่องจากการลงโทษของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั้นแน่นอนแล้ว

 

5. คำว่า ฮะลีม หมายถึง ความอดทน ขันติธรรม การไปถึงยังเป้าหมายศักดิ์สิทธิ์ ส่วนคำว่า เอาวาฮุ หมายถึง บุคคลที่ร้อง เอ๊ะ เสมอ หรืออาจเป็นเพราะว่าความกลัวในหน้าที่ความรับผิดชอบของตน หรืออาจเป็นเพราะอุปสรรคและความยากลำบากที่เหนี่ยวรั้งประชาชาเอาไว้

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. เหล่าบรรดาผู้นำแห่งพระเจ้ามีความเป็นห่วงเป็นใยและปกป้องประชาชาติเสมอ

 

2. เมื่อใดก็ตามที่ต้องการหักล้างหรือโต้เถียงกับคนอื่น จำเป็นต้องรำลึกถึงคุณความดีของเขาไว้ให้มาก

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม