เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

กลุ่มชนใดที่ถูกรับรองสวรรค์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5


กลุ่มชนใดที่ถูกรับรองสวรรค์

 

พระเจ้าผู้ทรงสร้างโลก สร้างจักรวาล พระผู้ตัดสินแต่เพียงผู้เดียวว่าใครคือชาวสวรรค์และชาวนรก ทรงตรัสว่า :

ในความเป็นจริงแล้ว บรรดาผู้ซึ่งมีศรัทธามั่น และได้ปฏิบัติคุณธรรมความดีอยู่เสมอ พวกเขาคือ กลุ่ม "คัยรุลบะรียะฮ์" (กลุ่มถูกสร้างที่ดีที่สุดของพระเจ้า) ซูเราะฮ์อัลบัยยีนะห์|7

 إِنَّ الَّذِينَ آَمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحَاتِ أُولَئِكَ هُمْ خَيْرُ الْبَرِيَّةِ  

แล้ว..กลุ่มใดคือกลุ่ม คัยรุลบะรียะฮ์ (خَيْرُ الْبَرِيَّةِ) ?

นักตัฟซีรอัลกุรอ่าน(ปราชญ์ด้านอรรถาธิบายอัลกุรอ่าน)ทั้งชาวชีอะห์ และชาวซุนนี่ห์บันทึกไว้เหมือนกันว่า "กลุ่มคัยรุลบะรียะฮ์" ในซูเราะห์อัลบัยยินะฮ์อายะที่ 7 คือ ท่านอิมามอะลี อ. และชีอะห์ของท่าน
ตัวอย่างเช่นท่านซิยูตี้ปราชญ์ผู้ลือนามชาวซุนนะห์ บันทึกไว้เช่นนี้ว่า

รายงานจากท่านญะบีร บินอับดุลลอฮ์ อัลอันซอรี ว่า ในวันหนึ่งพวกเรานั่งอยู่กับท่านนบีมุฮัมมัด ศ. ในขณะนั้นเองท่านอะลีก็ได้เดินเข้ามาหาพวกเรา แล้วท่านศาสดา ศ. ก็กล่าวว่า

والّذي نَفسي بِيَدِه، إنَّ هذا وشِيعتَهُ لَهُمُ الفائِزونَ يومَ القِيامة

 "ขอสาบานด้วยกับผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ แท้ที่จริงบุรุษผู้นี้(อะลี)และชีอะห์ของเขา คือ "ชาวสวรรค์" ในทันใดนั้นเองโองการนี้ก็ถูกประทานลงมา

 إِنَّ الَّذِينَ آَمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحَاتِ أُولَئِكَ هُمْ خَيْرُ الْبَرِيَّةِ

นับแต่นั้นมา ทุกครั้งที่ท่านอะลี บุตรแห่งอบีฏอลิบ เดินมาศ่อฮาบะฮ์นบีก็จะเรียกขานเขาว่า "คัยรุลบะรียะฮ์" กำลังมามาหาเราแล้ว(บันทึกโดยท่านซิยูตี้ ในหนังสืออัฏดุรุลมันซูร เล่ม 6 หน้า 379)

ใครคือชีอะห์อะลี อ. ?

ท่านอิมามอะลี อ. และชีอะห์ของท่านคือ กลุ่มชนที่ถูกรับรองสวรรค์ แน่นอนว่า ทุก ๆคนรู้จักท่านอิมามอะลี อ. เป็นอย่างดีว่าท่านเป็นใคร แต่ที่สงสัยคือ แล้วใครกันที่ถูกเรียกว่า "ชีอะห์อะลี" ผู้ที่อัลลอฮ์รับรองสวรรค์ให้ ?
นักภาษาศาสตร์และนักปราชญ์ชั้นนำของโลกมุสลิมกล่าวถึงความหมายของคำว่า "ชีอะห์อะลี" ไว้อย่างไรบ้าง ?
อิบนิ อะซีรฮ์ นักภาษาศาสตร์และปราชญ์ผู้ลือนามของชาวซุนนะห์ได้กล่าวถึงความหมายของ "ชีอะห์อะลี" ไว้ในหนังสือ อัลนิฮายะฮ์ ว่า

คำว่า "ชีอะห์" ถูกใช้สำหรับกลุ่มบุคคลที่เชื่อและศรัทธาว่า "อะลี และลูกหลานของเขา(อะลี) คือ อิมามและนายเหนือชีวิตของพวกเขา" จนกระทั่งคำๆนี้(ชีอะห์)ถูกใช้เฉพาะกลุ่มคนที่เชื่อแบบนั้น(อิมามอะลีคือผู้นำที่ถูกแต่งตั้งโดยอัลลอฮ์) ฉะนั้นหากใครคนหนึ่งถูกเรียกว่า ชีอะห์ ถึงรู้ไว้ว่า "เขาคือคนที่เชื่อและศรัทธาในการเป็นอิมามของท่านอะลี สืบต่อจากท่านนบี" (อัลนิฮายะฮ์ เล่ม 2 หน้า 519 ,ลิซานุลอาหรับอิบนุมันซูร เล่ม 8 หน้า 189)

وَقَدْ غلَب هَذَا الِاسْمُ عَلَى مَنْ يَتَوالى عَلِيًّا وأَهلَ بَيْتِهِ، رِضْوَانُ اللَّهِ عَلَيْهِمْ أَجمعين، حَتَّى صَارَ لَهُمُ اسْمًا خَاصًّا فإِذا قِيلَ: فُلَانٌ مِنَ الشِّيعة عُرِف أَنه مِنْهُمْ

นี้คือ ความหมายของชีอะห์อะลี ที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศ. รับรองสรวงสวรรค์ไว้สำหรับพวกเขา

ท่านอบูซะอีด ค๊อตรีอ์ กล่าวว่า "ท่านศาสดาแห่งอิสลามเคยกล่าวย้ำไว้ว่า "รากฐานที่มั่นคงของอิสลามขึ้นอยู่กับปัจจัย 5 ประการ ประชาชาติอิสลามได้ยึดปฏิบัติเพียง 4 อย่างแล้วละทิ้ง 1 อย่างไป"  เขาถูกถามว่า 4 อย่างที่ประชาชนปฏิบัติกันคืออะไร ? เขาตอบว่า การนมาซ ,การถือศีลอด ,การประกอบพิธีฮัจญ์ และจ่ายซะกาต !! แล้วหนึ่งรุกุนฮ์ที่สำคัญที่พวกเขาได้ทิ้งไปละ ? เขาตอบว่า คือ วิลายะฮ์ของท่านอะลี บุตรแห่งอบูฏอลิบ !!!!
เขาถูกถามต่อว่า การยอมรับในวิลายะฮ์(นายเหนือชีวิต)ของท่านอะลี เป็นวาญิบ(ความจำเป็น)เหมือนการนมาซ ศีลอด ฮัจญ์ และซะกาตด้วยหรือ ?
เขาตอบว่า ใช่แล้ว !!! เมื่อการนมาซ ,ศีลอด ,ฮัจญ์ และซะกาตเป็นข้อบังคับ(วาญิบ)สำหรับมุสลิมทุกคน แน่นอนการยอมรับในวิลายะฮ์ของอะลี ก็เป็นข้อบังคับสำหรับพวกเขาเช่นกัน(ฮะดิษบทนี้บันทึกโดยชาวซุนนะห์)

أمر الناس بخمس، فعملوا بأربع و تركوا واحدة و لما سئل عن الأربع؟

 قال: الصلاة و الزكاة و صوم شهر رمضان و الحج

و قيل: فما الواحدة التي تركوها ؟

قال: ولاية علي بن أبي طالب، قيل له: و إنها لمفروضة معهن؟ قال: نعم.

 

ฮะดิษที่ระบุว่า ท่านอิมามอะลี อ. และชีอะห์ของท่านคือชาวสวรรค์

 وأخرج ابن عساكر عن جابر بن عبد الله قال كنا عند النبي (صلى الله عليه وسلم) فأقبل عليّ فقال النبي (صلى الله عليه وسلم): والذي نفسي بيده ان هذا وشيعته لهم الفائزون يوم القيامة ونزلت

(( إِنَّ الَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ أُولَئِكَ هُم خَيرُ البَرِيَّةِ ))

 فكان أصحاب النبي (صلى الله عليه وسلم) إذا أقبل عليّ قالوا جاء خير البرية.

 ففي (شواهد التنزيل ج2 ص459) ذكر هذا السند:
حدثنا الحاكم أبو عبد الله الحافظ قراءة وإملاءا أخبرنا أبو بكر بن أبي دارم الحافظ بالكوفة أخبرنا المنذر بن محمد بن المنذر،
قال: حدثني أبي، قال: حدثني عمي الحسين بن سعيد، عن أبيه، عن إسماعيل بن زياد البزاز، عن إبراهيم بن مهاجر مولى آل شخبرة
قال: حدثني يزيد بن شراحيل الأنصاري كاتب علي،
قال: سمعت علياً يقول: (حدثني رسول الله (صلى الله عليه وآله) وأنا مسنده إلى صدري فقال: يا علي أما تسمع قول الله عز وجل:

(( إِنَّ الَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ أُولَئِكَ هُم خَيرُ البَرِيَّةِ )) (البينة:7)

هم أنت وشيعتك، وموعدي وموعدكم الحوض، إذا اجتمعت الأمم للحساب تدعون غراءً محجلين.

درالمنثور، ج8، ص589 المؤلف: عبد الرحمن بن أبي بكر،
جلال الدين السيوطي (المتوفى: 911هـ)


บทความจากเพจ AnsorThailand

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม