หลักจริยธรรมในมุมมองอิสลาม

หลักจริยธรรมในมุมมองอิสลาม

 

   อิสลามมองต่อปรัชญาจริยะไว้น่าสนใจว่า “มนุษย์และจริยะ”ถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่ด้วยกัน คู่กันแยกจากกันไม่ได้และถือว่าเป็นการแสดงออกถึงความสูงส่งและความงดงามของความเป็นมนุษย์ทีเดียว
    อิสลามมองว่าหลักจริยะนั้นจะนำพาไปสู่ความเป็นมนุษย์และความสูงส่งทางจิตวิญญาณ  ศาสนาอิสลามได้ยกย่องเกียรติของความเป็นมนุษย์โดยบนอยู่พื้นฐานที่มาจากหลักจริยธรรม และชี้ให้เห็นเป็นหลักปรัชญาที่น่าสนใจว่า แท้จริงมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่มีฐานะภาพเหนือความเป็นเดรัจฉานที่สามารถพัฒนาตนให้เหนือกว่าทวยเทพก็ยังเป็นไปได้


     ดังนั้น มนุษย์มี”คุณค่า”และมีความงามอยู่ในตัวของมนุษย์เอง มนุษย์  ดังนั้นมนุษย์มากมายไปถึงจุดหมายปลายทางนั้นแล้ว แต่ก็มีมนุษย์อีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ให้ความสำคัญ  ดังที่อิมามอะลี(อ)ได้กล่าวถึงปรัชญาเรื่องนีเไว้ว่า


“รูปร่างหน้าตานั้น เขาคือมนุษย์(เหมือนกับท่าน) แต่หัวใจและภายในของเขา คือเดรัจฉาน”


     ปรัชญาอิสลามถือว่ารากเง้าและพื้นฐานที่มาของการกำเนิดหลักจริยธรรมนั้นมาจากสัญชาตญาณดั้งเดิมบริสุทธิ์(ฟิตเราะฮ)ของมนุษย์ที่พระเจ้าได้สร้างมาคู่กับความเป็นมนุษย์

 

  ปรัชญาจริยะอิสลามถือว่าแก่นแท้ของมนุษย์อยู่ที่จิตแห่งเทวา ซึ่งเป็นจิตวิญญาณที่สามารถเข้าใจและเข้าถึงความจริงสูงสุดและพัฒนาตนไปสู่ความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์ และถ้าใครเข้าใจและเข้าถึงจิตแห่งเทวานั้น ถือว่าเป็นสุดยอดแห่งมนุษย์ จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ดังวจนะของศาสดามุฮัมมัด(ศ)ที่ว่า


“ใครก็ตามที่รู้จักจิต(นัฟซ์ จิตแห่งเทวา) เขาย่อมประจักษ์แจ้งในพระเจ้า”


อิมามซัยนุลอะบีดีน(อ)กล่าวว่า…


“ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์คือผู้ที่ให้ความสำคัญต่อจิตวิญญาณของเขา และประเสริฐสุดของมนุษย์คือผู้ที่ค้นพบจิตแห่งเทวาที่อยู่ในตัวของเขา ซึ่งสิ่งนั้นคือแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์”
อิมามอะลี(อ)กล่าวว่า


“ใครก็ตามที่มีภาวะทางจิตเทวา เขาจะตำหนิและรังเกียจต่อตัณหาอารมณ์อยากทั้งปวง”(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ คำคมที่ ๓๓๑)

 

บทความโดย ดร.ประะเสริฐ สุขศาสน์กวิน