เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ความหมาย "เมาลา" ในฮะดีษฆอดีรคุม

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ความหมาย "เมาลา" ในฮะดีษฆอดีรคุม

 

ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ.  ได้กล่าวในวันฆอดีรกุมว่า “มันกุนตุเมาลาฮุ ฟะอะลียุล เมาลาฮุ" “ผู้ใดยึดฉันเป็นเมาลาของเขา ก็ขอให้เขายึดเอาอะลีเป็นเมาลาของเขาด้วยเช่นกัน"

مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ

1. ในความเชื่อของชีอะห์ เชื่อว่าฮะดิษบทนี้ คือฮะดิษที่ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. ได้แต่งตั้งท่านอิมามอะลี อ. ให้เป็นคอลิฟะฮ์ หรือผู้ปกครองสืบต่อจากท่าน

2. ในความเชื่อของซุนนี่ห์(แต่ไม่ทั้งหมด) เชื่อว่าคำสั่งของฮะดีษนี้ ไม่ได้หมายถึงการแต่งตั้งท่านอิมามอะลี อ. ให้เป็นคอลิฟะฮ์ หากแต่ให้มีการให้ความรักและความเป็นมิตรต่อท่านอิมามอะลี อ. เท่านั้น

ความหมายของ "เมาลา" ในมุมของนักภาษาศาสตร์ได้ให้ความหมายคำๆนี้ไว้หลายความหมายด้วยกัน เช่น
- ผู้ทรงสิทธิ์ ,นาย ,ผู้มีอำนาจเหนือชีวิต (الاولي - อัลเอาลา)
- นายผู้เป็นเจ้าของทาส (مالك الرق)
- ผู้ปล่อยให้ทาสได้กลายเป็นไท (الْمُعْتِقُ)
- ผู้ให้การช่วยเหลือ(النَّاصِرُ)
- ผู้เป็นพันธมิตร ,ผู้เป็นที่รักยิ่ง ,เพื่อน
- ผู้นำ ,หัวหน้า และผู้ที่ได้รับการเชื่อฟัง(الْإِماَمُ السَيِّدُ الْمُطاَعُ)

ด้วยเหตุนี้คำว่า "เมาลา" จึงถูกจัดให้อยู่ในประเภทคำที่เป็น "มุชตะร็อกลัฟซี/مشترك لفظي" หมายถึง คำๆเดียวแต่ถูกให้หลายความหมาย

ฉะนั้นเมื่อคำว่า "เมาลา" อยู่ในประเภทคำ "มุชตะร็อก ลีฟซีฮ์" การจะให้ความหมายไปในความหมายย่อมต้องมี "กอรีนะฮ์" มูลเหตุว่าทำไมต้องให้ความหมายเช่นนั้น

เรื่องนี้ผมจะขอทำการเสวนากับคุณ Fitree BAN anaa ผู้เป็นตัวแทนของพี่น้องซุนนี่ห์ ที่ท่านเชื่อว่า "เมาลา" ในฮะดิษฆอดีรคุม ให้ความหมายว่า “ที่รัก” หรือ “มิตร” แต่ในฝั่งชีอะห์ให้ความหมาย "เมาลา" ว่า นาย ,ผู้ปกครอง

เหตุผลที่ "เมาลา" ต้องให้ความหมายว่า "ผู้ปกครอง ,อิมาม ,คอลิฟะฮ์" เท่านั้น ก็เพราะว่า

1. เข้าใจได้จำบทลำนำของท่านนบีมุฮัมมัด ศ.

ท่านศาสดา ศ. ก่อนที่จะกล่าวประโยคว่า ใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลาของเขา อะลีก็เป็นเมาลาของเขาด้วย ท่านได้กล่าวถามผู้คนที่อยู่ในที่ชุมนุมว่า

اَلَسْتُ أَولى بِكُمْ مِنْ أَنْفُسِكُمْ ؟

ฉัน มิใช่ผู้มีสิทธิมากที่สุดต่อบรรดาผู้ศรัทธา ยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง ดอกหรือ ?

قَالُوا بَلَى

พวกเขากล่าวว่า  : หามิได้  ใช่แล้วครับ !!
หมายถึง นบี คือ เมาลา ของเรา ผู้ปกครองของเรา ท่านคือผู้มีสิทธิมากที่สุด มากกว่าตัวของเราที่มีต่อตัวเองเสียอีก
เมื่อนั้นแหละท่านศาสดา ศ. จึงกล่าวขึ้นว่า

"مَنْ كُنْتُ مَوْلاهُ فَهذا عَلِىٌّ مَولاهُ"

“ใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลา (ผู้ปกครอง) ของเขาอะลีก็เป็นเมาลาของเขาด้วย”

ในบทนำท่านศาสดา ศ. ได้ใช้คำว่า “เอาลา..มินอังฟุซิกุม” หมายถึง ต้องการยืนยันและให้ประชาชาชนทั้งหมดสารภาพว่า ท่านนั้นทรงอำนาจและทรงสิทธิ์เหนือคนอื่นทั้งตัวตนและชีวิตของพวกเขา หลังจากนั้นท่านจึงกล่าวว่า
“ใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลา (ผู้ปกครอง) ของเขาอะลีก็เป็นเมาลาของเขาด้วย”

ถ้าจุดประสงค์ของท่านศาสดา ศ. ไม่ใช่เช่นนี้ หรือท่านศาสดามีจุดประสงค์อย่างอื่นไม่จำเป็นที่ท่านต้องกล่าวถามก่อนว่า ฉันไม่มีสิทธิ์เหนือพวกท่านและชีวิตของพวกท่านดอกหรือ

2. พยานบุคคล
หมายถึง ผู้คนทั้งหลายที่เขาอยู่ในเหตุการณ์ฆอดีรคุม พวกเขาเข้าใจความหมาย “เมาลา”  ว่า สภาวะการเป็นผู้นำหรือผู้ปกครองทั้งสิ้น  และไม่มีใครสักคนในวันนั้นเข้าใจ "เมาลา" คือ เพื่อน และมิตรสหาย ไปดูตัวอย่าง

2.1- ฮัซซาน บินซาบิต นักกวีผู้ยิ่งใหญ่
ในวันชุมนุมที่ยิ่งใหญ่วันนั้น ฮัซซาน บินซาบิต นักกวีผู้ยิ่งใหญ่ของท่านนบี ศ. ได้ขออนุญาตท่าน ถ่ายทอดคำพูดของท่านออกมาเป็นบทกลอน ซึ่งโวหารที่ฮัซซานได้ใช้ในวันนั้นได้แทนที่คำว่า เมาลา ด้วยคำว่า อิมาม

فقال لَهُ قم يا علىُّ فانّنى رضيتك من بعدى إماماً و هادياً

ท่านได้กล่าวกับอาลีว่า “ลุกขึ้นเถิดโอ้อาลี ฉันได้เลือกเจ้าให้เป็นอิมามและผู้ชี้นำทางประชาชาชติหลังจากฉัน”  
เป็นที่ประจักษ์ว่า ฮัซซานได้แทนที่คำว่า เมาลา ในคำพูดของท่านศาสดา
 ศ. ด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงที่สุดคือ อิมาม หรือ ผู้นำ ในขณะที่ฮัซซานคือผู้เชี่ยวชาญภาษาอาหรับและเป็นนักกวีย่อมมีการใช้ภาษาได้ดีกว่าคนอื่น
และที่สำคัญไปกว่านั้น หาก "เมาลา" ให้ความหมายแค่ เพื่อน ท่านนบี ศ. ก็คงไม่นิ่งเฉยเมื่อ อัซซาน ได้แปล เมาลา ว่าเป็น ผู้ปกครอง เป็นอิมาม แต่การนิ่งเงียบของท่านนบี ศ. ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่า อัซซาน เข้าใจความหมาย ของ "เมาลา" ได้อย่างถูกต้องที่สุดแล้ว ว่า ให้ความหมาย ผู้ปกครอง

ตัวบทเต็มๆจากบทกลอนของอัซซาน

قال حسّان بن ثابت: إِئذن لي يا رسول الله أن أقول في عليٍّ أبياتاً تسمعهنّ، فقال(صلى الله عليه وآله): «قل على بركة الله»، فقال حسّان :

يُنَادِيهُمُ يوم الغَدير نَبِيُّهُم       نَجْم وأَسمِعْ بِالرّسُولِ مُنَادِياً
فَقالَ فَمنْ مَولاكُمُ وَنَبِيُّكم     فَقَالوا وَلَم يُبدُوا هُنَاك التّعَامِيَا
إِلَهَكَ مَولانَا وَأنتَ نَبِيُّنَا      وَلَم تَلْقَ مِنّا فِي الوِلايَةِ عَاصِياً
فَقالَ لَهُ: قُمْ يَا عَلِيُّ فَإِنّنِي     رَضيتُكَ مِن بَعدِي إِمَاماً وَهَادياً
فَمَنْ كنتُ مَولاهُ فَهذا وَلِيُّه       فَكُونُوا لَهُ أَتْبَاعُ صِدقٍ مُوالِياً
هُناكَ دَعا: اللّهمّ وَالِ وَلِيّهُ       وَكُنْ لِلّذِي عَادَى عَلِيّاً مُعَادِياً

2.1- ท่านท่านอิมามอะลี อ.  
อิมามอะลี อ. ได้เขียนสาสน์เกี่ยวกับเฆาะดีรคุมส่งให้มุอาวิยะฮ์โดยมีใจความว่า

وَ أَوْجَبَ لِى وِلايَتَهُ عَلَيْكُمْ رَسُولُ اللّهِ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ

ท่านศาสดา ศ. ได้มอบวิลายะฮ์ อำนาจการปกครองของท่านแก่ฉันให้เป็นวาญิบสำหรับเจ้าในวันเฆาะดีรคุมแล้ว

ในอิสลามนอกจากท่านศาสดา ศ. ยังจะมีใครมีความรู้สูงกว่าอิมามอะลี อ. และยังจะมีผู้ใดสามารถอธิบายฮะดีษของท่านศาสดาได้ดีไปกว่าอิมาม ฉะนั้น จะเห็นว่าในวันเฆาะดีรคุมท่านศาสดา ศ. ได้ให้ความหมายคำว่า วิลายะฮ์ ไว้อย่างชัดเจนว่าหมายถึงผู้นำ หรืออิมาม ซึ่งเป็นที่รับทราบและไม่มีผู้ใดคัดค้านแม้แต่คนเดียว

2.3- ท่านอบูบักร และท่านอุมัร
ยังจะมีหลักฐานใดกระจ่างชัดไปกว่าการที่ 2 บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เฉกเช่น อบูบักรฺ และอุมัร พร้อมกับสหายจำนวนมากมายของท่านศาสดา ศ. หลังจากที่ท่านได้ลงมาจากมิมบัรประชาชนได้แห่กันเข้าไปแสดงความยินดีและให้บัยอัตกับท่านอิมามอะลี อ. พิธีกล่าวแสดงความยินดีได้เนินนามมาจนถึงมัฆริบ ซึ่งในพิธีดังกล่าว 2 คนแรกที่เข้ามากล่าวแสดงความยินดีกับท่านอิมามอะลี อ.  คือ อบูบักรฺและอุมัร

بخٍّ بَخِّ لك يابن أبي طالب اصبحت و امسيت مولاي و مولا كلِّ مؤمن و مؤمنةٍ

“ขอแสดงความยินดีกับท่าน โอ้บุตรของอบูฏอลิบ บัดนี้ท่านได้เป็นผู้ปกครองและเป็นผู้นำของฉัน และของผู้ศรัทธาชนทั้งชายและหญิง”

3.  มีปราชญ์ชาวซุนนี่ห์มากมายที่ให้ความหมาย "เมาลา" ว่า นาย หรือ ผู้ปกครอง มาดูบางตัวอย่าง เช่น

3.1- ท่านอบูฮามิ ฆอซาลี หรืออิมามฆ่อซาลี (เสียชีวิต 505 ฮ.ศ.)
แน่นอนว่า ไม่มีชาวซุนนะห์คนใดที่จะไม่รู้จักอิมามฆ่อซาลี  ชาวซุนนะห์ได้กล่าวยกย่องสรรเสริญอิมามฆ่อซาลี ไว้ว่า "ท่านคือ อิมามอารฟ บิลละฮ์ มีสถานภาพที่สูงส่ง มีกะร่อมัตที่ยิ่งใหญ่ เกินกว่าที่จะแนะนำได้

الإمام ‌العارف‌بالله، رفیع‌المقام ‌الذی اشتهرت کرامته‌العظیمة و ترادفت…؛ فضائل إمام حجة‌الاسلام أبوحامد غزالی رضی‌الله‌عنه

เมื่อรู้จักอิมามฆ่อซาลี่กันแล้ว อยากให้มาดูคำพูดของท่านเกี่ยวกับความหมายของ "เมาลา" ในฮะดิษฆอดีรคุม

«لکن أسفرت‌الحجة وجهها و أجمع‌الجماهیر علی متن‌الحدیث من خطبته فی یوم غدیر خم باتفاق‌الجمیع و هو یقول: من کنت مولاه فعلی مولاه. فقال عمر: بخ بخ یا أبا‌الحسن لقد أصبحت مولای و مولی کل مؤمن و مؤمنة. فهذا تسلیم و رضی و تحکیم. ثم بعد هذا غلب‌الهوی لحب‌الریاسة و حمل عمود‌الخلافة و عقود‌البنود و خفقان‌الهوی فی قعقعة‌الرایات و اشتباک ازدحام‌الخیول و فتح‌الأمصار سقاهم کأس‌الهوی، فعادوا ‌الی‌الخلاف‌الأول فنبذوه وراء ظهورهم، واشتروا به ثمناً قلیلاً؛
[مجموعة رسائل‌الإمام‌الغزالی، کتاب سرّ‌العالمین ص483، طبعة مصححة منقحة، إبراهیم أمین محمد،‌المکتبة‌التوفیقیة.]

ผมจะขอแปลใจความสำคัญในคำพูดของท่านอิมามฆ่อซาลี แล้วกันนะครับ

1. สิ่งที่ท่านนบีประกาศว่า อะลี คือ เมาลา ของท่าน เป็นสิ่งที่มุสลิมมีทัศนะตรงกันว่า ท่านนบีประกาศจริง (باتفاق‌الجمیع)
2. ท่านอุมัร ได้เข้าไปแสดงความยินดีกับท่านอะลี อ. โดยกล่าวว่า
 بخ بخ یا أبا‌الحسن لقد أصبحت مولای و مولی کل مؤمن و مؤمنة
3. และการแสดงแบบนี้ของอุมัรเป็นการยอมรับ และพึงพอใจต่อคำประกาศนี้
فهذا تسلیم و رضی و تحکیم
แต่ต่อมาอารมณ์แห่งการปรารถนาตำแหน่งได้ครอบงำท่านอุมัร เลยทำให้เขาต้องยึดตำแหน่ง คอลิฟะฮ์มาเป็นของพวกตนเสีย
ثم بعد هذا غلب‌الهوی لحب‌الریاسة و حمل عمود‌الخلافة و عقود‌البنود

ฉะนั้นหากสังเกตุจากคำพูดของอิมามฆ่อซาลี ปราชญ์ผู้ลือนามชาวซุนนะห์ ได้พูดอย่างตรงไปตรงมาว่า วันนั้นท่านนบีได้แต่งตั้งท่านอะลีให้เป็นคอลิฟะฮ์ และท่านอุมัรก็น้อมรับต่อสิ่งนั้นด้วยกับการเข้าไปแสดงความยินดีต่ออะลี แต่ต่อมาเพราะอารมณ์และความรักในตำแหน่งทำให้ท่านอุมัรยึดอำนาจคอลิฟะฮ์มาเป็นของพวกเอง
ดังนั้นอิมามฆ่อซาลี ได้ให้ความหมาย "เมาลา" ในวันฆอดีรคุมว่า "คือตำแหน่งคอลิฟะฮ์" ไม่ใช่ "เพื่อน"

3.2- มุฮัมมัด ฏอลฮะฮ์ ชาฟีอี(เสียชีวิต 652 ฮ.ศ.)

เป็นอีกปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวซุนนะห์ได้กล่าวถึงความหมายของ "เมาลา"(ใจความคร่าวๆ)  ในฮะดิษฆ่อดีรคุม ไว้ว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ศ. ต้องการจะประกาศแก่ประชาชนว่า  ใครก็ตามที่ฉันเป็น นาย เป็นผู้ปกครอง เป็นเพื่อน เป็นคนรัก และอื่นๆที่ความหมาย "เมาลา" ถูกให้ความหมายได้ อะลี ก็มีสถานภาพนั้นทุกประการ

 «فیکون معنی‌الحدیث: من کنت أولی به أو ناصره أو وارثه أو عصبته أو حمیمه أو صدیقه فإن علیا منه کذلک، و هذا صریح فی تخصیصه لعلی بهذه ‌المنقبة‌العلیة و جعله لغیره کنفسه… بما لم یجعله لغیره. و لیعلم: أن هذا‌الحدیث هو من أسرار قوله تعالی… فإنه أولی بالمؤمنین و ناصر‌المؤمنین و سید‌المؤمنین. و کل معنی أمکن إثباته مما دلّ علیه لفظ «المولی» لرسول‌الله فقد جعله لعلیّ علیه‌السلام. و هی مرتبة سامیة و منزلة شاهقة و درجة علیة و مکانة رفیعة خصه صلی‌الله‌علیه‌وسلم بها دون غیره، فلهذا صار ذلک‌الیوم یوم عید و موسم سرور لأولیائه.

ฉะนั้น ณ ตรงนี้ข้าพเจ้าขอสงวนเหตุผลอื่นไว้ก่อน เพื่อรอดูว่า อีกฝั่งเขามีมูลเหตุอะไรที่แปล "เมาลา" ว่า เพื่อน
ในด้านของผม จึงขอสรุปเช่นนี้ว่า เหตุผลที่เราแปล "เมาลา" เป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจาก "ผู้ปกครอง" ก็เพราะ

1. ตัวท่านศาสดาเอง ให้ความหมายเมาลา ในฆอดีรคุมว่า ผู้ปกครอง "ผู้ทรงสิทธิ์ ผู้มีอำนาจเหนือชีวิต(اَلَسْتُ أَولى بِكُمْ مِنْ أَنْفُسِكُمْ)

2. นักกวีเอกของท่านนบี ศ. ได้ขออนุญาติท่านนบี ศ. ถ่ายทอดคำพูดของท่านนบี เป็นบทกลอน โดยให้ความหมาย "เมาลา" ว่า ผู้นำ ผู้ปกครอง ต่อหน้าท่านนบี ศ. และท่านนบีก็นิ่งเงียบ ย่อมแสดงว่า ท่านรับรองตามนั้น
(فقال لَهُ قم يا علىُّ فانّنى رضيتك من بعدى إماماً)

3. ท่านอิมามอะลี อ. เอง เข้าใจ "เมาลา" ว่า คือผู้ปกครอง เพราะท่านได้อ้างคำพูดท่านนบีในวันฆอดีรคุม ต่อมุอาวะฮ์ ว่าท่านนบีเคยแต่งตั้งท่านให้เป็น ผู้ปกครอง (وَ أَوْجَبَ لِى وِلايَتَهُ عَلَيْكُمْ رَسُولُ اللّهِ يَوْمَ غَدِيرِ خُمٍّ)

4. การเข้ามาแสดงความยินดีของท่านอุมัร เป็นการบ่งบอกว่า อิมามอะลี อ. ได้รับตำแหน่งที่สูงส่ง หากแค่ประกาศว่า อะลี เป็นเพื่อนท่านนบี ก็ไม่จำเป็นต้องมาแสดงความยินดีกันถึงขนาดนั้น
بخٍّ بَخِّ لك يابن أبي طالب اصبحت و امسيت مولاي و مولا كلِّ مؤمن و مؤمنةٍ

5. ปราชญ์ชาวซุนนี่ห์มากมายที่ออกมายืนยันว่า "เมาลา" ให้ความหมายว่า "ผู้ปกครอง ,คอลิฟะฮ์"

นี้คือ บางส่วนจากเหตุผลที่เราได้ให้ความหมาย "เมาลา" ว่า คือ ผู้ปกครอง

แล้วท่านละ มีเหตุผลอะไรที่ให้ความหมาย "เมาลา" ว่า เพื่อน ?  เชิญครับ คุณ Fitree BAN anaa
บทความโดย เอกภาพ ชัยศิริ

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม