เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

การทำบุญให้ผู้ล่วงลับ คือ หน้าที่ของลูกหลานที่มีคุณธรรมทั้งหลาย

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

การทำบุญให้ผู้ล่วงลับ คือ หน้าที่ของลูกหลานที่มีคุณธรรมทั้งหลาย
 

 

ลูกหลานที่ดีควรระลึกถึงบรรพชนเช่นไร จึงจะถูกเรียกว่า บุตรหลานที่มีคุณธรรม ?

1- คำสอนเมื่อประจักษ์ว่าจะมีผู้ตาย
พิธีเกี่ยวกับความตายของชาวมุสลิม เริ่มขึ้นเมื่อรู้ว่าคนๆหนึ่งนั้นอาการหนักไม่รอดแน่แล้ว ญาติจะมาเยี่ยมพร้อมกับนักศาสนา จะมีการสอนตัลกีลให้คนใกล้ตายกล่าวว่า

«اشهد ان لا اله الاّ الله وَحده لا شَریک لَه؛ وَ اَنَّ مُحَمَّدَاً عَبدُهُ وَ رَسوُلُه»

ริวายะฮ์จากท่านอิมามศอดิก อ. อะฮ์ลุลบัยต์นบี กล่าวว่า ก่อนที่คนๆหนึ่งจะสิ้นใจให้พวกเจ้าสอนตัลกีลให้แก่เขาด้วยกับประโยค "ขอปฎิณานตนว่าไม่ม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมุฮัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์"

2- นิยามของความตาย
ความตายเป็นจุดสิ้นสุดของการใช้ชีวิตทางโลก และเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางสู่โลกหน้า "ดวงวิญญาณ" อันเป็นแก่นแท้ของมนุษย์จะถูกให้พำนักในโลกบัรซัก เพื่อรอวันพิพากษา อันเป็นการตัดสินเพื่อการใช้ชีวิตที่นิรันด์

"ความตาย" คือ การพักผ่อน ไม่ใช่การดับสูญเหมือนบางกลุ่มเข้าใจ แต่เป็นการพักผ่อนระหว่างสองโลก(ดุนยาและอาคิเราะห์ ซึ่งหลักวิชาการเรียกว่า "โลกบัรซัก"  
กลุ่มหนึ่งที่เคยอยู่ในศีลในธรรม คำสอน เขาก็จะมีสภาพเหมือนพักผ่อนได้รับเนี้ยะมัตความโปรดปราณมากมาย เพื่อรอผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่และดีกว่า
 ส่วนคนที่เคยประพฤติไม่ดี อยู่ในความอธรรม เขาก็จะพักผ่อนเพื่อหยุดสักทีในสิ่งที่เขาทำอยู่ และเขาก็จะได้รับโทษทุกทรมานอยู่ในนี้ เพื่อรอผลตัดสินที่หนักกว่าในวันพิพากษา นี่คือแนวคิดที่ท่านศาสดาให้โดยมีวัจนะไว้

3- พิธีเกี่ยวกับความตายของชาวมุสลิม
พิธีเกี่ยวกับความตายของชาวมุสลิมเริ่มต้นด้วยกับการสิทธิของผู้ตายที่พึงได้รับจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ นั่นคือ การทำความสะอาดร่างด้วยการอาบน้ำ(ฆุซุล) การห่อร่างให้มิดชิด(กะฟั่น) การละหมาดขอพรจากพระเจ้า(ศ่อลาตุลมัยยิต) การตัลกีน  และสุดท้ายคือการฝัง
"อิสลามให้เกียรติผู้ตายมาก เชื่อว่ามีความรู้สึกเหมือนคนมีชีวิต และรับรู้ทุกอย่างในสิ่งที่ผู้มีชีวิตอยู่ข้างหลังกระทำให้กับผู้จากไป" หลักฐานเรื่องนี้ได้มีการบันทึกไว้ว่าเป็นวจนะของท่านนบีมุฮัมมัด ศ.

ดังมีรายงานจากอนัส อิบนุ มาลิก ว่า แท้จริงท่านรอซูล ศ.  กล่าวว่า : แท้จริงบ่าวนั้นเมื่อเขาถูกวางลงในหลุมศพของเขา และบรรดาเพื่อนฝูงของเขาได้ผินหลังไปจากเขาแล้ว แท้จริงบ่าวนั้นย่อมได้ยินเสียงกระทบพื้นรองเท้าแตะของพวกเขาอย่างแน่นอน”  (บันทึกโดย มุสลิม หะดีษเลขที่ 2874)

และมีรายงานระบุว่า ภายหลัง 3 วันจากสมรภูมิบัดรฺ ท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ยืนเหนือบรรดาผู้ที่ถูกสังหารจากเหล่าผู้ตั้งภาคีในสมรภูมิบัดร์ แล้วท่านก็ตะโกนเรียกบุคคลหลายคนจากพวกนั้นว่า

حَدَّثَنَا هَدَّابُ بْنُ خَالِدٍ، حَدَّثَنَا حَمَّادُ بْنُ سَلَمَةَ، عَنْ ثَابِتٍ الْبُنَانِيِّ، عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ، أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، تَرَكَ قَتْلَى بَدْرٍ ثَلَاثًا، ثُمَّ أَتَاهُمْ فَقَامَ عَلَيْهِمْ فَنَادَاهُمْ، فَقَالَ: «يَا أَبَا جَهْلِ بْنَ هِشَامٍ يَا أُمَيَّةَ بْنَ خَلَفٍ يَا عُتْبَةَ بْنَ رَبِيعَةَ يَا شَيْبَةَ بْنَ رَبِيعَةَ أَلَيْسَ قَدْ وَجَدْتُمْ مَا وَعَدَ رَبُّكُمْ حَقًّا؟ فَإِنِّي قَدْ وَجَدْتُ مَا وَعَدَنِي رَبِّي حَقًّا» فَسَمِعَ عُمَرُ قَوْلَ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَقَالَ: يَا رَسُولَ اللهِ كَيْفَ يَسْمَعُوا وَأَنَّى يُجِيبُوا وَقَدْ جَيَّفُوا؟ قَالَ: «وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ مَا أَنْتُمْ بِأَسْمَعَ لِمَا أَقُولُ مِنْهُمْ، وَلَكِنَّهُمْ لَا يَقْدِرُونَ أَنْ يُجِيبُوا» ثُمَّ أَمَرَ بِهِمْ فَسُحِبُوا، فَأُلْقُوا فِي قَلِيبِ بَدْرٍ

โอ้ อบาญะฮฺลินฺ อิบนะ ฮิชาม , โอ้ อุมัยยะฮฺ อิบนะ เคาะลัฟ , โอ้ อุตบะฮฺ อิบนะ เราะบีอะฮฺ , โอ้ ชัยบะฮฺ อิบนะ เราะบีอะฮฺ แน่แท้พวกท่านได้พบสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าของพวกท่านได้ทรงสัญญาไว้ว่าเป็นความจริงแล้วมิใช่หรือ?
แท้จริงฉันก็ได้พบสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าของฉันได้ทรงสัญญาไว้กับฉันว่าเป็นความจริงโดยแน่แท้แล้ว!
อุมัร อิบนุ อัล-คอฏฏอบ จึงกล่าวว่า : โอ้ ท่านรสูลลุลลอฮ์! พวกเขาจะได้ยินอย่างไร ? พวกเขาจะตอบได้อย่างไรกัน แน่แท้พวกเขาได้กลายเป็นซากศพที่เน่าเหม็นไปแล้ว ?

ท่านร่อซูล ศ.  กล่าวว่า : ขอสาบานต่อพระผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ของพระองค์ พวกท่านไม่ได้ยินสิ่งที่ฉันกำลังพูดมากไปกว่าพวกเขาเลยแม้แต่น้อย(หมายถึงเขาได้ยินทุกคำพูดเหมือนที่พวกเจ้าได้ยิน) ทว่าพวกเขาไม่สามารถที่จะตอบได้ก็เท่านั้น
(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ , มุสลิม , อบูดาวูด และ อัน นะสาอีย์)

4- การทำบุญให้กับคนตาย
สิ่งหนึ่งที่มนุษย์ต้องทำความเข้าใจให้ดีก็คือ "บทบาทของมนุษย์คือทำการวอนขอต่อพระองค์ หาใช่ผู้ทีกำหนดว่าไครจะได้อะไรหรือไม่ครับ"
ฉะนั้นการทำบุญให้คนตายเพื่อวัตถุประสงค์ให้อัลลอฮ์ได้ประทานความเมตตาแก่ญาติผู้ล่วงลับ เป็นหน้าที่ของลูกหลานที่มีคุณธรรมครับ ส่วนอัลลอฮ์จะตอบรับหรือไม่นั้น ขอให้เป็นสิทธิของพระองค์เถอะครับ มนุษย์อย่าไปตัดสินใจแทนพระองค์เลยครับ
ห้ามต้องการมองในมุมของหลักฐานการทำบุญให้คนตาย
 ก็ไม่ปรากฏหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่า "ท่านนบีห้าม" แต่ในทางกลับกันกลับมีซุนนะห์ในเรื่องนี้ปรากฏมากมาย ฉะนั้น การทำบุญ จะ 3 วัน 7 วัน 100 วัน ไม่ใช่ปัญหา เพราะถ้าไปดูเนื้อหาของการ ทำบุญ ประกอบไปด้วย การซิกรุ้ลเลาะห์(การรำลึกถึงพระเจ้า) การซอลาวาตนบี(การสรรเสริญท่านศาสดา) การซอดาเกาะห์(การบริจาคทาน) ซึ่งเป็น อามั้ลอิบาดะห์(งานการทางศาสนาเพื่อพระเจ้า) อย่างกว้าง ที่สนับสนุนให้ทำโดยไม่กำหนด รูปแบบ ความถี่สถานที่ โอกาส เป็นอิบาดะห์ ที่ส่งเสริมให้มุสลิมทำตามความสะดวก ดังนั้นจึงไม่ใช่ปัญหา เพราะบทบาทของมนุษย์คือทำการวอนขอต่อพระองค์ หาใช่ผู้ทีกำหนดว่าไครจะได้อะไรหรือไม่ครับ
ผลบุญนั้นได้รับกับตัวผู้ทำเองอย่างไม่มีข้อสงสัย และจะถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเช่นกัน
ท่านนบีมุฮัมมัด ศ. กล่าวว่า

:« مَنْ دَخَلَ الْمَقَابِرَ فَقَرَأَ سُورَةَ يس خَفَّفَ اللَّهُ عَنْهُمْ يَوْمَئِذٍ وَ كَانَ لَهُ بِعَدَدِ مَنْ فِيهَا حَسَنَات‏»

ใครได้เข้าไปยังสุสาน(กุโบร์)แล้วได้อ่านซูเราะห์ยาซีน อัลลอฮ์จะลดหย่อนโทษแก่ผู้ล่วงลับในกุโบร์นั้น และจะประทานความดีแก่ผู้อ่านเท่าจำนวนผู้ที่ถูกฝังไว้ในสุสานนั้น
รอวีได้ถามท่านอิมามศอดิก อ. ว่า "ฉันจะนมาซฮะดียะฮ์เพื่อเหนียตเป็นกุศุลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วได้หรือไม่ครับ ?

อิมามตอบว่า : ได้ซิ เพราะในบางครั้งผู้ล่วงลับจะตกอยู่ในสภาพถูกบีดรัด(อะซาบ) แล้วอัลลอฮ์ก็ได้ให้เขาพบกับความกว้างขวาง(สบาย/ยกเลิกอะซาบ) ต่อมาพระองค์จึงตรัสว่า รู้ไหมว่าเพราะเหตุใดเจ้าจึงถูกลดหย่อนโทษ เป็นเพราะพี่น้องของเจ้าได้นมาซ(ฮะดียะฮ์)ให้กับเจ้า

 نَعَمْ حَتَّي إِنَّهُ لَيَكُونُ فِي ضِيقٍ فَيُوَسِّعُ اللَّهُ عَلَيْهِ ذَلِكَ الضِّيقَ ثُمَّ يُؤْتَي فَيُقَالُ لَهُ خُفِّفَ عَنْكَ هَذَا الضِّيقُ بِصَلَاةِ فُلَانٍ أَخِيكَ عَنْكَ

อีกฮะดิษบทหนึ่งบันทึกไว้ว่า ในสมัยศาสดา ศ. ท่านผ่านสุสานแห่งหนึ่ง แล้วพบทูตพระเจ้า บอกท่านว่าศพนี้กำลังถูกลงโทษอย่างหนัก  ท่านนบีจึงเอาต้นไม้ปักบนหลุมนั้น แล้วกล่าวว่าทราบเท่าที่ต้นไม้นี้ยังสดอยู่เขาจะไม่ถูกอะซาบ "

อิมามชาฟีอี หนึ่งในอิมามมัซฮับทั้งสี่ กล่าวว่า ด้วยหลักฐานชิ้นนี้ที่ท่านนบีปักต้นไม้บนสุสานแล้วช่วยหลดหย่อนอะซาบ ทำให้ฉันเชื่อว่าการอ่านกุรอ่านให้แก่มัยยิตย่อมเป็นสิ่งที่อนุญาติ เพราะการอ่านกุรอ่านย่อมประเสริฐกว่ากิ่งไม้แน่นอน

 

บทความโดย เอกภาพ ชัยศิริ

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม