อัลกุรอาน โองการที่ 10 บทยูซุฟ

อัลกุรอาน โองการที่ 10 บทยูซุฟ

 

อัลกุรอาน โองการนี้ กล่าวถึงความไม่เห็นด้วยของพี่น้องบางคนต่อแผนการที่จะสังหารยูซุฟ (อ.) หรือแผนการที่ได้ถูกนำเสนอในที่ประชุม โองการกล่าวว่า

10. قَالَ قَآئِلٌ مِّنْهُمْ لَاتَقْتُلُواْ يُوسُفَ وَأَلْقُوهُ فِى غَيبَتِ الْجُبِّ يَلْتَقِطْهُ بَعْضُ السَّيَّارَةِ إِن كُنتُمْ فعِلِينَ‏

คำแปล :

10. คนหนึ่งในหมู่พวกเขากล่าวว่า จงอย่าฆ่ายูซุฟเลย หากพวกท่านจำต้องกระทำเช่นนั้น ก็จงโยนเขาลงในบ่อลึก เพื่อว่าผู้เดินทางบางคนจะได้เอาเขาออกมา”

คำอธิบาย :

ในหมู่พวกเขามีพี่น้องคนหนึ่งที่ฉลาดกว่าคนอื่น หรือมีสติมากกว่าคนอื่น ด้วยเหตุนี้เขาจึงไม่เห็นด้วยกับแผนการที่จะสังหารยูซุฟ หรือแม้แต่แผนการที่จะนำยูซุฟไปปล่อยในที่เปลี่ยวเพื่อให้เขาตายไปเอง แต่เขาได้เสนอแผนการที่สามนั่น คือการโยนยูซุฟลงไปในบ่อลึก เขาได้กล่าวว่า หากพวกท่านจำต้องกระทำเช่นนั้น ก็จงโยนเขาลงในบ่อลึก

1.คำว่า ฮุบ หมายถึงบ่อน้ำที่ยังไม่ได้มีการก่ออิฐเหนือขอบบ่อ ส่วนคำว่า เฆาะยาบาตร หมายถึงหลุมที่ซ่อนไว้ในบ่อ ไม่อาจมองเห็นได้จากภายนอก แน่นอนว่าการตีความทำนองนี้เหมาะสมกับบ่อที่อยู่ตามทะเลทราย แพลตฟอร์มเล็กๆ ใกล้กับพื้นน้ำจะมีการสร้างที่นั่งเล็กๆ เอาไว้ เพื่อให้ทุกตนที่ไปตักน้ำจะได้สามารถนั่งพักได้ เพื่อรอเติมน้ำจนเต็มถัง

2.วัตถุประสงค์ของผู้เสนอแผนการคือ ต้องการให้ยูซุฟมีชีวิตอยู่ต่อไป โดยไม่ต้องการให้มือของพวกเขาต้องเปื้อนเลือด จากโองการนี้จึงเข้าใจได้ว่า หนึ่งในพี่น้องของยูซุฟมีสติหรือฉลาดมากกว่าคนอื่น เพราะจากคำพูดที่มีเงื่อนไขของเขาที่กล่าวว่า “หากพวกท่านจำต้องทำกระทำเช่นนั้นจริง” เข้าใจได้ว่าพวกไม่เห็นด้วยกับแผนการของพี่น้องคนอื่นที่ต้องการสังหารยูซุฟให้จบเรื่องไป

3. นักตัฟซีรบางท่านได้บันทึกชื่อของพี่น้องยูซุฟ (อ.) คนนี้เอาไว้ เช่น บางท่านกล่าวว่าชื่อของเขาคือ รูบีน ซึ่งเขามีความเฉลียวฉลาดกว่าคนอื่น บางคนกล่าวว่าชื่อของเขาคือ ยะฮูดา และบางคนก็กล่าวว่า ชื่อของเขาคือ ลาวีย์[1] เขาเป็นคนหนึ่งที่คิดว่า ถ้าหากแผนการได้ดำเนินไปจริงกล่าวคือ ถ้าไม่สามารถห้ามปรามพวกพี่ๆ คนอื่นได้แล้วละก็ เขาก็จะเลือกวิธีการที่ว่า ให้เกิดผลเสียน้อยที่สุด หมายถึงแม้ว่าจะเป็นการวางแผนการเอาไว้ล่วงหน้าแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องทำด้วยความระมัดระวัง

บทเรียนจากโองการ :

1.อัลลอฮฺ (ซบ.) ถ้าหากพระองค์ต้องการช่วยเหลือผู้ศรัทธาให้รอดพ้นจากภยันตราย พระองค์จะสอดใส่วิธีแก้ปัญหาให้กับบรรดาศัตรู

2. เมื่อความอิจฉาริษยาได้ขึ้นสูงสุดจึงได้มีการวางแผนที่จะรอบสังหาร และมีการเสนอแผนการอื่นๆ ต่อมา ดังนั้นท่านจงห้ามปรามสิ่งเหล่านั้น