เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อัลกุรอาน โองการที่ 25 บทยูซุฟ

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อัลกุรอาน โองการที่ 25 บทยูซุฟ

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงการหลบหนีของยูซุฟจากเล่ห์กลของซุลัยคอ เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤติที่ยากลำบาก โองการกล่าวว่า

25. وَاسْتَبَقَا الْبَابَ وَقَدَّتْ قَمِيصَهُ مِن دُبُرٍ وَأَلْفَيَا سَيِّدَهَا لَدَى الْبَابِ قَالَتْ مَا جَزَآءُ مَنْ أَرَادَ بِأَهْلِكَ سُوءاً إِلَّآ أَن يُسْجَنَ أَوْ عَذَابٌ أَلِيمٌ‏

คำแปล :

25. ทั้งสองได้วิ่งแข่งไปที่ประตู (นางวิ่งตามยูซุฟ) นางได้ดึงเสื้อเขาจากด้านหลังขาด และทั้งสองพบสามีของนางที่ประตู นางกล่าวว่า อันใดเล่าคือการลงโทษของผู้ทรยศต่อภริยาของท่าน นอกจากการให้จำคุก หรือการลงโทษอันเจ็บปวด

คำอธิบาย :

1.คำว่า อิสติบาก หมายถึง การแข่งขันหรือการแซงหน้าของคน 2 คน หรือมากกว่านั้น การกล่าวเช่นนี้เข้าใจได้ว่าทั้งศาสดายูซุฟ และซุลัยคอต่างวิ่งไปที่ประตู ประหนึ่งเป็นการวิ่งแข่งขันระหว่างทั้งสอง ขณะที่ยูซุฟวิ่งเพื่อหนี แต่ซุลัยคอวิ่งตามไปเพื่อขัดขวาง ยูซุฟไปถึงประตูและได้เปิดประตูออกทันใดนั้นเขาก็ได้พบสามีของนาง อะซีซ ยืนอยู่ที่ประตู

2. ซุลัยคอได้พยายามที่จะขัดขวางยูซุฟไม่ให้หนี ด้วยเหตุนี้ นางได้คว้าเสื้อของเขาจากด้านหลังดึงกลับมา ด้วยเหตุนี้เสื้อของเขาจึงขาดวิ่น อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกล่าวถึงประเด็นนี้โดยใช้คำว่า ก็อดดัต หมายถึงเสื้อได้ขาดตามยาวจากด้านบนลงไปด้านล่าง ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่ายูซุฟได้วิ่งหนี และมีคนอื่นไล่ตามเขาเพื่อทำร้าย

3. คำว่า สะยะดะ หมายถึง ท่านหรือนาย ตามวัฒนธรรมของอียิปต์และความเคยชินของประชาชนก็คือ สตรีจะเรียกสามีของตนว่า ซัยยิด

4. โองการได้ชี้ให้เห็นว่า ซุลัยคอไม่ยอมแพ้ นางได้เปลี่ยนปฏิกิริยาทันทีนางได้แสดงมารยาเพื่อให้เห็นว่านางเป็นฝ่ายถูก และได้ชี้ไปที่ยูซุฟว่า เขามีเจตนาที่จะกระทำมิดีมิร้ายกับฉัน นางต้องการกรุการมุสาถึงสาเหตุที่นางได้อยู่สองต่อสองกับอยู่ซุฟ ในห้องว่างเพื่อเอาตัวรอดในช่วงเวลาคับขันเช่นนั้น และในที่สุดยูซุฟ (อ.) ผู้สะอาดบริสุทธิ์ได้รับความอธรรมจนกระทั่งถูกนำตัวไปลงโทษจำคุกเอาไว้

5. ประเด็นสำคัญก็คือ ซุลัยคอ กล่าวว่า ถ้าหากมีบุคคลหนึ่งคิดไม่ดีกับครอบครัวและภรรยาของท่าน โทษของเขาคืออะไร โดยนางได้ใช้คำพูดว่า อะฮฺลิกะ เพื่อกระตุ้นให้สุภาพบุรุษเฉกเช่น อะซีซต้องหวั่นไหว และจะได้ลงโทษยูซุฟ ขณะที่ก่อนหน้านี้เพียงชั่วครู่ นางได้ลืมไปว่าเขาคือสามี

6. อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ซุลัยคอมิได้กล่าวว่า ยูซุฟมีเจตนาไม่ดีกับนาง แต่นางได้กล่าวว่านี่คือความจริงที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นได้ถามถึงโทษทัณฑ์ที่ยูซุฟจะได้รับ นางได้กล่าวต่อไปว่า เขาจะถูกจำคุก หรือถูกลงโทษอย่างแสนสาหัส ถูกทรมาน และประหารชีวิตหรือไม่ ?

7. จากโองการข้างต้นเข้าใจได้ว่า มีการลงโทษอย่างรุนแรงกับผู้ที่ละเมิดภรรยาและบุตรสาวของคนอื่น ซึ่งการปฏิบัติลักษณะนี้มีประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน และหากได้มีการปฏิบัติเช่นนั้นจริงเขาจะได้รับโทษถูกจำคุก หรือได้รับโทษทัณฑ์รุนแรงอย่างอื่น ในอิสลามก็มีกฎเกณฑ์การลงโทษสำหรับการคนชู้ หรือเป็นชู้กับสามีหรือภรรยาคนอื่น ด้วยการประหารชีวิต

8.โองการก่อนหน้านี้กล่าวว่า ถ้าหากบุรุษและสตรีอยู่ในสถานที่เดียวกัน โดยที่บุคคลที่สามไม่สามารถเข้าไปในที่นั้นได้  การอยู่ในที่นั้นถือว่า ฮะรอม (เป็นบาป) เนื่องจากชัยฏอนจะหยุแย่ให้ทั้งสองกระทำความผิด ในที่นี้จะเห็นว่ายูซุฟ (อ.) ได้พยายามหนีออกจากสถานที่ตรงนั่น เพื่อไม่ให้ตนเองได้ตกอยู่ในบ่วงกรรมของบาปกรรม

บทเรียนจากโองการ :

1. จงหลีกเลี่ยงจากสถานที่ๆ โน้มนำไปสู่การทำบาปกรรม

2.จงอย่าหลงกลเล่ห์เพทุบายของคนอื่นแม้เขาจะได้รับการกดขี่ก็ตาม เพื่อว่าตนจะได้ไม่กระทำความผิด

3. ความรักเยี่ยงคนตาบอดคือบ่อเกิดของความผิดพลาด การล้างแค้น และการลงโทษผู้ที่ไม่ได้กระทำความผิด

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม