ประโยคหนึ่งของอะซาน

ประโยคหนึ่งของอะซาน


เรียบเรียง:เชคยูซุฟ เพชรกาหรีม
--------------------
ถ้าจะพูดถึงเรื่องอะซานการเรียกร้องเชิญชวนผู้ศรัทธาสู่การภัคดีต่อพระองค์โดยเฉพาะในอะซานของละหมาดศุบฮ์แล้วนั้น จะเห็นได้ว่ามีอยู่ประโยคหนึ่งระในระหว่างมัศฮับยังกล่าวไม่เหมือนกัน นั้นก็คือ...
«الصَّلاةُ خَيرٌ مِنَ النَّوم»
แปลว่า...การละหมาดย่อมดีกว่าการนอน
ในขณะที่อีกมัศฮับชาวอิมามียะฮกล่าวว่า..
أشهد أن علي و لي الله
ซึ่งแปลว่า..ขอปฏิญานว่าอะลี คือวะลีของอัลลอฮ
ระหว่างสองประโยคนี้แน่นอนจะต้องมีประโยคหนึ่งที่สนับสนุนให้กล่าว และเป็นสุนนะฮแบบฉบับของท่านศาสดา ศ.อย่างแท้จริง และก็จะต้องมีประโยคหนึ่งที่เพิ่งจะต่อเติมและเสริมมันเข้ามา...
#แล้วประโยคใดที่ควรแก่การกล่าวมันในอะซานและประโยคใดที่ไม่ควรกล่าว?!!!
เรื่องนี้ถ้าลองไปศึกษาเรียนรู้ในประวัติศาสตร์โดยเฉพาะช่วงเวลาหลังจากที่ท่านศาสดาได้เสียชีวิตไปแล้วนั้นก็จะพบว่า มีประโยคหนึ่งที่ควรแก่การกล่าวในอะซาน แต่อีกประโยคนั้นไม่ควรกล่าวเพราะมันไม่ได้มีการกล่าวมาตั้งแต่ในสมัยที่ท่านนบียังมีชีวิตอยู่ เพียงแต่เพิ่งจะเพิ่มมันเข้าในยุคหลังๆเท่านั้น
ไปดูทัศนะของบรรดาอุลมาที่ได้ให้ทัศนะของประโยคแรกไว้เช่นไรกันบ้าง พวกเขาต่างให้ทัศนะกันว่า..
แน่แท้ในตำราอ้างอิงต่างๆ ประโยคข้างต้นมิได้เป็นส่วนหนึ่งของการอะซานแต่อย่างใดเลย แต่มันเป็นการต่อเติมเข้ามาในยุคหลัง(ภายหลังจากการเสียชีวิตของท่านนบี) ซึ่งประโยคดังกล่าวเพิ่งจะต่อเติมมันเข้าในยุคของเคาะลีฟะฮ์ท่านที่สองซึ่งในยุคสมัยที่นบี ศ.ยังมีชีวิตอยู่นั้น ประโยคดังกล่าวนี้ยังมิได้เป็นส่วนหนึ่งของอะซานมาก่อนเลย
แม้กระทั้งในบางตำราของอะลิสุนนะฮเองก็ยังยืนยันว่า มันไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของอะซาน ท่านมุฮำหมัด บิน อิสหาก ยืนยันเรื่องนี้กล่าวว่า:
 «الصَّلاةُ خَيرٌ مِنَ النَّوم»
"ประโยคนี้ไม่มีมาก่อน"
อ้างอิง:นัยลุล เอาฏอร เล่ม2 หน้า37
หรือแม้กระทั้งท่าน สะอีด บิน มุซีบ ท่านก็ยังกล่าวว่า:
 «ادخلت هذه الكلمة في صلاة الفجر»
ประโยคดังกล่าวข้างต้น "มันเป็นประโยคที่เพิ่งต่อเติมมันเข้ามา ของละหมาดศุบฮ์"
อ้างอิง: นัยลุลเอาฏอร เล่ม 2 หน้า 37
และท่านอิมามมาลิก ได้กล่าวใน หนังสือมุวัฏเฏาะฮ ว่าประโยคนี้ เคาะลีฟะฮที่สอง คือผู้เพิ่มเติมเข้ามาในละหมาดศุบฮซึ่งท่านกล่าวไว้เช่นนี้ว่า..
 أنّه بَلَغَهُ انّ الْمُؤَذِّنُ جاءَ اِلى‏ عُمَرَ بنَ الْخَطّابَ يُؤْذنه لِصَلاة الصّبح ، فَوَجَدَهُ نائِماً فَقالَ: الصَّلاةُ خَيرٌ مِنَ النَّومِ فَاَمَرَهُ عُمَرُ أن يجعَلَها في نِداء الصّبح .
มาลิกกล่าวต่อว่า.. "เมื่อผู้อะซานได้มาหาเคาะลีฟะฮที่สอง เพื่อที่จะมาเตือนให้รู้ว่าเวลาของละหมาดศุบฮกำลังใกล้เข้ามาแล้ว และกล่าวว่า...
‏  «الصلاة خير من النوم؛ »
"การละหมาดย่อมดีกว่าการนอน"
หลังจากที่เคาะลีฟะฮที่สองได้ยินเช่นนั้น จึงสั่งให้เอาประโยคดังกล่าวบรรจุไว้ และให้เป็นส่วนหนึ่งของอะซานศุบฮ์ "
อ้างอิง: มุวัฏเฏาะฮ เล่ม 1 หน้า 72
และในส่วนท่านชาฟิอีได้ให้คำฟัตวาเรื่องนี้ว่า การใส่ประโยคดังกล่าวในอะซานเป็น"มักรุฮ" ในขณะที่บุคคลอื่นอีกหลายคนยืนยันว่า นั่นคือ "บิดอะ"
ท่านชูกานีย์กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า...
 «لَو كانَ لما انكره عَلِيّ وابنُ عُمَر وَطاوس»
"หากประโยคดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอะซานจริง(หากมีมาตั้งแต่ในยุคที่นบียังไม่เสียชีวิต) แน่แท้ท่านอะลี ท่านอับดุลลอฮ อิบนิ อุมัร และท่านฏอวูส คงไม่กล่าวคัดค้านในสิ่งนั้นแน่นอน"
อ้างอิง: นัยลุล เอาฏอร เล่ม 2 หน้า 38
และท่าน อิบนิ อัซม์ กล่าวว่า...
لا نقول بهذا - الصَّلاةُ خَيرٌ مِنَ النَّومِ لأنَّهُ لم يأت عن رسول اللّه( ص)
"เราจะไม่กล่าวประโยคนี้เป็นอันขาดในอะซาน เพราะว่ายังไม่มีสิ่งยืนยันที่มาจากท่านนบี ศ.แก่พวกเรา"
อ้างอิง: อัล มะห์ลา เล่ม 3 หน้า 160
ท่านชูกานีย์ผู้เป็นอุลมาที่ยิ่งใหญ่ของซุนนีย์ ท่านได้กล่าวไว้อีกว่า...เมื่อท่านอะลีได้ยินประโยคนี้ในอะซาน..
 الصلاة خير من النوم
ท่านอะลีกล่าวว่า"สิ่งใดที่มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของอะซาน(ที่ไม่มีมาก่อน)ก็อย่าเอามาบรรจุหรือต่อเติมเข้าไปอย่างเด็ดขาด" อ้างอิง:นัยลุล เอาฏอร เล่ม 2 หน้า 38
#เมื่อเป็นเช่นนั้นตกลงว่าประโยคดังกล่าวเป็นประโยคแท้ที่มีมาก่อนหรือว่าเป็นเพียงประโยคที่เพิ่งจะเพิ่มมันเข้ามา?!! ทุกท่านลองไปศึกษาที่มาและหาคำตอบกันดู...!!!
#ในส่วนของอีกประโยคที่ว่า...
أشهد أن علي و لي الله
การกล่าว ปฏิญานตนต่ออะลีในถานะที่ท่านเป็นวะซีย์ตัวแทนของพระองค์หลังจากรอซูลเสียชีวิตในอะซานนั้น ในยุคที่นบีมีชีวิตอยู่และสาวกเคยกล่าวประโยคนี้กันหรือไม่?!!
ในเรื่องนี้ได้ค้นพบหลักฐานที่ยืนยันชัดเจนจากตำราของชาวอะห์ลิซุนนะฮของท่าน มุรอฆีย์ มิสรีย์ ในหนังสืออัสสะฟาฟะฮ ฟี อัมริล กิลาฟะฮ จากท่าน อบูซัร กอฟฟารีย์ และท่านซัลมาล ฟารซีย์ ซึ่งเป็นศอฮาบะฮที่มีเกียรติยิ่งว่า:
أخرج أن رجلا دخل على رسول الله (صلى الله عليه واله وسلم) وقال : يا رسول الله إنّ أبا ذر يذكر في الأذان بعد الشهادة بالرسالة الشهادة بالولاية لعلى عليه السلام .
قال رسول اللّه‏(صلي الله عليه وآله وسلم ) كذلك ، أو نسيتم قولي في غدير خم : من كنت مولاه فعلي مولاه )
"ชายผู้หนึ่งมาหาท่านนบี ศ.และกล่าวว่า โอ้รอซูลของพระองค์ อบูซัรได้กล่าวปฏิญานตนต่อวิลายัตของอะลีหลังจากที่ได้ปฏิญานตนต่อท่านเป็นเช่นไร!! นบี ศ.กล่าวขึ้นว่า ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ หรือว่าเจ้าลืมคำพูดของฉันในวันฆอดีรคุมเสียแล้วกระนั้นเหรอที่ฉันเคยกล่าวว่า ใครก็ตามที่ฉันนายของเขา อะลีก็คือนายของเขาเช่นกัน"
อ้างอิง: อัสสะลาฟะฮ ฟี อัมริล กิลาฟะฮ หน้า 32
และอีกริวายัตที่กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า...
دخل رجل على رسول الله صلى الله عليه وآله وسلم ، فقال : يا رسول الله ! إني سمعت أمرا لم أسمع قبل ذلك ، فقال صلى الله عليه واله وسلم : ما هو ؟ قال : سلمان قد يشهد في أذانه بعد الشهادة بالرسالة ، الشهادة بالولاية لعلي (عليه السلام)  ، قال (صلي الله عليه وآله وسلم ): سمعت خيرا.
"ชายผู้หนึ่งมาหาท่านนบี ศ.และกล่าวว่า โอ้รอซูลของพระองค์ ฉันได้ยินสิ่งหนึ่งซึ่งฉันมิเคยได้ยินมาก่อน นบี ศ.ถามขึ้นว่า เจ้าไปได้ยินอะไรมา? เขาตอบว่าซัลมาลได้กล่าวในอะซานปฏิญานตนต่อวิลายัตของอะลี หลังจากที่เขาปฏิญานตนต่อท่านนบีแล้ว นบีกล่าวตอบว่า เจ้าได้ยินสิ่งที่ดีงามที่เขาได้กล่าว"
อ้างอิง: อัสสะลาฟะฮ ฟี อัมริล กิลาฟะฮ หน้า 32)
เมื่อมีฮะดิษเหล่านี้มาสนับสนุนอายะฮกรุอานจากที่ว่า (اولی الامر) ก็คงจะกล่าวหาใครมิได้แล้วละว่า ชีอะห์ คือผู้ที่พยายามสร้างบิดอะฮ์ต่อเติมขึ้นมาในอะซาน ด้วยกับการปฏิญานตนต่ออะลี หลังจากนบี ศ.แต่นั้นคือสิ่งดีงามที่ควรค่าแค่การกระทำต่างหาก
#จึงสรุปได้ว่า การกล่าวประโยคทั้งสองนั้นจากประโยคข้างต้นมีประโยคหนึ่งเพิ่งจะเพิ่มมันเข้ามาไม่ได้มาจากสุนนะฮนบีที่แท้จริง ในขณะที่อีกประโยคมาจากแบบฉบับที่ท่านนบีได้สอนไว้ให้ปฏิบัติตามกันมาตั้งแต่ในยุคของท่าน ท่านจะเลือกประโยคใด!!