เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อัลกุรอาน โองการที่ 18 บทยูซุฟ

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อัลกุรอาน โองการที่ 18 บทยูซุฟ

 

อัลกุรอาน โองการนี้ กล่าวถึงการกรุมุสาของพี่น้องยูซุฟ เกี่ยวกับการร่างที่สูญหายของยูซุฟ (อ.)  และกล่าวถึงคำตอบอันเจ็บปวดของยะอฺกูบ (อ.) พร้อมกับความอดทนอดกลั้นของเขา โองการกล่าวว่า

18. وَجَآءُو عَلَى‏ قَمِيصِهِ بِدَمٍ كَذِبٍ قَالَ بَلْ سَوَّلَتْ لَكُمْ أَنفُسُكُمْ أَمْراً فَصَبْرٌ جَمِيلٌ وَاللَّهُ الْمُسْتَعَانُ عَلَى‏ مَا تَصِفُونَ‏

คำแปล :

18. พวกเขาได้นำเสื้อของเขา (ยูซุฟ) ที่มีเลือดปลอมติดอยู่ เขา (ยะอฺกูบ) กล่าวว่า มิใช่เช่นนั้นดอก พวกเจ้าได้แต่งเรื่องขึ้นมาเพื่อพวกเจ้า ดังนั้น ฉันจะอดทนโดยสงบ อัลลอฮฺ ทรงให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่พวกเจ้ากล่าวอ้าง

คำอธิบาย :

1. พี่น้องของยูซุฟซึ่งพวกเขาได้โยนซูซุฟ (อ.) ลงไปก้นบ่อลึก ต่างกล่าวอ้างว่า ยูซุฟ (อ.) ได้ถูกสุนัขป่ากินไปแล้ว และเพื่อนำหลักฐานมาประกอบคำให้การ พวกเขาได้นำเอาซากแกะที่ถูกตัดหัว พร้อมกับเสื้อของยูซุฟที่มีเลือดสัตว์ติดปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเขาได้นำเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นพยานเพื่อยืนยันกับบิดาว่า สิ่งที่พวกเขาพูดนั้นเป็นความจริง แต่ตามที่ประวัติศาสตร์ได้รายงานไว้นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางท่านกล่าวว่า พี่น้องยูซุฟได้ถอดเสื้อออกจากร่างของยูซุฟขณะที่ยังดีอยู่ แต่สิ่งที่พวกเขาลืมไปก็คือตามความเป็นจริงแล้ว สุนัขป่าขณะกัดกินยูซุฟเสื้อผ้าต้องขาดวิ่นไปด้วย หลังจากนั้นจึงจะกินยูซุฟ  จากจุดนี้เองศาสดายะอฺกูบ (อ.) จับได้ว่าพวกเขากรุเรื่องมุสาขึ้นมา ท่านจึงได้กล่าวในเชิงเปรียบเปรยกับพวกเขา อำนาจฝ่ายต่ำของพวกเจ้ามันได้ครอบงำพวกเจ้าจนกระทั่งเจ้ากรุการมุสาเพื่อตัวของเจ้าเอง

2. ศาสดายะอฺกูบ (อ.) ชีวิตของท่านได้ทุกข์ระทมอย่างรุนแรงเนื่องจากท่านได้ห่างไกลจากยูซุฟ แต่ท่านก็ไม่ได้คลุ้งคลั่งจนเสียสติแต่อย่างใด ทว่าท่านได้อดทนด้วยขันติธรรมและขอพึ่งพิงต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ขอความช่วยเหลือจากพระองค์ เพื่อว่าท่านจะได้สามารถอดทนต่อพายุที่โหมกระหน่ำอย่างรุนแรงในครั้งนี้ต่อไปได้

3.ศาสดายะอฺกูบ (อ.) กล่าวว่า สิ่งที่พวกเจ้ากล่าวอ้างมา ฉันจะขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ ท่านมิได้กล่าววา ส่วนความตายของยูซุฟนั้นฉันจะขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ เนื่องจากท่านทราบดีว่ายูซุฟยังมีชีวิตอยู่ และท่านไม่ต้องการให้ครอบครัวแตกแยก ทว่าความอดทนเท่านั้นที่จะทำให้บรรดาลูกๆ ของท่านเข้าใจและสำนึกในความผิดพลาดของตน

4. การที่กล่าวว่า  เซาวะลัต ตามรากเดิมหมายถึง การตบแต่ง การส่งเสริมหรือการผสมผสานเข้าด้วยกัน และคำนี้บางครั้งยังหมายถึง เป็นการยุแหย่ ซึงวัตถุประสงค์คือ อำนาจฝ่ายต่ำได้ครอบงำจิตใจเป็นหลายเท่า ซึ่งการกระทำที่ไม่ดีในทัศนะของพวกเขากลับกลายเป็นสิ่งดีงาม

5.โองการได้บ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาด้านจิตวิทยา ซึ่งความปรารถนาอย่างสุดโต่งในเรื่องหนึ่งที่ผสมด้วยความประพฤติอันเลวร้าย กลายเป็นสาเหตุให้พลังแห่งการจำแนกถูกถอดถอนไปจากเขา ความจริงในทัศนะของเขาล่มสลาย จนกระทั่งว่ากิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ดี เช่น การวางแผนสังหารคนอื่นกลายเป็นสิ่งดีงาม ศักดิ์สิทธิ์และมีความจำเป็น

6. การสร้างสถานการณ์ และกรุการมุสาของเหล่าพี่น้องของยูซุฟ กลายเป็นความอื้อฉาวที่ยิ่งใหญ่ที่ได้เกิดขึ้นกับพวกเขา แน่นอนสิ่งนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การกรุการมุสาไม่สามารถปิดบังโฉมหน้าทีแท้จริงของตนได้ตลอดไป อีกด้านหนึ่งเหตุการณ์จริงนั้นมีความสัมพันธ์กับความเป็นจริงมาก ขณะที่การกรุการมุสานั้นไม่สามารถกลบเกลื่อนรายละเอียดของเหตุการณ์ได้ทั้งหมด และในที่สุดแล้วสิ่งหนึ่งที่เป็นเหตุการณ์จริงก็จะถูกลืมเลือนไปจากพวกเขา และเมื่อนั้นความจริงก็จะปรากฏขึ้นมา

7. วัตถุประสงค์ของ ความอดทนโดยสงบ (ซับรุนญะมีล) หมายถึงท่านศาสดายะอฺกูบ (อ.) นอกจากจะอดทนแล้วท่านยังขอบคุณพระเจ้าและความโปรดปรานของพระองค์ ครั้นเมือท่านได้รับข่าวว่ายูซุฟ สูญหายท่านก็มิได้แสดงอาการคลุ้มคลั่ง หรือออกอาการเสียสติแต่อย่างใด หรือไม่ขอบคุณในความโปรดปรานของพระองค์ หรือกล่าวคำพูดหยาบคายออกมาก็หาไม่ ทว่าท่านได้อดทนอย่างสงบ แม้ว่าท่านศาสดายะอฺกูบ (อ.) จะร้องไห้เสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ตาม ถือว่าเป็นเรื่องปกติของผู้เป็นบิดาโดยทั่วไปเมื่อได้รับข่าวคราวที่ไม่ดีเกี่ยวกับบุตร ย่อมแสดงปฏิกิริยาทางธรรมชาติและความรักออกมา ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้ขัดแย้งกับการอดทนโดยสงบแม้แต่นิดเดียว

บทเรียนจากโองการ :

1. จงอย่าให้การกรุการมุสาหรือการสร้างเหตุการณ์โดยพวกกลับกลอก เป็นกลลวงหลอกท่านเด็ดขาด

2. รากที่มาของแผนการชั่วร้าย หรือการกรุมุสา มาจากการหยุแย่ของอำนาจฝ่ายต่ำ ดังนั้น ท่านจงขัดขวางมัน และพึ่งระวังตนให้ดี

3.จงอดทนต่อความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับท่าน และขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺเถิด

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม