เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 77

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 77

 


อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงการพบกันระหว่างมะลาอิกะฮ์กับศาสดาลูฎ (อ.) โองการกล่าวว่า

 

وَلَمَّا جَاءَتْ رُسُلُنَا لُوطاً سِي‏ءَ بِهِمْ وَضَاقَ بِهِمْ ذَرْعاً وَقَالَ هذَا يَوْمٌ عَصِيبٌ‏

 

คำแปล :

 

77. และเมื่อบรรดาทูตของเราได้มายังลูฏ เนื่องด้วยการมาของพวกเขา (มะลาอิกะฮ์) เขาก็เกิดทุกข์ใจ และหนักใจในพวกเขา (เนื่องจากไม่อาจคุ้มครองได้) และกล่าวว่า นี่เป็นวันอันโหดร้าย

 

คำอธิบาย :

 

ชีวิตรันทดของหมู่ชนของลูฏ

 

โองการในบทอะอ์รอฟ ได้สาธยายถึงเรื่องราวของหมู่ชนลูฎ ไปแล้วบางส่วน ในที่นี้จะกล่าวอีกบางส่วนตามความเหมาะสมกับเรื่องราวของบรรดาศาสดาต่างๆ พร้อมกับหมู่ชนของท่าน ในส่วนนี้อัลกุรอานได้กล่าวในอีกแง่มุมหนึ่งจากชีวิตที่รัดทนและหลงทางออกไปของหมูชนของลูฎ เพื่อจะได้เข้าใจเป้าหมายหลักอันได้แก่ การช่วยเหลือและความเจริญรุ่งเรืองของสังคมมนุษย์ในอีกแง่มุมหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ การกล่าวถึงเรื่องราวของศาสดาลูฎ ซึ่งเป็นศาสดาท่านที่ 5 ที่กล่าวไว้ในบทนี้ โดยกล่าวตามเรื่องราวของศาสดาอิบรอฮีม (อ.)

 

1. รายงานกล่าวว่า ขณะนั้นศาสดาลูฎ (อ.) กำลังหมกมุ่นอยู่กับงานในสวนเกษตร ทันใดนั้นท่านได้เห็นมะลาอิกะฮ์ ที่จำแลงร่างเป็นชายหนุ่มที่มีความสง่างาม เดินตรงมาหาท่านเพื่อเป็นแขกของท่าน ขณะที่ศาสดาลูฎเป็นคนใจดีและมีเมตตาในการต้อนรับแขก ท่านรู้สึกไม่สบายใจที่ได้ต้อนรับแขกเป็นหนุ่มที่มีใบหน้าหล่อและสง่างามยิ่งเช่นนั้น เนื่องจากหมู่ชนของท่านกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการรักร่วมเพศ ท่านได้กล่าวถึงปัญหา และความอับอายที่อาจจะเกิดขึ้น

 

2.คำว่า ซีอุน มาจากรากศัพท์คำว่า ซาอะ หมายถึง อารมณ์เสีย หรือความทุกข์ไม่สบายใจ

 

3.คำว่า ซัรอุน บางคนกล่าวว่า หมายถึง หัวใจ บางคนกล่าวว่าหมายถึง จริยธรรม ดังนั้นประโยคที่กล่าวว่า

 

 (وَضَاقَ بِهِمْ ذَرْعاً) จึงหมายถึง จิตใจเขาเกิดเป็นทุกข์ เนื่องด้วยการมาของแขกที่ไม่ได้รับเชิญ

 

4. นักตัฟซีรบางท่านกล่าวว่า คำนี้จึงหมายถึง ความทุกข์ใจอันเนื่องมาจากความหนักอึ้งของเหตุการณ์ และทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับเหตุการณ์นั้นเพียงอย่างเดียว ใช่ ศาสดาลูฎเป็นทุกข์และไม่สบายใจเนื่องด้วยแขกที่มาเยือน ท่านจึงได้กล่าวว่า นี่เป็นวันโหดร้ายที่สุด

 

5. คำว่า อะซีบุน มาจากรากศัพท์ของคำว่า อัซบุน หมายถึง การปิดมัดสิ่งๆ หนึ่งเข้ากับอีกสิ่งหนึ่ง และเนื่องจากว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีความหนักหนาสาหัสและสร้างความกังวลใจอย่างยิ่ง จึงทำให้มนุษย์ซับซ้อนวุ่นวาย อัลกุรอานจึงใช้คำว่า อะซีบุน ซึ่งอาหรับจะเรียกวันที่มีอากาศร้อนระอุแผดเผาว่า เยามุลอะซีบ (วันที่โหดร้าย)

 

บทเรียนจากโองการ :

 

1. จงมีความรับผิดชอบต่อแขกที่มาเยือนท่านเป็นอย่างดี

 

2. บรรดาผู้นำสังคมควรเอาใจใส่ดูแลและเป็นห่วงเป็นใยคนแปลกหน้าที่เข้ามาในเมืองและสังคม

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม