การตะกียะฮ์ ในหลักคำสอนของอิสลาม

การตะกียะฮ์ ในหลักคำสอนของอิสลาม

 

การตะกียะฮในมุมองของศาสนาอิสลามนั้นจริงแล้วถือว่าอนุมัติให้กระทำได้ เพราะเรื่องดังกล่าวถูกอนุมัติไว้ในหลักคำสอนที่มีทั้งในกรุอานและฮะดิษมากมายที่ยืนยันไว้ในเรื่องดังกล่าว
ก่อนอื่นมาดู ความหมายที่แท้จริงของคำว่าตะกียะฮ หมายถึงอะไร?


ตะกียะฮ์ หมายถึง การปกปิดซ้อนเร้นความศรัทธาเอาไว้ด้านใน หรือเอาให้ง่ายๆนั้นคือ การไม่เปิดเผยความเชื่อหรือความศรัทธาของตนเองเมื่ออยู่ต่อหน้าศัตรูโดยมีเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต, ทรัพย์สิน, และศาสนา, ซึ่งเป็นหน้าที่ทางหลักคำสอนของศาสนาที่มุสลิมทุกคนจะต้องกระทำ และเรื่องนี้มีการยืนยันไว้ในอัลกุรอาน...


ตะกียะฮฺในมุมมองของอัล-กุรอาน
อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงการตะกียะฮฺ เช่น
لاَّ يَتَّخِذِ الْمُؤْمِنُونَ الْكَافِرِينَ أَوْلِيَاءَ مِن دُوْنِ الْمُؤْمِنِينَ وَمَن يَفْعَلْ ذَلِكَ فَلَيْسَ مِنَ اللّهِ فِي شَيْءٍ إِلاَّ أَن تَتَّقُواْ مِنْهُمْ تُقَاةً
"ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าได้ยึดเอาบรรดาผู้ปฏิเสธ (ศรัตรูอัลลอฮฺ) มาเป็นมิตรแทนบรรดามุอฺมิน และผู้ใดกระทำเช่นนั้น เขาจะไม่เกี่ยวข้องกับอัลลอฮอีกต่อไป นอกจากว่าสูเจ้าจะต้องหลีกเลี่ยงจากพวกเขาจริง ๆ เท่านั้น (เพื่อเป้าหมายที่สำคัญกว่า จงตะกียะฮฺ)"  อาลิอิมรอน/28
โองการข้างต้นได้อธิบายอย่างชัดเจนว่าไม่อนุญาตให้เป็นมิตรกับผู้ปฏิเสธ เว้นเสียแต่ว่าให้ทำการตะกียะฮฺเพื่อปกป้องชีวิตทรัพย์สินและอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเองหรือคนในครอบครัว ในกรณีเช่นนี้สามารถแสดงความเป็นมิตรกับพวกเขาได้
หรือในบางโองการกล่าวไว้ว่า:
مَن كَفَرَ بِاللّهِ مِن بَعْدِ إيمَانِهِ إِلاَّ مَنْ أُكْرِهَ وَقَلْبُهُ مُطْمَئِنٌّ بِالإِيمَانِ وَلَكِن مَّن شَرَحَ بِالْكُفْرِ صَدْرًا فَعَلَيْهِمْ غَضَبٌ مِّنَ اللّهِ وَلَهُمْ عَذَابٌ عَظِيمٌ
 "ผู้ใดปฏิเสธอัลลอฮฺหลังจากที่เขาได้ศรัทธา เว้นแต่ผู้ถูกบังคับทั้ง ๆ ที่หัวใจของเขายังเปี่ยมด้วยการศรัทธา แต่ผู้ใดเปิดหัวอกของเขาเพื่อการไม่ศรัทธา ดังนั้นพวกเขาจะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮฺ และสำหรับพวกเขาคือการลงโทษอันมหันต์" อัลนะห์ลิ/106
นักอรรถาธิบายอัลกุรอานได้ให้ทัศนะถึงสาเหตุที่โองการดังกล่าวได้ถูกประทานลงมา เนื่องจากว่า วันหนึ่งท่านอัมมารยาซีรพร้อมกับครอบครัว ถูกพวกปฏิเสธชาวมักกะฮฺจับตัวไป พวกเขาได้บังคับให้ท่าน ถอนตัวจากการเป็นมุสลิม และกลับไปเป็นผู้ปฏิเสธตั้งภาคีกับพระเจ้าเหมือนเดิม ผู้ร่วมขบวนการคนอื่นไม่ยอม  และปฏิญาณยืนยันถึงการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเป็นหนึ่งเดียว และการเป็นศาสทูตของท่านมุฮัมมัด ศ. ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงถูกทรมานและถูกทำชะฮีดในเวลาต่อมา แต่ท่านอัมมารได้ทำการตะกียะฮฺ (ปกปิด) ความเชื่อของตนและทำตามที่พวกปฏิเสธต้องการหลังจากถูกปล่อยตัวแล้วท่านได้ไปหาท่านศาสดา ศ. เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับท่านและสิ่งที่ท่านกระทำลงไปพร้อมกับแสดงความเสียใจต่อการกระทำ โองการข้างต้นจึงถูกประทานลงมา..
ดุรุลมันซูร4/131
จากโองการดังกล่าว ประกอบกับคำอธิบายของนักอรรถาธิบายอัลกุรอาน เป็นที่ชัดเจนว่า การปกปิดความเชื่อโดยมีเป้าหมายเพื่อปกป้องชีวิตของตน, ทรัพย์สิน, และภัยอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือความเสียหายที่อาจจะได้รับ ได้เคยเกิดขึ้นแล้วในสมัยของท่านศาสดา ศ. และเป็นที่ยอมรับของสังคมอิสลาม
ดังนั้นการตะกียะฮฺในทัศนะของชีอะฮฺ นับตั้งแต่ราชวงศ์อุมัยยะฮฺและอับบาซซียะฮฺขึ้นปกครองก็ได้ทะเลาะวิวาท และขัดแย้งกันกับบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ ตลอดมาบรรดาผู้ปกครองในยุคสมัยนั้นมีนโยบายที่จะทำการเข่นฆ่าลูกหลานของท่านศาสดา ศ. และบรรดาชีอะฮฺที่ปฏิบัติตามท่าน.../มะกอติลุฏฏอลิบีน
พวกเขาจึงได้ทำการตะกียะฮฺ(ปกปิดความเชื่อในการเป็นชีอะฮ)ตามหลักการของอัลกุรอานและปกปิดความเชื่อของตน
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชีวิตของพวกเขาและบุคคลอื่นๆรอดพ้นอันตรายมาได้ แน่นอนเป็นที่ชัดเจนว่าในสถานการณ์เช่นนั้น ไม่มีหนทางอื่นอีกแล้วที่จะทำให้ชีวิตรอดปลอดภัยจากน้ำมือของผู้ปกครองที่กดขี่ข่มเหงดังนั้นจะเห็นว่าเมื่อผู้ปกครองที่กดขี่ในยุคนั้นเขาจะไม่ไล่ฆ่ากับบุคคลที่ไม่ใช่ชีอะห์และไม่เห็นของการเป็นศรัตรูและเหตุผลของการทำตะกียะฮฺก็จะไม่มีแต่ประวัติศาสตร์ได้ยืนยันว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้นเนื่องจากไม่มียุคใดที่ชีอะฮฺไม่ได้ถูกไล่สังหารเลย...
สิ่งที่สำคัญที่ต้องกล่าวคือการตะกียะฮฺไม่ได้จำกัดอยู่แค่นิกายชีอะฮฺเพียงอย่างเดียว แต่ทว่ามุสลิมทุกคนปฏิเสธการนองเลือดและการเข่นฆ่า ฉะนั้นถ้าไม่สามารถยืนหยัดต่อสู้ได้ จำเป็นต้องตะกียะฮฺเพื่อรักษาชีวิต และทรัพย์สินของตน ถ้าหากมุสลิมทั้งหลายรักษาระเบียบเงื่อนไขของตนสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน อยู่ร่วมกันด้วยสันติวิธีการตะกียะฮฺก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไปสำหรับสังคม

จึงสรุปได้ว่า  จากทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ดังนี้
1- การตะกียะฮฺนั้นมีรากที่มาจากอัลกุรอาน เป็นวิธีปฏิบัติตนของบรรดาเศาะฮาบะฮฺ และได้รับการสนับสนุนจากท่านศาสดา ศ.อีกทั้งได้เคยปฏิบัติตั้งแต่สมัยเริ่มต้นประกาศอิสลาม
2- แนวคิดเรื่องการตะกียะฮฺ สำหรับชีอะฮฺ ได้เกิดขึ้นเพราะหลีกเลี่ยงการไล่สังหารของผู้ปกครองที่กดขี่ที่มีนโยบายปราบชีอะฮฺ และแนวทางของชีอะฮฺให้สิ้นซาก
3- การตะกียะฮฺไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่แนวทางของชีอะฮฺเท่านั้น ทว่ามีการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางในหมู่มุสลิม
4- การตะกียะฮฺไม่ได้เจาะจงแค่การปกปิดความเชื่อต่อหน้าพวกปฏิเสธ หรือมุชริกีนเท่านั้น แต่จุดประสงค์ของการตะกียะฮฺคือ การปกป้องชีวิตมุสลิมโดยทั่วไป และการปกปิดความเชื่อต่อศัตรูที่คิดนองเลือดซึ่งมุสลิมไม่มีกำลังสามารถในการสู้รบ
5- เมื่อสังคมมีความเข้าใจที่ดีต่อกัน การตะกียะฮฺไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่ต้องปฏิบัติ แต่หากยังมีการรุกรานและมีการกดขี่มีการเลื่อมล้ำไปสู่การริดรอนในเงื่อนใขดังว่า การตะกียะฮก็ยังจะสามารถนำมาใช้ได้

 

เรียบเรียงโดย: เชคยูซุฟ เพชรกาหรีม