อัลกุรอาน โองการที่ 31 บทยูซุฟ

อัลกุรอาน โองการที่ 31 บทยูซุฟ

 

อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงอุบายและการสร้างสถานการณ์ของซุลัยคอ ซึ่งสร้างความตะลึงงันแก่เหล่าสตรีผู้เป็นแขกของนางในพระราชสำนัก ถึงความหล่อและสง่างามของยูซุฟ (อ.) โองการกล่าวว่า

 

 فَلَمَّا سَمِعَتْ بِمَكْرِهِنَّ أَرْسَلَتْ إِلَيْهِنَّ وَأَعْتَدَتْ لَهُنَّ مُتَّكَئاً وَءَاتَتْ كُلَّ وحِدَةٍ مِّنْهُنَّ سِكِّيناً وَقَالَتِ اخْرُجْ عَلَيْهِنَّ فَلَمَّا رَأَيْنَهُ أَكْبَرْنَهُ وَقَطَّعْنَ أَيْدِيَهُنَّ وَقُلْنَ حشَ لِلَّهِ مَا هذَا بَشَراً إِنْ هذَآ إِلَّا مَلَكٌ كَرِيمٌ‏

 

คำแปล :

31. เมื่อนาง (ภริยาของอะซีซ) ได้ยินเสียงโจษจันของหญิงเหล่านั้น นางจึงส่งคนไปเชิญหญิงเหล่านั้น นางได้เตรียมฟูกไว้ (ผลไม้) สำหรับพวกนาง และได้ให้มีดแก่นางทุกคน เวลานั้นนางกล่าว (แก่ยูซุฟว่า) จงออกไปหานางเหล่านั้น ครั้นเมื่อพวกนางเหล่านั้นเห็นเขาก็ตะลึงงันในตัวเขา และได้เฉือนมือของพวกนางอย่างลืมตัว พวกนางกล่าวว่า มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺ นี่ไม่ใช่สามัญชนแน่นอน นี่มิใช่ใครอื่นนอกจากมะลักผู้มีเกียรติ

คำอธิบาย :

ภริยาของอะซีซ นั้นล่วงรู้ถึงอุบายและแผนการของสตรีชาวอียิปต์เป็นอย่างดี ตอนแรกนางโกรธมาก หลังจากนั้นได้คิดว่า เป็นการดีถ้าจะเชิญพวกนางเป็นแขกมาร่วมในงานประชุม และทำให้พวกนางตกต่ำที่สุด นางจึงได้มอบมีดปลอกผลไม้ที่มีความคมเป็นพิเศษแก่พวกนางทุกคน

1.ตามความเชื่อของนักตัพซีรบางท่านที่ว่า เหล่าสตรีอียิปต์ซึ่งได้เชื่อตามคำโจษขานและข่าวลือที่มีต่อซุลัยคอ พวกนางได้รับแรงกระตุ้นจากนาง เพื่อหาข้ออ้างในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของนางจึงได้ถูกเชิญมายังพระราชวังของนาง เพื่อมายลโฉมอันสง่างามของยูซุฟ และพวกนางจะได้สร้างสายสัมพันธ์กับยูซุฟ ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ เข้ากันได้เป็นอย่างดีกับคำพูดที่กล่าวว่า มักริฮินนะ (เสียงโจษขาน)  ซึ่งสตรีอียิปต์ในขณะนั้น จากรายงานฮะดีซบางบทกล่าวว่าพวกนางมีจำนวน 10 คนหรือมากกว่า 10 คน

2. คำว่า มุตตะกัน หมายถึงสิ่งที่ใช้พิงเอกเขนก เช่น หมอนอิง เตียง เก้าอีก ซึ่งเป็นสิ่งของที่มีอยู่ปกติในราชสำนักสมัยโบราณ บางคนกล่าวว่า คำๆ นี้หมายถึง อุปกรณ์ของผสมซึ่งประกอบด้วยสิ่งของหลายอย่างด้วยกัน อย่างไรก็ตาม การกล่าวเช่นนี้ย่อมบ่งบอกให้เห็นว่า ซุลัยคอได้ให้การต้อนรับเหล่าสตรีเหล่านั้นเป็นอย่างดีพิเศษ และนางได้นำผลไม้ที่ต้องใช้มีปลอกมาเลี้ยงดูพวกนางด้วย

3. การที่กล่าวว่ อุครุจญ์  ในโองการข้างต้นนั้นหมายถึง (ออกไป)  กล่าวคือ ซุลัยคอได้กล่าวแก่บ่าวหนุ่มของนางว่า จงออกไปหาพวกนาง มิได้กล่าวว่า จงเข้ามาซิ ซึ่งการกล่าวทำนองนี้แสดงให้เห็นว่า ศาสดายูซุฟ (อ.) ได้ถูกกักบริเวณอยู่ในห้องภายในพระราชสำนัก ซึ่งท่านไม่ได้เข้ามาทางประตูเข้า และการข้ามาของท่านก็มิได้เป็นที่คาดหวังของผู้ใด

เมื่อพวกนางได้เห็นใบหน้าที่งามสง่าเปล่งด้วยรัศมีของยูซุฟ สายตาของพวกนางได้จับจ้องใบหน้าที่งามสง่าอย่างไม่คาดสายตา ซึ่งเปรียบเสมือนดวงตะวันที่ทอแสงอยู่หลังมวลเมฆทันได้นั้นได้ปรากฏโฉมออกมาอย่างฉับพลัน สร้างความตะลึงแก่สายตาทุกคู่ เขาได้ทอแสงท่ามกลางที่ประชุมนั้น จนทำให้พวกนางต่างลืมตัวไม่รู้จักมือและเท้าว่าเป็นอย่างไร อัลกุรอานกล่าวว่า “ครั้นเมื่อพวกนางเหล่านั้นเห็นเขาก็ตะลึงงันในตัวเขา และได้เฉือนมือของพวกนางอย่างลืมตัว”

4. คำว่า ฮาชา หมายถึง ข้างๆ หรือด้านใดด้านหนึ่ง ส่วนคำว่า ตะฮาชา หมายถึง การถอยออกไปด้านข้าง การกล่าวเช่นนี้หมายถึง อัลลอฮฺ ทรงพิสุทธิ์ยิ่ง ซึ่งโองการได้กล่าวถึงว่า ยุซุฟ (อ.) ก็เป็นบ่าวที่มีความบริสุทธิ์มีความงามและสุภาพอ่อนโยนยิ่ง

6. จากโองการข้างต้นเข้าใจได้ว่า ประชาชนชาวอิยีปต์ในสมัยของท่านศาสดายูซุฟ (อ.) พวกเขามีความเชื่อเรื่องมลาอิกะฮฺด้วยเช่นกัน พวกนางจึงได้อุทานความงามของยูซุฟว่า งามสง่าเหมือนมลาอิกะฮฺ

7. ซุลัยคอ คือสตรีที่เปี่ยมไปด้วยวิสัยทางการเมือง นางได้แสดงให้เห็นว่านางสามารถสร้างความตะลึงงันแก่สตรีอียิปต์ในตอนนั้นได้อย่างฉับพลัน และทำลายแผนการของพวกนางจนหมดสิ้น

8.หนึ่งในความสวยงามของการเล่าเหตุการณ์ของอัลกุรอาน ที่กล่าวถึงความงามของยูซุฟ จะเห็นว่าอัลกุรอานมิได้กล่าวถึงความงามโดยตรงของยูซุฟ แต่ได้อธิบายถึงสถานการณ์ ซึ่งจะเห็นว่าความงามของยูซุฟมีบทบาทสำคัญต่อความคิดของสตรีเหล่านั้น