เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อัลกุรอาน โองการที่ 26,27 บทยูซุฟ

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อัลกุรอาน โองการที่ 26,27 บทยูซุฟ

 

อัลกุรอาน ทั้งสองโองการนี้ได้กล่าวถึงการปกป้องตัวเองของยูซุฟ และพยายานที่ยืนยันความบริสุทธิ์ของยูซุฟ โองการกล่าวว่า

26 و 27. قَالَ هِىَ روَدَتْنِى عَن نَفْسَى وَشَهِدَ شَاهِدٌ مِّنْ أَهْلِهَآ إِن كَانَ قَمِيصُهُ قُدَّ مِن قُبُلٍ فَصَدَقَتْ وَهُوَ مِنَ الْكذِبِينَ* وَإِن كَانَ قَمِيصُهُ قُدَّ مِن دُبُرٍ فَكَذَبَتْ وَهُوَ مِنَ الصدِقِينَ‏

คำแปล :

26. เขากล่าวว่า นางได้อ้อนวอนยั่วยวนจะขืนใจฉัน ขณะนั้นพยานคนหนึ่งจากบริวารของนางได้เป็นพยานว่า ถ้าเสื้อของเขาถูกดึงขาดทางด้านหน้า ดังนั้น นางพูดจริง และเขาอยู่ในหมู่ผู้มุสา

27. ถ้าเสื้อของเขาถูกฉีกขาดทางด้านหลัง ดังนั้น นางมุสา และเขาอยู่ในหมู่ผู้พูดจริง”

คำอธิบาย :

1.ศาสดายูซุฟ (อ.) ผู้บุรุษที่อ่อนโยนและรู้จักหน้าที่เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เองขณะที่ท่านได้พบกับอะซีซแห่งอียิปต์ ท่านมิได้กล่าวสิ่งใดทั้งสิ้น และมิได้ตำหนิซุลัยคอ แต่อย่างใด แต่ในคำใส่ร้ายของซุลัยคอ ท่านอิมามนิ่งเฉยต่อไปได้ ท่านศาสดาได้เปิดเผยความจริง ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสิ่งนั้นเป็นเพียงการปกป้องตนเอง

2. ในสถานการณ์ที่ทั้งสามคนได้เผชิญหน้ากันระหว่าง อะซีซ ศาสดายูซุฟ และซุลัยคอ ซึ่งเสื้อที่ขาดหวิ่นของศาสดายูซุฟ (อ.) เป็หลักฐานที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากศาสดาเป็นเด็กหนุ่มคำพูดของท่านจึงไม่ม่น้ำหนักและน้อยคนที่ยอมรับฟัง  ทั้งที่ท่านเป็นผู้บริสุทธื ขณะที่ซุลัยคอคือสตรีที่มีเกียรติแต่นางได้กระทำผิด ด้วยเหตุนี้เอง สิ่งที่เกิดขึ้นจึงต้องอาศัยอำนาจตุลาการเป็นผู้ตัดสิน และได้มีคำสั่งในนำเอาผู้พิพากษามาจากครอบครัวของซุลัยคอมาเป็นผู้ตัดสิน

3. ผู้พิพากษาภายในครอบครัว เป็นผู้มีความยุติธรรมไม่เข้าข้างฝ่ายใด เขาได้พิจารณาจากหลักฐานและสัญลักษณ์ต่างๆ แล้ว จึงได้กล่าววา เนื่องจากไม่มีพยายานรู้เห็นเหตุการณ์แม้แต่คนเดียว จึงไม่อาจนำสืบพยานจากฝ่ายใดได้ทั้งสิ้น แต่ผู้ตัดสินได้พิจารณาจากหลักฐานชิ้นเดียวที่ยังคงเหลืออยู่นั่นคือ เสื้อที่ขาดวิ่นของศาสดายูซุฟ (อ.) เขาได้กล่าวว่า ลองเอาเสื้อมาดูถ้าหากเสื้อของยูซุฟมีรอยขาดจากด้านหน้า เท่ากับเขาเป็นฝ่ายจุ่โจม ส่วนซุลัยคอเป็นฝ่ายป้องกัน แต่ถ้าเสื้อขาดจากด้านหลังซุลัยคอเป็นฝ่ายจุ่โจม ส่วนยูซุฟเป็นฝ่ายป้องกันและความถูกต้องอยู่กับเขา ซึ่งการตัดสินในครั้งนี้ทำให้ศาสดายูซุฟ (อ.) เป็นฝ่ายถูกต้องและบริสุทธิ์จริง

4. วัตถุประสงค์จากคำว่า ชาฮิด ในโองการข้างต้นหมายถึง บุคคลที่มีความชาญฉลาดและเป็นผู้มีความยุติธรรม ซึ่งได้รับเลือกมากจากครอบครัวของซุลัยคอ  ซึ่งนักอรรถาธิบายบางท่านเชื่อว่า เขาเป็นที่ปรึกษาอะซีซแห่งอียิปต์ในสมัยนั้น  ซึ่งในขณะที่อยู่ซุฟเปิดประตูมาเขาอยู่กับอะซีซด้วย

5. การที่ได้เลือกผู้ตัดสินมาจากครอบครัวของซุลัยคอ มีประเด็นสำคัญ 2 ประเด็นให้พิจารณา กล่าวคือ

ประเด็นที่ 1 เนื่องจากผู้ตัดสินที่มาจากครอบครัวเดียวกัน จะเป็นผู้เก็บความลับและเกียรติยศของครอบครัวในสังคมเอาไว้

ประเด็นที่ 2 ถ้าหากฝ่ายถูกตัดสินว่าผิดจริง ครอบครัวของนางจะสามารถยอมรับความจริงได้อย่างง่ายดาย และจะได้ไม่มองสามีหรือผู้ตัดสินว่าเป็นศัตรู และนี่ถือว่าเป็นการกระทำที่ฉลาดที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว

6. เสื้อของศาสดายูซุฟ (อ.) ตามหน้าประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นเสื้อที่สร้างสถานการณ์แตกต่างกัน ครั้งหนึ่งเสื้อของยูซุฟถูกเหล่าพี่ชายนำมาเป็นพยานยืนยันต่อบิดาว่า ยุซุบถูกสุนัขป่ากินไปแล้ว แล้วครั้งนี้เสื้อของท่านศาสดากลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ทำให้ท่านรอดพ้นจากแผนการณ์ร้ายของซุลัยคอ และครั้งที่สามเสื้อของท่านกลายเป็นชะฟาอะฮฺ (สิ่งบำบัด) ดวงตาที่บอดสนิทของศาสดายะอฺกูบ (อ.) ผู้เป็นบิดาที่ร่ำไห้คิดถึงท่านจนกระทั้งนัยนาทั้งสองบอดสนิท ใช่แล้ว บางครั้งอัลลอฮฺ (ซบ.) จะนำเอาสิ่งที่มีค่าน้อยที่สุดเป็นปัจจัยเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ และทำลายแผนการณ์ร้ายของศัตรู เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่ง

บทเรียนจากโองการ :

1. ผู้ที่ถูกใส่ร้ายสามารถปกป้องตนเองได้ ถ้าหากคำพูดของเขาสามารถเปิดม่านแห่งความเร้นลับให้ประจักษ์แก่ผู้อื่นได้

2. ในการตัดสินจำเป็นต้องใส่ใจและพิจารณาที่หลักฐานเป็นองค์ประกอบสำคัญ เพื่อจะได้สมารถสืบไปถึงผู้กระทำความผิดที่แท้จริงได้

3. ผู้ตัดสินสามารถตัดสินไปตามร่องรอยของความผิดได้

4. กรณีที่เกิดมีความแตกแยกขึ้นภายในครอบครัว จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากผู้ตัดสินภายในครอบครัว

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม