เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อัลกุรอาน โองการที่ 32 บทยูซุฟ

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อัลกุรอาน โองการที่ 32 บทยูซุฟ

 

อัลกุรอาน โองการนี้ได้กล่าวถึงการกรุข้ออ้างของซุลัยคอ โองการกล่าวว่า

 

 قَالَتْ فَذلِكُنَّ الَّذِى لُمْتُنَّنِى فِيهِ وَلَقَدْ روَدتُّهُ عَن نَّفْسِهِ فَاسْتَعْصَمَ وَلَئِن لَّمْ يَفْعَلْ مَآ ءَامُرُهُ لَيُسْجَنَنَّ وَلَيَكُوناً مِنَ الصغِرِينَ‏

 

คำแปล :

32. นาง (ซุลัยคอ) กล่าวว่า เขานี่แหละคือผู้ที่พวกเธอติเตียนฉันเกี่ยวกับเขา แน่นอน ฉันได้ยั่วยวนที่จะขืนใจเขา แต่เขาสงวนตัวและหลีกเลี่ยง ฉะนั้น ถ้าเขาไม่ทำตามที่ฉันสั่ง เขาจะถูกจำคุกและจะอยู่ในหมู่ผู้ต่ำต้อย

คำอธิบาย :

1.เมื่องานประชุมของเหล่าสตรีอียิปต์ ได้เปลี่ยนเป็นงานเฉือนมือตัวเอง เนื่องจากความตะลึงงันในความงามสง่าของศาสดายูซุฟ (อ.)  ซุลัยคอได้หยิบฉวยโอกาสทันทีโดยนางได้กล่าวว่า พวกเธอเพิ่งจะเห็นยูซุฟเป็นครั้งแรก พวกเธอยังคลั่งไคล้ในความงามสง่าของเขาจนเกือบเสียสติเป็นบ้าเป็นหลัง ถึงกับเอามีดเฉือนมือตัวเอง แล้วฉันละจะเป็นเช่นไร เนื่องจากฉันได้เห็นเขาทุกวัน ฉันไม่มีสิทธิหลงรักเขาดอกหรือ ฉันไม่สมควรได้รับการตำหนิและโจษจรรย์ในทางไม่ดี ซึ่ง

คำพูดของซุลัยคอ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นหนึ่งในข้อสมอ้างที่ต้องการกลบเกลื่อนความผิดของตน ที่นางได้ก่อขึ้นเท่านั้น

2.จากโองการข้างต้นเข้าใจได้ว่า งานต้อนรับแขกที่เป็นสตรีชาวอียิปต์ได้เริ่มต้นด้วยการหยามเยียดของพวกนางที่มีต่อซุลัยคอมาก่อนหน้านั้น พวกนางคิดว่าซุลัยคอไม่บริสุทธิ์ใจพอ นางไม่มีความละอายที่คิดจะชืนใจยูซุฟ

ซึ่งประเด็นนี้ได้ชี้ให้เห็นว่างานประชุมตรงนั้นได้หลุดความเป็นปกติธรรมดาไปแล้ว  เนื่องจากสตรีบางคนได้ปกป้องยูซุฟ ดังที่รายงานฮะดีซบางบทกล่าวว่า สตรีบางท่านได้ต้องการติดต่อกับยูซุฟโดยตรง ตรงนี้เองที่ซุลัยคอได้หยิบฉวยโอกาสและลดวิกฤติของตัวเอง จนกระทั่งได้ขู่ยูซุฟว่าจะต้องถูกนำตัวไปจำคุก

3. โองการข้างต้นเป็นพยานที่ยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของศาสดายูซุฟ (อ.) เนื่องจากแม้แต่ศัตรูของท่านก็ยังยืนยันในความบริสุทธิ์ของท่าน

4. ถ้าหากจะเปรีบเทียบโองการนี้กับโองการที่ 25 บทเดียวกัน เราจะได้รับประเด็นที่เป็นทั้งปัญหาสังคม และจิตวิทยา เนื่องจากโองการที่ 25 กล่าวว่า ซุลัยคอได้ปิดประตูทั้งหมดอย่างแน่นหนา เพื่อว่าคนอื่นจะได้ไม่เห็นความผิดของนาง แม้กระทั่งความผิดของนาง ๆ ยังได้โยนให้เป็นความผิดของยูซุฟ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ยังไม่ทันที่จะตัดสินความจริง นางก็ปฏิเสธคำโจษจรรย์ที่เกิดขั้น แต่หลังจากการโจษขานได้แพร่กระจายในสังคม นางก็ได้สารภาพความผิดและได้พยายามขู่กรรโชกให้ยูซุฟเป็นผู้ยอมรับความผิด

ใช่ การเปิดม่านและโจษจรรย์ความผิดของบุคคลอื่น ในแง่ของจิตวิทยาถือว่าเป็นการทำร้ายจิตใจของคนอื่นอย่างรุนแรง แต่ในแง่ของสังคมถือว่าเป็นสาเหตุของการขยายความผิดให้กว้างออกไป และเป็นการทำลายคุณค่าของสังคมด้วย

บทเรียนจากโองการ :

1. การรวบรวมความผิดเข้าด้วยกัน เปรียบเสมือนม่านแห่งบาปกรรม และเป็นการเริ่มต้นของความผิด

2. จงอย่าประณามคนอื่นเกี่ยวกับภารกิจที่เรามุ่งหมายทีจะกระทำ

3. ความลุ่มหลงในความผิดจะโน้มนำมนุษย์ไปสู่การถูกตำหนิ และการประณามในทางเสื่อมเสีย

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม