เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ที่มาของละหมาดตะรอเวียะฮในมุมมองของนักการศาสนาชาวสุนนีย์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ที่มาของละหมาดตะรอเวียะฮในมุมมองของนักการศาสนาชาวสุนนีย์


เรียบเรียง: เชคยูซุฟ เพชรกาหรีม
_________________
ท่านนบี ศ.ได้กล่าวเตือนสติมนุษยชาติอยู่เสมอ เพื่อไม่ต้องการให้ประชาชาติของท่านตกอยู่ในภาวะที่หลงทางภายหลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตไปแล้วซึ่งภายหลังจากท่านเสียชีวิตไปแล้วนั้นให้ได้ประชาชาติได้คงรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮที่แท้จริงที่ถูกถ่ายทอดโดยตรงมาจากตัวของท่านเองและแบบฉบับที่มาจากอะลุลบัยต์ผู้ซึ่งท่านได้รับรองความถูกต้องของพวกเขาเอาไว้ และหนึ่งในสุนนะฮนั้นก็คือ รูปแบบของละหมาดตะรอเวียะห์
ต่อไปนี้ไปดูบรรดาอุลมาระดับต้นๆของฝ่ายสุนนีย์ที่พวกเขาต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า "ละหมาดตะรอเวียะห์"นั้นไม่ได้เป็นสุนนะฮ์เดิมที่มาจากท่านนบีและที่ปฏิบัติกันในรูปแบบของญะมาอัต(เป็นหมู่คณะ)แบบฉบับดังกล่าวถูกเปลี่ยนแปลงขึ้นในยุคหลัง และใครคือผู้เปลี่ยนแปลงรูปแบบ?!!  ไปดูมุมมองของอุลมาชาวสุนนีย์กันพวกเขาบันทึกเรื่องนี้ไว้อย่างไรกันบ้าง!!
1-ท่านอิบนิ กะสิร (เสียชีวิตในปี 774)
ท่านกล่าวว่า ละหมาดตะรอเวียะห์นั้นเป็นรูปแบบใหม่ที่ถูกเปลี่ยนแปลงขึ้นมาในยุคหลัง
وأول من كتب التاريخ وجمع الناس على التراويح وأول من عس بالمدينة .
"บุคคลแรกที่ได้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์นี้ และนำพาประชาชาติให้ละหมาดตะรอเวียะห์เป็นรูปญะมาอัต(รวมหมู่คณะ)นั้น คืออุมัร"
อ้างอิงจาก:
ابن كثير الدمشقي،  ابوالفداء إسماعيل بن عمر القرشي (متوفاي774هـ)، البداية والنهاية، ج 7، ص133، ناشر: مكتبة المعارف – بيروت.                                                  
2-ท่านญะลาลุดดีน ซิยูฏีย์ (เสียชีวิตปี 911)ท่านบันทึกไว้ว่า:
"หลังจากที่อบูบักรเสียชีวิตเขา(อุมัร) คือบุคคลแรกที่ได้จัดตั้งให้ละหมาดตะรอเวียะห์(เป็นรูปญะมาอัต)เป็นครั้งแรก"
อ้างอิง:
السيوطي، جلال الدين أبو الفضل عبد الرحمن بن أبي بكر (متوفاى911هـ)، تاريخ الخلفاء، ج1، ص517، تحقيق: محمد محي الدين عبد الحميد، ناشر: مطبعة السعادة - مصر، الطبعة: الأولى، 1371هـ - 1952م.
บางรายงานเขายังบันทึกไว้เช่นนี้ว่า:
وأول من سن قيام شهر رمضان.
"เขา(อุมัร)คือบุคคลแรกที่ผลักดันเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น(ละหมาดเป็นหมู่คณะ)ในเดือนรอมฎอน"
อ้างอิง:
تاريخ الخلفاء، ج1، ص136.
หรือในบ้างรายงานยังกล่าวว่า:
اول من سن التراويح عمر بن الخطاب سنة اربع عشرة اخرجه البيهقي عن عروة.
"บุคคลแรกที่ผลักดันให้เรื่องนี้(ละหมาดตะรอเวียะห์ให้เป็นหมู่คณะ)คืออุมัร อิบนิ ค็อฏฏอบ ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นในปีที่ 14 แห่งอิจเราะฮ"
และท่านบัยฮะกีย์ยังกล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า:
اول من جمع الناس على الصلاة في رمضان عمر بن الخطاب جمعهم على أبي بن كعب رضي الله عنه.
"บุคคลแรกที่ได้รวบรวมประชาชนให้ละหมาดนาฟิละฮ(ตะรอเวียะห์)เป็นหมู่คณะในเดือนรมาฎอนนั้นคืออุมัร อิบนิ ค็อฏฏอบ ซึ่งเขาได้แต่งตั้งให้ อบี บิน กะอับ เป็นผู้นำละหมาด"
3-ท่านอิบนิ หะญัร อัสคิลานีย์ (เสียชีวิตเมื่อปี 852) ท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือ ซับลุซสลาม ว่า:
عرفت ان عمر هو الذي جعلها جماعة علي معين وسماها بدعة.
"เป็นที่รู้ว่าอุมัรคือบุคคลที่ได้กำหนดให้ละหมาดตะรอเวียะห์เป็นรูปญะมาอัต เขาได้แต่งตั้งบุคคลหนึ่งให้เป็นอิมาม(เพื่อนำละหมาด)และเขาถือว่านั้นคือบิดอะฮ์ที่ดี"
อ้างอิง:
سبل السلام شرح بلوغ المرام،‌ ج2،‌ص 26
4-ท่านมูฮำหมัด บิน ญุรัย ฏอบรีย์ (เสียชีวิตปี 311) ท่านบันทึกเรื่องนี้ไว้ว่า:
وهو أول من جمع الناس على إمام يصلى بهم التراويح في شهر رمضان وكتب بذلك إلى البلدان وأمرهم به وذلك فيما حدثني به الحارث قال حدثنا ابن سعد عن محمد بن عمر في سنة أربع عشرة وجعل للناس قارئين قارئا يصلي بالرجال وقارئا يصلي بالنساء.
"อุมัรคือบุคคลแรกที่ได้รวบรวมประชาชนให้ละหมาดตะรอเวียะห์ตามลังใครคนหนึ่งในเดือนรอมาฎอน และเขาได้สั่งกำชับไปยังเมืองต่างๆให้ปฏิบัติเรื่องนี้เหมือนๆกัน และเรื่องนี้มีริวายัตจากท่านอาริษา จากท่านสะอัดจากท่านมูฮำหมัด บิน อุมัร ได้ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่ามันเกิดขึ้นในปีที่ 14 แห่งอิจญเราะฮ ซึ่งอุมัรได้แต่งตั้งผู้นำละหมาดขึ้นสองคน หนึ่งคนสำหรับผู้ชายและอีกหนึ่งคนสำหรับผู้หญิง"
อ้างอิง:
الطبري، أبو جعفر محمد بن جرير بن يزيد بن كثير بن غالب (متوفاي310)، تاريخ الطبري، ج 2، ص570، ناشر: دار الكتب العلمية - بيروت.
 5-ท่านมูฮำหมัด บินสะอัด สะฮารีย์ (เสียชีวิตปี 230) ท่านบันทึกว่า:
وهو أول من سن قيام شهر رمضان وجمع الناس على ذلك وكتب به إلى البلدان وذلك في شهر رمضان سنة أربع عشرة وجعل للناس بالمدينة قارئين قارئا يصلي بالرجال وقارئا يصلي بالنساء .
"อุมัรคือบุคคลแรกที่ได้รวบรวมประชาชนให้ละหมาดตะรอเวียะห์ตามลังใครคนหนึ่งในเดือนรอมาฎอน และเขาได้สั่งกำชับไปยังเมืองต่างๆให้ปฏิบัติเรื่องนี้เหมือนๆกัน และเรื่องนี้มีริวายัตจากท่านอาริษา จากท่านสะอัดจากท่านมูฮำหมัด บิน อุมัร ได้ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่ามันเกิดขึ้นในปีที่ 14 แห่งอิจญเราะฮ ซึ่งอุมัรได้แต่งตั้งผู้นำละหมาดขึ้นสองคน หนึ่งคนสำหรับผู้ชายและอีกหนึ่งคนสำหรับผู้หญิง"
อ้างอิง:
الزهري، محمد بن سعد بن منيع ابوعبدالله البصري (متوفاى230هـ)، الطبقات الكبرى، ج3، ص281، ناشر: دار صادر - بيروت
  6-ท่านอะห์หมัด บิน ยะห์ยา บิลาสะรีย์ (เสียชีวิตปี 279) ท่านได้บันทึกว่า:                        
وأول من سن قيام شهر رمضان، وجمع الناس على ذلك، وكتب به إلى البلدان، وذلك في شهر رمضان سنة أربع عشرة.
"อุมัรคือคนแรกได้จัดทำละหมาดนะฟิละฮ์ในเดือนรอมาฏอน(รูปญะมาอัต)เขาได้รวบรวมประชาชนและได้ส่งสาสน์ไปทั่วเมืองที่มีมุสลิมอาศัยอยู่ว่าให้ปฏิบัติเช่นนี้ เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อปีที่ 14 แห่งอิจเราะฮ์"
อ้างอิง:
البلاذري، أحمد بن يحيي بن جابر (متوفاى279هـ)، أنساب الأشراف، ج3، ص398، طبق برنامه الجامع الكبير.
 7-ท่านอบู ฟะรัจญ์ อิฐนิ ญูซีย์ (เสียชีวิตปี 597) ท่านได้บันทึกเรื่องนี้ว่า:
وقوله : نعمت البدعة . البدعة : فعل شيء لا على مثال تقدم ، فسماها بدعة لأنها لم تكن في زمن رسول الله على تلك الصفة ، ولا في زمن أبي بكر.
"สิ่งอูมัรทำแน่นอนไม่มีใครทำมาก่อนหน้านี้ แต่อุมัรได้ทำมันเรื่องนี้(ละหมาดตะรอเวียห์ในรูปญะมาอัต)สมัยนบีและอบูบักรยังไม่เป็นเช่นนี้มาก่อน"
อ้างอิง:
ابن الجوزي الحنبلي، جمال الدين ابوالفرج عبد الرحمن بن علي بن محمد (متوفاى 597‌هـ)، كشف المشكل من حديث الصحيحين ، ج1، ص116، تحقيق : علي حسين البواب ، ناشر : دار الوطن - الرياض - 1418هـ - 1997م.
8-ท่านมุห์ยียุดดีน นะวาวีย์ (เสียชีวิตปี 676) ท่านได้บันทึกเรื่องนี้ไว้ว่า:
وثبت في صحيح البخاري وغيره أن عمر رضي الله عنه أول من جمع الناس لصلاة التراويح فجمعهم على أبي بن كعب رضي الله عنه وأجمع المسلمون في زمنه وبعده على استحبابها .
"ในตำราบุคคอรีย์และอื่นๆได้บันทึกไว้ว่า อุมัรคือบุคคลแรกที่ได้รวบรวมประชาชาติให้ละหมาดตะรอเวียะห์(ในรูปญะมาอัต)และเขาได้แต่งตั้งอบรม อิฐนิ กะอับ เป็นอิมานำ หลังจากนั้นมุสลิมต่างก็เชื่อว่าการละหมาดตะรอเวียะห์ในรูปญะมาอัตนั้นเป็นมุสตะฮับและปฏิบัติกันเรื่อยมา"
อ้างอิง:
النووي الشافعي، محيي الدين أبو زكريا يحيى بن شرف بن مر بن جمعة بن حزام (متوفاي676هـ)، تهذيب الأسماء واللغات، ج 2، ص332، تحقيق: مكتب البحوث والدراسات، ناشر: دار الفكر - بيروت، الطبعة: الأولى، 1996م
9-ท่านมุญีรุดดีน อัลอาลีมีย์ (เสียชีวิตปี 927) ท่านได้บันทึกไว้เช่นนี้ว่า:
وهو أول من جمع الناس لصلاة التراويح وأول من كتب التاريخ... .
"อุมัรคือบุคคลแรกที่ได้รวบรวมให้ประชาชาติละหมาดตะรอเวียะห์(เป็นหมู่คณะ)และเขาก็เป็นบุคคลแรกที่ได้เอาแบบฉบับใหม่ๆมาใช้(โดยไม่มีมาก่อนในยุคท่านนบี)"
อ้างอิง:
العليمي الحنبلي ، مجير الدين عبد الرحمن بن محمد بن عبد الرحمن بن محمد (متوفاي927هـ) الأنس الجليل بتاريخ القدس والخليل ، ج 1، ص260، تحقيق : عدنان يونس عبد المجيد نباتة ، ناشر : مكتبة دنديس - عمان - 1420هـ- 1999م .
 10-อิบนิ ซัมอูน บัคดาดีย์ (เสียชีวิตปี 378)ท่านได้บันทึกไว้ว่า:
وهو أول من جمع الناس على إمام واحد في التراويح.
"อุมัรคือคนแรกที่ได้รวบรวมประชาชาติให้ละหมาดตะรอเวียะห์ตามอิมาม(รูปญะมาอัต)"
อ้างอิง:
ابن سمعون البغدادي ، أبو الحسين محمد بن أحمد بن إسماعيل بن عنبس (متوفاى387هـ)، أمالي ابن سمعون، ج 1، ص351، طبق برنامه الجامع الكبير.
11-ท่านอบูฮิลาล อัสการีย์ (เสียชีวิตในปี 395) ท่านบันทึกไว้ว่า:
وأول من اتخذه عمر.
أول من سن قيام شهر رمضان سنة أربع عشرة.
"ผลงานชิ้นแรกที่อุมัรทำ คือเขาเป็นผู้สั่งให้ละหมาด(นาฟิละฮ)ในเดือนรอมาฎอนทำเป็นรูปญะมาอัต"
อ้างอิง:
العسكري ، أبو هلال الحسن بن عبد الله بن سهل بن سعيد بن يحيى بن مهران (متوفاى395هـ) الأوائل للعسكري ، ج1، ص398، طبق برنامه الجامع الكبير.
12-ท่านมูก็อดดาซีย์ ฮัมบะลีย์ (เสียชีวิตปี 620)ท่านบันทึกว่า:
ونسبت التراويح إلى عمر بن الخطاب رضي الله عنه لأنه جمع الناس على أبي بن كعب فكان يصليها بهم.
"ละหมาดตะรอเวียะห์ อุมัรคือผู้สั่งให้ประชาชนรวมตัวกันและปฏิบัติตามหลังโดยมีท่านอบี บิน กะอับ ผู้เป็นอิมาม"
อ้างอิง:
المقدسي الحنبلي، ابومحمد عبد الله بن أحمد بن قدامة (متوفاى620هـ)، المغني في فقه الإمام أحمد بن حنبل الشيباني، ج1، ص455، ناشر: دار الفكر - بيروت، الطبعة: الأولى، 1405هـ.
 13-ท่านอะมาดุดดีน อะบุล ฟิดาอ์ (เสียชีวิตปี 732) ท่านบันทึกว่า:
وأول من جمع الناس على إمام يصلي بهم التراويح في رمضان، وكتب بذلك إلى سائر البلدان وأمرهم به.
อุมัรคือผู้ที่ได้(สั่ง)รวบรวมประชาชนให้ละหมาดตะรอเวียะห์ตามหลังอิมามในรูปญะมาอัตในเดือนรอมาฎอน และท่านได้สั่งไปยังเมืองต่างๆให้ปฏิบัติเช่นนี้"
อ้างอิง:
أبو الفداء عماد الدين إسماعيل بن علي (متوفاي732هـ)، المختصر في أخبار البشر، ج 1، ص113، طبق برنامه الجامع الكبير.
14-ท่านซัยนุดดีน อิบนิ ซีรีย์ (เสียชีวิตปี 749) ท่านบันทึกว่า:
وأول من جمع على إمام يصلي التراويح ، وأول من ضرب بالدرة ودون الدواوين ...
"อุมัรคือบุคคลแรกที่ได้รวมประชาชาติให้ละหมาดตะรอเวียะห์ตามหลังอิมาม และเขาคือบุคคลแรกที่ทำร้ายประชาชน(หากไม่ปฏิบัติเยี่ยงนั้น)"
อ้างอิง:
ابن الوردي ، زين الدين عمر بن مظفر (متوفاي749هـ) ، تاريخ ابن الوردي، ج 1، ص142، ناشر : دار الكتب العلمية - لبنان / بيروت ، الطبعة : الأولى، 1417هـ - 1996م.
 15-ท่านดะมีรีย์ ชาฟิอีย์ (เสียชีวิตปี 808) ท่านกล่าวว่า:
وهو أول من جمع الناس على إمام واحد في التراويح
"ท่านอุมัร คือบุคคลที่ได้สั่งให้ประชาชนละหมาดตะรอเวียะห์ตามหลังอิมามเป็นรูปญะมาอัต"
อ้างอิง:
الدميري المصري الشافعي ، كمال الدين محمد بن موسى بن عيسى (متوفاي808 هـ)، حياة الحيوان الكبرى، ج 1، ص481، تحقيق : أحمد حسن بسج ، ناشر : دار الكتب العلمية - بيروت / لبنان ، الطبعة : الثانية ، 1424 هـ - 2003م.
16-ท่านอะห์หมัด บิน อับดุลลอฮ์  คอลักชันดีย์ (เสียชีวิตปี 821) ท่านกล่าวว่า:
وهو أول من سن قيام شهر رمضان وجمع الناس على إمام واحد في التراويح وذلك في سنة أربع عشرة.
"บุคคลแรกที่ได้สั่งให้ละหมาดนาวาฟิล(ตะรอเวียะห์)ในช่วงเดือนรอมาฏอนเป็นรูปญะมาอัตรวมกันนั้นคือท่านอุมัร เรื่องนี้ได้เกิดขึ้นในปีที่ 14 แห่งอิจเราะฮ์"
อ้างอิง:
القلقشندي ، أحمد بن عبد الله (متوفاى821هـ) ، مآثر الإنافة في معالم الخلافة ، ج3، ص337، تحقيق : عبد الستار أحمد فراج ، ناشر : مطبعة حكومة الكويت - الكويت ، الطبعة : الثانية ، 1985م.
17-ท่านบัดรุดดีน อัสนีย์ (เสียชีวิตปี 855) ท่านกล่าวว่า:
وإنما دعاها بدعة لأن رسول الله ، صلى الله عليه وسلم ، لم يسنها لهم ، ولا كانت في زمن أبي بكر ، رضي الله تعالى عنه .
"อุมัร ได้ทำมัน(ละหมาดตะรอเวียะห์ให้เป็นรูปญะมาอัต)ในขณะที่ท่านนบีไม่เคยสั่งในสิ่งนั้นและในยุคของท่านอบูบักรก็ไม่เคยทำ"
อ้างอิง:
العيني الغيتابي الحنفي، بدر الدين ابومحمد محمود بن أحمد (متوفاى 855هـ)، عمدة القاري شرح صحيح البخاري، ج11، ص126، ناشر: دار إحياء التراث العربي – بيروت.
18-ท่านมูฮำหมัด อะมัน ศุนอานีย์ (เสียชีวิตปี 852) ท่านบันทึกว่า:
إذا عرفت هذا عرفت أن عمر هو الذي جعلها جماعة على معين وسماها بدعة . وأما قوله نعم البدعة فليس في البدعة ما يمدح بل كل بدعة ضلالة.
"เมื่อเรื่องราวนี้กระจ่างขึ้น แท้ที่จริงแล้วท่านอุมัรคือคนแรกที่ได้สั่งให้ละหมาดตะรอเวียะห์เป็นรูปแบบของญะมาอัต(โดยแต่งตั้งคนหนึ่งให้นำละหมาด)และอุมัรคือผู้สร้างบิดอะฮนี้ขึ้นมาโดยอ้างว่าเป็นบิดอะฮที่ดี แต่รู้ไม่ว่าทุกๆบิดอะฮนั้นคือการหลงทาง"
อ้างอิง:
الصنعاني الأمير، محمد بن إسماعيل (متوفاى 852هـ)، سبل السلام شرح بلوغ المرام من أدلة الأحكام، ج2، ص10، تحقيق: محمد عبد العزيز الخولي، ناشر:دار إحياء التراث العربي - بيروت، الطبعة: الرابعة، 1379هـ.
19-ท่านมูฮำหมัด บิน อับดุลลาคีย์ ริสคอนีย์ (เสียชีวิตปี 1122)ท่านกล่าวว่า:
فسماها بدعة لأنه صلى الله عليه وسلم لم يسن الاجتماع لها ولا كانت في زمان الصديق وهو لغة ما أحدث على غير مثال سبق وتطلق شرعا على مقابل السنة وهي ما لم يكن في عهده صلى الله عليه وسلم.
"อุมัรได้ทำสิ่งนั้น(ละหมาดตะรอเวียะห์)ให้เป็นบิดอะฮ์โดยอ้างว่าในยุคนบีท่านเคยปฏิบัติเช่นนั้น(เป็นญะมาอัต) ในขณะที่ยุคของอบูบักรไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น"
อ้างอิง:
الزرقاني، محمد بن عبد الباقي بن يوسف (متوفاى1122هـ) شرح الزرقاني علي موطأ الإمام مالك، ج1، ص340، ناشر: دار الكتب العلمية - بيروت، الطبعة: الأولى، 1411هـ.
20-ท่านซัยนุดดีน อูซัยนีย์ อะรอคีย์ (เสียชีวิตปี 806)ท่านได้กล่าวเรื่องนี้ไว้ว่า:
وقد أمر به عمر بن الخطاب رضي الله عنه واستمر عليه عمل الصحابة رضي الله عنهم وسائر المسلمين وصار من الشعائر الظاهرة كصلاة العيد.
"อุมัร อิบนิ ค็อฏฏอบ ได้สั่งให้ปฏิบัติละหมาดตะรอเวียะห์บรรดาสาวกและมุสลิม(ในยุคหลัง)ได้ปฏิบัติมันจนถึงปัจจุบัน"
อ้างอิง:
طرح التثريب في شرح التقريب  ج 3، ص
#จากหลังฐานทั้งหมด ที่บรรดาอุลมาสุนนีย์ได้บันทึกและกล่าวถึงเรื่องของการละหมาดตะรอเวียะห์ในรูปของญะมาอัตในช่วงของเดือนรอมาฎอนนั้น ยืนยันได้ว่ามันเป็นคำสั่งที่มาจากท่านอุมัร อิบนิ ค็อฏฏอบเอง ซึ่งเขาได้สั่งให้ประชาชนปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันโดยแบบฉบับดังกล่าวไม่ได้เป็นแบบฉบับหรือเป็นคำสั่งที่มาจากท่านศาสดา ศ.โดยตรงแต่อย่างใดเลย ฉนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการละหมาดตะรอเวียะห์ในรูปของญะมาอัตนั้นมันเป็นแบบฉบับ(สุนนะฮ)ที่มาจากท่านอุมัรที่เป็นผู้ดำริขึ้นมาเอง ไม่ใช่เป็นสุนนะฮหรือเป็นแบบฉบับที่มาจากท่านนบีแต่อย่างใดเลย ตกลงว่ามุสลิมในยุคหลังจะปฏิบัติตามสุนนะฮ์ของใครกันแน่ระหว่างท่านอุมัรกับท่านนบี ศ.?

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม