โลกทัศน์อิสลาม :อิสลามกับสังคม ตอนที่ ๑

โลกทัศน์อิสลาม :อิสลามกับสังคม ตอนที่ ๑

 

มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นผู้รักความก้าวหน้าและเป็นสัตว์แห่งการเรียนรู้รักการเรียนรู้ ซึ่งเป็นที่มาของการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าด้านปัจเจกและด้านสังคม ในช่วงวัยเด็กที่เราได้มกมุ่นหรือพยายามแสวงหาอะไรบ้างอย่าง ถือว่าไม่ใช่ความบ้าหรือความไม่มีเป้าหมายของมนุษย์เรา แต่เป็นเพราะความรักและความปรารถนาบางอย่างที่อยู่ในตัวของเราเป็นพลังขับเคลื่อนให้เราทยานไปหามัน จนกระทั้งได้สืบค้นสิ่งลี้ลับต่างๆ และด้วยกับสัญชาตญาณบริสุทธิ์(ฟิตเราะฮ์)ของมนุษย์ในด้านการอยากรู้อยากเห็น ทำให้มนุษย์สามารถค้นพบและคว้าสิ่งมีชีวิตต่างๆและความลี้ลับของมันอย่างน่ามหัศจรรย์ทีเดียว เริ่มด้วยการอยากรู้อยากเห็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติต่างๆของจักรวาลและเอกภพ จนกระทั้งผืนแผ่นดิน และดวงดาวบนท้องฟ้า ซึ่งวิทยาการต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ เนื่องจากความอยากรู้และความปรารถนารู้ของมนุษย์

ด้วยเหตุนี้โดยธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนจะมีคำถามคาใจและแทงใจดำอยู่ทุกยุคทุกสมัยเกี่ยวกับตัวของเขาเองว่า

-ข้าพเจ้ามาจากไหน?

-ข้าพเจ้าเกิดมาเพื่ออะไร?และใช้ชีวิตไปมีเป้าหมายอะไรในชีวิต?

-การมาและการจากไปของข้าพเจ้ามีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร?

-สุดท้ายของชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลายคือความตายกระนั้นหรือ? ความตายคือจุดจบทุกสิ่งหรือไม่? หรือว่ายังมีชีวิตหลังความตายอีก? ถ้ามี แล้วเราจะไปอยู่กันที่ไหน?

คำถามเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน ซึ่งโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้ว พวกเขาจะหาคำตอบตามที่เขานั้นมีองค์ความรู้ ดังนั้นบางคนอาจจะได้รับคำตอบที่กระจ่างและเข้าใจถึงปรัชญานั้น บางคนหาคำตอบได้แค่เพียงบางส่วน และบางคนยังหาคำตอบไม่เจอเลย ดังนั้นคำตอบของแต่ละคำถามข้างต้นจะไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับโลกทัศน์ของแต่ละคน

มนุษย์ทุกคนจะมีโลกทัศน์ของตนเอง เพราะว่าโลกทัศน์นั้นเกิดขึ้นจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์หรืออาจจะมาจากสัญชาตญาณบริสุทธิ์(ฟิตเราะฮ์)ที่อยู่ในตัวของมนุษย์ นั่นหมายความว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ เป็นสัตว์มีสติปัญญา ถูกสร้างมาอย่างมีอิสระและเสรีภาพในการเลือก มีความปรารถนาต่อการพัฒนาสู่ความก้าวหน้าและความสมบูรณ์ ซึ่งแตกต่างกับบรรดาปศุสัตว์อื่นๆที่ไร้สมองไร้ปัญญา ไม่มีสัญชาตญาณบริสุทธิ์(ฟิตเราะฮ์) ดังนั้นมนุษย์จึงมีความเจริญ สามารถไปสู่ความเป็นอารยะบุคคล เป็นผู้มีจริยธรรมขั้นสูง มีจิตเมตตา อีกทั้งพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีไปสู่ความก้าวหน้าและมีความเจริญ ซึ่งเรียกในยุคปัจจุบันว่าเป็นยุคความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี มนุษย์สามารถสร้างนิวเครียร์ สามารถสร้างกระสวยอวกาศเพื่อไปศึกษาดวงดาวอื่นๆ  ดังนั้นมนุษย์เป็นผู้มีศักยภาพและความสามารถทั้งทางกายภาพและทางจิตวิญญาณที่จะให้บรรลุจุดสูงสุดได้

การเลือกระเบียบแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ดีที่สุดและการสร้างระเบียบแบบแผนการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์นั้นถือว่าเป็นความพยายามของมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึงสร้างวิธีคิดและหลักคิดทางปรัชญาและมีหลักความเชื่อ เพื่อไขปริศนาของคำถามนั้นและสร้างความถูกต้องในการวิเคราะห์ วิจักษ์และวิธานต่อเอกภพและสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกใบนื้

วิธีคิดหรือหลักคิดที่กลายเป็นความเชื่อของสำนักใดสำนักหนึ่งเกี่ยวกับการมองต่อโลกและมนุษย์ และสรรพสิ่ง และได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการมองต่อสิ่งเหล่านั้นจนกลายเป็นความเชื่อ เราเรียกว่า”โลกทัศน์”

ทุกสำนักคิดทางศาสนา ทุกนิกายและทุกลัทธิทางปรัชญาล้วนแล้วแต่มีโลกทัศน์เป็นของตนเองเพื่อนำเสนอหลักคิดแก่ผู้อื่นและอธิบายในความเชื่อของสำนักของตน เพื่อสร้างระเบียบแบบแผนต่างๆไม่ว่าสิ่งที่ควรจะกระทำสิ่งที่ไม่ควรจะกระทำ

หรือถ้าย้อนมองดูอวัยวะร่างกายมนุษย์ จะพบว่าอวัวยวะเหล่านั้นมีบทบาทหน้าที่เฉพาะคอยปฏิบัติอย่างสมบูรณ์  และยังได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะส่วนอื่นๆ ต่อกันและกันอีกด้วย และเพื่อให้ร่างกายเกิดการพัฒนาและเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ ดังนั้นท่านลองคิดดูซิว่า ถ้าอวัยวะของร่างกายบางส่วนนั้น ไม่ยอมทำงานตามหน้าที่ของตัวเอง  หรือไม่ได้สนองตอบความต้องการของอวัยวะส่วนอื่นๆ   แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับมนุษย์? ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเท้าของท่านได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่(ในการเดินไปตามทาง) แต่ดวงตาของท่านไม่ยอมปฏิบัติตามหน้าที่ของมัน  คือไม่ยอมเปิดตาออกเพื่อจะดูสิ่งต่างๆ ดังนั้นคงจะสร้างความวุ่นวายน่าดูทีเดียว

หน้าที่ของปัจเจกบุคคลในสังคม เหมือนกับส่วนต่างๆ ของอวัวยะที่มีต่อร่างกาย  คือมนุษย์จำเป็นต้องนำตัวของเขามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และจงรู้ไว้ว่าการรักษาชีวิตทางสังคม ก็คือการสร้างประโยชน์แก่ทุกๆ คนที่อยู่ในสังคมนั่นเอง  ความเป็นจริงในเรื่องนี้ รับรู้ได้ด้วยสัญชาตญาณบริสุทธิ์(ฟิตเราะฮ์)และสติปัญญา คงไม่มีใครปฏิเสธ

ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวถึงเรื่องสังคมไว้ว่า…

“ใครก็ตามได้ตื่นมาในตอนเช้า  และไม่ได้สนใจปัญหาของมุสลิมคนอื่นๆ   เท่ากับเขาไม่ใช่มุสลิม”(อัลกาฟี  เล่ม ๓ หน้า ๗๑๔)

อิสลามเป็นศาสนาแห่งสังคมและให้ความสำคัญต่อมิติทางสังคมอย่างมากทีเดียว  ถึงกับมีบทบัญญัติทางศาสนาเกี่ยวกับทางสังคมเหมือนกับบทบัญญัติต่อปัจเจกบุคคล  และทั้งหลายทั้งปวงนั้นเพื่อต้องการจะปฏิรูปและให้ความเข้มแข็งทางการมีปฏิสัมพันธ์ในด้านสังคม และทำให้ประเด็นทางสังคมเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์และมีคุณค่า  ดังนั้นเป้าหมายของศาสนาอิสลาม มีทั้งการสร้างคุณภาพทางปัจเจกบุคคลและคุณภาพทางสังคมไปควบคู่กัน ทั้งให้ปัจเจกบุคคลมีศาสนาและสังคมมีภาวะความเป็นศาสนา  ดังนั้นสังคมใดที่มีรากฐานบนบทบัญญัติทางศาสนา จะทำให้สังคมนั้นมีความเข้มแข็ง  และจะนำพาไปสู่ความผาสุกทั้งด้านปัจเจกบุคคลและทางสังคม  และด้วยการตรวจสอบต่อโองการอัลกุรอานและฮะดีษ  ไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะด้านความผาสุกในปรโลก  หรือมุ่งเน้นความผาสุกหรือสุขสบายในโลกดุนยาเท่าเพียงอย่างเดียว  แต่เป็นศาสนาที่ครอบคลุมและสมบูรณ์ไม่ถูกจำกัดด้วยกาลและเวลา  แต่ได้ให้รายละเอียดทุกกิจกรรมของการดำเนินชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าด้านปัจเจกบุคคลหรือด้านสังคม  ไม่ว่าชีวิตทางโลกหรือชีวิตทางธรรม(ปรโลก)  ดังประจักษ์ในโองการอัลกุรอานมากมายที่ได้กล่าวถึงด้านปัจเจกบุคคลและด้านสังคม  และถ้าได้นำมาเปรียบเทียบจะพบว่า โองการเกี่ยวกับสังคม การเมือง  และเศรษฐกิจ  ซึ่งเป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่า ศาสนาอิสลาม  ได้ให้รายละเอียดทุกๆ ด้านของการดำเนินชีวิต  และมีคำสอนต่างๆ ที่ไม่ได้เฉพาะด้านส่วนตัวหรือปัจเจกเท่านั้น  แต่ยังให้ความสำคัญต่อเรื่อง การทำความดี  การเกื้อกูลระหว่างกันและกัน กาสร้างจริยธรรมอันดี  หลักความยุติธรรม  การให้อภัยระหว่างกัน การเชิญชวนกระทำดี  และห้ามกระทำชั่ว และอื่นๆ เกี่ยวกับประเด็นทางสังคม

 

          ศาสดาได้ถูกถามว่า  ใครคือเป็นที่รักของพระเจ้ามากที่สุด?  ศาสดากล่าวว่า “ คือบุคคลที่ได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่เพื่อนมนุษย์ได้มากที่สุด”

          ศาสดาอิสลามกล่าวว่า “ใครก็ตามได้ให้เสื้อผ้าแก่คนยากจนคนหนึ่งหรือได้ช่วยเหลือปัจจัยยังชีพแก่เขา  อัลลอฮ์ทรงให้ทวยเทพมากถึงเจ็ดหมื่นองค์ ทำการขออภัยโทษแก่เขาทุกบาปที่เขาได้กระทำไว้  จนกระทั้งความผิดบาปนั้นได้รับการอภัยจากอัลลอฮ์”(อัลกาฟี เล่ม ๓ หน้า ๕๒๒)

คำสอนต่างๆ อิสลาม ได้รวมไปถึงเป้าหมายของความผาสุกในชีวิตและความสมบูรณ์ของชีวิต  ดังนั้นพระเจ้าทรงได้แนะนำถึงสิทธิต่างๆ ของสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีระหว่างกันและกัน  และพระเจ้าต้องการให้มนุษย์ให้เกียรติต่อกันและกัน  และอย่าได้ละเมิดสิทธิผู้อื่น  และบางส่วนจากสิทธินั้น คือ ความเป็นปัจเจก  เช่นตัวอย่าง  ร่างกายที่พระเจ้าได้สร้างมาให้เรา  ก็มีสิทธิทีจะต้องพึงระวังและปฏิบัติให้ตามสิทธินั้น ต้องต้องไม่คิดสั้นฆ่าตัวตาย เพราะนั่นคือการละเมิดสิทธิตัวเองหรือบางประเด็นเป็นสิทธิระหว่างสัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ   หรือกับสิ่งแวดล้อม ไร้ชีวิต

 

ความจำเป็นของสังคมต่อการมีศาสนา

จากพื้นฐานของกรอบความคิดทีผ่านมา  ความรู้ของมนุษย์ต่อบทบาทและต่อด้านต่างๆ ของตนเองนั้น มันช่างมีขีดจำกัดมาก และเป็นธรรมดาอยู่ว่า มนุษย์จะไม่สามารถจะสนองตอบความต้องการในทุกๆ ด้านของตนเองได้  และก็จะไม่สามารถจะกระจัดปัญหาต่างๆ ของตนเองออกไปได้หมด  และจากจุดนี้ทำให้มีกระบวนการคิดว่า มนุษย์มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตทางสังคมและมีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน และการมกมุ่นของตัวเขาเองกับคนอื่นๆ และในสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่มีความสลับซับซ้อนนั้น จำเป็นต้องพึ่งพายังวิวรณ์และคำสอนทางศาสนา  คือมนุษย์ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากวิวรณ์ เป็นไปได้ที่ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านปัจเจกและทางด้านสังคม หรือเป็นไปได้ที่นำเสรีภาพที่ได้นิยามไว้ ที่เป็นสาเหตุให้ทำลายเสรีภาพของผู้อื่น  หรืออาจละเมิดสิทธิของผู้อื่น  ดังที่เห็นตัวอย่างมากมายในปัจจุบันนี้  คือได้กำหนดกฎหมายเพื่อเสรีภาพ  แต่ได้ไปละเมิดสิทธิคนอีกกลุ่มหนึ่ง เช่นกฎหมายว่าด้วยเรื่องชาติพันธุ์และความลำเอียงในเชื้อชาติ  ซึ่งจะเห็นว่าชนกลุ่มผิวสี ได้รับความไม่เป็นธรรมเป็นเวลาช้านาน และก็ยังแก้ไขอะไรไม่ได้ เนื่องจากผู้ร่างกฎหมายมีความทะนงตนและมีความฐิติมานะ ลำเอียง เหยียดสีผิว  ในขณะที่อิสลามได้วางรากฐานไว้สำหรับมนุษย์มีความเท่าเทียมกัน ไม่แตกต่างในเรื่องสีผิวหรือเรื่องด้านชาติพันธุ์  ไม่มีใครเหนือกว่าใคร เว้นแต่ผู้นั้นมีความยำเกรง และมีภาวะสำรวมตนต่อพระเจ้าเท่านั้น

กฎระเบียบแบบแผนทางศาสนาต่อสังคม

จากพื้นฐานที่ว่ามนุษย์มีความจำเป็นต่อระบอบและกฎระเบียบหนึ่งทางสังคม  ทำให้มีกรอบความคิดขึ้นว่า บรรดากฎระเบียบเหล่านั้นเสมือนกับโซ่ที่นำมาล่ามไว้ที่เท้าของมนุษย์ที่อยู่ในสังคมนั้น และแต่ละคนได้เพียรพยายามที่จะหาทางออกหรือหาประตูเพื่อจะวิ่งหนีออกไปจากมัน   และนี่คือปัญหา และยังถือว่าเป็นเรื่องอันตรายที่ใหญ่หลวงทีเดียว ที่นำบทบัญญัติหรือข้อบังคับทางสังคมนั้นมาข่มขู่  ด้วยเหตุนี้จึงมีกฎหมายที่ถูกตราขึ้นเพื่อเป็นบทลงโทษทางสังคมแก่บุคคลที่ได้ฝ่าฝืนนั้นหรือให้การตอบแทนสนับสนุนต่อบุคคลที่ได้คำนึงถึงกฎระเบียบที่ได้ถูกตราไว้  หนึ่งจากความแตกต่างระหว่างกฎหมายของมนุษย์กับกฎหมายของพระเจ้า คือว่า กฎหมายที่มนุษย์ตราขึ้น ได้มุ่งเน้นประโยชน์ทางด้านวัตถุของการดำเนินชีวิตมนุษย์  และเป้าหมายเพื่อการให้เกิดความปลอดภัย รักษาระเบียบและความกลมกลืนอันหนึ่งอันเดียวในด้านพฤติกรรมต่างๆ   ความหมายคือ ให้ออกห่างจากความขัดแย้งและการทะเลาะวิวาทและไม่ไปกระทบเสรีภาพส่วนบุคคล  ในขณะศาสนา  ได้วางกฎระเบียบไว้เพื่อให้การลงโทษผู้ละเมิดและผู้กระทำผิด และให้รางวัลต่อผู้กระทำดี  และสององค์ประกอบนั้นที่ทรงพลัง กอรปกับยังให้เสรีภาพต่อมนุษย์ เพื่อสามารถจะให้สังคมไม่เกิดความเสียหายและกระทบในเชิงลบ  คือ หนึ่ง  ให้มนุษย์สำนึกและเข้าถึงในเรื่องชีวิตโลกหน้า  โดยให้ถือว่าโลกนี้เป็นเพียงทางผ่าน และเป็นบทนำในการไปสู่โลกหน้า  และสามารถจะสร้างความผาสุก และเป็นนิรันดร์โดยการยึดปฏิบัติตามบทบัญญัติทางศาสนา ดังที่บรรดาศาสดาได้นำมาเป่าประกาศไว้  ดังนั้นบุคคลที่มีศาสนา เขาจะดำเนินไปตามความเป็นจริงนี้  โดยยึดหลักบทบัญญัติทางศาสนาที่มาจากพระเจ้า ผู้ทรงวิทยปัญญาและทรงรอบรู้  พระผู้ทรงไม่ลืมการกระทำของผู้ใด  และวันหนึ่งมาถึงเป็นวันที่จะถูกพิพากษาต่อหน้าพระองค์ด้วยความยุติธรรม

สอง  บรรดาผู้ศรัทธาถือว่า การเชื่อฟังและการปฏิบัติต่อพระเจ้าเป็นสิ่งจำเป็นเหนือพวกเขา  และพวกเขาเชื่อว่า พระเจ้าจะตอบแทนในทุกๆ ความดีนั้น  และการเชื่อปฏิบัติตามบทบัญญัติพระเจ้า จะได้รับความเป็นธรรมอย่างแน่นอน  และการรักษาและคำนึงถึงหลักการจากพระเจ้า จะทำให้เขาได้รับความดีงามและความเป็นระเบียบทางสังคม อีกทั้งได้รับประโยชน์ในชีวิตโลกหน้าอย่างแน่นอน

ด้วยเหตุนี้ บุคคลที่มีศาสนา พวกเขาจะคำนึงและยึดกฎระเบียบทางศาสนาเป็นหลักการดำเนินชีวิตในทุกๆ ภาวะ  และพวกเขาถือว่าทุกๆ ภาวะของพวกเขา พระเจ้าทรงควบคุมและมองดูอยู่ และผลลัพธ์(การมีกระบวนทัศน์นี้)ทำให้พวกเขาไปถึงความผาสุกและสันติสุข

เป็นไปได้ที่กล่าวว่า บางสังคมที่ไม่มีศาสนา พวกเขาเป็นสังคมที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิต เป็นสังคมที่น่าอยู่  ตรงกันข้างสังคมที่มีศาสนา เป็นสังคมที่ไม่น่าอยู่  หรือกล่าวว่า สังคมมุสลิม เป็นสังคมที่ไม่น่าอยู่ ไม่พึงประสงค์ ไม่มีความสุข  สาเหตุเนื่องจากสังคมมุสลิมนั้น ไม่ได้มีระบอบการอบรมตามครรลองของอิสลามอย่างแท้จริง  เพราะว่าความเป็นจริง สังคมที่สุขสบาย ตั้งอยู่บนพื้นฐานการมีคุณธรรมที่ดี ได้รับการอบรมสั่งสอน ตามแบบฉบับอิสลาม  เพียงแค่ชื่อว่า อิสลาม ถือว่าไม่เพียงพอ  เพราะว่าแก่นแท้ของคน ไม่ได้อยู่ที่ชื่อ แต่อยูที่พฤติกรรมต่างหาก  ดังนั้นมุสลิมที่ไม่ได้ผ่านการปฏิบัติตามวิถีอิสลาม  มีมารยาทที่เลว ไม่มีคุณธรรมจริยธรรม ก็จะไม่พบถึงความผาสุกได้เช่นเดียวกันถึงแม้ว่าตัวของเขาจะเรียกตัวเองว่ามุสลิมก็ตาม

 

อิสลามได้สั่งเสียและเน้นหนักต่อการรู้จักการดำเนินชีวิต ต้องมีระบบระเบียบและมีภาวะสำรวมตน และคำนึงถึงระเบียบแบบแผนต่างๆ ของซุนนะฮ์ศาสดา   แท้จริงอิสลามต้องการให้มนุษย์มีความผาสุกทั้งชีวิตโลกนี้และชีวิตโลกหน้า  โลกนี้ มีความปลอดภัยในทรัพย์สินและชีวิต  มีคามสันติ  สุขสบาย และให้มีการศึกษา  มีงานทำ อาชีพ   สิ่งที่สำคัญที่สุด  คือ การรำลึกถึงพระเจ้าและคำนึงต่อการมีภาวะสำรวมตน(ตักวา)  ดังที่อิมามฮุเซนได้กล่าวว่า…

“จงทำงานสำหรับชีวิตโลกนี้ของเจ้า เสมือนหนึ่งว่า เจ้าจะอาศัยอยู่ในมันตลอดไป  และจงปฏิบัติกิจกรรม เพื่อโลกหน้า เสมือนว่าเจ้าจะตายในวันพรุ่งนี้เถิด”(วะซาอิลุชชีอะฮ์  เล่ม ๑ หน้า ๑๔๖)

มนุษย์จำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผนการดำเนินชีวิตของโลกนี้  ส่วนการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อโลกหน้า ให้คิดว่าเราจะตายในเร็วไว  ซึ่งหมายถึงว่า เราจะไม่ประวิงเวลาในการทำภารกิจและปฏิบัติตามหน้าที่ทางศาสนา  และกุรอานได้กล่าวถึงความดีของชีวิตโลกนี้และชีวิตโลกหน้า คือความโปรดปรานจากพระเจ้า  โดยให้มนุษย์ปรารถนาขอจากพระเจ้าทั้งสองโลก  ดังกุรอานที่ว่า

และจากพวกเขาได้กล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบายของเขา ได้โปรดให้ความดีงามแก่เราทั้งโลกนี้และโลกหน้าและจงปกป้องเราให้พ้นจากไฟนรกเถิด“(บทที่ ๒ โองการที่ ๒๐๑)

 

และประเด็นสำคัญมากที่ต้องเพ่งพินิจ คือ แท้จริงโลกนี้จะไม่จียังยั่งยืน  ส่วนโลกหน้าเป็นโลกนิรันดร์  และมนุษย์จะอยู่ในปรโลกอย่างนิรันดร์  โดยลักษณะที่ว่า มนุษย์ทุกๆ คนมีความปรารถนา  เพื่อให้เข้าใจอยู่เสมอว่าทุกๆ สิ่งที่ตนมี(หรือได้ครอบครอง) แท้จริงแล้วเป็นของพระเจ้า  และทุกๆ ความโปรดปรานที่อยู่ในมือของเขา คือพันธสัญญาต้องรับผิดชอบ(อะมานะฮ์)

เพื่อที่จะนำมาใช้ประโยชน์แก่ตนเองและต่อครอบครัวและแก่บ่าวคนอื่นๆ ของพระเจ้า  โดยให้ใช้สอยอย่างเหมาะสมและถูกต้อง  นั่นคือว่าถ้ามีความสามารถหรือยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องแบ่งปันและจ่ายทานในทุกๆ ปี จากบางคนที่มีผลกำไร ที่จะต้องจ่ายซากาต หรือจ่ายเงินคุมส์  หรือการบริจาคทาน การให้กู้ยืมแก่คนยากจนหรือคนด้อยโอกาส  ถือว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ทำให้เกิดสิริมงคลตามครรลองของกฎหมายแห่งพระเจ้า และเพื่อทำลายความยากจนให้หมดไปในสังคม อีกทั้งทำให้มีอันจะกินได้รู้สึกถึงการเสียสละและการให้ผู้อื่น และทำให้เขาลดน้อยลงจากการผูกมัดหรือหลงใหลชีวิตทางโลก และเดินก้าวไปสู่ความใกล้ชิดพระเจ้าและจาริกทางจิตวิญญาณ จนกระทั้งว่าทำให้สังคมเกิดการเรียนรู้ ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น และด้วยการทำงานประกอบอาชีพของตน เลี้ยงชีพและแสวงหาปัจจัยต่อการดำเนินชีวิตแก่ตัวเอง(โดยไม่แบมือขอคนอื่น)  ดังศาสดาได้กล่าวไว้ว่า…

“บุคคลใดก็ตามได้แสวงหาปัจจัยยังชีพที่ฮาล้าลแก่ครอบครัวของเขา เสมือนว่าเขาคือผู้ต่อสู้ในหนทางของพระเจ้านั่นเอง”(มันลา ยะฎุรุล ฟากี  เล่ม ๓ หน้า ๑๖๘)

มนุษย์จะต้องไม่ใช้ชีวิตในโลกนี้เพื่อโลกนี้เท่านั้น แต่จงใช้ชีวิตโลกนี้เพื่อปรโลก เพราะว่าถ้าใช้ชีวิตเพื่อโลกนี้เท่านั้น ก็จะไม่พบกับความผาสุกแท้ และจะไม่ได้ในสิ่งที่มีอยู่  เพราะว่ามนุษย์จะละโมบต่อสิ่งในโลกนี้เพื่อให้ได้ครอบครองและเป็นเจ้าของ  ถึงแม้ว่ามนุษย์ได้ครอบครองโลกนี้ทั้งใบ เขาก็ยังไม่พออยู่ดี  เนื่องจากถ้าไม่สามารถจะทำลายความอยากทางจิตใฝ่ต่ำนั้นลงได้ ก็จะไม่สามารถทำให้เขาสงบนิ่งลงได้

อิมามอะลีกล่าวว่า…

“แท้จริงโลกดุนยา คือความวุ่นวายที่จะก่อให้เกิดแก่ตัวของเขาเอง(ไม่ใช่คนอื่น)  และจะไม่มีใครได้จากมัน  นอกเสียจากว่า จะเพิ่มความละโมบแก่เขามากยิ่งขึ้น  และชาวดุนยานั้นจะไม่รู้สึกเพียงพอกับสิ่งที่ตนมีอยู่”(นะญุลบะลาเฆาะฮ์   สาส์น ฉบับที่ ๔๙)

 

อิมามอะลีกล่าวว่า

“การมีภาวะเป็นสมถะชนในโลกนี้  คือควาสุขสบายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเลยทีเดียว”

บทความโดย ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน
ขอขอบคุณ เว็บไซต์ inewhorizon