เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อัลกุรอาน โองการที่ 8 บทยูซุฟ

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อัลกุรอาน โองการที่ 8 บทยูซุฟ

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงคำพูดที่บ่งบอกถึงความอิจฉาริษยาอย่างรุนแรง ของเหล่าพี่น้องของยูซุฟ (อ.) โองการกล่าวว่า

8. إِذْ قَالُواْ لَيُوسُفُ وَأَخُوهُ أَحَبُّ إِلَى‏ أَبِينَا مِنَّا وَنَحْنُ عُصْبَةٌ إِنَّ أَبَانَا لَفِى ضَللٍ مُّبِينٍ‏

คำแปล :

8. จงรำลึก เมื่อพวกเขากล่าวว่า แน่นอน ยูซุฟและน้องของเขา (บุนญามิน) เป็นที่รักยิ่งแก่พ่อของเรามากกว่าพวกเราทั้ง ๆ ที่พวกเราเป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ แท้จริง พ่อของเราอยู่ในการหลงผิดแน่นอน

คำอธิบาย :

1. ศาสดายะอฺกูบ (อ.) มีบุตรชายทั้งสิ้น 12 คน ซึ่งศาสดายูซุฟ (อ.) และบุญญามินน้องชายเป็นพี่น้องร่วมมารดา ซึ่งตำราบางเล่มกล่าวว่าชื่อของนางคือ รอฮีล ส่วนพี่ชายที่เหลืออีก 10 คน เป็นพี่น้องต่างมารดากับท่านศาสดายูซุฟ (อ.) ท่านศาสดายะอฺกูบ (อ.) ให้ความรักกับยูซุฟและบุญญามินมากเป็นพิเศษ เนื่องจากว่า

ประการแรก เป็นเพราะว่าทั้งสองยังเด็กมาก ซึ่งเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องรักและสงสารและช่วยเหลือคนเล็กมากกว่า

ประการที่สอง ตามรายงานฮะดีซบางบทกล่าวว่า มารดาของทั้งสองได้อำลาจากโลกไปตั้งแต่ท่านทั้งสองยังเล็กอยู่

ประการที่สาม อันเนื่องจากความฝันที่เป็นการแจ้งข่าวดีถึงอนาคตอันสดใสของยูซุฟ (อ.) จึงทำให้ผู้เป็นบิดาเอาใจใส่เขามากเป็นพิเศษหลายเท่า เมื่อเทียบกับพี่น้องคนอื่น ทำให้พี่น้องคนอื่นไม่พอใจเป็นอย่างมาก พวกเขาได้นั่งปรึกษากัน จนกระทั่งได้มีคำพูดที่น่าเกลียดหลุดออกมาจากปากของพวกเขา

2. พี่น้องของศาสดายูซุฟ (อ.) ได้เรียกตนเองว่า อุซบะฮฺ เนื่องจากจำนวนของพวกเขามาก และทั้งหมดร่วมมารดาเดียวกัน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความเข็มแข็ง พวกเขาได้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้เป็นบิดาด้านค่าใช้จ่าย แต่พวกเขาประสบปัญญาหาเรื่องการแสดงความยโสโอหัง และความอิจฉาริษยา และปัญหาเหล่านี้เองที่ได้สร้างให้พวกเขาหันเหออกไป

3. พี่น้องของยูซุฟได้เรียกบิดาของตนว่า ผู้หลงผิด ซึ่งจุดประสงค์ของพวกเขามิใช่การหลงทางด้านศาสนา เนื่องจากพวกเขามีความเชื่อในสภาวะการเป็นนบีของบิดาของพวกเขา ด้วยเหตุนี้วัตถุประสงค์ของพวกเขาในการหลงผิดคือ ความเป็นธรรมในการเรืองการดูแลบุตร

4. จากโองการข้างต้นเข้าใจได้ว่า ผู้เป็นบิดาต้องมีความละเอียดอ่อนในการแสดงความประพฤติกับบุตรของตน เพื่อว่าความรักอันเป็นธรรมชาติของตนทีมอบให้แก่บุตรบางคน อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความรู้สึกไม่เท่าเทียมกัน เป็นการจุดประกายไฟแห่งความอิจฉาริษยาให้เกิดขึ้นในระหว่างพี่น้องกันเอง

บทเรียนจากโองการ :

1. บรรดาบุตรทั้งหลายต่างเรียกร้องความรักจากบิดามารดา และรอให้บิดามารดาแสดงความรักต่อพวกเขาโดยเท่าเทียมกัน

2. การแสดงความรักต่อบุตรทุกคน จงอย่าให้มีความแตกต่างระหว่างพวกเขา เนื่องจากความต่างจะกลายเป็นสาเหตุของความอิจฉาริษยาระหว่างพวกเขากันเอง

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม