บทเรียน "นิติศาสตร์การเมืองอิสลาม" ตอนที่ 2

บทเรียน "นิติศาสตร์การเมืองอิสลาม" ตอนที่ 2

 


คำนิยาม "นิติศาสตร์การเมือง"


สำหรับนิยามของ “นิติศาสตร์ทางการเมือง” นั้นคือ ประโยคที่เมาฎูอ์ของมันนั้นเกี่ยวข้องกับการเมืองส่วนมะห์มูลของมันนั้นเกี่ยวข้องกับนิติศาสตร์นั่นเอง เช่น การปกครองเป็นสิ่งจำเป็น(วาญิบ) และเหตุผลที่ยืนยันสิ่งนี้คือหลักฐานทั้งสี่ได้แก่ อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ สติปัญญา และอิจมาอ์

 

ซึ่งเราต้องหาหลักฐานมายืนยันสิ่งเหล่านี้ อายาตุลลอฮ์ญะวาดี กล่าวถึงความสำคัญของประเด็นนี้โดยกล่าวกับพวกเราว่า เมื่อไปยังเมืองต่างๆ ให้อ่านซิยารัตแบบนี้

 

السلام علیکم یا ارکان البلاد وساسة العباد

ซึ่งเป็นบทซิยารัตหน้าแรกของซิยารัตญามิอะฮ์ เป็นบทซิยารัตที่อิมามฮาดีย์ (อ.)ได้ทิ้งไว้ให้แก่พวกเรา  انتم ساسة العباد น่าทึ่งมาก เราถือว่าบรรดาอิมามมะอ์ซูม คือ ผู้ปกครองปวงบ่าว ยิ่งเป็นคำพูดที่มาจากท่านอายาตุลลอฮ์ญะวาดี ก็ยิ่งทำให้เราเชื่อได้สนิทใจยิ่งขึ้นกว่าเป็นคำพูดของผมเอง ท่านกล่าวว่าต้องเข้าใจว่าพวกท่านคือบรรดาผู้รู้การเมือง หากพวกท่านคือบรรดาผู้รู้การเมืองดังนั้นเราย่อมต้องมีนิติศาสตร์ทางการเมือง นิติศาสตร์ทางการเมือง คือการพูดที่ทันยุค มีประสิทธิภาพ ร่วมยุคและเข้าถึงปัญหาต่างๆ ของสังคม (ญะวาดี ออมุลี บทเรียนคอริจ เกี่ยวกับการค้าขาย-บัยอ์-เล่ม6) เป็นคำกล่าวที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับประเด็นของเรา

 

ความจำเป็นของเนื้อหา

 

รายงานจากซอฮีเฟะเย่อิมามโคมัยนี ท่านกล่าวไว้ว่า:

 

มุจตะฮิดต้องมีความเฉลียวฉลาดในการชี้นำสังคมใหญ่ของอิสลามและแม้กระทั่งสังคมที่ไม่ใช่อิสลาม นอกจากต้องมีเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ความตักวา ความสมถะ ที่เหมาะสมกับสถานะภาพของมุจตะฮิดแล้วต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการด้วยเช่นกัน การปกครองในมุมมองของมุจตะฮิดที่แท้จริงนั้นคือปรัชญาเชิงปฏิบัติในทุกด้านของการใช้ชีวิตของมนุษย์ การปกครองบ่งบอกถึงด้านนิติศาสตร์เชิงปฏิบัติในการเผชิญกับปัญหาต่างๆ ทางด้านสังคม การเมือง การทหารและวัฒนธรรม นิติศาสตร์(ฟิกฮ์)คือทฤษฎีที่แท้จริงและสมบูรณ์แบบในการบริหารมนุษย์ตั้งแต่แปลจนถึงหลุมฝังศพ (ซอฮีเฟะเย่อิมาม เล่ม 21 หน้า 289-290)

 

ความสัมพันธ์ระหว่างนิติศาสตร์ทางการเมืองกับนิติศาสตร์ผสม

 

ความสัมพันธ์ระหว่างนิติศาสตร์ทางการเมืองกับนิติศาสตร์ผสม เป็นความสัมพันธ์แบบครอบคลุมและเฉพาะอย่างสมบูรณ์(อุมูมคุสูศ มุฏลัก) กล่าวคือ ไม่ใช่ว่าทุกนิติศาสตร์ผสมจะหมายถึงนิติศาสตร์ทางการเมือง ทว่า นิติศาสตร์ทางการเมืองนั้นเป็นสาขาหนึ่งของนิติศาสตร์ผสม อย่างไรก็ตามต้องเข้าใจว่า -ความสัมพันธ์แบบนี้- ก็มีในระหว่างนิติศาสตร์ผสมกับนิติศาสตร์การปกคาองหรือนิติศาสตร์รัฐเช่นกัน ทว่า ความสัมพันธ์ระหว่างนิติศาสตร์ทางการเมืองกับนิติศาสตร์การปกครองนั้นไม่ใช่เป็นความสัมพันธ์แบบทัดเทียม (ตะซาวี)และแบบประเภทเดียวกัน (อัยนียะฮ์) ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองนี้น่าจะเป็นความสัมพันธ์แบบครอบคลุมและเฉพาะบางส่วน (อุมูมวะคุศอสมินวัจฮ์) ตอนนี้นิติศาสตร์รัฐกำลังได้รับความสนใจในหมู่พี่น้องซุนนีเป็นอย่างมาก ผมเคยอ่านนิติศาสตร์นานมากแล้ว ไม่รู้ว่าได้รับการตีพิมพ์ใหม่หรือยัง ถ้ายังก็ให้พวกเราลองไปหาอ่านฉบับเก่าดู นักวิชาการชาวอียิปต์ 28 คน ได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งขึ้นใช้ชื่อว่า มัชรูอุลอะลากอต  ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับนิติศาสตร์ทางการเมือง ก่อนการปฏิวัติด้วยซ้ำ ถือว่ามีเนื้อหาที่เข้มข้นมาก กล่าวได้ว่าหากเรื่องการแยกศาสนาออกจากการเมืองมีกล่าวในชีอะฮ์ ย่อมเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีสโลแกนเช่นนี้ในมุมมองของซุนนีหรือในนิติศาสตร์ของซุนนี เพราะการปกครองเคยอยู่ในมือพวกเขามาก่อน ดังนั้นนิติศาสตร์ของพวกเขานั้นรวมอยู่กับการเมืองการปกครอง แต่ก็มีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งต้องทำการวิเคราะห์กันต่างหากเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิติศาสตร์ทางการเมืองนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับนิติศาสตร์การปกครองเลย ด้วยเหตุนี้นิติศาสตร์ทางการเมืองนั้นกว้างกว่านิติศาสตร์การปกครองหรือนิติศาสตร์รัฐ ซึ่งปัจจุบันเราก็จะเห็นหัวข้อนี้ นิติศาสตร์รัฐ ในหนังสือของซุนนีด้วยเช่นกัน

 

ดังนั้นเราจะเข้าสู่เนื้อหาที่แคบลงมาเกี่ยวกับนิติศาสตร์ทางการเมืองของเรา กล่าวคือผมคิดประเด็นหนึ่งได้ว่า: ทำไมจึงเอาเรื่องนิติศาสตร์ทางการเมืองกับวิลายะตุลฟะกีฮ์มารวมเข้าด้วยกัน?เราขอตอบว่า: ก็เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะพูดถึงเรื่องนิติศาสตร์ทางการเมืองในมุมกว้างเพียงอย่างเดียวได้

 

เราได้กล่าวถึงนิยาม ความจำเป็นและเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับมันไปแล้ว เราก็ต้องเริ่มวิเคราะห์เกี่ยวกับนิติศาสตร์รัฐหรือนิติศาสตร์การปกครอง ซึ่งผมคิดว่าตอนนี้ยังไม่จำเป็นที่จะเข้าสู่เรื่องนี้  แต่คิดว่าควรนำเสนอประเด็นวิลายะตุลฟะกีฮ์ และบรรทัดฐานต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้น่าจะดีและมีประโยชน์มากกว่า ซึ่งเวลาขณะนี้สิบห้านาฬิกาตามเวลาประเทศไทยประมาณสิบเอ็ดนาฬิกากว่าๆ ตามเวลาของอิหร่าน ท่านผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่านกำลังบรรยายสดเกี่ยวกับเหตุการณ์


19 เดือนเดย์ ซึ่งผมได้รับโอกาสฟังไปเล็กน้อย ท่านได้ย้ำบรรทัดฐานนี้ว่าการปฏิวัติของเรา และการขับเคลื่อนของอิมามทั้งหมดนี้ ใช่ว่าจะปราศจากบรรทัดฐาน ตัวผมเองก็เคยอยู่ในเหตุการณ์ 19 เดือนเดย์ แต่ก็ไม่ใช่เป็นผู้มีบทบาทอะไร เพราะตอนนั้นเพิ่งเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นก็ได้เข้าร่วมการประท้วง แต่เป็นความทรงจำที่น่าประทับมากกับการเคลื่อนไหวสามวันของเหตุการณ์ 19 เดือนเดย์ ตามคำกล่าวของท่านผู้นำว่าเป็นกำปั้นและการเคลื่อนไหวเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่ของการปฏิวัติ เป็นเหตุการณ์ที่น่าประหลาดใจมาก เหตุการณ์ 19 เดือนเดย์นั้นก็วางอยู่บนพื้นฐานที่ฝ่ายปกครองได้กระทำต่ออิมาม ได้ลบหลู่อิมาม ได้ฆ่าท่านมุศฏอฟาในห้องหนังสือของท่าน ตลอดระยะเวลา 14 ปีที่อิมามถูกเนรเทศไปยังตุรกีและที่อื่น ที่เมืองนะญัฟ ซึ่งลูกชายคนโตของท่านถูกทำชะฮาดัตตอนที่ท่านอยู่ที่เมืองนะญัฟ แต่อิมามก็ไม่ให้นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นกระทั่งได้ทำพิธีฝังลูกชายของท่าน กระทั่งในเมืองกุมและเมืองอื่นๆ ของอิหร่านได้ร่วมกันจัดงานรำลึกท่านมุศฏอฟาขึ้น จนทำให้กษัตริย์ชาฮ์ไม่พอใจ ก็ได้สั่งให้หนังสือพิมพ์อิตลอออตในสมัยนั้นลงบทความเกี่ยวกับ มุสตะออร รอชีดีเย มุฏลัก ทำให้นึกถึงซัลมาน รุชดี ได้ทำการลบหลู่อิมาม การลบหลู่นี้เป็นเหตุให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้นตั้งแต่วันที่ 17-19 เดือนเดย์ ที่เมืองกุม จึงเป็นบรรทัดฐานของการปฏิวัติที่เริ่มขับเคลื่อนด้วยมุมมองของศาสนาและการลบหลู่สถานภาพของมัรเญี้ยะอ์นักการศาสนา ประชาชนจึงเคลื่อนไหวและที่น่าสนใจคือเราต้องตอกย้ำว่าบรรทัดฐานของอิมามในการขับเคลื่อนนี้คืออะไร? ไม่ใช่เป็นการปฏิวัติที่ไม่มีบรรทัดฐานอะไรเหมือนกับการปฏิวัติอื่นๆ ซึ่งก้าวที่สองท่านผู้นำได้อธิบายถึงปรัชญาการปฏิวัติไว้อย่างชัดเจน เข้มข้นและสวยงามมาก ซึ่งเราต้องนำมาเป็นบทเรียนให้กับเยาวชนได้รับรู้ว่ามันหมายความว่าอย่างไร ท่านผู้นำกล่าวว่าการปฏิวัตินี้แตกต่างจากการปฏิวัติอื่นๆ นั่นก็เนื่องจากบรรทัดฐานที่หนักแน่นและมั่นคงนั่นเอง


โดย เชคนัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ผู้แทนมหาวิทยาลัยอัลมุศฏอฟา ประจำประเทศไทย
แปลโดย เชคอิมรอน พิชัยรัตน์