เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

เพราะนี่คือเหตุผลที่มุสลิมต้องมอบความรักแด่ลูกหลานของท่านนบี(อะลุลบัยต์)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

เพราะนี่คือเหตุผลที่มุสลิมต้องมอบความรักแด่ลูกหลานของท่านนบี(อะลุลบัยต์)


เรียบเรียงโดย: เชคยูซุฟ เพชรกาหรีม
_______________
การแสดงความรักหรือการสนองตอบถึงการจงรักภัคดีต่อบุุคคลที่ท่านนบีสั่งให้รักนั้นเป็นหน้าที่หนึ่งของมุสลิมทุกคนไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในสายธารใดก็ตาม
ท่านซะมัคชะรีย์ อุลมาชาวอะลิซุนนะฮได้กล่าวไว้ใน ตัฟซีร อัลกัชชาฟ จากการอรรถาธิบาย ของโองการนี้ที่ว่า :
قُل لَّا أَسْأَلُکُمْ عَلَیْهِ أَجْرًا إِلَّا الْمَوَدَّةَ فِی الْقُرْبَی  
"จงกล่าว โอ้มูฮำหมัด ฉันมิได้ขอรางวัลตอบแทนใดๆในการเผยแพร่ศาสนา เว้นแต่(ให้พวกท่าน)ได้มอบความรักต่อคนใกล้ชิดของฉัน" ชูรอ / 24
ในเรื่องนี้ยังมีอะดิษมากมายที่มีการยืนยันและกำชับให้ประชาชาติมุสลิมต้องมอบความรักแก่บุคคลที่เป็นลูกหลาน(อะลุลบัยต์)ของท่านนบี
ไปดูฮะดิษที่ได้กล่าวสนับสนุนให้มอบความรักแก่อะลุลบัยตกันว่า มีฮะดิษใดบ้าง...
قَالَ رَسُول الله صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم َمن مَاتَ عَلَى حب آل مُحَمَّد مَاتَ شَهِيدا أَلا وَمن مَاتَ عَلَى حب آل مُحَمَّد مَاتَ مغفورا لَهُ أَلا وَمن مَاتَ عَلَى حب آل مُحَمَّد مَاتَ تَائِبًا أَلا وَمن مَاتَ عَلَى حب آل مُحَمَّد مَاتَ مُؤمنا مُسْتَكْمل الْإِيمَان أَلا وَمن مَاتَ عَلَى حب آل مُحَمَّد بشره ملك الْمَوْت بِالْجنَّةِ ثمَّ مُنكر وَنَكِير أَلا وَمن مَاتَ عَلَى حب آل مُحَمَّد يزف إِلَى الْجنَّة كَمَا تزف الْعَرُوس إِلَى بَيت زَوجهَا أَلا وَمن مَاتَ عَلَى حب آل مُحَمَّد فتح الله لَهُ فِي قَبره بَابَيْنِ إِلَى الْجنَّة أَلا وَمن مَاتَ عَلَى حب آل مُحَمَّد جعل الله قَبره مَزَار مَلَائِكَة الرَّحْمَة أَلا وَمن مَاتَ عَلَى حب آل مُحَمَّد مَاتَ عَلَى السّنة وَالْجَمَاعَة أَلا وَمن مَاتَ عَلَى بغض آل مُحَمَّد جَاءَ يَوْم الْقِيَامَة مَكْتُوبًا بَين عَيْنَيْهِ آيس من رَحْمَة الله أَلا وَمن مَاتَ عَلَى بغض آل مُحَمَّد مَاتَ كَافِرًا أَلا وَمن مَاتَ عَلَى بغض مُحَمَّد لم يشم رَائِحَة الْجنَّة
ท่านนบี ศ.กล่าวว่า....
•ใครที่เสียชีวิตไปในสภาพที่รักลูกหลานฉัน เขาตายไปในสภาพที่เป็นชะฮีด.
• ใครก็ตามที่เสียชีวิตไปในสภาพที่รักลูกหลานของฉัน เขาตายไปในสภาพถูกให้อภัย
• จงรู้ไว้ว่า ใครก็ตามที่เสียชีวิตไปในสภาพที่รักลูกหลานนบี เขาตายไปในสภาพเป็นผู้เตาบะฮ
• จงรู้ไว้ว่า ใครก็ตามที่เสียชีวิตไปในสภาพที่รักลูกหลานนบี เขาตายไปในสภาพที่เป็นผู้ศรัทธาที่สมบูรณ์
• จงรู้ไว้ว่า ใครก็ตามที่เสียชีวิตไปในสภาพที่รักลูกหลานนบี มะลาอิกะฮแห่งความตายจะเมตตาเขา อีกทั้งมุนกัรและนังกีรก็จะมีเมตตากับเขา
• จงรู้ไว้ว่า ใครก็ตามที่เสียชีวิตไปในสภาพที่รักลูกหลานนบี เขาจะถูกพาสู่สวรรค์ด้วยความรัก เปรียบดังนำพาเจ้าสาวสู่บ้านเจ้าบ่าว
•จงรู้ไว้ว่า ใครก็ตามที่เสียชีวิตไปในสภาพที่รักลูกหลานนบี ในหลุมฝังศพของเขาจะมีประตูสวรรค์สองช่องบานเปิดต้อนรับ
• จงรู้ไว้ว่า ใครก็ตามที่เสียชีวิตไปในสภาพที่รักลูกหลานนบี พระองค์ทรงทำให้หลุมของเขาเป็นสถานที่ที่มีมะลาอิกะฮมาเยี่ยมเยียน
• จงรู้ไว้ว่า ใครก็ตามที่เสียชีวิตไปในสภาพที่รักลูกหลานนบี เขาตายไปในสภาพที่เต็มเปี่ยมไปด้วยสุนนะฮและญะมาอัต(ที่นบีเคยสอน)
• จงรู้ไว้ว่า ใครก็ตามที่เสียชีวิตไปในสภาพที่เกลียดชังและเป็นศรัตรูกับลูกหลานนบี ในวันกิยามัตนั้นบนหน้าผากของเขาจะถูกบันทึกไว้ว่า เขาคือผู้ที่ไม่ได้รับความเมตตาจากพระองค์
• จงรู้ไว้ว่า ใครก็ตามที่เสียชีวิตไปในสภาพที่เป็นศรัตรูต่อลูกหลานนบี เขาตายไปในสภาพที่เป็นผู้ปฏิเสธ และใครที่เสียชีวิตไปในสภาพที่เป็นผู้เกลียดชังต่อลูกหลานนบี(อะลุลบัยต์)พวกเขาจะไม่มีวันได้สัมผัสกับกลิ่นไอของสวรรค์เลย
อ้างอิง:
الكشاف عن حقائق غوامض التنزيل ج4 ص220 المؤلف: أبو القاسم محمود بن عمرو بن أحمد، الزمخشري جار الله (المتوفى: 538هـ)، الناشر: دار الكتاب العربي - بيروت، الطبعة: الثالثة - 1407 هـ، عدد الأجزاء:4.
روح البيان ج8 ص312 المؤلف: إسماعيل حقي بن مصطفى الإستانبولي الحنفي الخلوتي , المولى أبو الفداء (المتوفى: 1127هـ)، الناشر: دار الفكر - بيروت.
التفسير المنير في العقيدة والشريعة والمنهج ج25 ص64 المؤلف : د وهبة بن مصطفى الزحيلي، الناشر : دار الفكر المعاصر - دمشق، الطبعة : الثانية ، 1418 هـ، عدد الأجزاء : 30.
تخريج الأحاديث والآثار الواقعة في تفسير الكشاف للزمخشري ج3 ص238 المؤلف: جمال الدين أبو محمد عبد الله بن يوسف بن محمد الزيلعي (المتوفى: 762هـ)، المحقق: عبد الله بن عبد الرحمن السعد، الناشر: دار ابن خزيمة - الرياض، الطبعة: الأولى، 1414هـ، عدد الأجزاء: 4.
ฮะดิษที่รายงานทั้งหมดข้างต้นนับเป็นสิบครั้งที่บ่งบอกถึงการมอบความรักแก่ลูกหลานนบีโดยใช้ประโยคที่ว่า :
 من مات علی حب آل محمد
"ใครที่ตายไปบนการมอบความรักแก่ลูกหลานนบี"นั้นมีผลและมีคุณค่าอันใหญ่หลวงนัก จนบางครั้งการมอบความรักแก่พวกเขานั่นคือ เป็นการอิบาดัตที่ยิ่งใหญ่และเป็นอิบาดัตที่ประเสริฐกว่าการทำอิบาดัตอื่นๆเสียด้วยซ้ำ
ในเรื่องนี้อิมามศอดิก อ.ได้กล่าวตอกย้ำเช่นนี้ว่า:
إِنَّ فَوْقَ كُلِّ عِبَادَةٍ عِبَادَةٌ وَ حُبُّنَا أَهْلَ الْبَيْتِ أَفْضَلُ عِبَادَةٍ
"สูงสุดของการอิบาดัตนั่นคือ การอิบาดัตที่มอบความรักแก่พวกเราอะลุลบัยต์ เพราะนั่นคืออิบาดัตที่สูงส่งกว่าอิบาดัตอื่นๆ" บิอาร 27/91
เช่นกันในทางตรงกันข้าม การเกลียดชังและการเป็นศรัตรูต่อลูกหลานนบี ก็ยังมีฮะดิษมากมายยืนยันถึงขึ้นที่ว่าตายไปในสภาพของผู้เป็นญาฮิลเลยทีเดียว เช่น..
 حَدَّثَنَا أَسْوَدُ بْنُ عَامِرٍ، أَخْبَرَنَا أَبُو بَكْرٍ، عَنْ عَاصِمٍ، عَنْ أَبِي صَالِحٍ، عَنْ مُعَاوِيَةَ، قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: " مَنْ مَاتَ بِغَيْرِ إِمَامٍ مَاتَ مِيتَةً جَاهِلِيَّةً.
"ใครที่ตายไปในสภาพที่ไม่รู้จักอิมาม(ผู้นำ)ของตนในยุคสมัย แท้ที่จริงแล้วเขาตายไปในสภาพของคนโง่เขลาเบาปัญญา(ญาฮิล)"
อ้างอิง:
مسند الإمام أحمد بن حنبل ج28 ص89 المؤلف: أبو عبد الله أحمد بن محمد بن حنبل بن هلال بن أسد الشيباني (المتوفى: 241هـ)، المحقق: شعيب الأرنؤوط - عادل مرشد، وآخرون، إشراف: د عبد الله بن عبد المحسن التركي، الناشر: مؤسسة الرسالة، الطبعة: الأولى، 1421 هـ - 2001 م
ท่านฟัครุรรอซีย์ ยังได้อธิบายต่อจากอายะฮข้างต้นในตัฟซีร กัชชาฟ ว่า:
وَأَنَا أَقُولُ: آلُ مُحَمَّدٍ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ هُمُ الَّذِينَ يَؤُولُ أَمْرُهُمْ إِلَيْهِ فَكُلُّ مَنْ كَانَ أَمْرُهُمْ إِلَيْهِ أَشَدَّ وَأَكْمَلَ كَانُوا هُمُ الْآلَ، وَلَا شَكَّ أَنَّ فَاطِمَةَ وَعَلِيًّا وَالْحَسَنَ وَالْحُسَيْنَ كَانَ التَّعَلُّقُ بَيْنَهُمْ وَبَيْنَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَشَدَّ التَّعَلُّقَاتِ وَهَذَا كَالْمَعْلُومِ بِالنَّقْلِ الْمُتَوَاتِرِ فَوَجَبَ أَنْ يَكُونُوا هُمُ الْآلَ، وَأَيْضًا اخْتَلَفَ النَّاسُ فِي الْآلِ فَقِيلَ هُمُ الْأَقَارِبُ وَقِيلَ هُمْ أُمَّتُهُ، فَإِنْ حَمَلْنَاهُ عَلَى الْقَرَابَةِ فَهُمُ الْآلُ، وَإِنْ حَمَلْنَاهُ عَلَى الْأُمَّةِ الَّذِينَ قَبِلُوا دَعْوَتَهُ فَهُمْ أَيْضًا آلٌ فَثَبَتَ أَنَّ عَلَى جَمِيعِ التَّقْدِيرَاتِ هُمُ الْآلُ، وَأَمَّا غَيْرُهُمْ فَهَلْ يَدْخُلُونَ تَحْتَ لَفْظِ الْآلِ؟ فَمُخْتَلَفٌ فِيهِ.
وَرَوَى صَاحِبُ «الْكَشَّافِ» : أَنَّهُ لَمَّا نَزَلَتْ هَذِهِ الْآيَةُ قِيلَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَنْ قَرَابَتُكَ هَؤُلَاءِ الَّذِينَ وَجَبَتْ عَلَيْنَا مَوَدَّتُهُمْ؟ فَقَالَ عَلِيٌّ وَفَاطِمَةُ وَابْنَاهُمَا، فَثَبَتَ أَنَّ هَؤُلَاءِ الْأَرْبَعَةَ أَقَارِبُ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَإِذَا ثَبَتَ هَذَا وَجَبَ أَنْ يَكُونُوا مَخْصُوصِينَ بِمَزِيدِ التَّعْظِيمِ وَيَدُلُّ عَلَيْهِ وُجُوهٌ: الْأَوَّلُ: قَوْلُهُ تَعَالَى: إِلَّا الْمَوَدَّةَ فِي الْقُرْبى وَوَجْهُ الِاسْتِدْلَالِ بِهِ مَا سَبَقَ الثَّانِي: لَا شَكَّ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يُحِبُّ فَاطِمَةَ عَلَيْهَا السَّلَامُ . قَالَ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «فَاطِمَةُ بَضْعَةٌ مِنِّي يُؤْذِينِي مَا يُؤْذِيهَا» وَثَبَتَ بِالنَّقْلِ الْمُتَوَاتِرِ عَنْ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَّهُ كَانَ يُحِبُّ عَلِيًّا وَالْحَسَنَ وَالْحُسَيْنَ وَإِذَا ثَبَتَ ذَلِكَ وَجَبَ عَلَى كُلِّ الْأُمَّةِ مِثْلُهُ لِقَوْلِهِ وَاتَّبِعُوهُ لَعَلَّكُمْ تَهْتَدُونَ [الْأَعْرَافِ: 158] وَلِقَوْلِهِ تَعَالَى: فَلْيَحْذَرِ الَّذِينَ يُخالِفُونَ عَنْ أَمْرِهِ [النُّورِ: 63] وَلِقَوْلِهِ قُلْ إِنْ كُنْتُمْ تُحِبُّونَ اللَّهَ فَاتَّبِعُونِي يُحْبِبْكُمُ اللَّهُ [آلِ عِمْرَانَ: 31] وَلِقَوْلِهِ سُبْحَانَهُ لَقَدْ كانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ [الْأَحْزَابِ: 21] الثَّالِثُ: أَنَّ الدُّعَاءَ لِلْآلِ مَنْصِبٌ عَظِيمٌ وَلِذَلِكَ جُعِلَ هَذَا الدُّعَاءُ خَاتِمَةَ التَّشَهُّدِ فِي الصَّلَاةِ وَهُوَ قَوْلُهُ اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ وَارْحَمْ مُحَمَّدًا وَآلَ مُحَمَّدٍ، وَهَذَا التَّعْظِيمُ لَمْ يُوجَدْ فِي حَقِّ غَيْرِ الْآلِ، فَكُلُّ ذَلِكَ يَدُلُّ عَلَى أَنَّ حُبَّ آلِ مُحَمَّدٍ وَاجِبٌ،
"ลูกหลานนบี คือผู้ที่ทุกอย่าง(คำสั่งของศาสนา)ต้องย้อนไปยังพวกเขา พวกเขาคือผู้ที่ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสมบูรณ์แบบที่สุด(กับพระองค์)
และไม่เป็นที่สงสัยใดๆสำหรับพวกเขานั่นคือ ฟาติมะฮ อลี ฮะซัน และฮูเซน พวกเขาคือลูกหลานนบี ผู้ที่มีความสัมพันธ์อันหนักแน่นที่สุดต่อท่านศาสดา ด้วยเหตุนี้เราจึงเชื่อว่าพวกเขาคือ ลูกหลานของ(อะลุลบัยต์)ของท่านนบีอย่างไม่ต้องสงสัย
พวกเขาทั้งสี่ท่านคือ "ซิล กุรบา" เป็นบุคคลที่มุสลิมจะต้องมอบความรักแก่พวกเขาและต้องให้เกียรติพวกเขาอย่างขาดเสียมิได้
ท่านนบี ศ.เองได้มอบความรักเป็นพิเศษแก่พวกเขาโดยเฉพาะกับฟาติมะฮ ท่านได้กล่าวถึงฟาติมะฮว่า "นางคือเนื้อก้อนหนึ่งของฉัน ใครที่กดขี่นางเท่ากับกดขี่ฉัน" และเช่นกันท่านนบีก็ได้กล่าวถึงความรักที่ท่านนั้นมีต่อท่านอลี ฮะซัน และฮูเซน ไว้อย่างมากมาย ฉะนั้น การมอบความรักต่อพวกเขาสำหรับมุสลิมแล้วนั้นถือว่าเป็นวายิบที่ทุกคนจำเป็นต้องมอบให้ดังที่กรุอานอายะฮข้างต้นได้สั่งเสียไว้"
อ้างอิง:
التفسير الكبير ج27 ص595 المؤلف: أبو عبد الله محمد بن عمر بن الحسن بن الحسين التيمي الرازي الملقب بفخر الدين الرازي خطيب الري (المتوفى: 606هـ)، الناشر: دار إحياء التراث العربي - بيروت، الطبعة: الثالثة - 1420 هـ.
ใครคือผู้ใกล้ชิดนบีมูฮำหมัด ศ.ที่มุสลิมทุกคนต้องมอบความรักแก่พวกเขา?!!
ไปดูฮะดิษที่ถูกบันทึกไว้ในตำราสุนนะย์ ได้พูดถึงเรื่องนี้อย่างไร...
•ฮะดิษที่ 1.
  وَفِيمَا كَتَبَ إِلَيْنَا مُحَمَّدُ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ سُلَيْمَانَ الْحَضْرَمِيُّ، يَذْكُرُ أَنَّ حَرْبَ بْنَ الْحَسَنِ الطَّحَّانَ حَدَّثَهُمْ قَالَ: نا حُسَيْنٌ الْأَشْقَرُ، عَنْ قَيْسٍ، عَنِ الْأَعْمَشِ، عَنْ سَعِيدِ بْنِ جُبَيْرٍ، عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ: لَمَّا نَزَلَتْ {قُلْ لَا أَسْأَلُكُمْ عَلَيْهِ أَجْرًا إِلَّا الْمَوَدَّةَ فِي الْقُرْبَى} [الشورى: 23] ، قَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ، مَنْ قَرَابَتُنَا هَؤُلَاءِ الَّذِينَ وَجَبَتْ عَلَيْنَا مَوَدَّتُهُمْ؟ قَالَ: «عَلِيٌّ، وَفَاطِمَةُ، وَابْنَاهَا عَلَيْهِمُ السَّلَامُ» .
"เมื่ออายะฮนี้ไดู้กประทานลงมาแก่ท่านนบี ศ.
 «قُلْ لَا أَسْأَلُكُمْ عَلَيْهِ أَجْرًا إِلَّا الْمَوَدَّةَ فِي الْقُرْبَى»  
"จงกล่าว โอ้มูฮำหมัด ฉันมิได้ขอรางวัลตอบแทนใดๆในการเผยแพร่ศาสนา เว้นแต่(ให้พวกท่าน)ได้มอบความรักต่อคนใกล้ชิดของฉัน" ชูรอ / 24
สาวกได้ถามนบีว่า ใครคือผู้ใกล้ชิดของท่านโอ้รอซูลซึ่งพวกเราทุกคนจำเป็นจะต้องมอบความรักแก่พวกเขา? นบีตอบว่า พวกเขาคือ อลี ฟาติมะฮ และบุตรทั้งสองเขาเขา(ฮะซันและฮูเซน)"
อ้างอิง:
فضائل الصحابة ج2 ص669 المؤلف: أبو عبد الله أحمد بن محمد بن حنبل بن هلال بن أسد الشيباني (المتوفى: 241هـ)،
•ฮะดิษที่ 2.
حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ بَشَّارٍ، حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ جَعْفَرٍ، حَدَّثَنَا شُعْبَةُ، عَنْ عَبْدِ المَلِكِ بْنِ مَيْسَرَةَ، قَالَ: سَمِعْتُ طَاوُسًا، عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا: أَنَّهُ سُئِلَ عَنْ قَوْلِهِ: {إِلَّا المَوَدَّةَ فِي القُرْبَى} [الشورى: 23]- فَقَالَ سَعِيدُ بْنُ جُبَيْرٍ: قُرْبَى آلِ مُحَمَّدٍ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - فَقَالَ ابْنُ عَبَّاسٍ: عَجِلْتَ إِنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَمْ يَكُنْ بَطْنٌ مِنْ قُرَيْشٍ، إِلَّا كَانَ لَهُ فِيهِمْ قَرَابَةٌ، فَقَالَ: «إِلَّا أَنْ تَصِلُوا مَا بَيْنِي وَبَيْنَكُمْ مِنَ القَرَابَةِ»
"อิบนิ อับบาส กล่าวว่า จากคำสั่งที่พระองค์สั่งว่า:
 «الا المودة فى القربى»
"ให้รักต่อผู้ใกล้ชิดชิดนบี...ฉันถามจากสะอีด บินญุบัยร์ เขาบอกว่า พวกเขาคือคือ ลูกของหลานนบี(อะลุลบัยต์)
อ้างอิง:
صحيح البخاري ج6 ص129 المؤلف: محمد بن إسماعيل أبو عبدالله البخاري الجعفي، المحقق: محمد زهير بن ناصر الناصر، الناشر: دار طوق النجاة (مصورة عن السلطانية بإضافة ترقيم ترقيم محمد فؤاد عبد الباقي)، الطبعة: الأولى، 1422هـ، عدد الأجزاء: 9.
•ฮะดิษที่ 3.
 وَأخرج الثَّعْلَبِيّ عَن ابْن عَبَّاس فِي {وَمن يقترف حَسَنَة نزد لَهُ فِيهَا حسنا} قَالَ الْمَوَدَّة لآل مُحَمَّد صلى الله عَلَيْهِ وَسلم
อิบนิ อับบาส กล่าวว่า "เป้าหมายที่แท้จริงของประโยค(อายะฮกรุอาน)นั้น คือ การมอบความรักแก่ลูกหลาน(อะลุลบัยต์)นบี"
 อ้างอิง:
الصواعق المحرقة ج2 ص488 المؤلف: أحمد بن محمد بن علي بن حجر الهيتمي السعدي الأنصاري، شهاب الدين شيخ الإسلام، أبو العباس (المتوفى: 974هـ)، المحقق: عبد الرحمن بن عبد الله التركي - كامل محمد
•ฮะดิษที่ 4.
اخرج احمد و الترمذی و صححه، و النسائی و الحاکم عن المطلب بن ربیعه قال: قال رسول الله (صلی الله علیه وآله): و الله لایدخل قلب امرء مسلم حتی یحبکم الله و لقرابتی.
อะหมัด ฮัมบัล ติรมีซีย์ นิซาอีย์ และท่านฮากิม จากท่านรอบิอะฮ กล่าวว่า ท่านนบี กล่าวว่า "ขอสาบานต่อพระองค์ อิหม่านจะไม่เข้าไปอยู่ในหัวใจของใคร เว้นเสียแต่ผู้นั้นจะมีความรักคนใกล้ชิดของฉัน(อะลุลบัยต์)เพื่อพระองค์
#จึงพอจะสรุปได้ว่า:
1-การมอบความรักให้แก่ลูกหลานนบีนั้นเป็นคำสั่งมาจากอัลลอฮ์ และเป็นวายิบที่มุสลิมทุกคนจะต้องปฎิบัติตาม
2-คุณค่าของการมอบความรักนั้นมีผลดีมากมายที่จะได้รับ และการปฏิเสธสิ่งนั้นก็มีผลร้ายมากมายเช่นกัน
3-การมอบความรักแก่อะลุลบัยต์นั้น มีหลักฐานยืนยัน ทั้งทางกรุอานและฮะดิษมากมายจากตำราสุนนีย์ ยืนยันว่า นั่นคือคำสั่งมุสลิมทุกคนต้องกระทำปฏิเสธไม่ได้
4-ในกลุ่มนิกายต่างๆจะเห็นได้ว่า กลุ่มอิมามียะฮเท่านั้นที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม