บทเรียน “นิติศาสตร์ทางการเมือง” (ฟิกฮ์สิยาซี) (บทที่1)

บทเรียน “นิติศาสตร์ทางการเมือง” (ฟิกฮ์สิยาซี) (บทที่1)

ฮุจญตุลอิสลาม วัลมุสลีมีน  ดร. นัศรุลเลาะห์ สะคอวะตีย์

แปลโดย เชค อิมรอน พิชัยรัตน์

انَّا أَنزَلْنَا التَّوْرَاةَ فِيهَا هُدًى وَنُورٌ ۚ يَحْكُمُ بِهَا النَّبِيُّونَ الَّذِينَ أَسْلَمُوا لِلَّذِينَ هَادُوا وَالرَّبَّانِيُّونَ وَالْأَحْبَارُ بِمَا اسْتُحْفِظُوا مِن كِتَابِ اللَّهِ وَكَانُوا عَلَيْهِ شُهَدَاءَ ۚ فَلَا تَخْشَوُا النَّاسَ وَاخْشَوْنِ وَلَا تَشْتَرُوا بِآيَاتِي ثَمَنًا قَلِيلًا ۚ وَمَن لَّمْ يَحْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ فَأُولَٰئِكَ هُمُ الْكَافِرُونَ

เราจะขอเริ่มบทเรียน “นิติศาสตร์ทางการเมือง” ผมได้เลือกโองการนี้ที่อัญเชิญไปข้างต้นเพื่อความสิริมงคลสำหรับบทเรียนแรก ในมุมมองของผมแล้วโองการนี้เป็นเหตุผลทางด้านการรายงาน (นักลี) ที่ดีที่สุดสำหรับการถกเกี่ยวกับประเด็น “วิลายะตุลฟะกีฮ์”  ซึ่งเราจะเข้าสู่เหตุผลต่างๆทางด้านการรายงานต่อไป

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาผมเองได้ใช้ความพยายามอย่างหนักและก็กล่าวกับบรรดาลูกศิษย์อยู่เสมอว่า ไม่อาจเจอเหตุผลเกี่ยวกับวิลายะตุลฟะกีฮ์ได้จากอัลกุรอาน แต่เรามีในรายงาน (ริวายะฮ์) ต่างๆ มัรฮูมนะรอกีได้นำรายงานมาบันทึกไว้ในหนังสืออะวาอิด และอิมามโคมัยนีก็ได้นำบางริวายะฮ์มากล่าวไว้ในบทว่าด้วยเรื่อง “การค้าขาย” เพื่อนำมาเป็นหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์ และมัรฮูมอายาตุลลอฮ์มุอ์มินได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับ “วิลายะตุลฟะกีฮ์”ชื่อว่า อัลวิลายะตุลอิลาฮียะติลอิสลามียะฮ์ ไว้สามเล่ม โดยสองเล่มกล่าวถึงเหตุผลทางด้านการรายงาน (นักลี) ไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นรายงาน (ริวายะฮ์) ต่างๆ ที่ดีมากเลยทีเดียว และถือว่าท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ของท่านเป็นอย่างดี ผมมีประสบการณ์ที่น่าสนใจ คือสำนักงานเลขาธิการสมัชชาผู้ชำนัญของท่านผู้นำสูงสุดประจำเมืองกุม ได้จัดโปรแกรมหนึ่งขึ้นทุกค่ำวันพุธที่ชั้นใต้ดินอาคารดารุชชิฟาอ์ของสถานศึกษาฟัยซียะฮ์ นักศึกษาศาสนาต่างมารวมกันที่นั่น มากันเยอะมาก เป็นโปรแกรมที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างมาก ตอนนี้ก็ยังมีซีดีอยู่ ผมเป็นผู้ดำเนินรายการหลักในการเสวนาที่ถูกบันทึกไว้เป็นซีดีทั้งหมด แต่มีอุละมาอ์หลายท่านสับเปลี่ยนกันไปในการเสวนา เช่น ท่านอายาตุลลอฮ์มิศบาห์มาร่วมเสวนาห้าคืน อีกห้าคืนท่านอายาตุลลอฮ์มุอ์มิน และอีกห้าคืนท่านอายาตุลลอฮ์อะรอกี เป็นต้น เป็นความทรงจำที่น่าสนใจมากซึ่งผมได้นำร่องด้วยการนำท่านอายาตุลลอฮ์มุอ์มินสู่การถกเกี่ยวกับเหตุผลทางด้านปัญญาและเหตุผลทางด้านการรายงาน (นักลี) ท่านกล่าวว่า ฉันไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับเหตุผลทางปัญญาในการยืนยันเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์ กล่าวคือท่านพูดถึงเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์โดยไม่เข้าสู่เหตุผลทางด้านนี้เลย ฉันจะกล่าวเฉพาะเหตุผลทางด้านการรายงาน (นักลี) เท่านั้น และผมก็ได้นำท่านอายาตุลลอฮ์มิศบาห์เข้าเรื่องโดยตั้งคำถามท่านเพื่อดึงท่านเข้าสู่เหตุผลทางด้านการรายงาน(นักลี) ท่านกล่าวว่า ฉันไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับเหตุผลทางด้านการรายงาน(นักลี) ฉันจะกล่าวถึงเหตุผลทางด้านปัญญาเท่านั้น เพราะอาจารย์ของเราท่านอายาตุลลอฮ์มิศบาห์ ซึ่งเราได้เข้าพบท่านหลายครั้งทุกครั้งท่านจะฝากฝังแก่พวกเราว่าไม่อาจพิสูจน์เรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์ได้ด้วยรายงานที่ถูกต้องของ อะบีคอดีญะฮ์และรายงานที่ถูกยอมรับของ อุมัร บิน ฮันซอละฮ์ ได้หรอก ต้องเข้าสู่การถกเกี่ยวกับเทววิทยา (กะลาม) ซึ่งเป็นที่ๆเราจะถกกันต่อไป เรามีคำพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมาย อินชาอัลลอฮ์ขอพระองค์ทรงเปิดโอกาสและให้เรามีบทเรียนนี้อย่างต่อเนื่อง

อยากจะบอกว่าผมในฐานะที่เป็นศิษย์ของอุลามาอ์หลายท่านที่กล่าวมานี้คือเราไม่อาจพิสูจน์วิลายะตุลฟะกีฮ์จากอัลกุรอานได้ แล้วเราก็จะกล่าวกันต่อไปว่าทำไมผมถึงชี้ถึงเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์ ทั้งที่สิ่งที่เราพูดถึงกันคือเรื่อง “นิติศาสตร์ทางการเมือง” เราจะเริ่มจากนิยามของมัน แต่เราก็จะอธิบายถึงเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์เป็นการเฉพาะ โดยเราจะทำการวิเคราะห์ในทุกแง่มุมทั้งเหตุผลทางด้านปัญญา(อักลี)และเหตุผลทางด้านการรายงาน(นักลี) อย่างไรก็ตามผมเองเป็นศิษย์ของอุละมาอ์ที่กล่าวมานั้น ผมยอมรับทั้งเหตุผลทางปัญญา(อักลี) และเหตุผลทางการรายงาน(นักลี) แต่อย่างที่ได้ชี้ไปแล้วว่าเกี่ยวกับเรื่องนี้มีสองทัศนะ บ้างก็กล่าววว่าเหตุผลทางการรายงาน(นักลี) นั้นไม่เพียงพอแต่ไม่มีใครเลยที่จะกล่าวได้ว่าเหตุผลทางปัญญา(อักลี)นั้นไม่เพียงพอ เพราะปัญญาเป็นตัวชี้วัด(ฮุกม์)ที่ดีเยี่ยม แต่ก็มีอุปสรรคประการหนึ่งคือหากเรายึดเฉพาะเหตุผลทางปัญญาเพียงอย่างเดียว คนที่ปัญญาไปไม่ถึงก็จะกล่าวว่าแล้วทำไมจึงไม่มีรายงาน (ริวายะฮ์)หากเรื่องนี้สำคัญจริงทำไมจึงไม่มีรายงาน(ริวายะฮ์)? ผมต้องการจะอ้างว่าเรามีทั้งรายงาน(ริวายะฮ์)อัลฮัมดุลิ้ลละฮ์เจ็ดแปดรายงาน(ริวายะฮ์)จากมัรฮูมนะรอกีที่อิมามโคมัยนีได้นำมาอธิบายไว้ในหนังสือและมีอีกหลายที่กล่าวถึง แต่มัรฮูมอายาตุลลอฮ์มุอ์มินยอมรับเหตุผลทางรายงาน(นักลี)มากกว่าเหตุผลทางปัญญา(อักลี)และนำมาเขียนเป็นหนังสือสองสามเล่ม ต่อไปผมจะอธิบายให้ฟังว่าหนังสือสามเล่มนี้ วิลายะตุลอิลาฮียะติลอิสลามียะฮ์เขียนขึ้นบนบรรทัดฐาน (มะบานี)อะไร? ทำไมผมจึงเน้นสองเล่มนั้น ผมจะกล่าวให้พวกท่านฟังต่อไป

ตอนนี้หัวข้อของเราชัดเจนสำหรับทุกท่านคือ เรื่อง “วิลายะตุลฟะกีฮ์” ในความหมายเฉพาะ(อะค๊อส) และ “นิติศาสตร์ทางด้านการเมือง”ในความหมายวงกว้าง(อะอัม) ส่วนเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์ในความหมายเฉพาะนั้นต้องการนิยามซึ่งเราจะให้นิยามต่อไป

นิติศาสตร์ทางการเมือง (ฟิกฮ์ซิยาซี): ผมจะให้นิยามนิติศาสตร์การเมืองไว้อย่างนี้เสมอว่า

“นิติศาสตร์ทางการเมือง หมายถึง กลุ่มประโยคที่เมาฎูอ์ของมันเกี่ยวข้องกับการเมืองส่วนมะห์มูลของมันเกี่ยวข้องกับนิติศาสตร์ เช่น การปกครองเป็นข้อบังคับ (วาญิบ) หรือ การปกครองเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมหนึ่ง คือประโยคหนึ่งที่มีรูปประโยค เป็นประโยคที่มีมุบตะดาและคอบัรของมุบตะดาที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น คุมส์เป็นข้อบังคับ(วาญิบ) หรือซะกาตเป็นข้อบังคับ(วาญิบ) เมื่อคอบัรมีบทบาทของฮุกุ่มหนึ่งและมุบตะดาเกี่ยวข้องกับการเมืองเป็นการเฉพาะ เมื่อนั้นมะห์มูลที่ต้องการจะฮุกุ่มเกี่ยวกับนิติศาสตร์ก็จะให้ฮุกุ่มว่าเป็นมุสตะฮับ วาญิบ และบทบัญญัติทั้งห้าประการนั่นเอง ดังนั้นการถกของเรานั้นอยู่ในกรอบของนิติศาสตร์การเมือง เพียงแต่มีประเด็นหนึ่งที่จะต้องกล่าวคือ เป็นไปได้ว่าพวกท่านอาจะเกิดคำถามขึ้นว่า นิติศาสตร์ทางการเมือง เป็นประเด็นใหม่ทางด้านนิติศาสตร์ของเราหรือไม่? หรือเป็นประเด็นเก่า? ฉันจะชี้ให้เห็นต่อไปว่า ไม่ใช่เลย! ประเด็นนี้มีอยู่แล้วในนิติศาสตร์รุ่นเก่า หากพวกท่านดูสารบัญตำราต่างๆของบรรดาผู้รู้ของพวกเรา ตั้งแต่เชคมุฟีด เชคฏูซี  ประมาณพันกว่าปีก่อนก็มีการถกเกี่ยวกับประเด็นนิติศาสตร์การเมืองอย่างเข้มข้นอยู่แล้ว ทว่านิติศาสตร์รุ่นเก่ากล่าวถึงเนื้อหาทางด้านนิติศาสตร์ปะปนอยู่ในนิติศาสตร์ทั่วไป ยังไม่ถูกแยกออกมาจากนิติศาสตร์ทั่วไป ด้วยเหตุนี้บางครั้งที่ผมเองได้พูดคุยกับบางท่านที่อ้างตนเป็นอายาตุลลอฮ์ว่า นิติศาสตร์ผสม พวกเขากล่าวกันว่า อะไรนะ? พูดแบบอิหร่านคืออะไรกันพวกเรายังไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย นิติศาสตร์แบบผสม วันนี้ต้องนำมาแยกแบ่งหมวดใหม่ ต้องดึงเอาหลักการ (มะบอนี) ของนิติศาสตร์เหล่านั้นออกมา การที่พวกเขาพูดว่า “อะไรนะ” เพราะพวกเขาคาดหวังว่าผมจะเหมือนกับพวกเขาที่อธิบายนิติศาสตร์แบบเดิม (ซุนนะตี)ที่ผสมนิติศาสตร์ไว้ด้วยกันทั้งหมด ทว่าไม่ใช่! ปัจจุบันพวกเราคนรุ่นใหม่ต้องพยายามจัดแบ่งหมวดหมู่นิติศาสตร์ใหม่ เรามีนิติศาสตร์ทั่วไป ซึ่งตอนนี้เราก็มีนิติศาสตร์เฉพาะด้าน ในมุมมองของผมแล้วนิติศาสตร์เฉพาะด้านนั้นมีมากมายที่เราต้องค้นหา เช่น นิติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรม นิติศาสตร์ด้านสังคม นิติศาสตร์ด้านเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์การเมือง นิติศาสตร์ต้องมีหลายๆด้าน ยิ่งเคลื่อนไปข้างหน้าแขนงต่างๆ  ความรอบคอบของทัศนะต่างๆต้องมีมากขึ้น และยังหวังว่าหนึ่งในสิ่งที่พวกเราต้องการที่จะถกกันตอนนี้คือ นิติศาสตร์ทางการเมือง ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของนิติศาสตร์ทั่วไป เป็นชุดย่อยที่อยู่ภายใต้นิติศาสตร์ทั่วไป และนิติศาสตร์การเมืองนี้มีเมาภูอ์เกี่ยวข้องกับการเมืองและมีมะห์มูลเกี่ยวข้องกับนิติศาสตร์ กระทั่งเราสามารถที่จะกล่าวได้ว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนิติศาสตร์ทางการเมือง จัดให้อยู่ในหมวดหมู่ของนิติศาสตร์ทางการเมือง และต้องการเหตุผลด้วยเช่นกัน ไม่ใช่ว่ากล่าวอ้างสิ่งหนึ่งอย่างลอยๆได้ ดังนั้นหากเราหยิบตำรารุ่นเก่ามา เราสามารถที่จะใส่เครื่องหมายแบ่งนิติศาสตร์การเมืองออกมาแม้ว่าจะปนอยู่กับนิติศาสตร์ทั่วไป กระทั่งกล่าวได้ว่านี่คือ นิติศาสตร์ทางการเมือง นี่คือเรื่องสถาปัตยกรรม นี่คือเรื่องเศรษฐศาสตร์ นี่คือเรื่องสังคม เราต้องพยายาม อินชาอัลลอฮ์ จำแนกมันออกมาให้อยู่ในที่ๆ ของมัน การแบ่งหมวดหมู่เช่นนี้จะทำให้เราสามารถทำให้เรื่องนิติศาสตร์ทันสมัยยิ่งขึ้น ก้าวหน้าขึ้น และทำให้นักศึกษาศาสนา นักศึกษาของเราเข้าถึงเนื้อหาและเรียนได้ง่ายขึ้นและสามารถนำเสนอเหตุผลของมันได้ดียิ่งขึ้น

อีกประเด็นหนึ่งที่ผมต้องกล่าวถึง นิติศาสตร์ที่หมายถึงนิติศาสตร์ทางการเมือง ที่เรากำลังถกนิติศาสตร์ทางการเมืองอยู่นี้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์ ซึ่งก็ยังเป็นเรื่องกว้างๆทั่วไป โดยนิติศาสตร์ทั่วไปและนิติศาสตร์ทางการเมืองอยู่ในลักษณะที่มาอธิบาย และในหมู่แขนงต่างๆนั้นก็มีนิติศาสตร์ที่ปลีกย่อยเฉพาะลงไปอีก กระทั่งเป็นเรื่องของวิลายะตุลฟะกีฮ์ ซึ่งเราจะได้ทำการถกกันต่อไป

ผมจะชี้ให้เห็นและให้พวกเราได้สนใจว่าหากผมเข้าสู่เรื่องปรัชญาก็อย่าท้วงติงผมว่า ผมไม่มีสิทธิ์ที่จะนำเข้ามา เรื่องปรัชญาทางการเมืองเกี่ยวข้องอะไรกับนิติศาสตร์การเมือง บังเอิญว่าในนิติศาสตร์การเมืองเราต้องการที่จะให้ทัศนะที่กว้างออกไป กล่าวคือครอบคลุมถึงปรัชญาทางการเมือง แม้กระทั่งหากเป็นอย่างที่ผมได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าจะขยายไปถึงนิติศาสตร์ผสมบางประเด็นตราบเท่าที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเพื่อไม่ให้ใครมาท้วงติงเราได้

เนื่องจากผมจบมาทางด้านเศรษฐศาสตร์ บางครั้งผมจะกล่าวว่า สามารถที่จะนิยามให้สิ่งต่างๆ มีด้านการเมืองอยู่ด้วย บางครั้งพวกท่านจึงเห็นว่า ประเด็นสิทธิทางการเมือง ภูมิศาสตร์ทางการเมือง ประวัติศาสตร์ทางการเมือง ทั้งในภาษาฟาร์ซี ภาษาอาหรับ และภาษาอังกฤษ ก็เช่นกัน แม้จะพบว่าใช้ชื่ออื่นๆก็ตาม เช่น เรียกสิทธิทางการเมืองว่า สิทธิขั้นพื้นฐาน เรียกภูมิศาสตร์ทางการเมืองว่า geopolitics ภูมิรัฐศาสตร์ เพราะประเด็นเหล่านี้คือการเมืองจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับแขนงอื่นๆด้วย เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ เกี่ยวข้องนิติศาสตร์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในวันเปิดภาคเรียนเชคอิมรอนได้แปลสิ่งที่ผมได้ชี้ให้นักศึกษาได้เห็นแล้วว่า ปัจจุบันเราต้องเอาจริงเอาจัง มิตรสหายของเรากำลังทุ่มเท กระตือรือร้นประเด็นเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมอิสลาม ผังเมืองแบบอิสลาม ต้องคิดค้นและอธิบายสิ่งเหล่านี้ต้องมีมาตรการและนิยามที่เฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนี้ เหมือนอย่างที่มัรฮูม เชคมุฮัมมัด ตะกี, อัลลามะฮ์ ญะอ์ฟะรี (ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาท่าน)ได้ทำไว้ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ที่บรรดาผู้รู้อิสลามได้รวมตัวกันในเรื่องๆ หนึ่งเพื่อให้บรรดาอุละมาอ์ไม่เพียงแต่อุละมาอ์ชีอะฮ์เท่านั้นลงนามเรื่องนั้น ปัจจุบันเรื่องผังเมืองแบบอิสลามถือเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมใหม่ของอิสลามที่ท่านผู้นำสูงสุดได้ชี้แนะเราไว้ และท่านก็ยังติดตามเรื่องนี้อยู่ ได้มีการเริ่มกันแล้ว อินชาอัลลอฮ์ เรานักเรียนศาสนาศิษย์ของบรรดาอุละมาอ์เหล่านั้นต้องทำให้เรื่องนี้ไปถึงยังจุดๆหนึ่งให้ได้ เป็นเรื่องที่สำคัญมากทีเดียว หากต้องการรู้ถึงความสำคัญของนิติศาสตร์ทางด้านสถาปัตยกรรมและผังเมืองแบบอิสลาม จำเป็นที่ต้องมองดูว่าคนอื่นมองเกี่ยวกับเรื่องสถาปัตยกรรมอย่างไร? โดยเฉพาไซออนิสต์ พวกเขาได้ทำลายสิ่งก่อสร้างเมือง โรงแรม อพาร์ตเมนท์ ในเมืองต่างๆอย่างไร? หอคอยที่พวกเราเห็นกัน ถูกต้องที่มันไม่มีพื้นที่ที่เราจะสร้างสิ่งนี้ แต่บังเอิญว่าหลายประเทศมีพื้นที่มากพอที่จะสร้างและสร้างได้อย่างน่าทึ่งกว่า สามารถที่จะสร้างบ้านที่อยู่อาศัยของประชาชน แต่ทั้งหมดนี้เป็นการออกแบบของพวกล่าอาณานิคมที่มีเป้าหมายเฉพาะของพวกเขา ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องการเมือง เมื่อเรากล่าวว่าไซออนิสต์มีส่วนเกี่ยวข้อง และไซออนิสต์มีโครงการ เรื่องนี้ก็กลายเป็นเรื่องการเมือง แม้จะเป็นเรื่องสถาปัตยกรรมก็ตามที ดังนั้นนิติศาสตร์การเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับปรัชญาทางการเมือง ปัจจุบันมีประเด็นหนึ่งที่ผมต้องอธิบายคือ บางเนื้อหาของปรัชญาทางการเมือง เช่น การมีอยู่ของระบอบต่างๆ  ทำไม่ต้องเป็นระบอบนี้ไม่เป็นระบอบนั้น การมีอยู่ของระบอบหนึ่งเช่นความชอบธรรม (มัชรูอียัต)ของระบอบต่างๆ ซึ่งมีการถกว่าระบอบไหนที่ชอบธรรม ระบอบไหนไม่ชอบธรรม ต้องเป็นการปกครองแบบไหน? เหตุผลใดที่กล่าวว่าการปกครองหนึ่งชอบธรรม? และเรียกอีกการปกครองหนึ่งว่าไม่ชอบธรรม?

อัลกุรอานเป็นคัมภีร์อันจำเริญแห่งฟากฟ้าเล่มสุดท้ายของพระเจ้าที่ถูกประทานลงมาแก่พวกเราบรรดามุสลิม ทว่าประทานลงมาแก่ชาวโลก ใช้คำว่าฏอฆูตเป็นการปกครองที่ไม่ชอบธรรม คำว่าฏอวาฆีต เป็นพหูพจน์ของคำว่าฏอฆูต ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญทีเดียว ประเด็นการปกครองที่ไม่ชอบธรรมก็มีในตะวันตก มีในสัญญาประชาคม ทว่าพวกเขาได้นำเสนอประเด็นในอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับประชาชนไม่ว่าประชาชนจะต้องการหรือไม่ต้องการ เราต้องถกเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดยให้ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮ์ (ซบ.) เป็นบรรทัดฐานของทุกสิ่ง เช่นเรื่องการปกครองเป็นต้น เราก็จะทำการพิสูจน์เกี่ยวกับเรื่องนี้

โองการนี้น่าทึ่งมาก เป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดคำถามขึ้นสำหรับพวกท่าน ที่เราถือว่าเป็นเหตุผลทางการรายงาน(นักลี)ในตรงนี้ก็เพื่อให้เราได้เตรียมพร้อมความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ ที่ผมเริ่มต้นด้วยอัลกุรอานโองการนี้ก็เพื่อความสิริมงคล ไม่เช่นนั้นแล้วเรื่องที่เราต้องการจะถกกันนั้นไม่ใช่ประเด็นนี้

ในบทเรียนคอริจก็มีบรรทัดฐานหนึ่ง จากนั้นเราก็จะรวบรวมคำพูดภายนอกทั้งหมดแล้วจะสรุปแก่พวกท่านว่าโองการนี้ผมเห็นบางท่าน เช่น อายาตุลลอฮ์ออซะรี กุมมี กล่าวไว้ในหนังสือต่างๆ เกี่ยวกับวิลายะตุลฟะกีฮ์ว่า

“أَطِيعُوا اللهَ وَأَطِيعُوا الرَّسُولَ وَأُوْلِى الْأَمْرِ مِنْكُمْ” เรามีรายงาน(ริวายะฮ์)มากมาย ในเล่มต้นๆของหนังสืออุซูลกาฟี ในบทว่าด้วยเรื่อง ฮุจญะฮ์ พวกท่านลองพิจารณาดูว่า บทว่าด้วยเรื่องฮุจญะฮ์นั้นมีฮะดีษมากมาย มากว่าสามสิบฮะดีษ อย่างน้อยโดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนี้ พวกเขากล่าวว่า أُوْلِى الْأَمْرِ ในที่นี้หมายถึงเราอะฮ์ลุลบัยต์ หากพวกท่านต้องการ أُوْلِى الْأَمْرِ ที่นอกเหนือไปจากมะอ์ซูม ในโองการที่ 59 ซูเราะฮ์อันนิซา หากท่านต้องการโยกย้ายไปยังผู้ที่ไม่ใช่มะอ์ซูม

ประการแรกต้องตัดออกไปก่อน แล้วค่อยกล่าวว่า เริ่มคนแรกเป็น أُوْلِى الْأَمْرِที่สองก็เป็น أُوْلِى الْأَمْرِ ที่สามก็เป็น أُوْلِى الْأَمْرِ ที่สี่ก็เป็น أُوْلِى الْأَمْرِ เมื่อยอมรับว่าอาลี (อ.)  เป็น أُوْلِى الْأَمْرِพวกท่านก็ต้องยอมรับว่าเมื่อคนที่สามมีก็ต้องเป็นคนที่สามเมื่อมีคนที่สองก็ต้องเป็นคนที่สองและเมื่อมีคนแรกก็ต้องเป็นคนแรกด้วยเช่นกัน

ดังนั้นพวกเขาเป็นأُوْلِى الْأَمْرِ พวกเขากล่าวอย่างเปิดเผยว่าทั้งหมดคือ أُوْلِى الْأَمْرِ ดังนั้นเพื่อปิดประตูบานนี้ พวกเขาเองกล่าวว่าโองการนี้เป็นของอิมามมะอ์ซูม เป็นของอิมามซอดิก  มีหลายรายงานที่กล่าวว่า أُوْلِى الْأَمْرِ ในโองการที่ 59 ซูเราะฮ์อันนิซา ยืนยันว่าไม่ได้หมายรวมถึงคนที่ไม่ใช่มะอ์ซูม แต่เมื่อเราตัดคุณลักษณะเฉพาะของโองการ(อิลฆอคุซูสิยัต)ออกไปเป็นอีกลักษณะหนึ่ง นักวิชาการผู้ทรงเกียรติบางท่านได้ดึงประโยชน์ออกมาได้ว่า أَطِيعُوا اللهَ وَأَطِيعُوا الرَّسُولَ وَأُوْلِى الْأَمْرِ مِنْكُمْ  ในโองการนี้หมายรวมถึง วิลายะตุลฟะกีฮ์!!  ไม่ใช่เลย! ผมไม่เชื่อเช่นนั้น! แต่เมื่อเราอ่านโองการนี้ก็เกิดประกายขึ้นในความคิดว่า โองการนี้งดงามยิ่งสำหรับเรื่องของวิลายะตุลฟะกีฮ์ เราจะให้นิยามมันและเข้าสู่เรื่องหลักของเรา เราจะอธิบายโองการนี้เมื่อเข้าสู่เรื่องเหตุผลทางการรายงาน (นักลี) พวกท่านดูเองเถิดว่าโองการนี้เป็นโองการที่โดดเด่นมาก พวกท่านลองพิจารณาโองการต่างๆ ที่คล้ายกันนี้ โองการนี้ได้เปิดปัญญาของผมให้เห็นว่าเราสามารถที่จะค้นโองการที่คล้ายกันนี้ได้ แต่เป็นวิธีการของผมไม่ใช่วิธีการของคณาจารย์ของผมที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือของพวกท่านแล้ว วิธีการนี้ก็คือ

انَّا أَنزَلْنَا التَّوْرَاةَ فِيهَا هُدًى وَنُور เราประทานคัมภีร์เตารอตลงมาที่ในนั้นมีทางนำและแสงรัศมี ประทานคัมภีร์ลงมาเพื่ออะไร? يَحْكُمُ بِهَا النَّبِيُّونَ  ทว่าก่อนที่อินญีลจะประทานลงมา เมื่ออินญีลประทานลงมาแน่นอนว่าต้องยึดคัมภีร์อินญีล แต่โองการนี้กล่าวถึงยุคนั้นที่เป็นยุคว่างเว้นจากบรรดาศาสดา(ฟัตเราะฮ์) เป็นช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน ในยุคนั้น

يَحْكُمُ بِهَا النَّبِيُّونَ الَّذِينَ أَسْلَمُوا ซึ่งอิสลามในยุคนั้นหมายถึงการยอมรับคัมภีร์เตารอตและเมื่อเป็นคัมภีร์อินญิลอิสลามก็คือการยอมรับคัมภีร์อินญีลและอิสลามในปัจจุบันก็คือศาสนาสุดท้ายของศาสนทูตแห่งพระเจ้านั่นเองالَّذِينَ أَسْلَمُوا لِلَّذِينَ هَادُوا สำหรับชาวยิว ตรงนี้ให้พวกท่านสังเกตดูว่าโองการใช้คำว่า “وَ” (และ) อักษรواوในที่นี้คือواو ประเภทไหน? แล้วเราค่อยมาอธิบายกัน ตอนนี้เราจะแปลความหมายเท่านั้น

กลับไปที่เริ่มต้นเรื่องของเรา กล่าวคือเราส่งคัมภีร์แห่งการชี้นำ คัมภีร์เตารอตอันเจิดจรัสนี้เพื่อให้บรรดาศาสดาและบรรดานักบวช  จะเห็นได้ว่ากล่าวทั้งสองเคียงข้างกัน น่าสนใจมาก

ผมขอเล่าความทรงจำหนึ่ง ผมถูกเชิญเป็นวิทยากรบรรยายในงานสัมมนาเอกภาพเมืองเคอร์ดิสถาน ผมก็พูดกับตัวเอง โอ้อัลลอฮ์จะพูดเรื่องอะไรดีที่ยังไม่มีใครเคยนำเสนอ เพราะที่นั่นเขาจัดสัมมนาเอกภาพขึ้นทุกปีตลอดระยะเวลากว่าสี่สิบปีแล้ว ซึ่งก็มีการบรรยายกันมากแล้ว ผมก็นึกถึงโองการนี้ ผมพูดแล้วว่าเป็นโองการที่งดงามมาก เรามีประสบการณ์อย่างหนึ่งที่บรรพบุรุษของพวกเราไม่เคยมีประสบการณ์นี้เลย เรื่องนี้มีประโยชน์ทั้งสำหรับชีอะฮ์และซุนนีแม้แต่วะฮาบี อัลลอฮ์กล่าวเคียงคู่กันว่าเราส่งคัมภีร์เตารอตลงมาโดยที่บรรดาศาสดาที่เป็นมะอ์ซูมซึ่งทั้งหมดยอมรับว่าบรรดาศาสดาเป็นมะอ์ซูมและทั้งหมดก็ยอมรับว่าบรรดานักบวชไม่ใช่มะอ์ซูม ทำไม? เพราะมีอีกโองการที่อัลลอฮ์ทรงตำหนิพวกเขา ซึ่งก็แน่นอนว่าพวกเขาย่อมไม่ใช่มะอ์ซูม แต่ผมได้อธิบายไปในที่สัมมนาว่า แน่นอนทั้งสองนั้นย่อมอยู่ในแนวดิ่งไม่ใช่ในแนวราบ ประเด็นนี้สำคัญมาก กล่าวคือถือเป็นการก้าวข่ายที่บรรดานักบวชจะฮุกุ่มในขณะที่มีบรรดาศาสดาอยู่ เมื่อมีน้ำย่อมไม่อาจทำตะยัมมุมได้ เมื่อมีน้ำอยู่ฉันจะไปทำตะยัมมุมอย่างนั้นหรือ? นมาซย่อมไม่ถูกต้อง ดังนั้นในที่นี้หมายถึงในช่วงเว้นว่างจากบรรดาศาสดา(ฟัตเราะฮ์) เมื่อไม่มีพวกท่านอยู่ เมื่อนั้นก็เป็นหน้าที่ของนักบวช ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับเรื่องของเรา อินชาอัลลอฮ์เราจะทำการพิสูจน์ว่าในยุคเร้นกาย เราจะแบ่งประเภทยุคต่างๆ ยุคหนึ่งมีบรรดามะอ์ซูม อีกยุคหนึ่งไม่มีบรรดามะอ์ซูม ไม่มีมะอ์ซูมก็แบ่งเป็นสองยุค คือยุคเร้นกายระยะสั้นกับยุคเร้นกายระยะยาว และตอนนี้เรื่องของเราและหน้าที่ของเราก็คือยุคเร้นกายระยะยาวว่าเราต้องทำอย่างไร? ต้องขับเคลื่อนอย่างไร? ดังนั้นโองการนี้จึงเป็นโองการที่งดงามยิ่งว่าบรรดานักบวชก็ได้ตัดสินไปตามคัมภีร์ของอัลลออ์ที่พวกเขาได้รับมอบหมายให้รักษาไว้ พวกเขาก็ต้องฮุกุ่มและไม่อาจที่จะไม่ฮุกุ่มได้ ไม่อาจที่จะนิ่งเฉยได้

وَكَانُوا عَلَيْهِ شُهَدَاءَ ۚ فَلَا تَخْشَوُا النَّاسَ وَاخْشَوْنِ وَلَا تَشْتَرُوا بِآيَاتِي ثَمَنًا قَلِيلًا ۚ وَمَن لَّمْ يَحْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ فَأُولَٰئِكَ هُمُ الْكَافِرُونَ

นี่เป็นบัญชาของอัลลอฮ์ เป็นโองการที่งดงามยิ่ง เป็นหนึ่งในเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเรา

ความจำเป็นของเรื่อง

นิติศาสตร์ทางการเมือง คือหนึ่งในประเภทของนิติศาสตร์ผสม นิติศาสตร์ผสมในสถาบันศาสนารุ่นเก่านั้นจะอธิบายและสอนกันในระหว่างเนื้อหาของฟิกฮ์ (นิติศาสตร์) การแยกฟิกฮ์เฉพาะออกจากฟิกฮ์ทั่วไปนั้นมีความจำเป็นเนื่องจากเป็นไปได้ว่ามีคนกล่าวว่า ท่านก็นำมากล่าวไว้ภายใต้เรื่องนั้นเช่นกัน เราจะกล่าวว่ามีความจำเป็นเนื่องจากวิทยาการได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง และผู้คนในยุคปัจจุบันก็ต้องการวิทยาการใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นจึงต้องมีการจัดหมวดหมู่วิทยาการแบบเก่าเข้าสู่วิธีการแบบใหม่

ประเด็นต่างๆ เช่นบทบัญญัติเกี่ยวกับส่วย บทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ปกครอง การดูจันทร์เสี้ยว ประเด็นเหล่านี้สำคัญมาก ท่านอายาตุลลอฮ์อะรอกี อาจารย์ที่มีชื่อเสียงแห่งเมืองกุม ท่านได้นำเสนอเรื่องฟิกฮ์สถาปัตยกรรมไว้หลายบทเรียน และได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายเล่ม ตอนนี้ก็มีการจัดเตรียมเกี่ยวกับฟิกฮ์สามมิติ กล่าวคือการสร้างเมืองในสามมิติ ที่จริงแล้วเป็นมาตรการที่กำลังทำกันอยู่ อายาตุลลอฮ์อะรอกีกล่าวกับผมในขณะที่เรานั่งด้วยกันว่า ที่เมืองนะญัฟเราเห็นและรู้ว่าแนวทางของอายาตุลลอฮ์คูอีย์คืออะไร ท่านอายาตุลลอฮ์คูอีย์ไม่ได้เชื่อว่าฟะกีฮ์ วะลียุลฟะกีฮ์ที่เกี่ยวโยงกับท่านว่า ท่านไม่มีวิลายัตมุฏลักหรือไม่ยอมรับเกี่ยวกับวิลายัตมุฏลัก คำพูดเหล่านี้ไม่ถูกต้อง ไร้แก่นสาร ผมจะพิสูจน์ต่อไป แต่มีประโยคหนึ่งที่มันน่าทึ่งมากสำหรับผมคือ ท่านไม่มีทัศนะว่า ฟะกีฮ์จะต้องเข้ามาถกเกี่ยวกับต้นเดือนและปลายเดือน เช่นกล่าวว่าต้นเดือนแล้วให้รับประทานอาหารได้  ให้ถือศีลอดได้ โดยเฉพาะเรื่องการถือศีลอดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก กล่าวกันว่า เมื่ออายาตุลลอฮ์ฮะกีมเสียชีวิต ตำแหน่งมัรเญี้ยะอ์ก็ตกเป็นหน้าที่ของท่าน ผมเห็นตั้งแต่ปีแรกๆว่าท่านได้ฮุกุ่มว่า วันนี้เป็นวันที่หนึ่งของเดือนแล้ว หรือปลายเดือนแล้ว ผมก็เข้าไปหาท่านแล้วถามท่านว่า แนวทางของท่านไม่ใช่เป็นเช่นนี้นี่! ท่านไม่ยอมรับเรื่องนี้นี่! ท่านตอบว่า ฉันกำลังพูดและฮุกุ่มให้กับคนที่ยอมรับ หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่า ฉันเป็นตัวแทนของผู้รู้ที่ผู้คนรอคอยและคาดหวังจากฉันว่าให้ฉันทำเช่นนี้ ฉันได้ฮุกุ่มไปเพื่อเปลื้องการรอคอยของพวกเขา มันเป็นเรื่องที่แปลกมากสำหรับผมที่สนใจเรื่องเรื่องเกี่ยวกับนิติศาสตร์ทางการเมือง การที่ท่านให้คำตอบว่าฉันพูดกับคนที่ยอมรับคนที่ตักลีดตามฉัน ฉันกล่าวว่าพวกท่านไปทำอะไรสักอย่าง แต่พวกเขาก็เคยชินต่อสิ่งนั้น และฉันก็ฮุกุ่มให้กับพวกเขา และออกฮุกุ่มให้กับพวกเขา เรื่องฮุกุ่มและการออกฮุกุ่มนั้นมีรายละเอียดอีกเยอะมาก ทั้งในเรื่องที่เกี่ยกับการเมืองที่เราพูดถึงกันอยู่นี้และบ้างก็สามารถพบในเรื่องของปรัชญาทางการเมือง เรายังมีงานที่ต้องทำอีกเยอะมาก ทั้งเรื่องของนิติศาสตร์ทางการเมือง และปรัชญาทางการเมือง ท่านเองเมื่อต้องการจะเริ่มเหตุผลเกี่ยวกับวิลายะตุลฟะกีฮ์ ท่านได้วางพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องปรัชญาทางการเมือง เรื่องเกี่ยวกับความจำเป็นเกี่ยวกับการปกครอง

เราเชื่อว่าสามารถที่จะทำให้ประเด็นฟิกฮ์มีมากกว่านี้ เราต้องการที่จะขยายเรื่องขอบเขตและอำนาจของฟะกีฮ์ด้วย ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็สามารถนำเข้ามาได้ด้วยเช่นกัน แต่ก็ต้องพิจารณาดูว่าได้มาจากที่ไหน สำหรับมะอ์ซูมนั้นมีสถานภาพสามด้านด้วยกัน ตำแหน่งอิมามัตที่ได้รับจากริวายัต และชะฮีดมุเฏาะฮารีก็กล่าวไว้ในหนังสือบางเล่มของท่าน ซึ่งผมได้รับประโยชน์จากหนังสือเหล่านั้นเป็นอย่างมาก

สถานภาพของอิมามัต

    วิลายัตมะอ์นะวี

2.มัรญีอียัตด้านศาสนา

3.การปกครองหรือผู้นำด้านการเมืองการปกครอง

ท่านลองเปรียบเทียบกับคำพูดของเชคอันซอรีที่กล่าวว่า สถานภาพทั้งสาม การออกคำฟัตวา(อิฟตาอ์) การปกครอง (ฮุกูมัต) และ วิลายัต อันที่จริงแล้วเป้าหมายของวิลายัตนั้นท่านได้กล่าวทันทีว่าเป็นสิ่งเฉพาะ แต่ท่านเชื่อเรื่องนี้โดยกล่าวไว้ในบทว่าด้วยเรื่องการซื้อขาย (บัยอ์) ในบทว่าด้วยเรื่องฮุดูด ดียาต และบางบทเกี่ยวกับสิทธิของพวกเขา เช่นอิมามโคมัยนีก็มีวิลายัตมุฏลัก อายาตุลลอฮ์คูอีย์ก็มีวิลายัตมุฏลัก เป็นเรื่องที่น่าสนใจและยากมากเลยทีเดียวที่บรรดาผู้ทรงคุณวุฒิของเราจะพบกับบรรทัดฐานหนึ่งแล้วกล่าวไว้ในหนังสือและบทต่างๆมากมายไม่ว่าจะบทว่าด้วยเรื่องของความสะอาด นมาซ จนถึงบทว่าด้วยเรื่องฮุดูด ดียาตและอื่นๆ โดยไม่ลืมบรรทัดฐานของตน พูดตามบรรดทัดฐานของตน ในประโยคนี้ที่กล่าวไว้ในหนังสือมะกาซิบรุ่นเก่า หลังจากได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องอิฟตาอ์ การปกครองและวิลายัตว่า

” و بالجملة ، فأقامة الدلیل علی وجوب طاعة الفقیه کلإمام علیه السلام إلا ما خرج بالدلیل دونه خرط القتاد ”

การที่เรากล่าวว่า إلا ما خرج بالدلیل นั้นเป็นเรื่องที่เป็นที่รู้จักกัน เช่น ท่านอาจารย์เอง มัรฮูม อัลลามะฮ์นะรอกี ได้ให้กฎข้อที่15 เป็นบทที่ว่าด้วยเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ โดยกล่าวว่า โอ้น่าอนาถต่อสภาพของเรา อุละมาอ์ที่ได้ผละงานที่พระองค์ทรงมอบแก่เราให้เป็นภาระหน้าที่ของคนอื่น ให้บรรดาผู้ปกครองได้ทำกัน ใครอนุญาตให้เราทำเช่นนี้? บางครั้งเราก็หาข้ออ้างว่าผู้คนไม่เอา ไม่มาหาบรรดาอิมาม จึงล้มเหลว ใช่กรณีนั้นเป็นที่อนุญาต แต่การที่เราผละมันเสียตั้งแต่แรก มันไม่ใช่! มัรฮูมนะรอกี ทั้งคนก่อนหน้าท่านที่เชื่อในวิลายัตมุฏลัก ได้กล่าวประโยคนี้กันว่า การจะกล่าวว่า “ผู้ที่ไม่ใช่มะอ์ซูมนั้นมีอำนาจทั้งหมดที่บรรดามะอ์ซูมมีนั้น นอกจากต้องยกเหตุผลมาอ้างอิง” ที่น่าสนใจตรงนี้ก็คือว่าการกล่าวยกเว้น إلا ما خرج بالدلیلมีขึ้นที่ไหนบ้าง เช่นสมมติว่า กรณีของการญิฮาดเริ่มต้น ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีทีเดียว อายาตุลลอฮ์คูอีย์ที่ถูกพาดพึงถึงว่าไม่เชื่อในวิลายัตมุฏลัก เชื่อในวิลายัตมุกอยยัดโดยประมาณ (ฟิลญุมละฮ์)ไม่ใช่อำนาจทั้งหมด(บิลญุมละฮ์)  ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือ มิศบาฮุลฟิกอฮัตว่า ใช่แล้ว ฟะกีฮ์สามารถที่ออกฮุกุ่มญิฮาดเริ่มต้นได้ แต่อิมามโคมัยนี ท่านได้ทำการปฏิวัติและสถาปนาการปกครองขึ้นบนฐานทฤษฎีและบรรทัดฐานของท่าน อินชาอัลลอฮ์หวังว่าจะเป็นการปกครองที่เตรียมพร้อมและรองรับการมาปรากฎของอิมามแห่งยุคสมัย (อ.) ท่านได้กล่าวว่า เราไม่มีหลักฐานพอ และท่านก็ได้นำประโยคนี้มากล่าวคือ إلا ما خرج بالدلیل  ในช่วงบั้นปลายชีวิตของอิมามก็เชื่อเช่นนี้ หลักฐานในหนังสือตะห์รีรุลวะซีละฮ์ เล่มสอง เกี่ยวกับเรื่องการปกป้องตนเองในมาตราที่ 9 ว่า ญิฮาดเริ่มต้นนั้นเป็นอำนาจของอิมามมะอ์ซูม (อ.) นอกเหนือจากมะอ์ซูมไม่มีสิทธิในการเริ่มทำสงคราม ส่วนการทำสงครามเพื่อปกป้องท่านได้กล่าวว่า การทำสงครามทั้งหมดนั้นเป็นการทำสงครามแบบปกป้องตนเองทั้งสิ้น เราต้องปกป้องตนเองเมื่อศัตรูบุกโจมตีไม่เช่นนั้นแล้วพวกเขาจะฆ่าพวกเรา เราจึงต้องลุกขึ้นปกป้องตนเอง แต่หากไม่ใช่เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องตนเองแต่เป็นการเริ่มทำสงคราม ให้เริ่มถล่มอิสรอเอล หากเราต้องการพูดอย่างมีหลักฐานก็ให้อ้างหนังสือตะห์รีรุลวะซีละฮ์เล่มสอง มาตราว่าด้วยเรื่องการปกป้องตนเอง ท่านได้อธิบายไว้ว่าฟะกีฮ์ไม่มีสิทธิเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเริ่มทำสงคราม อิมามมะอ์ซูม (อ.) เท่านั้นที่จะสั่งบัญชาการนี้ได้ ส่วนเรื่องการต่อสู้ปกป้องตนเองนั้นไม่จำเป็นต้องสั่ง เพราะเป็นเรื่องที่สติปัญญากล่าวว่าทุกคนต้องปกป้องตนเอง นี่คือหลักฐานของผม แต่ช่วงปลายชีวิตของอิมามโคมัยนีท่านได้เปลี่ยนทัศนะว่าฟะกีฮ์ที่มีเงื่อนไขครบถ้วนเช่นท่านผู้นำสูงสุดและอิมามโคมัยนี่นั้นสามารถออกทัศนะเกี่ยวกับการเริ่มทำสงครามและสั่งการได้ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญสำหร้บเราที่ว่า الا ما اخرجه الدلیل یا الاما خرج بالدلیل เป็นการยกเว้นประเภทไหน ในเรื่องของคุมส์ ผมมีทัศนะหนึ่งซึ่งไม่มีเวลามากพอที่จะพิสูจน์เกี่ยวทัศนะนี้ของผมว่า ฟะกีฮ์ที่สามารถรับคุมส์ได้นั้นเฉพาะฟะกีฮ์ที่ปกครองเท่านั้น ถือเป็นทัศนะที่ร้อนแรงพอสมควร แล้วทำไมฟะกีฮ์อื่นรับคุมส์กันอยู่ตอนนี้ นั่นก็เพราะฟะกีฮ์ที่ป็นผู้ปกครองอนุญาต ผมเองบางครั้งไปสำนักงานของท่านผู้นำสูงสุด พวกเขากล่าวว่าให้ไปหาผู้ที่กล่าวว่าจงให้ เมื่อครั้งที่มัรฮูมฆอรอวียังมีชีวิตอยู่ เขากล่าวว่าให้ไปจ่ายกับคนที่กล่าวว่าจงให้ สำนักงานพวกเขาพูดกัน  ไม่เช่นนั้นแล้วฉันจะต้องพูดกับพวกเขาว่าต้องนำไปยังสำนักงานของฟะกีฮ์ที่ปกครองออกทัศนะ ปัจจุบันมีมัรเญี้ยะอ์บางท่านโดยเฉพาะเมื่อกระแสสร้างมัรเญี้ยะอ์มาแรง เมื่อนั้นก็จะยิ่งเป็นอันตราย บางครั้งกระแสสร้างอายาตุลลอฮ์มาแรง เราก็จะเห็นว่าไม้เท้าของอายาตุลลอฮ์เหล่านั้นจะทำให้วันเวลาเป็นเช่นไร ยังคงต้องร่อนตะแกรงกันบางคนก็ร่วงหล่นไปข้างล่างและถือเป็นสิ่งที่ไม่คุณค่าอะไรด้วยซ้ำ ขออัลลอฮ์ทรงคุ้มครอง หากกระแสการสร้างมัรเญี้ยะอ์มาแรง ผมเองมีมุมมองหนึ่งที่เฉพาะเกี่ยวกับวิลายะตุลฟะกีฮ์ของเรา ผมจึงแบ่งการถกออกเป็น การถกภาควิชาการกับการถกในภาคปฏิบัติ เราจะพยายามให้การถกของเราในที่นี้เป็นการอธิบายเชิงวิชาการที่บรรลุเป้าประสงค์

و بالجملة ، فأقامة الدلیل علی وجوب طاعة الفقیه کلإمام علیه السلام مثل امام الا ما اخرجه الدلیل یا إلا ما خرج بالدلیل دونه خرط القتاد

พวกเขาได้อธิบายให้เราฟังเสมอว่าบางครั้งผลไม้บางชนิดมีหนามจนไม่อาจจับมันได้เลย ผลไม้บางชนิดมีหนามแข็งเต็มไปหมด เมื่อกล่าวว่า دونه خرط القتاد หมายถึงหากต้องการรูดหนามออกด้วยมือนั้นเป็นเรื่องที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ทว่าการทำเช่นนี้ยังง่ายเสียยิ่งกว่าการหาเหตุผลมายืนยัน กล่าวคือ เป็นไปไม่ได้เลย دونه خرط القتاد ไม่ว่าเห็นที่ไหนให้รู้ว่าผู้กล่าวต้องการจะสื่อว่าฉันทำไม่ได้ หากท่านทำได้ก็พิสูจน์เอาเองแล้วกัน อิมามโคมัยนีได้กล่าวไว้ (อิมามโคมัยนี บทว่าด้วยเรื่องการค้าขาย (อัลบัยด์) เล่ม 2 หน้า 616

و من جملة اولیاء التصرف فی مال یستقل بالتصرف فی ماله الحاکم و هم فقیه الجامع لشرائط و هو الفقیه الجامع الشرایط الفتوی

ถึงตรงนี้ก็คล้ายๆกัน จากตรงนี้อิมามต้องการให้ทัศนะ ท่านลองดูสิว่ามันงดงามอย่างไร

ولا بأس بالتعرض لولایة الفقیه مطلقا بوجه اجمالی

เชคอันซอรีก็มีทัศนะนี้เช่นกัน หาไม่แล้วก็มีในเรื่องฮุดูด ดียาตและเรื่องอื่นๆด้วย พวกเขากล่าวว่าเป็นไปได้อย่างไรที่ท่านจะกล่าวเช่นนี้ แต่ตรงนี้มีกล่าวไว้ในบทว่าด้วยเรื่องบัยอ์ว่า دونه خرط القتاد

ตามที่พวกท่านได้จดกันว่าสถานภาพของอิมามัตได้แก่

1.วิลายัตมะอ์นะวี

2.มัรญีอียัตดีนี

3.ผู้นำทางการเมืองการปกครอง

ผมต้องการจะย้ำว่าประการที่สองและประการที่สามนั้นเป็นสถานภาพทางด้านกฎหมาย(ฮุกูกี)ของอิมามมะอ์ซูม เฉพาะประการแรกเท่านั้นที่เป็นสถานภาพทางด้านอัตลักษณ์ที่แท้จริง (ฮะกีกี)ของอิมามมะอ์ซูม วะลายัตมะอ์นะวี ไม่ได้หมายถึงทุกวิลายัต ไม่เช่นนั้นแล้ววิลายัตซึ่งเชคอันซอรีเองกล้ากล่าวว่า ฟะกีฮ์มีวิลายัต สถานภาพของฟะกีฮ์คือสิ่งที่อัลลอฮ์ประทานให้แก่เขา เป็นสิ่งที่เขามีสิทธิ์มันคือตำแหน่งของเขา เขากล่าวว่า ได้แก่ ออกคำวินิจฉัย ปกครองและวิลายัต ทว่าทั้งมัรฮูมเชคอันซอรีและอิมามโคมัยนีอยู่บนบรรทัดฐานนี้ อิมามโคมัยนี้ก็ย้ำว่าฉันไม่ต้องการที่จะกล่าวว่าสถานภาพด้านอัตลักษณ์ที่แท้จริงของอิมามมะอ์ซูมนั้นมีในบุคคลอื่นด้วย แน่นอนว่าย่อมเป็นไปไม่ได้ อัตลักษณ์ที่แท้จริงของแต่ละอิมามก็มีเฉพาะของอิมามแต่ละท่าน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือสถานภาพแห่งอัตลักษณ์ที่แท้จริงของอิมามอาลี (อ.)  อิมามฮะซัน (อ.) อิมามฮุเซน (อ.) เรารู้เพียงแค่ความเป็นมะอ์ซูมของพวกท่านทั้งหมดเท่านั้น ไม่เช่นนั้นแล้วเราจะรู้ได้จากที่ไหน อิมามฮุเซน (อ.) ไม่ได้กล่าวไว้หรอกหรือว่า บิดาของฉันและพี่ชายของฉันนั้นประเสริฐกว่าฉัน เราไม่อาจเข้าใจได้ว่ามันคืออะไร? และไม่ใช่เรื่องของเราที่จะกล่าวถึงเรื่องนี้

ด้วยเหตุนี้เราจึงย้ำนักย้ำหนาในตรงนี้เพื่ออธิบายคำพูดของอิมามโคมัยนี การถกของเราจะดำเนินไปตามการแบ่งในลักษณะนี้ อิมามโคมัยนีต้องการกล่าวในตรงนี้ว่าสถานภาพทางด้านกฎหมาย(ฮุกูกี)ของอิมามมะอ์ซูมนั้นไม่อาจว่างเว้นไปจากโลกได้ ต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อไม่มีมะอ์ซูมแล้ว เราต้องกล่าวว่าต้องมีบุคคลที่ใกล้เคียงกับพวกท่านมากที่สุด นอกจากหนทางนี้แล้วเราไม่มีทางอื่น ผมจะนำหนทางนี้จากท่านอัลลามะฮ์บุรูญิรดีและอัลลามะฮ์คูอีย์มาให้พวกท่าน จากหนังสือ มิศบาฮุลฟิกอฮัต จากสถานภาพและอำนาจของอิมาม และสามารถที่จะเจอคำพูดเหล่านี้ได้จากบรรดาอุละมาอ์ มีบางคนพูดว่า บางคนไม่ยอมรับวิลายัต คำพูดเหล่านี้ไม่ตรงกับบรรทัดฐานใดทางด้านฟิกฮ์เลย อีกด้านหนึ่งก็ไม่อาจที่จะเลยเถิดไป ผมจำได้ว่าในสมัยที่พวกซาวักได้จับกุมตัวพวกเรา พวกเขาได้เย้ยหยันพวกเราว่าอิมามโคมัยนีอิมามที่สิบสามของพวกเรา ที่จริงแล้วเราไม่ต้องการที่จะกล่าวว่ามีอิมามท่านที่สิบสาม สิบสี่ สิบห้าและสิบหก แต่เราต้องการที่จะกล่าวว่าอิมามมีทั้งหมดสิบสองท่าน เพียงแต่ต้องทำอย่างไรในยุคแห่งการเร้นกายอิมาม? ต้องทำในรูปแบบไหนในลักษณะไหน? ตรงนี้เองที่ฟะกีฮ์ต้องเข้ามาปกครองสังคม ดังนั้นตรงนี้เองอิมามโคมัยนีกล้าพูดว่า

ولا بأس بالتعرض لولایة الفقیه مطلقا بوجه اجمالی

ทว่าตรงนี้ระหว่าง مطلقا กับ  بوجه اجمالیขัดแย้งกันหรือไม่?คำตอบคือไม่ขัดแย้งกัน เราจะพิสูจน์วิลายัตมุฏลักในสี่สิบหน้ากระดาษ ซึ่งอิมามได้ทำไว้อย่างมีศิลปะ จากเรื่องนี้จนถึงเรื่องต่อไปมีกล่าวไว้ประมาณสี่สิบหน้าในบทว่าด้วยเรื่องการค้าขาย (บัยอ์) ท่านได้กล่าวไว้ในบรรทัดถัดมาว่า

فإن التفصیل یحتاج الی إفراد رسالة لا یسعها المجال

หากต้องการที่จะเข้าสู่รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นต้องใช้ตำราแยกต่างหากซึ่งไม่ใช่ที่ของเราในตอนนี้