เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อัลกุรอาน โองการที่ 9 บทยูซุฟ

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อัลกุรอาน โองการที่ 9 บทยูซุฟ

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงแผนการของเหล่าพี่น้องของศาสดายูซุฟ (อ.) โองการกล่าวว่า

9. اقْتُلُواْ يُوسُفَ أَوِ اطْرَحُوهُ أَرْضاً يَخْلُ لَكُمْ وَجْهُ أَبِيكُمْ وَتَكُونُواْ مِن بَعْدِهِ قَوْماً صلِحِينَ‏

คำแปล :

9. (พี่น้องคนหนึ่งกล่าวว่า) จงสังหารยูซุฟ หรือเอาเขาไปทิ้งในที่เปลี่ยวเสีย (ห่างไกล) เพื่อความโปรดปรานของพ่อพวกท่าน จะได้เหลือเฉพาะพวกท่าน หลังจากนั้น พวกท่านก็จะอยู่ในหมู่กัลยาณชน

คำอธิบาย :

1.อัลกุรอาน โองการนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าความอิจฉาริษยาของเหล่าพี่น้องของศาสดายูซุฟ (อ.) เป็นอย่างไร มันได้แปรเปลี่ยนกลายเป็นแผนการร้ายที่คิดขึ้นเพื่อสังหารน้องชายตัวเอง

2. ความต้องการให้ตนเองเป็นที่รักของบิดาบ้าง โดยไม่พอใจที่เห็นบิดารักน้องคนอื่นมากกว่าพวกตน สิ่งนี้กลายเป็นชนวนสำคัญที่สร้างความแตกแยกและทำให้พี่น้องกลายเป็นศัตรูต่อกันและกัน

3. เกี่ยวกับประโยคสุดท้ายของโองการ ได้กล่าวถึงคำพูดของเหล่าพี่น้องของศาสดายูซุฟ (อ.) ที่ว่า หลังจากแผนการได้สำเร็จลุล่วงลงแล้ว พวกเราก็จะกล่าวเป็นพวกกัลญาณชน ตรงนี้มีความเป็นไปได้ 2 ประการด้วยกันกล่าวคือ

ประการแรก วัตถุประสงค์ของพวกเขาคือ การลุแก่โทษและกลายเป็นบ่าวที่มีความบริสุทธิ์ หลังการสังหารศาสดายูซุฟ (อ.) อีกประการหนึ่งคือ กลังจากเอายูซุฟ (อ.) ไปปล่อยในที่เปล่าเปลี่ยวแล้ว พวกเขาก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขากับบิดาของพวกเขา ตรงนี้จะเห็นว่าตัฟซีรแรกมีความเหมาะสมกับความหมายภายนอกของโองการมากกว่า

4. วัตถุประสงค์ของเหล่าพี่ชายของศาสดายูซุฟ (อ.) จากการลุแก่โทษเพื่อจะได้กลายเป็นบ่าวบริสุทธิ์ หลังจากได้สังหารน้องชายก็คือ พวกเขาจะได้หลุดพ้นจากการลงโทษทางจิตวิญญาณ และมีความรู้สึกว่าได้ปลดปล่อยตนจากความผิดแล้ว ทว่าดั่งเป็นที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า การลุแก่โทษ ก็คือความสำนึกผิดหลังจากได้กระทำความผิด แต่การพูดคุยกันก่อนที่อาชญากรรมจะเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เรียกว่าเป็นการลุแก่โทษ ทว่าเป็นแผนการหนึ่งของชัยฏอนมารร้าย เพื่อหลอกลวงให้หลงทาง

5. คำว่า วัจญฺฮุ อะบีกุม (เพื่อความโปรดปรานของพ่อพวกท่าน) หมายถึงเหล่าพี่น้องของยูซุฟ ต่างมุ่งหวังว่านับจากนี้ต่อไปบิดาของพวกเขาจะหันหน้ามาหาพวกเขามากขึ้น ซึ่งพวกเขาทราบเป็นอย่างดีว่า หัวใจของบิดามิได้อยู่กับพวกเขา และในไม่ช้าบิดาก็จะลืมยูซุฟได้เอง ซึ่งพวกเขาใส่ใจเฉพาะความรู้สึกภายนอกของบิดาเท่านั้น     

6. โองการข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ผู้เป็นบิดาไม่สามารถแสดงความรักด้านในที่มีต่อบุตรให้เท่าเทียมกันได้ทุกคน แต่การแสดงออกภายนอกที่เอาใจใส่ต่อบุตรทุกคน ก็เพียงพอที่จะขจัดอันตรายที่เกิดจากความอิจฉาริษยาระหว่างพวกเขาให้หมดลงได้

7. รายงานฮะดีซจากท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า บางครั้งฉันจะแสดงความรักกับบุตรบางคน ทั้งที่รู้ว่าสิทธิ์นั้นเป็นของบุตรอีกคนหนึ่ง แต่สาเหตุที่ฉันทำเช่นนั้นก็เพื่อไม่ต้องการให้บุตรมีความอิจฉาริษยาต่อกัน ดุจดังเช่นเหล่าพี่น้องของยูซุฟ (อ.)[1]

8. เมื่อเผชิญกับความโปรดปรานมนุษย์จะมีสภาพ 5 ประการดังต่อไปนี้

8.1 ควบคุมตัวเอง กล่าวคือมีความหวังว่า สิ่งที่คนอื่นได้รับตนก็จะได้รับเหมือนกัน คำว่าควบคุมตัวเอง ตามที่รายงานได้กล่าวถึงนั้น เป็นสิ่งดีงามสำหรับผู้ศรัทธา[2]

8.2 มีความตระหนี่ถี่เหนียว หมายถึงมีความหวังว่าให้ตนได้รับแต่เพียงผู้เดียว ขออย่าให้คนอื่นได้รับเหมือนตน

8.3 มีความอิจฉาริษยา หมายถึงมีความหวังว่าขอให้คนอื่นอย่าได้รับความโปรดปรานนั้น ซึ่งเขาได้พยายามทำทุกอย่างเพื่อกีดขวาง หรือแม้แต่วางแผนการเพื่อขัดขวางเขาไม่ให้ได้รับความโปรดปราน

8.4 แสดงความเสียสละ หมายถึงได้แบ่งปันความโปรดปรานนั้นแก่คนอื่น โดยตนอาจจะได้น้อยหรือไม่ได้รับเลยก็ได้

บทเรียนจากโองการ :

1.ความอิจฉาริษยาของมนุษย์จะเลยเถิดไปจนถึงการสังหารพี่น้องของตนเอง

2. จงอย่าสนใจบุตรคนใดเป็นพิเศษมากกว่าบุตรคนอื่น  เนื่องจากความไม่สนใจของบิดา หรือการแสดงความรักที่น้อยนิดกับเขาอาจเป็นสาเหตุของความน้อยเนื้อต่ำใจ ความอิจฉาริษยา และนำไปสู่การวางแผนการร้ายกับพี่น้องด้วยกันเอง

3.คนที่กระทำความผิดตามความเป็นจริงเขาได้หลอกลวงตนเอง

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม