บทเรียนที่ห้า นิติศาสตร์ทางการเมือง (ฟิกฮ์สิยาซี)

บทเรียนที่ห้า นิติศาสตร์ทางการเมือง (ฟิกฮ์สิยาซี)


ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตายิ่ง ผู้ทรงกรุณาเสมอ

 

إِنَّ أَوْلَى النَّاسِ بِإِبْرَاهِيمَ لَلَّذِينَ اتَّبَعُوهُ وَهَذَا النَّبِيُّ وَالَّذِينَ آمَنُوا وَاللَّهُ وَلِيُّ الْمُؤْمِنِينَ

“แท้จริงผู้ที่คู่ควรกับอิบรอฮีมมากที่สุด คือ บรรดาผู้ซึ่งปฏิบัติตามเขาและศาสดาท่านนี้อีกทั้งบรรดาผู้ศรัทธา (นั้นคู่ควรกว่าทั้งหมด) อัลลอฮ์ทรงเป็นผู้ปกครองบรรดาผู้ศรัทธา” (อัลกุรอานบทอาลิอิมรอน โองการที่ 68)

ในบทเรียนที่สี่พวกเรายังจำกันได้นะครับว่าเราได้พูดถึงนิยามของนิติศาสตร์การเมือง ความสำคัญ สถานะภาพและประวัติความเป็นมา โดยเฉพาะเราได้พูดถึงเรื่องที่ว่า วิลายัตเดิมทีนั้นเป็นของใคร?และได้มอบไว้ให้แก่ผู้ใดบ้าง? ซึ่งเราได้พิสูจน์กันแล้วว่าวิลายัตเป็นของอัลลอฮ์ (ซบ.) โดยยกเหตุผลทั้งด้านปัญญา (อักลี) และการรายงาน(นักลี) จากนั้นทรงมอบให้แก่ท่านศาสนทูตและแก่ผู้ที่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ซึ่งเราได้พิสูจน์กันแล้วในบทเรียนที่ผ่านมา

สำหรับบทเรียนวันนี้เราจะพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับ “เหตุผลต่างๆ ที่บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการมีระบบการปกครองอิสลามในมุมมองของอิมามโคมัยนี” ท่านอิมามได้ยกเหตุผลไว้ในบทว่าด้วยเรื่อง “การพาณิชย์-กินาบุลบัยอ์” ท่านได้กล่าวถึงเรื่องนิติศาสตร์ทางการเมือง ปรัชญาทางการเมือง วันก่อนผมก็ได้กล่าวและได้อ่านคำกล่าวของท่านไปแล้ว

(อิมามโคมัยนี บทว่าด้วยเรื่อง การพานิชย์ เล่ม 2 หน้า 616)

เช่นเรื่องเกี่ยวกับผู้มีอำนาจในการครอบครองและบริหารจัดการทรัพย์สินของผู้ที่ไม่มีอำนาจในการครอบครองด้วยตนเองได้นั้นคือ “ฮากิม” ซึ่งหมายถึง “ฟะกีฮ์” ที่พร้อมด้วยคุณสมบัติในการออกคำวินิจฉัย และไม่ถือว่าเป็นปัญหาแต่อย่างใดในการที่จะขัดแย้งกับอำนาจมุฏลักของฟะกีฮ์ โดยประมาณ อันที่จริงตรงนี้ไม่ใช่ที่ที่จะอธิบายเรื่องนี้เพราะมันมีรายละเอียดที่ต้องเขียนตำราแยกไว้ต่างหาก ดังนั้นเราจะกล่าวว่า: มองคร่าวๆ เกี่ยวกับอะห์กามของอิสลาม (ในประโยคนี้เป็นมุบตะดาอ์ เราลองดูกันสิว่า คอบัร ของมันอยู่ตรงไหน) และการขยายกว้างของอะห์กามอิสลามที่ครอบคลุมในเรื่องต่างๆ ทั้งหมดไว้ (พวกเราลองดูสิไม่ว่าเรื่องการนอน การเข้าห้องน้ำทั้งหมดมีกิจที่เป็นมุสตะฮับ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าอะห์กามของพระเจ้านั้นครอบคลุมในทุกเรื่อง )ตั้งแต่ภาคอิบาดะฮ์ที่เป็นหน้าที่ระหว่างปวงบ่าวกับพระผู้สร้างของพวกเขา เช่น การนมาซ ฮัจญ์ แม้ว่าในเรื่องทั้งสองนี้จะมีด้านของสังคมและการเมืองที่เกี่ยวข้องกับชีวิตทางโลกอยู่ด้วยก็ตาม แต่บรรดามุสลิมก็ลืมมันไป (หากมีโอกาสจะพูดถึงตัฟซีรโองการเกี่ยวกับการยืนหยัดในการนมาซว่าแตกต่างกับการอ่านนมาซอย่างไร? เป็นไปได้ว่าการอ่านนมาซนั้นมองในด้านของปัจเจก ส่วนการยืนหยัดในการนมาซนั้นมีด้านของสังคมร่วมอยู่ด้วย) โดยเฉพาะด้านสังคมในพิธีฮัจญ์ สถานที่ที่วะห์ยูถูกประทานลงมาและเป็นศูนย์กลางของการปรากฎศาสนาอิสลาม และเป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่บะรอกัตทางด้านสังคมนี้ถูกลืมเลือนไป ซึ่งผู้กำหนดบทบัญญัติ (ชาเรี้ยะอ์-พระเจ้า-) ทรงทำให้การเกิดขึ้นทางด้านสังคมนั้นเป็นเรื่องง่าย (แต่ก็ถูกลืมเลือนไป ผมกล่าวย้ำเรื่องนี้ทุกครั้งที่มีโอกาสพาคณะฮุจญาจไปทำฮัจญ์ นักวิชาการตะวันตกยังกล่าวเลยว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับศัตรูของอิสลามหากบรรดามุสลิมเข้าใจฮัจญ์ และเช่นกันสภาพมุสลิมจะเป็นเช่นไรหาก  พวกเขาไม่เข้าใจฮัจญ์ หลังจากการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน ปรัชญาแห่งฮัจญ์ก็ถูกเปิดและถูกนำเสนอมากขึ้นแต่พวกเขาก็ไม่ยอมให้เราทำเช่นนั้น) กลายเป็นเรื่องที่ไม่เกิดขึ้นสำหรับประเทศและประชาชาติต่างๆ นอกจากว่าต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างหนักและอันตราย หากพวกเขามีความเจริญรุดหน้าทางด้านการเมืองและสังคม พวกเขาก็สามารถที่จะแก้ปัญหาต่างๆ มากมายที่กำลังประสบ ด้วยการแลกเปลี่ยนทางความคิด ทำความเข้าใจในความต้องการของพวกเขาเกี่ยวกับทางด้านการเมืองและสังคม และกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ นิติศาสตร์ สังคมและรัฐศาสตร์ ก็จะเห็นว่าแท้จริงแล้วอิสลามไม่ใช่ศาสนาที่มีด้านหลักปฏิบัติศาสนกิจภาคอิบาดะฮ์และจริยธรรมเพียงอย่างเดียว เหมือนดังที่คนหนุ่มสาวและผู้สูงวัยส่วนมากคิดกันเช่นนั้น (คอบัรของคำว่า “ผู้ใด” ก็คือ คำว่า “ละร่ออา- ก็จะเห็นว่า-นั่นเอง)

ทำไมจึงคิดกันเช่นนี้ อิมามได้กล่าวต่อว่า นั่นก็เนื่องจากการโฆษณาชวนเชื่อที่เป็นพิษจากต่างชาติและสมุนของพวกเขาในประเทศมุสลิมตลอดหน้าประวัติศาสตร์ เพราะต้องการให้อิสลามและมุสลิมอยู่นอกสายของคนหนุ่มสาวและบรรดานักศึกษา طلاب العلوم الحدیثة ในที่นี้หมายบรรดานักศึกษาไม่ได้หมายถึงนักเรียนศาสนา หมายถึงนักศึกษาในมหาวิทยาลัย แม้แต่มหาวิทยาลัยของบรรดามุสลิม ผมยังจำได้เมื่อตอนเด็กเกิดปัญหากันระหว่างกลุ่มปัญญาชนกับนักเรียนศาสนา ทว่าการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านสี่สิบกว่าปีมานี้ได้ทำให้เรื่องนี้จบลง แต่ปัจจุบันก็พยามสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นโดยใช้วิธีการใหม่เพื่อให้ทำลายสถาบันศาสนาและอิสลาม อย่างไรก็ตามศัตรูก็จะไม่วางมือจากการเป็นศัตรูพวกเขาก็จะยังคงมุ่งมั่นต่อไป และอิมามกล่าวต่อว่า: เพื่อสร้างความแตกแยกและความชังให้เกิดขึ้น (หมายถึงระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถาบันศาสนา หากเราต้องการที่จะพูดเกี่ยวมหาวิทยาลัยและสถาบันศาสนา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย ให้กล่าวแก่พวกเขาไปว่า ซึ่งตอนผมอยู่ในอิหร่านก็ทำแบบนี้ ยกตัวอย่างว่า พวกคุณร่วมมือกันสร้างสนามบินและเราสมมติว่าจะสร้างเครื่องบิน กล่าวคือเรามองในมุมของฟากฟ้าส่วนพวกคุณมองในมุมของพื้นดิน (ทางโลก) เป็นเช่นนี้ กล่าวคือ สถาบันศาสนาต้องการที่จะอธิบายศาสนา ส่วนมหาวิทยาลัยต้องการที่จะให้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนนั้นผ่านไป ดังนั้นจะดีมากหากให้ฟากฟ้าลงมายังพื้นดิน กล่าวคือให้เครื่องบินลงจอดที่สนามบิน ดังนั้นสนามบินนี้ก็สร้างมาเพื่อเครื่องบิน ไม่ใช่สร้างอย่างไร้เป้าหมาย เราต้องให้พวกเขาเห็นความสำคัญกับสิ่งนี้ แล้วจะเห็นว่าทั้งสองนั้นมีความเกี่ยวโยงกัน ทั้งสองมีจุดร่วมเดียวกันแล้วมันจะเกิดผล หาไม่แล้วเราจะเห็นว่าเรื่องต่างๆ มากมายนั้นไม่ใช่ปัญหาเลย ตรงนี้ผมตั้งใจที่จะกล่าวว่าพวกเราเองก็ต้องพยายามให้การเรียนของพวกเรายึดเอากรณี (มัสอะละฮ์) ไม่ใช่เนื้อหา (เมาฎูอ์) เป็นหลัก กล่าวคือยกหัวข้อและเนื้อหาหนึ่งขึ้นมา กล่าวกันว่ามีคนงานกลุ่มหนึ่งทำงานกันบนท้องถนน งานของพวกเขาคือวางท่อ อีกกลุ่มหนึ่งก็มีหน้าที่ขุดดินเพื่อวางท่อ และอีกกลุ่มหนึ่งก็ทำหน้าที่ถมดิน กล่าวคือแบ่งงานกันเป็นกลุ่ม อีกวันหนึ่งคนในเมืองนั้นแปลกใจมากที่เห็นคนงานกลุ่มหนึ่งขุดและอีกกลุ่มหนึ่งก็ถมดิน แปลกใจว่าพวกเขาทำแบบนี้ทำไม? เป็นบ้ากันแล้วหรืออย่างไร? พวกเขาตอบว่า เปล่าเลย! หน้าที่ของเราคือขุด ส่วนอีกกลุ่มก็บอกว่าหน้าที่ของเราคือถม ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่วางท่อวันนี้ไม่มา พวกเขาไม่มาก็เรื่องของพวกเขา เราก็ทำหน้าที่ของเราไป การทำงานแบบนี้ไม่ได้! ดังนั้นเราต้องสร้างสนามบินเพื่อให้เครื่องบินจอด และสร้างเครื่องบินเพื่อจะได้ร่อนลงจอดที่สนามบิน ไม่ใช่ว่าจะลอยอยู่บนฟ้าอยู่เช่นนั้น นี่คือความกังวลของพวกเรา อิมามโคมัยนีเจ็บปวดกับเรื่องนี้มาก จะบอกว่าให้เป็นหน้าที่ของนักเรียนศาสนา ก็จะเกิดความชิงชังว่า อย่าไปสนใจเลยพวกนี้คิดแต่เฉพาะเรื่องของพวกเขา พวกเราก็มีมุมมองทางลบกับพวกมหาวิทยาลัยว่าพวกนี้ไม่ยุ่งเกี่ยวอะไรกับศาสนา อินชาอัลลอฮ์วันนี้หรือวันต่อไปที่มีโอกาสก็จะพูดถึงเรื่อง secularism ในอิสลาม

อิมามกล่าวว่า: เพื่อสร้างความขัดแย้งและความชังให้เกิดขึ้นในหมู่มุสลิมระหว่างพวกเก่าและพวกใหม่ ตรงนี้พวกคุณน่าจะเข้าใจดีเพราะมีชีอะฮ์เก่าชีอะฮ์ใหม่ สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นระหว่างเก่าและใหม่ หรือบางทีก็เกิดปัญหาระหว่างพวกใหม่กันเอง หรือระหว่างพวกเก่ากันเองเช่นกัน ขอพระองค์ทรงสาปแช่งชัยฏอนที่ได้สร้างอุปสรรคและปัญหานี้ขึ้นมา ที่จริงแล้วปัญหาไม่ใช่ชัยฏอนหรอก ชัยฏอนมันก็ทำงานของมัน แต่ปัญหามันคือฉันที่เป็นมุสลิม ฉันที่เป็นชีอะฮ์ ที่ต้องการจะปฏิบัติตามอิมามอาลี (อ.)  แต่ก็ไม่ปฏิบัติตาม ทว่ากลับทำตามอิบลีสและชัยฏอน อัลลอฮ์ (ซบ.) ตรัสกับปวงบ่าวของพระองค์ ข้าไม่ได้เอาสัญญาจากพวกเจ้าหรอกหรือว่าอย่าได้สักการะชัยฏอน มันเป็นศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า แต่จงเคารพสักการะข้าเพียงเท่านั้น นี่คือหนทางที่เที่ยงตรง!โอ้อัลลอฮ์ (ซบ.) พวกเราจำไม่ได้เลยว่าได้ให้สัญญาไว้กับพระองค์ตั้งแต่เมื่อไหร่? อัลลอฮ์ (ซบ.) ตรัสว่าเดี่ยวข้าจะทบทวนความจำพวกเจ้าให้! อัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอีย์กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วจะย้อนกลับไปหาสัญชาตญาณบริสุทธิ์ดั้งเดิม (ฟิตเราะฮ์) ฟิตเราะฮ์ของมนุษย์มันได้ตะโกนอยู่เสมอว่าอย่าบูชาชัยฏอน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ

และอิมามกล่าวต่ออีกว่า พวกเขามุ่งมั่นสร้างความแตกแยกนี้ต่อไปจนถึงขั้นที่ไม่ง่ายเลยที่จะขจัดการเหยียดหยาม การใส่ร้ายนี้ออกไปได้ในระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของบรรดามุสลิม และบุคคลแนวหน้าเช่นนักการศาสนาและนักเรียนศาสนาที่จะต้องยืนหยัดขึ้นเผชิญกับการโฆษณาชวนเชื่อของศัตรูอิสลามจนสุดความสามารถ ตรงนี้อิมามโคมัยนีเปิดไฟเขียวว่าทำอย่างไรก็ได้เพื่อเผชิญหน้ากับศัตรูอิสลาม กระทั่งว่าอิสลามได้เผยปรากฏออกไป ตรงนี้อิมามได้นำเสนอปรัชญาการเมืองไว้อย่างงดงามว่าอิสลามมาเพื่อสถาปนาการปกครองที่ทรงธรรมที่มีกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภาษีและเงินกองคลัง (บัยตุลมาล) ตรงนี้อิมามได้ลงรายละเอียดไปเพื่อจะได้เป็นที่กระจ่าง การเก็บภาษีและเงินกองคลังจากประชาชนทุกระดับชั้นอย่างผู้ทรงธรรม และกฎหมายเกี่ยวกับบทลงโทษ เช่น หลักกิศอศ ฮัด และการจ่ายสินไหม เป็นต้น ซึ่งถ้าหากได้ถูกนำมาปฏิบัติใช้อาชญากรรมก็จะลดลงแม้ว่าจะไม่หมดไปก็ตาม และการปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านั้นก็จะทำให้ผลของความเสื่อมเสียที่จะเกิดขึ้นจากอาชญากรรมนั้นหมดไป ดังเช่นผลของการดื่มสุราที่ส่งผลเสียหายจากการก่ออาชญากรรมและความเลวร้ายอื่นๆ ตามมามากมาย และผลที่ตามมาจากความเลวร้ายอื่นๆ ไม่ว่าเปิดเผยหรือซ่อนเร้นเป็นต้น และกฎหมายว่าด้วยเรื่องตุลาการและนิติบัญญัติอย่างผู้ทรงธรรมและสะดวกสบายโดยไม่ต้องเสียเวลาและเงินทอง เหมือนดังที่ปรากฏในการปกครองปัจจุบัน อิมามโคมัยนีกล่าวว่าให้ดูเรื่องนี้ได้ตามที่เห็นในการปกครองที่เป็นอยู่นี้ ซึ่งมีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอย่างมากมายและตลอดระยะเวลาการปฏิวัติก็เพียรพยายามที่จะทำให้มันดียิ่งขึ้น เนื่องจากนักเสรีนิยมในอิหร่านเองก็โต้แย้งสิ่งที่อิมามนำเสนอในยุคนั้นอยู่พอสมควรเช่นกัน  เรายอมรับในข้อโต้แย้งเหล่านั้นแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอิมามไม่ได้กล่าวสิ่งเหล่านี้ ทว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่อิมามต้องการนั้นได้ถูกนำมาปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีอีกหลายประการที่ยังไม่ได้ถูกนำมาปฏิบัติ เนื่องจากเรากล่าวว่า “สาธารณะรัฐอิสลาม” การปกครองอิสลามคือ สโลแกนที่พวกเราให้ แต่ที่เรานำเข้ามานั้นที่จริงแล้วไม่มีทางเลือกอื่น เรามีประสบการณ์การปกครองสี่ระบบ ได้แก่ การปกครองนะบะวี การปกครองอะละวี การปกครองฟิกอฮะตี และการปกครองมะฮ์ดะวี

ตอนนี้เราอยู่ในระบบการปกครองฟะกอฮะตี ไม่ใช่ระบบการปกครองมะฮ์ดะวี ดังนั้นอย่าให้ขอบเขตของมันปะปนกัน ในมุมมองของฉันผู้ที่ปัญญาต่ำต้อยนี้คิดว่าการปกครองของมะฮ์ดะวีก็แตกต่างไปจากการปกครองของนะบะวีและอะละวี การปกครองอิสลามที่แท้จริงคือ การปกครองของมะฮ์ดะวี ที่เรามีอยู่นี้ใช้ระบบสาธารณะรัฐแม้แต่ในยุคท่านศาสดา ระบบการปกครองที่ผ่านมาไม่ได้ฟังเสียงของสาธารณะหรอกหรือ? การปกครองของอะละวีไม่ได้ติดตามและอยู่กับสาธารณะหรอกหรือ? บรรดาศาสดามาเพื่อต่อสู้และขจัดความเขลาออกไปจากประชาชน สาธารณะหมายถึงประชาชนทั้งหมด พวกท่านไม่ได้มีปัญหากับคนเขลาแต่คนเขลาต่างหากที่มีปัญหากับพวกท่าน เข่นฆ่าพวกท่าน เคยเห็นบ้างไหมที่ศาสดาท่านใดจะมีปัญหาหรือกล่าวได้ว่าจับคอเสื้อของคนเขลา? ไม่มี!  ดังนั้นพวกท่านไม่ได้มีอะไรยุ่งเกี่ยวกับพวกเขา เพียงแต่ทำหน้าที่ขจัดความโง่เขลาออกไปจากพวกเขา กล่าวคือศัตรูของบรรดาศาสดาคือความเขลาของผู้คน แต่คนเขลาตั้งตนเป็นศัตรูกับบรรดาศาสดา ด้วยการสังหารพวกท่านอย่างโหดเหี้ยมที่สุด ตัดศีรษะของพวกท่าน เช่นเรื่องราวของท่านศาสดาซะกะรียา หรือท่านอื่นๆ กระทั่งถึงบรรดาอิมาม พวกท่านไม่ได้มาสู้รบกับผู้คน ทว่ามาเพื่อขจัดความเขลาออกไป แต่เมื่อการปกครองสุดท้ายมาถึงนั้นไม่ใช่เป็นการปกครองสาธารณะ ทว่าเป็นการปกครองสุดท้ายที่เป็นของท่าน ที่เรารอคอยว่าจะอยู่ภายใต้การปกครองของท่าน อินชาอัลลอฮ์ด้วยการตื่นตัวที่มีอยู่นี้หวังว่าเราคงจะเข้าใกล้การมาปรากฎของท่าน

อิมามกล่าวต่อว่า: และกฎหมายเกี่ยวกับการต่อสู้ การปกป้องและสัญญาต่างๆระหว่างรัฐอิสลามและอื่นๆ ดังนั้นอิสลามได้จัดตั้งการปกครองขึ้นไม่ใช่บนหนทางของเผด็จการ ถึงตรงนี้ผมได้เขียนอธิบายไว้ เพื่อให้สอดคล้องกับที่พวกคุณได้ค้นคว้า ผมต้องการที่จะกล่าวว่า อิมามกำลังชี้ให้เห็นถึงประเด็นหนึ่งที่ว่า กฎหมายเหล่านี้เป็นกฎหมายที่มีอยู่ในฟิตเราะฮ์ของมนุษย์ ก่อนหน้านี้ได้กล่าวไปแล้ว ตอนนี้ก็จะกล่าวอีกว่า อัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอีย์ กล่าวไว้ในตัฟซีรอัลมีซานว่ากฎหมายของอิสลามเป็นกฎหมายแห่งสัญชาตญาณบริสุทธิ์ดั้งเดิม (ฟิตเราะฮ์) ผมขอยกตัวอย่างตรงนี้สักตัวอย่างว่า พระพุทธเจ้าได้นำกฎเกณฑ์มาเมื่อพันปีก่อน ซึ่งที่มาของกฎเกณฑ์เหล่านั้นคือสัญชาตญาณบริสุทธิ์ดั้งเดิมของมนุษย์ หากเป็นศาสดา ผมเองก็ไม่รู้เช่นกันว่าเป็นศาสดาท่านหนึ่งหรือไม่อย่างไร แต่ผิวเผินแล้วไม่น่าจะเป็นศาสดา เพราะหากเป็นศาสดาแล้วต้องพูดถึงเรื่องของปฐมเหตุหมายถึงพระเจ้าและการฟื้นคืนชีพอีกครั้ง (มับดะอ์และมะอาด) แต่เราก็ไม่เห็นคำสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ผมได้พูดตามชะฮีดมุฏอฮารีย์ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นได้บันทึกเป็นคัมภีร์หนึ่งมีชื่อว่า ไตรปิฎก และเป็นคัมภีร์ที่ใช้กันในหมู่ชาวพุทธ ส่วนที่อื่นไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ผมไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับที่นั่น เพราะคณะของผมคือรัฐศาสตร์ แต่สำหรับประเทศไทยตามที่ผมได้อ่านมาผิวเผินนั้น มีกฎเกณฑ์ที่ถูกนำมาใช้ปฏิบัติ ผมไปมาหลายประเทศแต่สัมผัสได้ว่าที่นี่แตกต่างจากที่อื่น ดังนั้นสาระธรรมเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม การเรียนการสอน การอบรมของคนไทยอย่างแน่นอน พุทธสมาคมที่อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1932 และมีสมาชิก 31395 คน ศีลห้าประการที่สำคัญที่ชาวพุทธถือว่าเป็นบาป เรื่องนี้น่าทึ่งมากสำหรับผม ดังที่อัลลามะฮ์ได้กล่าวไว้ว่ามันเป็นสัญชาตญาณบริสุทธิ์ดั้งเดิม ดังนั้นสิ่งที่อิมามโคมัยนีได้กล่าวไว้ในที่นี้ว่าอิสลามมีกฎหมายต่างๆ นั้นคือสิ่งที่มนุษย์ได้สัญญาไว้แล้วกับพระองค์ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตาม มนุษย์ล้วนตั้งอยู่บนสัญชาตญาณบริสุทธิ์ดั้งเดิมนั้นทั้งสิ้น

จากนั้นอิมามเข้าสู่ประเด็นเหตุผลต่างๆ เกี่ยวกับความจำเป็นของการปกครองอิสลาม ในที่นี้มาดูกันว่าเนื้อหาที่ผมนำมาเสนอนั้นสามารถนำมาลงกับเนื้อหาของอิมามได้อย่างไร หลังจากที่อิมามกล่าวว่าที่มาของกฎหมายของอิสลามนั้นคือสัญชาตญาณบริสุทธิ์ดั้งเดิมของมนุษย์ เป็นสิ่งที่มีอยู่ด้านในของมนุษย์ไม่ใช่มาจากภายนอกของมนุษย์ โดยอิมามกล่าวว่า การจัดตั้งการปกครองอิสลามขึ้นนั้นวางอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย ไม่ใช่เป็นเผด็จการที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนๆ เดียว และไม่ใช่สาธารณะที่ไม่ใช่อิสลามการปกครองที่ขึ้นอยู่กับความต้องการและอารมย์ไฝ่ต่ำของคนๆเดียวก็จะเป็นการปกครองเดี่ยวและก็ไม่ใช่การปกครองแบบสาธารณะและประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็น มุฮันดิสบอซัรฆอน นักประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในอิหร่าน แต่อิมามกล่าวว่า สาธารณะรัฐอิสลาม เท่านั้นไม่มากไปและน้อยไปแม้แต่คำเดียว ผมได้ยินประโยคนี้จากอิมามเอง ต่อหน้าของท่าน จึงจำประโยคที่หนักแน่นนี้ได้เป็นอย่างดี กระทั่งทำให้เรื่องราวทั้งหมดที่พวกเขาต้องการสร้างให้เกิดขึ้นในอิหร่านจบลง

ตรงนี้อิมามก็กล่าวว่าไม่ใช่ภายใต้กฎหมายที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของปัจเจกหรือส่วนใหญ่หรือสาธารณรัฐที่อยู่บนพื้นฐานกฎหมายของมนุษย์ที่วางอยู่บนความคิดเห็นของคนหมู่มาก ทว่าเป็นการปกครองที่วางสืบสานกฎหมายแห่งพระเจ้าในทุกๆด้านของสังคม ผมเคยกล่าวเอาไว้เป็นการดีเลยที่กล่าวย้ำตรงนี้อีกครั้งว่าเราได้มีประสบการณ์กับสาธารณรัฐอิสลามมาหลายรูปแบบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสาธารณรัฐอิสลามแบบนะบะวี สาธารณรัฐอิสลามแบบอะละวี สาธารณรัฐอิสลามแบบฟิกอฮัต ซึ่งอยู่ในอำนาจบรรดามะอ์ซูม (อ.) แต่ผมก็เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลาม นอกจากว่าพวกคุณจะมีทัศนะและความคิดอย่างไรนั้นก็นำมาถกกันเผื่อว่าผมจะเปลี่ยนทัศนะนี้ได้ ดังนั้นทั้งหมดนั้นเป็นการปกครองอิสลามซึ่งมีบรรดามะอ์ซูมเป็นผู้นำการปกครอง แต่พระเจ้าเป็นผู้บัญชาแก่พวกท่านว่าให้รับฟังเสียงของประชาชน แต่ในระบบการปกครองมะฮ์ดะวี ไม่ใช่เช่นนี้ พวกคุณอย่าคิดว่ายุคนั้นก็เป็นการปกครองแบบสาธารณรัฐแบบที่ผ่านๆมา ถ้าเป็นเช่นนั้นท่านจะมาเพื่ออะไร? เราต้องเตรียมพร้อมให้ท่านมาปรากฎเพื่อปกครองศาสนาอันบริสุทธิ์ที่บรรพบุรุษของท่านยังไม่เคยทำมาก่อน หากยังไม่ถึงยังขั้นนั้นก็เป็นการรอคอยที่เป็นเพียงการคาดหวังที่เลื่อนลอย

อิมามโคมัยนีกล่าวต่อไปว่าซึ่งตรงนี้น่าสนใจมาก ระบบการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ (มัชรูเฏาะฮ์) ให้เป็นระบบการปกครองตามหลักการศาสนา (มัชรูอี) ได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการปกครองแบบภายใต้รัฐธรรมนูญหรือมัชรูอ์ ไม่มีการปกครองใดที่เป็นเผด็จการทางความคิด แม้แต่ในยุคของบรรดาอะอิมมะฮ์ (อ.) มันน่าแปลกมากเลย ตามคำกล่าวของมาลิกอัชตัรในสงครามศิฟฟีนที่สามารถสังหารมุอาวียะฮ์ได้อยู่แล้วนั้น แต่พวกเขากลับบอกว่า ไม่นะ!ท่านอาลี เราไม่ต้องการเช่นนี้ เราต้องการให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อิมามอาลีบอกว่าถ้าเช่นนั้นก็ได้ ดังนั้นไม่ว่าใครก็ต้องฟังเสียงประชาชน พวกคุณลองไตร่ตรองดูเถิดว่ามีระบบการปกครองไหนที่จะนำมาเปรียบกับการปกครองอิสลามได้อีก ดังนั้นเห็นได้ว่าประชาชนลุกขึ้นจับดาบแล้วบอกว่า โอ้อาลี ต้องใช้วิธีการตัดสิน อิมามบอกว่าหลังจากนี้แล้วพวกท่านจะเสียใจนะ พวกเขาก็ยังรั้น ถึงขนาดบอกท่านเป็นผู้ปฏิเสธ อิมามบอกก็ได้ เช่นนั้นให้ส่งอับดุลลอฮ์ อิบนุ อับบาสไปเจรจา พวกเขาก็ไม่ยอมรับ อิมามบอกให้ส่งมาลิก อัชตัร ไป พวกเขาก็ไม่เอา ไม่ว่าอิมามอาลีจะเสนอใครไป พวกเขาก็ไม่ยอมรับ พวกเขาบอกว่าให้ส่ง มูซา อัชอารี ทั้งที่เป็นคนที่ไม่มีศักยภาพพอ ไม่เด็ดขาด และเด็ดเดี่ยวพอ ไม่มีประโยชน์ในการเจรจาแม้แต่ในหมู่คนธรรมดา แต่พวกเขาก็พอใจที่จะให้มูซา อัชอารี ไป ก็ดังที่ทราบกันว่าการเจรจาไปถึงทางตัน ที่ปัจจุบันนี้เรียกกันว่า “การเจรจา” การบอยคอตก็รุนแรงมากขึ้น แทนที่จะสำนึกพวกเขากลับโยนความผิดให้ท่านอาลี ทั้งที่ท่านอาลีบอกพวกเขาทุกอย่างแล้ว นี่ดูเถิดว่าอิมามอาลีถูกกดขี่อย่างไร? อิมามของเราไม่เคยเผด็จการทางความคิดเลย ที่ท่านจะยัดเยียดความคิดของท่านแก่สังคม แต่เราจะสาบานได้หรือไม่หรือจะกล่าวอย่างนั้น พวกเราก็ยอมรับกันว่าไม่ว่าเป็นระบอบการปกครองใด เนื่องจากตัวฉันเป็นผู้มีอำนาจดังนั้นจะต้องทำตามที่ฉันต้องการ  ไม่ว่าจะได้อำนาจมาด้วยการรัฐประหารหรือวิธีการอื่นๆ ทั้งหมดต่างก็ปกครองไปตามที่ตนต้องการ แต่ระบอบการปกครองอิสลามนั้นไม่ใช่เช่นนี้ทว่าถูกกดขี่อย่างมากเลยทีเดียว

อย่างที่เรากำลังถกกันเกี่ยวกับวิลายะตุลฟะกีฮ์ ซึ่งอินชาอัลลอฮ์ผมจะกล่าวถึงการถูกกดขี่ของระบอบนี้ให้พวกเราได้ฟังกัน

อิมามกล่าวต่อว่า: ทว่าทุกอย่างต้องดำเนินไปตามการปกครองที่วางอยู่กฎหมายแห่งพระเจ้า แม้กระทั่งการภักดีต่ออำนาจผู้นำ หากเป็นมะอ์ซูมแน่นอนว่าจะไม่ตัดสินออกฮุกุ่มนอกเหนือไปเป็นอื่นได้แต่หากไม่ใช่มะอ์ซูมเราต้องมีสติให้ดีอย่าตกหลุมพรางได้ ให้ปฏิบัติตามฮุกุ่มตันฟีซซึ่งท่านอิมามโคมัยนีก็มีฮุกุ่มตันฟีซซึ่งท่านได้แก่บรรดาผู้บริหารระดับสูงแก่ประเทศอิหร่าน ทุกที่ก็กล่าวเช่นนี้เหมือนกันว่า ได้ออกฮุกุ่มตันฟีซกระทั่งถึงจุดที่หรือกระทั่งได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งอิสลาม

อิมามโคมัยนีได้กล่าวต่อว่า ใช่แล้วสำหรับผู้ปกครองนั้นจะกระทำสิ่งที่เกิดขึ้นที่ตั้งอยู่บนความเหมาะสมของบรรดามุสลิม ประโยคนี้น่าสนใจมาก ความเหมาะสมสำหรับมุสลิมกับความเหมาะสมของอิสลามมีความแตกต่างกันอย่างนั้นหรือ? พวกคุณคิดว่าแตกต่างกันหรือไม่? ตรงนี้อิมามต้องการที่จะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างและฉันก็เชื่อเช่นนี้ เราต้องค้นหาทั้งสองอย่าง ทั้งสองนั้นต่างให้ความสมบูรณ์ซึ่งกันและกัน ฉันในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง เป็นคนงาน เป็นมุสลิม สามารถที่จะคำนึงถึงทั้งสองอย่างได้พร้อมๆ กัน แต่บางครั้งระหว่างความเหมาะสมสำหรับบรรดามุสลิมกับความเหมาะสมของอิสลามมีความขัดแย้งกัน ในกรณีที่ไม่รู้ว่าจะต้องยึดเอาความเหมาะสมของอิสลามหรือความเหมาะสมสำหรับบรรดามุสลิม เข้าใจหรือยังตรงนี้อิมามต้องการกล่าวเช่นนี้ เพราะเป็นไปได้ที่บางครั้งเกิดความขัดแย้งกันระหว่างสองอย่างนี้  ที่บางทีต้องเลือกเอาความเหมาะสมสำหรับบรรดามุสลิมก่อนความเหมาะสมอิสลาม ทว่าต้องเข้าใจว่าตราบใดที่เป็นไปได้ต้องให้ทั้งสองอย่างนั้นสอดคล้องต้องกัน ที่จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมทั้งสองอย่าง แต่บางครั้งเกิดความขัดแย้งกัน โดยที่หากจะยึดเอาความเหมาะสมของมุสลิมไว้ก็จะทำให้ฝั่งน้ำหนักของอิสลามลดน้อยลง ผมไม่ได้บอกว่าอิสลามพังไปนะครับ แต่หมายถึงฝั่งน้ำหนักของอิสลามนั้นลดน้อยลง ขอยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนว่า ฉันอาศัยอยู่ในประเทศที่หากฉันจะต้องเอาอิสลามมาใช้เท่านั้นก็จะทำให้ชีอะฮ์หรือมุสลิมที่มีอยู่จำนวนน้อยนิดนั้นต้องหมดสิ้นไป หากฉันต้องเลือกรักษาชีอะฮ์หรือมุสลิมไว้ก็จะต้องลดอีกฝั่งหนึ่งลง ในกรณีนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะยึดเอาทั้งสองเสมอกันมาปฏิบัติ ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ให้ยึดเอาความเหมาะสมของบรรดามุสลิมไว้แล้วลดหย่อนอิสลามลง เพราะสถานการณ์ตรงนี้การรักษามุสลิมไว้นั้นสำคัญกว่า เป็นเรื่องจริงที่สำคัญ สัมผัสได้และเข้าใจได้ บรรทัดฐานของเราคือสิ่งนี้ เป้าหมายหลักของเราคือการต่อสู้กับการกดขี่และความอธรรม ลองดูชีวประวัติของบรรดาอิมามของพวกเราสิ เช่น ท่านอิมามฮุเซน (อ.)  ทำไม? เพราะท่านเห็นว่าอิสลามในโลกนี้ บางทีเราอาจจะมองความเหมาะสมของมุสลิมแค่เฉพาะในสถาบันศาสนาที่มีการเลือกตั้งกันในหมู่พวกเรา (หากไม่ทำหน้าที่) ทำให้อิสลามอ่อนแอ อิสลามไม่ได้สูญสิ้นไป เปล่าเลย !ยังมีอิสลามที่อื่นอีกที่รักษาไว้ได้ แต่ในยุคของอิมามฮุเซน เราจะเห็นว่า หากไม่ขับเคลื่อนสุดท้ายนี้โดยไม่เสียสละตัวท่านเอง ลูกๆ ของท่าน สาวกของท่าน หากไม่เสียสละให้ครอบครัวของท่านต้องตกเป็นเฉลย อิสลามจบสิ้น สำรับแห่งอิสลามถูกม้วนเก็บ แก่นแท้และอัตลักษณ์ของความเป็นอิสลามจะเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นภารกิจของอิมามฮุเซนคือภารกิจของบรรดาศาสดา กล่าวคือท่านได้กางสำรับอิสลามนี้อีกครั้ง ทว่าหากอิมามท่านอื่นอยู่ในสถานการณ์เดียวกับท่านอิมามฮุเซน พวกท่านก็จะทำเช่นนี้เหมือนกัน ไม่มีข้อคลางแคลงสงสัยใดๆ ในเรื่องนี้ อิมามฮะซัน อิมามซอดิก อิมามริฎอ ไม่ว่าเป็นอิมามท่านใด ก็จะทำอย่างที่ท่านอิมามฮุเซนทำอย่างแน่นอน แต่อิมามท่านอื่นๆ เช่นอิมามสัจญาด เห็นว่าหากฉันไม่ทำเช่นนี้แก่นแท้ของอิสลามจะไม่สูญสิ้นไป ท่านจึงใช้วิธีการเขียนดุอา ดุอาซอฮีฟะฮ์สัจญาดียะฮ์ไว้ให้แก่พวกเรา ให้แก่พวกบะนีอุมัยยะฮ์ พวกท่านกำลังสอนพวกเราว่าต้องให้ความเหมาะสมระหว่างมุสลิมกับความเหมาะสมของอิสลามนั้นสอดคล้องกันเท่าที่จะทำได้ แต่ในบางกรณีหากนำความเหมาะสมของอิสลามมาผนึกบรรดามุสลิมต้องสูญสิ้นไป

อิมามโคมัยนีจึงกล่าวต่อว่า: หรือสำหรับในเขตของพวกเขาและสิ่งนี้ไม่ใช่เผด็จการทางความคิดทว่าเป็นการปฏิบัติตามความเหมาะสม บังเอิญว่าอิสลามที่ท่านได้ถวายชีวิตให้และหากทำสิ่งที่นอกเหนือไปจากนี้นั้นก็จะไม่ถูกต้องที่ได้ทำไป เรามีตัวอย่างมากมายเช่น การลุกขึ้นต่อสู้ของฟัค ที่น่าสนใจก็คืออิมามฮุเซนลุกขึ้นต่อสู้ ต่อมาการลุกขึ้นต่อสู้เกิดขึ้นโดยลูกหลานของอิมามฮะซันอัลมุจตะบา ฮะซันมุซันนา ฮะซันมุษัลลัษ ฮะซันมุร็อบบะอ์ ฮะซันมุคอมมัส ฮะซันอิบนิ ฮะซัน อิบนิ ฮะซัน อิบนิอะลี แน่นอนว่าย่อมทำให้ศัตรูในยุคของบรรดาอิมามเกิดความไม่พอใจขึ้น แต่ก็มีบางคนที่ลุกขึ้นต่อสู้โดยไม่มีศักยภาพ จะเห็นว่าอิมามไม่ได้เข้าร่วมอีกทั้งประณาม แต่ก็มีบางคนที่มีศักยภาพ เป็นคนดี มีความตักวา แต่ก็ไม่สามารถ อิมามเพียงอนุญาตเพื่อไม่ให้เขาเข้าสู่นรก หาไม่แล้วอิมามไม่เข้าร่วม พวกเราลองศึกษาประวัติศาสตร์ดู แม้กระทั่งในยุคอิมามฮาดี ชุฮะดาฟัคเรามีในยุคนั้นจำนวน 100 คน ที่เป็นคนดีที่สุดของชีอะฮ์บะนีฮาชิม ที่ถูกพวกคนชั่วได้ฆ่าสังหารทุกคนเป็นชะฮีดหมดนอกจากคนสองคนที่หนีรอดมาได้ ชื่ออิดรีส ที่ต่อมาได้นำอิสลามเขช้าสู่แอฟริกา ทางแอฟริกาเหนือ แถบประเทศตูนีเซีย แอลจีเรีย ที่นั่นจึงยังมีกลุ่มอิดรีสและเชื้อสายของเขาอยู่ที่นั่น อิมามฮาดี กล่าวว่าหลังจากเหตุการณ์อิมามฮุเซนไม่มีเหตุการณ์ที่จะสร้างความเจ็บปวดให้แก่จิตใจของพวกเราที่เราต้องสูญเสียบรรดาชะฮีดฟัคไป การขับเคลื่อนนี้มีการวางแผนและน่าสนใจมาก

จากนั้นอิมามโคมัยนีได้กล่าวต่อว่า ดังนั้นทัศนะและความคิดของเขานั้นมีความเหมาะสมเหมือนกับการกระทำของเขา ดังนั้นตรงนี้คือ “ทัศนะ” เป็นคำพูดที่น่าสนใจมากทีเดียว เป็นคำพูดที่งดงามและละเอียดอ่อนมาก กล่าวว่า พวกท่านกำลังเห็นการกระทำอยู่ใช่หรือไม่? แล้วทัศนะของเขาล่ะท่านจะทำอย่างไร? อิมามกล่าวว่า ทัศนะของเขาก็เหมือนกับการกระทำของเขาที่ถูกต้องและมีความเหมาะสม ไม่ใช่เป็นเผด็จการทางความคิด

หลังจากนั้นอิมามโคมัยนีได้เริ่มยกเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมได้นำมากล่าวสองเรื่องคือ เหตุผลว่าด้วยเรื่องของความจำเป็นในการมีการปกครอง และความจำเป็นในการมีการปกครองแบบศาสนา ซึ่งท่านอิมามโคมัยนีได้เริ่มถกเรื่องนี้ แต่ผมนำเรื่องที่กว้างกว่านี้ที่พวกเราเห็นกันอยู่ตอนนี้ คือความจำเป็นในการมีการปกครองทั้งเหตุผลทางการรายงาน (นักลี) และเหตุผลทางปัญญา (อักลี) และความจำเป็นในการปกครองแบบศาสนาแบบอิสลาม แต่อิมามโคมัยนีได้เริ่มจากตรงนี้ เริ่มจากเหตุผลทางปัญญาซึ่งท่านได้กล่าวไว้ 3 เหตุผลด้วยกัน เพราะอิมามโคมัยนีกำลังอธิบายเรื่องเกี่ยวกับวิลายะตุลฟะกีฮ์อยู่ การปกครองแบบอิสลามมีความจำเป็น หากได้รับการพิสูจน์แล้ว คำถามต่อไปคือ แล้วใครจะเข้ามาบริหาร? คำตอบก็คือ แน่นอนว่าคือฟะกีฮ์ ที่พร้อมด้วยคุณสมบัตินั่นเอง ดังที่ได้กล่าวไปช่วงต้นของการถก เพราะเป็นยุคของการเร้นกาย หากไม่ใช่ยุคการเร้นกายอิมามมะฮ์ดี เป็นยุคของการปรากฏกาย แน่นอนว่าผู้ปกครองย่อมเป็นอิมามมะฮ์ดี (อ.) ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง แต่ในยุคของการเร้นกายก็จะยังเอาเหตุผลนี้มาอ้างอย่างนั้นหรือ ที่น่าสนใจก็คือเหตุผลทางด้านปัญญา(อักลี)ในความจำเป็นต้องมีการปกครองนั้นแตกต่างจากเหตุผลทางด้านปัญญา(อักลี)หรือเหตุผลทางด้านการรายงาน(นักลี) เกี่ยวกับเรื่องวิลายะตุลฟะกีฮ์ มันน่าสนใจจริงๆ อิมามโคมัยนีได้กล่าวว่า หลังจากที่ท่านได้รู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นแล้ว เราก็จะขอกล่าวว่า: แท้จริงแล้วบทบัญญัติแห่งพระเจ้า –ไม่ว่าจะเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับเรื่องภาษีและการเงิน ด้านการเมือง ด้านสิทธิ- นั้นมันไม่ได้ถูกยกเลิกไป (อิมามได้กล่าวบทนำไว้สองบทนำหลังจากนั้นก็กล่าวถึงเหตุผลในความจำเป็นต่อการปกครอง และการปกครองก็ต้องมีผู้ปกครอง ตรงนี้เป็นบทนำแรกของอิมาม แต่เป็นเหตุผลแรกซึ่งก็คือ ความเป็นอมตะของอิสลาม ดังนั้นเราจะกล่าวแบบนี้ว่า เหตุผลแรกของอิมามโคมัยนีในการพิสูจน์ถึงความจำเป็นในการมีการปกครองอิสลามในยุคเร้นกายคือ “ความอมตะ” หมายความว่าอย่างไร? หมายถึงความเป็นอัมตะของบทบัญญัติอิสลาม ความเป็นอมตะของศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลามไม่ใช่เป็นศาสนาสุดท้ายหรอกหรือ? ทำไมล่ะ แน่นอนเป็นศาสนาสุดท้าย ไม่ใช่เป็นศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุดหรอกหรือ? ทำไมล่ะ แน่นอนเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นไม่จำเป็นต้องพิทักษ์รักษาไว้ตราบจนวันกิยามะฮ์หรอกหรือ? หรือตราบวันที่เจ้าของที่แท้จริงมาปรากฏ? เพื่อที่จะมอบให้แก่ท่าน? เมื่อคำตอบคือ ใช่ ดังนั้นบทบัญญัติเหล่านี้ต้องถูกนำมาปฏิบัติใช้ เมื่อต้องการจะนำมาปฏิบัติใช้ ย่อมต้องมีผู้นำมาปฏิบัติใช้ ดังนั้นการปกครองจึงมีความจำเป็น เรามาดูกันว่าอิมามโคมัยนีได้อธิบายไว้อย่างไร ท่านได้เริ่มด้วยสองบทนำ บทนำแรกคือแท้จริงบทบัญญัติของอิสลามนั้นยังไม่ถูกยกเลิกไป ทว่ามันยังคงอยู่ตราบจนวันกิยามะฮ์ จากประโยคนี้ผมได้รับว่าเป็นเหตุผล “ความเป็นอมตะ” เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วอย่างไรต่อไป? จากนี้ไปอิมามโคมัยนีได้กล่าวบทนำที่สองว่า ดังนั้นการที่บทบัญญัติต้องคงอยู่ต่อไปนั้นบ่งชี้ถึงความจำเป็นในการปกครองและอำนาจ (วิลายัต)ที่จะครอบคลุมการปกป้องรักษากฎหมายแห่งพระเจ้าไว้ เมื่อกล่าวถึงสองบทนำแล้ว เราก็จะหาบทสรุป บทนำแรกคือ ความเป็นอมตะของบทบัญญัติอิสลาม บทนำที่สองคือ ความเป็นอมตะบ่งชี้ถึงความจำเป็นต่อการปกครอง ไม่เพียงแต่ปกป้องรักษากฎหมายเท่านั้นทว่ายังรับรองการนำมาปฏิบัติใช้อีกด้วย จากนี้ไปก็จะเป็นบทสรุปคือ และเป็นไปไม่ได้ที่จะนำบทบัญญัติ (หรืออย่างน้อยก็บางส่วนของบทบัญญัติซึ่งผมจะนำมากล่าวในเหตุผลข้างนอกที่จะมาเสริมให้สมบูรณ์ ผมจะอธิบายเพิ่มเติมลงรายละเอียดมากกว่านี้)ของอัลลอฮ์มาใช้ได้นอกจากต้องมีการปกครอง เพื่อจะได้ไม่เกิดความวุ่นวาย กล่าวคือหากไม่มีการนำบทบัญญัติมาปฏิบัติใช้สังคมอิสลามย่อมเกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย นี่คือเหตุผลแรกของอิมามโคมัยนี ซึ่งเราใช้ชื่อว่า เหตุผลความเป็นอมตะ เหตุผลที่สองคือ ความจำเป็นในการการรักษาไว้ซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยอิมามกล่าวต่อด้วยคำว่า مَعَ ซึ่งเป็นการเริ่มเหตุผลที่สอง ตั้งใจฟังให้ดีว่ามันแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร? แน่นอนว่ามันแตกต่างกันกัน เหมือนกับที่เวลาเราแบ่งผมเป็นสองส่วน เราเรียกว่าแสกกลาง (فَرق) คำถามมีอยู่ว่าความแตกต่าง (فَرق)ระหว่างคนหัวล้านกับคนมีผมคืออะไร? คำตอบคือคนหัวล้านไม่มีแสกกลาง (فَرق)นั่นเอง

เรามาดูตรงนี้ว่าแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร? อย่าบอกว่าเพราะอิมามโคมัยนีกล่าวจึงไม่อาจท้วงติงได้ บทเรียนก็คือบทเรียนสามารถท้วงติงได้ นอกจากอัลลอฮ์ นบีและบรรอิมามเราไม่สามารถท้วงติงได้ เป็นการพูดยกตัวอย่างเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วอิมามโคมัยนีท่านเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าคำพูดเหล่านี้ เราไม่มีอะไรจะท้วงติงท่านหรอก เหตุผลที่สองที่อิมามโคมัยกล่าวก็คือ ทั้งที่การปกป้องรักษาระบอบการปกครองนั้นเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ)ที่เน้นย้ำอย่างมาก (มุอักกัด) ดังนั้นเหตุผลที่สองคือ การปกป้องรักษาระบอบการปกครอง ระบอบการปกครองอะไร? ระบอบการปกครองอิสลามอย่างนั้นหรือ? ไม่ใช่ ใครบอกว่าเป็นระบอบการปกครองอิสลาม? คือการปกครองที่ดำเนินไปและไม่อาจทำการปฏิวัติให้เกิดขึ้นได้ ต้องให้เกิดการปฏิวัติด้านวัฒนธรรมขึ้น ที่น่าสนใจคือท่านอิมามโคมัยนี ในสาธารณะรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ไม่ใช่ว่าให้เปลี่ยน (อัสตัฆฟิรุลลอฮ์) ไม่ใช่ แต่ดูแล้วว่าสามารถที่จะขับเคลื่อนได้ กล่าวคือต้องระมัดระวังดูแลการปฏิวัติ ช่วงนี้เป็นช่วงครบรอบการปฏิวัติก็ขอกล่าวสักนิดนึง หากเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะปฏิวัติก็ให้เริ่ม ซึ่งการปฏิวัติก็เริ่มขึ้นในปีที่ผมเกิดพอดี คือปี 1340 หลังจากอายาตุลลอฮ์บุรูญิรดี และอายาตุลลอฮ์กอชอนี ตอนที่สองท่านนี้ยังมีชีวิตอยู่อิมามจะพูดจากท่านทั้งสอง แต่หลังจากสองท่านนี้เสียชีวิตอิมามโคมัยนีก็ออกสู่สนามเอง เมื่อเริ่มปฏิบัติการท่านก็ถูกจับและเนรเทศอิมามโคมัยนีไปตุรกีในปี 1342 เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากตอนที่เนรเทศไปตุรกี ระหว่างทางพวกเขาบอกอิมามว่ารู้จักไหมว่าที่นี่มีชื่อว่าอะไร อิมามบอกว่าก็เป็นทะเลทราย เขาบอกว่าที่นี่มีชื่อว่าแดนประหาร มีนักการศาสนากว่ายี่สิบท่านถูกสังหารที่นี่ เขาถามอิมามว่ากลัวใช่ไหม? อิมามตอบว่าน่าเสียดายที่ฉันไม่ได้เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น!!! กฎหมายหนึ่งในตุรกีคือห้ามใส่อะบาและอัมมามะฮ์(สาระบั่น) ท่านจึงใส่ชุดโค้ทยาวและหมวก อิมามทำตามกฎหมายที่นั่นเพราะท่านไม่ได้ต้องการที่จะปฏิวัติที่นั่น สิ่งที่ผมกล่าวย้ำตรงนี้ก็เนื่องจากพวกดาอิช ที่ไม่รู้จักพระเจ้า ดูสิว่าปรัชญานิติศาสตร์การเมืองระหว่างเรากับพวกเขาแตกต่างกันอย่างไร วันที่ไบเดนขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา เกิดระเบิดที่ใหญ่มากในอิรักมีผู้เสียชีวิตกว่าห้าคนและมีผู้บาดเจ็บมากมาย สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าพวกมันคือหมาป่าที่ไม่แตกต่างกันว่าใครจะขึ้นมาดำรงตำแหน่ง พวกมันคือสิ่งเดียวกันในการปกป้องไซออนิสต์ เราเคยเห็นและจับคนที่ระเบิดพลีชีพได้ ถามเขาว่าไม่สงสารเด็กที่ขายของอยู่ริมถนนหรือชาวบ้านที่ออกมาจับจ่ายซื้อโรตีกลับไปให้ครอบครัวของพวกเขาหรืออย่างไร? เขาตอบว่าผมทำตามที่หน่วยงานสั่งมา นี่แสดงว่ามีคนคอยกดระเบิด ไม่ใช่ตัวเขาเอง เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าหากรีโมทไม่ได้อยู่ในมือของพระเจ้าและปล่อยให้มันอยู่ในเงื้อมมือของชัยฏอนมันก็จะกดรีโมทระเบิดเราในที่ๆไม่อาจย้อนกลับและที่จะไปต่อได้อีกเลย นี่มันอันตรายมาก พวกเขากล่าวว่าเมื่อเราเจอทางตันเราก็จะกราดยิงไปทั่ว ฆ่าประชาชนไม่ว่าใครก็ตาม ไม่สำคัญสำหรับเรา สิ่งที่สำคัญคือเราต้องการจะนำเสนอพวกเราแม้ว่าโลกอิสลามจะพังพินาศไปแต่พวกเรายังอยู่ เราต้องการจัดตั้งรัฐไอเอสขึ้น ในอิรัก ในซีเรีย โดยมีคนอย่างอะบูบักร์ บักดาดีเป็นผู้นำ ดูสิว่าแตกต่างกันอย่างไรกับแนวทางของอิมามโคมัยนี อิมามปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศตุรกี ในฝรั่งเศสก็เช่นกัน วันหนึ่งมีพ่อครัวได้ทำอาหารให้อิมาม อาหารมื้อนั้นเป็นไก่ อิมามถามว่าไก่วันนี้แตกต่างจากไก่วันอื่น เธอได้ไก่นี้มาจากไหน เขาตอบว่าไก่ที่เดินอยู่แถวๆนี้ อิมามบอกว่าฉันไม่กินไก่นี้ เพราะมันผิดกฎหมายของที่นี่ กฎหมายที่ไม่อนุญาตให้ทำการจับสัตว์เชือดเองตามใจชอบ นี่คืออิมามของเรา ที่รักษากฎหมายของประเทศนั้นๆ อย่างระมัดระวัง แต่พวกเขากลับกราดยิงและระเบิดตามใจชอบในประเทศอื่นเพียงเพื่อจะจัดตั้งรัฐปกครองขึ้น

ขอบคุณพวกเราทุกคนที่ให้ความร่วมมือและตั้งใจรับฟัง ต่อไปผมจะนำเสนอเกี่ยวกับเหตุผลของความจำเป็นในการมีการปกครอง  การปกครองแบบอิสลามคืออะไร  เหตุผลของพวกที่ต่อต้านและไม่เห็นด้วยคืออะไร? การจัดตั้งการปกครองโดยอิมามโคมัยนีนั้นมีคนต่อต้านด้วยอย่างนั้นหรือ? ที่จริงแล้วมีคนต่อต้านทั้งในโลกอิสลามและนอกอิสลาม ในโลกอิสลามก็มีทั้งชีอะฮ์และซุนนี ทั้งไม่ใช่ชีอะฮ์และซุนนี สรุปว่ามีผู้ต่อต้านซึ่งต้องทำการอธิบายกันต่อไป

อาจารย์ผู้สอน ฮุจญตุลอิสลาม วัลมุสลีมีน  ดร. นัศรุลเลาะห์ สะคอวะตีย์


เชคอิมรอน  พิชัยรัตน์
แปลและเรียบเรียง