เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

บทเรียน "นิติศาสตร์การเมืองอิสลาม" ตอนที่ 1

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

บทเรียน "นิติศาสตร์การเมืองอิสลาม" ตอนที่ 1

 

“นิติศาสตร์การเมือง หมายถึง กลุ่มประโยคที่มีหัวข้อหลัก(เมาฎูอ์)เกี่ยวข้องกับการเมือง ส่วน บริบท(มะห์มูล)เกี่ยวข้องกับนิติศาสตร์ เช่น การปกครองเป็นข้อบังคับ (วาญิบ) หรือ การปกครองเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมหนึ่ง คือ ประโยคหนึ่งที่มีรูปประโยค เป็นประโยคที่มีนาม(มุบตะดา)และ กรรม(คอบัร)ของมุบตะดาที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น คุมส์เป็นข้อบังคับ(วาญิบ) หรือซะกาตเป็นข้อบังคับ(วาญิบ) เมื่อคอบัรมีบทบาทของฮุกุ่มหนึ่งและมุบตะดาเกี่ยวข้องกับการเมืองเป็นการเฉพาะ เมื่อนั้นมะห์มูลที่ต้องการจะฮุกุ่มเกี่ยวกับนิติศาสตร์ก็จะให้ฮุกุ่มว่าเป็นมุสตะฮับ วาญิบ และบทบัญญัติทั้งห้าประการนั่นเอง ดังนั้น การถกของเรานั้นอยู่ในกรอบของนิติศาสตร์การเมือง เพียงแต่มีประเด็นหนึ่งที่จะต้องกล่าวคือ เป็นไปได้ว่าพวกท่านอาจะเกิดคำถามขึ้นว่า นิติศาสตร์ทางการเมือง เป็นประเด็นใหม่ทางด้านนิติศาสตร์ของเราหรือไม่? หรือเป็นประเด็นเก่า? ผมจะชี้ให้เห็นต่อไปว่า ไม่ใช่เลย! ประเด็นนี้มีอยู่แล้วในนิติศาสตร์รุ่นเก่า หากพวกท่านดูสารบัญตำราต่างๆของบรรดาผู้รู้ของพวกเรา ตั้งแต่เชคมุฟีด เชคฏูซี  ประมาณพันกว่าปีก่อนก็มีการถกเกี่ยวกับประเด็นนิติศาสตร์การเมืองอย่างเข้มข้นอยู่แล้ว ทว่านิติศาสตร์รุ่นเก่ากล่าวถึงเนื้อหาทางด้านนิติศาสตร์ปะปนอยู่ในนิติศาสตร์ทั่วไป ยังไม่ถูกแยกออกมาจากนิติศาสตร์ทั่วไป ด้วยเหตุนี้ บางครั้งที่ผมเองได้พูดคุยกับบางท่านที่อ้างตนเป็นอายาตุลลอฮ์ว่า นิติศาสตร์ผสม พวกเขากล่าวกันว่า อะไรนะ? พูดแบบอิหร่านคืออะไรกันพวกเรายังไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย นิติศาสตร์แบบผสม วันนี้ต้องนำมาแยกแบ่งหมวดใหม่ ต้องดึงเอาหลักการ (มะบอนี) ของนิติศาสตร์เหล่านั้นออกมา การที่พวกเขาพูดว่า “อะไรนะ” เพราะพวกเขาคาดหวังว่าผมจะเหมือนกับพวกเขาที่อธิบายนิติศาสตร์แบบเดิม (ซุนนะตี)ที่ผสมนิติศาสตร์ไว้ด้วยกันทั้งหมด ทว่าไม่ใช่! ปัจจุบันพวกเราคนรุ่นใหม่ต้องพยายามจัดแบ่งหมวดหมู่นิติศาสตร์ใหม่ เรามีนิติศาสตร์ทั่วไป ซึ่งตอนนี้เราก็มีนิติศาสตร์เฉพาะด้าน ในมุมมองของผมแล้วนิติศาสตร์เฉพาะด้านนั้นมีมากมายที่เราต้องค้นหา เช่น นิติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรม นิติศาสตร์ด้านสังคม นิติศาสตร์ด้านเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์การเมือง นิติศาสตร์ต้องมีหลายๆด้าน ยิ่งเคลื่อนไปข้างหน้าแขนงต่างๆ  ความรอบคอบของทัศนะต่างๆต้องมีมากขึ้น และยังหวังว่าหนึ่งในสิ่งที่พวกเราต้องการที่จะถกกันตอนนี้คือ นิติศาสตร์ทางการเมือง ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของนิติศาสตร์ทั่วไป เป็นชุดย่อยที่อยู่ภายใต้นิติศาสตร์ทั่วไป และนิติศาสตร์การเมืองนี้มีเมาภูอ์เกี่ยวข้องกับการเมืองและมีมะห์มูลเกี่ยวข้องกับนิติศาสตร์ กระทั่งเราสามารถที่จะกล่าวได้ว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนิติศาสตร์ทางการเมือง จัดให้อยู่ในหมวดหมู่ของนิติศาสตร์ทางการเมือง และต้องการเหตุผลด้วยเช่นกัน ไม่ใช่ว่ากล่าวอ้างสิ่งหนึ่งอย่างลอยๆได้ ดังนั้นหากเราหยิบตำรารุ่นเก่ามา เราสามารถที่จะใส่เครื่องหมายแบ่งนิติศาสตร์การเมืองออกมาแม้ว่าจะปนอยู่กับนิติศาสตร์ทั่วไป กระทั่งกล่าวได้ว่านี่คือ นิติศาสตร์ทางการเมือง นี่คือเรื่องสถาปัตยกรรม นี่คือเรื่องเศรษฐศาสตร์ นี่คือเรื่องสังคม เราต้องพยายาม อินชาอัลลอฮ์ จำแนกมันออกมาให้อยู่ในที่ๆ ของมัน การแบ่งหมวดหมู่เช่นนี้จะทำให้เราสามารถทำให้เรื่องนิติศาสตร์ทันสมัยยิ่งขึ้น ก้าวหน้าขึ้น และทำให้นักศึกษาศาสนา นักศึกษาของเราเข้าถึงเนื้อหาและเรียนได้ง่ายขึ้นและสามารถนำเสนอเหตุผลของมันได้ดียิ่งขึ้น


บทเรียน นิติศาสตร์การเมืองอิสลาม

สอนโดย เชคนัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ผู้แทนมหาวิทยาลัยอัลมุศฏอฟา ประจำประเทศไทย


แปลโดย เชคอิมรอน พิชัยรัตน์

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม