เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 123

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ตัฟซีรอัลกุรอาน บทฮูด โองการที่ 123

 

อัลกุรอาน โองการนี้ได้กล่าวถึงประเด็น 3 ประการเกี่ยวกับเตาฮีด  โองการกล่าวว่า

 

وَلِلَّهِ غَيْبُ السَّماوَاتِ وَالْأَرْضِ وَإِلَيْهِ يُرْجَعُ الْأَمْرُ كُلُّهُ فَاعْبُدْهُ وَتَوَكَّلْ عَلَيْهِ وَمَا رَبُّكَ بِغَافِلٍ عَمَّا تَعْمَلُونَ‏

 

คำแปล:

 

123. และสิ่งพันญาณวิสัยแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ และยังพระองค์การงานทั้งมวลจะถูกนำกลับ ดังนั้น เจ้าจงเคารพภักดีพระองค์ จงมอบหมายต่อพระองค์ และพระผู้อภิบาลของเจ้า มิทรงเฉยเมยในสิ่งที่ที่สูเจ้ากระทำ

 

คำอธิบาย:

 

1.อัลกุรอานได้อธิบายถึงศาสตร์ที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ไว้ใน 2 ลักษณะกล่าวคือ

 

บางครั้ง ศาสตร์ที่พ้นญาณวิสัยนี้เฉพาะอัลลอฮ์ (ซบ.) เท่านั้นที่ทรงล่วงรู้ ดังที่กล่าวไว้ในโองการที่กำลังกล่าวถึงนี้ บางครั้งบางส่วนของศาสตร์นี้ได้ถูกอนุญาตให้ท่านศาดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ได้ล่วงรู้ หรือแม้แต่คนอื่นที่นอกเหนือจากนี้ ดังเช่น เรื่องราวของมารดาของศาสดามูซา (อ.) ซึ่งวะฮ์ยูได้ถูกดลว่า ความเร้นลับบางเรื่องได้ถูกแจ้งให้นางทราบ

 

แน่นอน ในส่วนแรกของโองการเกี่ยวข้องกับศาสตร์ที่พ้นญาณวิสัยที่เป็นซาต (ตัวตน) ซึ่งเป็นของอัลลอฮ์ เท่านั้น

 

ในส่วนที่สองของโองการ เกี่ยวข้องกับศาสตร์ที่พ้นญาณวิสัยที่เป็นอะรัฎฎีย์ หมายถึงอัลลอฮฺทรงจำกัดไว้ในอำนาจของศาสดาบางท่าน หรือปวงบ่าวที่เฉพาะสำหรับพระองค์

 

2. เตาฮีดซิฟาตีย์ เป็นสาเหตุของเตาฮีดในเรื่องการแสดงความเคารพภักดี  กล่าวคือถ้าหากการเคารพภักดีพระเจ้า อันเนื่องจากการพึ่งพิงไปยังพระองค์ในการแก้ไขปัญหา ดังนั้นภารกิจนี้มีความเหมาะสมกับบุคคลที่มีความดีคู่ควร และล่วงรู้ในความต้องการของมนุษย์ และความเร้นลับของพวกเขา ซึ่งบุคคลนั้นมีเพียงพระเจ้าเท่านั้นเอง ดังนั้น เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่คู่ควรแก่การเคารพภักดี

 

3. อัลกุรอาน โองการข้างต้นได้กล่าวด้วยประโยคสั้นๆ เป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงความลับในการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า ซึ่งกล่าวไว้ในประโยคสั้นๆ 2 ประโยคในโองการข้างต้นความว่า “เจ้าจงเคารพภักดีพระองค์ จงมอบหมายต่อพระองค์” เนื่องจากการเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) บางครั้งเป็นการเคารพภักดีทางกายภาพ เช่น การอิบาดะฮ์ ทั่วไป หรือบางครั้งเป็นการเคารพภักดีทางจิตวิญญาณ เช่น การคิดในโลกของการสร้างสรรค์และความเร้นลับของการสร้าง ตลอดจนการเริ่มต้นการสร้าง

 

ส่วนการ ตะวักกุล (มอบหมาย) หมายถึง การมอบหมายทั้งหมดแด่อัลลอฮ์ (ซบ.) หรือมอบหมายทั้งหมดไว้ในอำนาจของพระองค์ ซึ่งการกระทำเช่นนี้เท่ากับได้ถึงจุดของการนิพพาน ณ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) อันเป็นจุดสุดท้ายของความเร้นลับ

ตลอดระยะทางนับตั้งแต่การเริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุด เขาได้มุ่งเน้นไปสู่แก่นแท้ความจริง (เตาฮีดซิฟัต) ซึ่งผู้ชี้นำแนวทางนี้ได้ให้การช่วยเหลือเขา และด้วยความพยายามอุตสาหะของเขานั่นเอง ทำให้เขาได้เข้าไปสู่ความรักของพระองค์

 

โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดให้ข้าพระองค์ได้รู้จักคุณลักษณะอันสูงส่ง เกรียงไกร และสง่างามของพระองค์ด้วยเถิด โปรดให้ข้าฯ ได้ล่วงไปสู่พระองค์ด้วยความรอบรู้ด้วยเถิด

 

โอ้ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดประทานความสำเร็จแก่ข้าพระองค์ ในการแสดงความเคารพพระองค์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ในการมอบหมายภารกิจต่อพระองค์ ด้วยความรักในพระองค์

 

อามีนยาร็อบบัลอาละมีน

 

จบบทฮูด

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม