มนุษย์กับความรับผิดชอบ

มนุษย์กับความรับผิดชอบ


บางโองการในอัลกุรอานกล่าวว่า ในวันแห่งการตอบแทนจะไม่มีใครแบกรับการกระทำของอีกคนหนึ่งได้เลย ทุกคนจะต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเอง อย่างเช่นโองการที่ 164 ของซูเราะฮ์อันอาม หรือบางครั้งกุรอานก็กล่าวว่า บรรดาผู้กดขี่ที่หลงผิด  หลอกลวง และส่งเสริมให้ผู้อื่นทำชั่ว  นอกจากจะต้องรับผิดชอบและชดใช้การกระทำของตัวเองแล้ว ต้องรับผิดชอบการกระทำบาปของผู้ที่ตัวเองส่งเสริมด้วย อย่างที่ในโองการที่ 25 ซูเราะฮ์ นะฮ์ลิ

จากสองโองการข้างต้นมีคำถามว่า สองโองการนี้ขัดแย้งกันหรือไม่ ?

คำตอบคือ ที่จริงแล้วมนุษย์ทุกคนต้องรับผิดชอบการกระทำชองตัวเองในวันกิยามะฮ์อย่างแน่นอน ตามที่โองการแรกได้กล่าวไว้ แต่ถ้าหากมนุษย์เป็นต้นเหตุหรือสาเหตุให้ผู้อื่นทำดีหรือทำชั่ว ด้วยความที่ตัวเองเป็นสาเหตุหรือต้นเหตุนี่เองมนุษย์จึงมีส่วนในความดีความชั่วของผู้อื่นด้วย ตามนัยยะชองอัลกุรอาน คนที่เป็นสาเหตุให้ผู้อื่นทำกรรมใด ๆ ก็แล้วแต่คือหุ้นส่วนของการกระทำนั้น ๆ ด้วย ผลก็คือเขาคือผู้กระทำกรรมเหล่านั้นด้วยเพราะมีส่วนทำให้เกิดขึ้น

ท่านศาสดามุฮัมมัดกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า : ใครที่เป็นต้นเหตุในการให้ผู้อื่นกระทำดีเขาก็จะได้รับผลรางวัลแห่งความดีอันนั้นอย่างสมบูรณ์โดยไม่ขาดตกบกพร่อง (เช่นเดียวกับผู้กระทำ) และใครที่เป็นต้นเหตุให้ผู้อื่นทำชั่วก็ต้องรับผิดชอบกับผลกรรมนั้นโดยไม่ขาดตกบกพร่องเช่นกัน

ฉะนั้นอย่าทำชั่วและที่สำคัญอย่าทำชั่วเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นทำตามเด็ดขาด
Fanoos chanel