อัลกุรอาน โองการที่ 30 บทยูซุฟ

อัลกุรอาน โองการที่ 30 บทยูซุฟ

 

อัลกุรอาน โองการนี้ได้กล่าวถึงคำโจษขานของสตรีชาวอียิปต์ ที่มีต่อซุลัยคอ โองการกล่าวว่า

30. وَقَالَ نِسْوَةٌ فِى الْمَدِينَةِ امْرَأَتُ الْعَزِيزِ تُروِدُ فَتهَا عَن نَّفْسِهِ قَدْ شَغَفَهَا حُبّاً إِنَّا لَنَرَيهَا فِى ضَللٍ مُّبِينٍ‏

คำแปล  :

30. พวกผู้หญิงในเมืองโจษขานกันว่าภริยาของอะซีซ ยั่วยวนบ่าวหนุ่มของนางเพื่อขืนใจเขา แน่นอน นางลุ่มหลง (ยูซุฟ) ด้วยความรัก แท้จริง เราเห็นว่านางอยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้ง

คำอธิบาย :

อุบายใหม่ของซุลัยคอ

แม้ว่าการเปิดเผยความรักที่อะซีซมีต่อภริยาของตน และเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาเป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งอะซีซได้กำชับและเน้นย้ำว่าให้ปิดบังเรื่องเหล่านั้นเอาไว้ แต่กระนั้นก็เหมือนกับสุภาษิตที่ว่า ไม่มีความลับใดในโลกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระราชสำนักมีคนมากหน้าหลายตา จึงไม่สามารถปิดบังเรื่องเหล่านั้นได้

 1. คำว่า ชะเฆาะฟะ ตามรากศัพท์เดิมหมายถึง คั้วที่อยู่เหนือหัวใจ หรือเยื่อบางๆ ที่หุ้มหัวใจเอาไว้ ในที่นี้หมายถึง ความรักลุ่มหลงของซุลัยคอที่มีต่อยูซุฟ ซึ่งได้ฝังแน่นอยู่ในใจของนางตลอดมา

2. จากโองการก่อนหน้านี้เข้าใจได้ว่าอะซีซ และผู้พิพากษาที่สอบสวนคดีซุลัยคอ ได้ขอร้องว่าประเด็นของซุลัยคอที่จบสิ้นแล้ว อย่างได้แพร่งพรายออกไป ให้เก็บไว้เป็นความลับ แต่โองการนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า ความลับของครอบครัวมิได้ถูกเก็บรักษาเอาไว้ มันได้แพร่งพรายไปสู่ภายนอกพระราชวัง

3. พวกเขาได้โจษขานกันเกี่ยวกับความลุ่มหลงของซุลัยคอที่มีต่อบ่าวหนุ่มที่มีความสง่างามยิ่ง ซึ่งพวกเขาได้โจษขานกันถึงมารยาของนาง เนื่องจากโองการหลังจากนี้กล่าวถึงมารยาและอุบายของซุลัยคอ ซึ่งนางได้ต้อนรับแขกในราชสำนักของนาง

4.จากโองการข้างต้นนี้เข้าใจได้ว่า ความรักลุ่มหลงของซุลัยคอ ได้แพร่กระจายออกไปภายในกลุ่มรัฐบาลอย่างกว้างขวาง ตลอดจนในพระราชสำนัก จนค่อยๆ กระจายไปทั่วเมือง แน่นอน คำโจษขานทำนองนี้หรือความเสื่อมเสียที่คล้ายคลึงกันในพระราชสำนักสมัยก่อนถือว่าเป็นเรื่องปกติ

บทเรียนจากโองการ :

1. จงอย่าทำความผิดและจงอย่าทรยศหักหลัง เพราะบนโลกนี้จะได้รับการตำหนิอย่างรุนแรงจากบุคคลทั่วไป

2. ความสัมพันธ์ที่ไม่ถูกต้องตามหลักการเป็นการหลงทางประเภทหนึ่ง และสมควรได้รับการตำหนิและประณามอย่างยิ่ง

3. สตรีคือผู้มีบทบาทในการโจษขาน ดังนั้น จงระวังต่อเองให้ดี