เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อัลกุรอาน โองการที่ 20 บทยูซุฟ

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อัลกุรอาน โองการที่ 20 บทยูซุฟ

 

อัลกุรอาน โองการนี้ กล่าวถึงการขายยูซุฟในราคาถูก โองการกล่าวว่า

20. وَشَرَوْهُ بِثَمَنٍ بَخْسٍ دَرهِمَ مَعْدُودَةٍ وَكَانُواْ فِيهِ مِنَ الزهِدِينَ‏

คำแปล :

20. พวกเขาได้ขายเขาด้วยราคาถูก นับได้ไม่กี่เหรียญดิรฮัม และพวกเขาไม่ใยดีในตัวเขา

คำอธิบาย :

1. นักอรรถาธิบายอัลกุรอานส่วนใหญ่กล่าวถึงการขายยูซุฟไว้ 2 ลักษณะด้วยกัน  บางคนกล่าวว่าคณะเดินทางได้ขายยูซุฟ ในอียิปต์ ซึ่งหลักฐานประกอบทัศนะนี้คือ โองการถัดไป เนื่องจากผู้ซื้อยูซุฟได้แนะนำตัวเองว่าเป็นชาวอียิปต์ บางทัศนะกล่าวว่า พี่น้องของยูซุฟนั่นเองที่ขายยูซุฟให้แก่คณะเดินทางด้วยราคาถูก แต่การอรรถาธิบายในทัศนะแรกใกล้เคียงกับความหมายภายนอกและซิยาก (บริบท) ของโองการมากกว่า

2. คำว่า บัคซิน ตามรากเดิมหมายถึง สิ่งที่ได้รับการข่มเหงควรจะลดราคา ในที่นี้วัตถุระสงค์คือ ยูซุฟ ในฐานะที่ได้รับการกดขี่ ฉะนั้น เวลาขายจึงได้ราคาถูกเนื่องจาก ถูกขายในฐานะทาส แน่นอนว่าการกระทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการกดขี่ยูซุฟ อย่างยิ่ง

3. โองการนี้ยังได้กล่าวถึงประวัติของสตางค์ เนื่องจากคำว่า ดิรอฮัม  เป็นพหูพจน์ของคำว่า ดิรฮัม ซึ่งเป็นค่าเงินที่ใช้ในอียิปต์ในสมัยนั้น บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรอานกล่าวว่า ค่าตัวยูซุฟ (อ.) ที่ประกาศขายในวันนั้นอยู่ระหว่าง 18 – 40 ดิรฮัม

4. ผู้ขาย ได้ขายยูซุฟในราดาถูกโดยที่พวกเขาไม่ได้ใยดีในตัวยูซุฟสักเท่าใดนัก เนื่องจากเขาได้ยูซุฟมาในราคาถูก ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าทั้งผู้ขายและผู้ซื้อต่างไม่ได้ใยดีในตัวเขาเลยแม้แต่นิดเดียว

5. โองการข้างต้นได้กล่าวถึงกฎเกณฑ์ในด้านเศรษฐศาสตร์ประการหนึ่งกล่าวคือ เมื่อคณะเดินทางไม่ได้ใยดีในตัวยูซุฟ และไม่มีการเสนอเกี่ยวกับเขา เขาจึงถูกขายทอดตลาดในราคาที่ถูกเพียงนิดเดียว

6. โองการนี้ได้บ่งชี้ให้เห็นว่าระบบทาส และการขายทาสนั้นได้มีมาอย่างช้านานแล้ว

บทเรียนจากโองการ  :

1. บุคคลใดก็ตามหากได้สิ่งมีค่ามาในราคาถูก และไม่รู้จักคุณค่าของสิ่งนั้นเขาก็จะสูญเสียสิ่งนั้นไปโดยเร็วที่สุด

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม