สุนทรพจน์ท่านอิมามฮูเซน บิน อะลี (อ.)(จากนครมะดีนะฮ์ไปยังนครมักกะฮ์)

 

สุนทรพจน์ท่านอิมามฮูเซน บิน อะลี (อ.)(จากนครมะดีนะฮ์ไปยังนครมักกะฮ์)

 

ความประเสริฐของท่านอิมามฮูเซน บิน อะลี (อ.)

" แท้จริงเราคือ ครอบครัวแห่งท่านศาสดา และเป็นแหล่งกำเนิดแห่งสาส์นของพระผู้เป็นเจ้า "
  ท่านอิมามฮูเซน บิน อะลี (อ.)

  วาทะของท่านต่อผู้ปกครองนครมะดีนะฮ์

   หลังจากมุอาวิยะฮ์จบชีวิตลงในกลางเดือนเราะญับของปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 60 ยะซีดผู้เป็นบุตรชายก็ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ปกครองแทน และโดยไม่รอช้าเขาก็เริ่มเขียนจดหมาย ส่งไปยังบรรดาผู้ปกครองนคร และหัวเมืองต่างๆเพื่อแจ้งข่าวการตายของมุอาวิยะฮ์ และการขึ้นสืบต่อตำแหน่งผู้ปกครอง ที่ได้รับการแนะนำ และรับสัตยาบันของตนไว้แล้ว ตั้งแต่ยุคของบิดาของเขา
นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้ผู้ปกครองเหล่านั้น ดำรงตำแหน่งต่อไปเช่นเดิม ยะซีดสั่งให้ผู้ปกครองเหล่านี้ ติดตามประชาชนเพื่อให้สัตยาบันต่อเขาอีกครั้งหนึ่ง จดหมายที่มีเนื้อหาดังกล่าวก็ได้มาถึงวะลีด บินอุตบะฮ์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป้นผู้ปกครองนครมะดีนะฮ์ ตั้งแต่สมัยมุอาวิยะฮ์เช่นกัน พร้อมกันนั้นก็มีจดหมายสั้นๆ อีกหนึ่งฉบับแนบมาด้วย ในจดหมายนั้นกำชับให้วะลีด บิน อุตบะฮ์เรียกร้องสัตยบันจากบุคคลสำคัญ 3 คนที่ยังไม่พร้อมจะให้สัตยาบันแก่ยะซีดในสมัยของมุอาวิยะฮ์ จดหมายนั้นมีความว่า

    " จงทวงสัตยาบันจากฮูเซน อับดุลลอฮ์ อิบนิ อุมัร และอับดุลลอฮ์ อิบนิซุเบรอย่างเด็ดขาดและไม่มีข้อผ่อนปรนใดๆทั้งสิ้นจนกว่าพวกเขาจะให้สัตยาบัน "

    ในคืนแรกที่จดหมายมาถึง วะลีดบินอุตบะฮ์ได้เรียกตัว มัรวานบินฮะกัม อดีตผู้ปกครองนครมะดีนะฮ์ในสมัยมุอาวิยะฮ์มา เพื่อปรึกษาหารือ มัรวานเสนอให้บุคคลทั้งสามมาพบโดยด่วน และให้สัตยาบันแก่ยะซีด ก่อนที่ข่าวการตายของมุอาวิยะฮ์จะแพร่กระจายไปยังผู้คนในเมือง วะลีดจึงรีบส่งม้าเร็วไปเชิญบุคคลทั้งสามมา เพื่อแจ้งเรื่องราวที่ถือว่าสำคัญขนาดคอขาดบาดตายสำหรับเขา
   ม้าเร็วได้มอบสาส์นแก่ท่านอิมามฮูเซน(อ.) ขณะที่ท่านกำลังสนทนาอยู่กับอิบนิซุเบรในมัสยิดของท่านศาสนทูต(ศ็อลฯ) อิบนิซุเบรรู้สึกหวาดหวั่นต่อการเชิญอย่างกระทันหัน ในยามวิกาลนี้เป็นอย่างยิ่ง ส่วนท่านอิมามฮูเซน(อ.) ก่อนที่ท่านจะไปพบวะลีด ท่านได้แสดงความเห็นในเรื่องนี้แกอิบนิ ซุเบรว่า

   " ฉันคิดว่าผู้ละเมิดแห่งบนีอุมัยยะฮ์ (หมายถึงมุอาวิยะฮ์ บุตรของอบู
ซุฟยาน)ได้เสียชีวิตแล้ว และเป้าหมายของการเชิญตัวเข้าพบในครั้งนี้ ก็คงมิใช่เพื่ออื่นใดเลยนอกจากการเรียกร้องสัตยาบันให้กับลูกชายของเขา "

ตามรายงานของหนังสือ " มุซีรุล อะฮ์ซาน " ท่านอิมามฮูเซน(อ.)ได้กล่าวเสริมอีกว่า " เพราะฉันได้ฝันเห็นเปลวเพลิงลุกโชนที่บ้านของมุอาวิยะฮ์
และบัลลังก์ของเขาได้พังพินาศลง "

   ขณะเดียวกันท่านอิมามฮูเซน(อ.)ได้สั่งสาวกและเครือญาติใกล้ชิดที่สุดของท่าน 30  คน ให้เตรียมอาวุธ และร่วมเดินทางไปกับท่านและคุมเชิงอยู่นอกที่ประชุม เพื่อปกป้องท่านหากมีเหตุจำเป็น แล้วเหตุการณ์ก็เป็นจริง
ดังที่ท่านท่านอิมามฮูเซน(อ.)ได้คาดการณ์ไว้ หลังจากวะลีดแจ้งข่าวการตายของมุอาวิยะฮ์แล้ว เขาก็พูดถึงการให็สัตยาบันต่อยะซีด

    ท่านอิมามฮูเซน(อ.)ได้กล่าวตอบไปว่า

" สถานภาพอย่างฉันนั้น ไม่เหมาะสมที่จะให้สัตยาบันแก่ใครอย่างลับๆ และท่านก็เช่นกันไม่สมครที่จะพึงพอใจต่อการให้สัตยาบันเช่นนั้น ในเมื่อท่านจะเชิญชวนประชาชนมะดีนะฮ์ทั้งหมกมาให้สัตยาบันต่อยะซีดใหม่อีครั้งหนึ่ง
แล้วเราก็ควรจะอยู่ในที่ชุมนุมนั้น และให้สัตยาบันพร้อมกับมุสลิมทั้งมวล นั่นหมายความว่า การให้สัตยาบันครั้งนี้มิใช่เป็นไปเพื่อความพึงพอประทัยของอัลลอฮ์ แต่เป็นไปเพื่อดึงดูดความสนใจของประชาชน จะต้องเป็นไปอย่างเป็นเผยมิใช่ทำกันลับๆ "

  วะลีดยอมรับข้อเสนอของท่านอิมามฮูเซน(อ.) เขาจึงมิได้ยืนยันที่จะเรียกร้องสัตยาบันจากท่านอิมามฮูเซน(อ.)ในคืนนั้น ขณะที่ท่านท่านอิมามฮูเซน(อ.)กำลังออกจากที่ประชุม มัรวาน บิน ฮะกัมได้ส่งสัญญาณให้วะลีด เป็นเชิงว่า หากเจ้าไม่สามารถเรียกร้องสัตยาบันจากท่านอิมามฮูเซน(อ.)ในคืนนี้ ในที่ประชุมอันรโหฐานนี้ได้แล้ว เจ้าก็จะไม่สามารถบังคับให้เขามาให็สัตยาบันได้อีกเลย ดังนั้นจะมีอะไรดีไปกว่าที่จะให้เขาอยู่ในที่ประชุมนี้ต่อไป เพื่อจะได้ให้สัตยาบันหรือไม่ก็จงตัดคอเขาเสียตามคำสั่งของยะซีด

   เมื่อท่านอิมามฮูเซน(อ.)ได้เห็นพฤติกรรมของมัรวาน ท่านจึงกล่าวว่า
" โอ้บุตรของซัรกออ์ เจ้าหรือว่าวะลีดกันแน่ที่จะฆ่าฉัน เจ้ากำลังกล่าวเท็จและกำลังจะทำบาป " จากนั้นท่านจึงหันไปทางวะลีด แล้วกล่าวว่า

" โอ้อมีร แท้จริงเราคือ ครอบครัวแห่งท่านศาสดา และเป็นแหล่งกำเนิดแห่งสาส์นของพระผู้เป็นเจ้า ครอบครัวของเราคือสถานที่ไปมาหาสู่ของบรรดามะลาอกะฮ์ และเป็นสถานที่ลงมาของความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงให้อิสลามเริ่มต้นจากครอบครัวของเรา และด้วยครอบครัวของเราเช่นกัน

ที่พระองคืทรงทำให้อิสลามดำเนินไปสู๋จุดหมาย ส่วนยะซีดคนที่เจ้าหวังจะให้ฉันให้สัตยาบันต่อเขานั้น คือ ผู้ที่เสพสุรา ผู้ที่ฆ่าสังหารชีวิตที่บริสุทธิ์ เขาคือผู้ทำลายบทบัญญัติต่างๆของพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้ละเมิดและทำบาปอย่างเปิดเผยต่อหน้าประชาชน สมควรแล้วหรือที่สถานภาพอย่างฉันจะให้สัตยาบันต่อบุคคลที่ก่อการละเมิดและอธรรมเยี่ยงยะซีด และในสภาพการเช่นนี้เราจงดูกันต่อไปเถิด และจะได้ประจักษ์ว่าใครคือผู้ที่เหมาะสมยิ่งต่อการได้รับสัตยาบันจากประชาชน "

ด้วยเสียงอึกทึกในที่ประชุมของวะลีดพร้อมกับวาทะอันแข็งกร้าวของท่าน
อิมามฮูเซน(อ.)ที่มีต่อมัรวาน ทำให้ผู้ติดตามของท่านตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับท่านอิมามฮูเซน(อ.) พวกเขาจึงกรูกันเข้ามา ทำให้วะลีดหมดหวังที่จะได้รับสัตยาบันและการยอมรับข้อเสนอต่างๆของท่านอิมามฮูเซน(อ.)
จากนั้นท่านได้ออกจากที่ประชุมไป

บทสรุป
         
       จากสุนทรพจน์ท่านอิมามฮูเซน (อ.) ข้างต้น ให้แง่คิดต่างๆแก่เราดังนี้

1. ในการสนทนาครั้งนี้ ท่านอิมามฮูเซน (อ.)ได้อธิบายให้เห็นจุดยืนของท่านอย่างชัดเจน เกี่ยวกับเรื่องที่จะให้สัตยาบันแก่ลูกของมุอาวิยะฮ์ รวมทั้งการยอมรับการปกครองอย่างเป็นทางการของเขา นอกจากท่านจะพรรณนาถึงคุณลักษณะครอบครัวของท่าน สถานภาพของท่าน ซึงเป็นเครื่องแสดงถึงความเหมาะสมของท่าน ในการเป็นผู้นำและการเป็นผู้ปกครองของประชาชาติแล้ว ท่นยังช้ให้เห็นถึงข้อเสียของยะซีด ซึ่งแสดงถึงความน่าตำหนิในการกล่าวอ้างตัวเป็นผู้นำ และแสดงให้เห็นถึงความไม่เหมาะสมของเขาในการแอบอ้างดังกล่าวด้วย

2. ในการสนทนาครั้งนี้ ท่านอิมามฮูเซน (อ.) ได้ชี้ให้เห็นสาเหตุของการยืนหยัด และแนวทางแห่งอนาคดของท่านเองอย่างชัดเจน ท่านแสดงให้รู้ถึงการตัดสินใจของท่าน ก่อนที่จะได้รับจดหมายเชิญจากชาวกูฟะฮ์ ก่อนที่พวกเขาเสนอจะให้สัตยาบันต่อท่านเสียอีก เพราะคำสั่งของยะซีดที่ให้เรียกร้องสัตยาบันจากท่าน ไปถึงวะลีดก่อนที่ข่าวการตายของมุอาวิยะฮ์จะล่วงรู้ถึงประชาชน หรือไม่ก็เป็นช่วงเวลาเดียวกัน แต่การเชื้อเชิญจากชาวกูฟะฮ์นั้นเกิดขึ้น ภายหลังจากที่ท่านอิมามฮูเซน (อ.)ได้เปิดฉากการต่อต้านอย่างกล้าหาญ โดยคัดค้านการให้สัตยาบันต่อยะซีดและเริ่มเคลื่อนขบวนมุ่งสู่นครมักกะฮ์

     กล่าวโดยสรุปก็คือ แม้ว่าจะมีสาเหตุหลายประการ ที่นำไปสู้การยืนหยัดต่อสุ้ของท่านอิมามฮูเซน (อ.) จนกระทั่งถึงการเป็นชะฮีดของท่าน แต่สาเหตุหลักของการยืนหยัดของท่านก็คือ การโค่นล้มอำนาจหนึ่งซึ่งไม่เพียงแต่ปราศจากความเหมาะสม ที่จะเป็นผู้ชี้ชะตากรรมของประชาชาติมมุสลิมแล้ว แต่ผลพวงของความไม่เหมาะสม ยังทำให้ความอธรรมและความชั่วร้ายแพร่กระจายออกไป อีกทั้งยังฉุดประชาชาติอิสลามให้ตกต่ำและหลงทางอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น บุคคลเหล่านี้ยังปรารถนาที่จะกำจัดขวากหนามและอุปสรรค ในกาารต่อสู้กับอำนาจของอิสลามและอัลกุรอานให้หมดสิ้นไป ที่ครั้งหนึ่งเขาเคยพ่ายแพ้มาแล้ว ดังนั้นบุคคลเหล่านี้ จึงได้สวมอาภรณ์ผู้ปกครองแห่งอิสลาม เพื่อทำให้แผนการของตนบรรลุผล สำหรับการโค่นล้มอำนาจของยะซีดนี้ บางครั้งถูกอรรถาธิบายไว้ใน วจนะของท่านอิมามฮูเซน (อ.) ว่าเป็น
" การกำชับในคุณธรรมความดีและการห้ามปรามความชั่ว "

ท่านอิมามฮูเซน (อ.)ไม่เพียงแต่จะชี้แจงถึงจุดยืนดังกล่าวของท่านในที่ประชุมของวะลีดเท่านั้น แต่ท่านยังตอกย้ำถึงจุดยืนดังกล่าวอีกอย่างชัดเจนเป็นครั้งที่สอง โดยไม่ปิดบังใดๆ เมื่อท่านได้เผชิญหน้ากับมัรวาน บิน ฮะกัม ศัตรูดั้งเดิมของท่านศาสนทูต และเป็นอดีตผู้ปกครองนครมะดีนะฮ์ในยุคสมัยของมุอาวิยะฮ์ อีกทั้งเป็นผู้รับใช้เก่าแก่ของตระกูลอะมาวีย์


ขอขอบคุณ  กองทุนตอลาบะฮ์ดารุซซะฮ์รอ(อ.)