เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อธิบายสถานภาพศาสดาอิสลาม ในซูเราะฮ์อัลอะฮ์ซาบ โองการที่ 45

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

 อธิบายสถานภาพศาสดาอิสลาม ในซูเราะฮ์อัลอะฮ์ซาบ โองการที่ 45 [ตอนที่ 1/2]

 บางส่วนจากการบรรยายโดย ฮุจญตุลอิสลามฯ ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี
 

••• เมื่อพิจารณาซูเราะฮฺอัลอะฮฺซาบ โองการ 45,46,47 แน่นอนว่า ถือเป็นอีกโองการหนึ่ง ควรที่จะทำการศึกษา ทำความเข้าใจ เพื่อทำความรู้จักถึงสถานภาพอันยิ่งใหญ่ของรอซูลลุลลอฮฺ(ศ็อลฯ) ซึ่งในต้นของโองการอัลลอฮฺ(ซบ)

أَعُوْذُ بِاللهِ مِنْ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ
 ซูเราะฮฺอัลอะฮ์ซาบ โองการที่ 45 อัลลอฮฺ ตรัสว่า....
------------------
يَا أَيُّهَا النَّبِيُّ إِنَّا أَرْسَلْنَاكَ شَاهِدًا وَمُبَشِّرًا وَنَذِيرًا
โอ้ นะบีเอ๋ย! แท้จริง เราได้ส่งเจ้ามาเพื่อให้เป็นพยาน และผู้แจ้งข่าวดี และผู้ตักเตือน

คำอธิบาย :“يَا أَيُّهَا النَّبِيُّ”(ยาอัยยุฮันนบี)
โอ้นบีเอ๋ย !!! อัลลอฮ์(ซบ)ตรัสกับนบี
ข้อสังเกต โองการนี้ ขอให้ทุกคน พึงจดจำไว้ว่า ประโยคนี้ จริงอยู่ อัลลอฮ์(ซบ)ตรัสกับนบี แต่ความหมายของประโยคนั้น คือ พระองค์ตรัสให้เราฟัง โดยเราไม่ต้องแอบฟังด้วย เพราะพระองค์ตรัสเสียงดัง ซึ่งในที่นี้ หมายถึง พระองค์บันทึกไว้ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน

“إِنَّا أَرْسَلْنَاكَ شَاهِدًا وَمُبَشِّرًا وَنَذِيرًا”
(อินนาอัรซัลนา กะ ชาฮิดัน วะมุบัชชิรัน วะนะซีรอ)

“ แท้จริง เราได้ส่งเจ้ามาเพื่อให้เป็นประจักษ์พยาน และผู้แจ้งข่าวดี และผู้ตักเตือน”

คำแรก คำว่า “ شَاهِدًا” เพื่อเป็นประจักษ์พยาน
คำๆนี้คำเดียว หากจะตัฟซีรให้ได้อย่างสมบูรณ์ จำเป็นต้องใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงต่อหนึ่งคำ

ในการชี้ว่า การส่งนบีองค์นี้ มาเพื่อเป็นพยานทุกเรื่องราวทั้งหมด ยืนยันต่ออัลลอฮ์(ซบ) และในโองการอื่นๆก็เข้ามายืนยัน คำว่า ‘พยาน’ กล่าวคือ นบีมายืนยันทุกการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่ามนุษย์คนนั้นจะอยู่ ณ จุดใดของโลก

➡️ นคือ คำยืนยัน อินชาอัลลอฮ์ ถ้าเราเรียนตัฟซีรค่อยศึกษารายละเอียดเชิงลึกกัน ดังนั้น ไม่ว่ามนุษย์คนนั้นจะยืนอยู่ ณ ที่ใดของโลก ทั้งในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่และในช่วงที่ท่านจากโลกนี้ไปแล้ว พึงตระหนักเลยว่า นบี คือ หนึ่งในประจักษ์พยานการยืนยันของอัลลอฮ์(ซบ)ในวันกิยามัต

 บรรดาอาเล็มอุลามาอฺ เมื่ออ่านถึงโองการเหล่านี้ บอกไว้ว่า ทุกอย่างที่เรากำลังทำ ท่านนบีกำลังมองอยู่ กำลังจ้องมองอยู่ เพราะนบี คือ ‘ชาฮิดัน' ประจักษ์พยานยืนยัน ที่เป็นฮุจญัตที่ยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์(ซบ)ฮุจญัตหนึ่ง

คำที่สอง คำว่า “وَمُبَشِّرًا” (วะมุบัชชิรัน) “และเป็นผู้แจ้งข่าวดี”

นี่คือ คุณลักษณะของรอซูลุลลอฮ (ศ็อลฯ) ที่เอกองค์อัลลอฮ์(ซบ)ตรัสไว้ ซึ่งถ้าเราตั้งใจฟังและทำความเข้าใจ เราจะมีความสุข เพราะนบีมาเพื่อ “وَمُبَشِّرًا” (วะมุบัชชิรัน) แจ้งข่าวดีแก่มวลมนุษยชาติ และ “لِّلْعَالَمِينَ” มาเพื่อแจ้งข่าวดีครอบคลุมทั่วจักรวาล

แน่นอน ถามว่าในโลกนี้มีใครบ้างที่ไม่ชอบข่าวดี? ทุกวันนี้มนุษย์รอแต่ข่าวดีทั้งสิ้น แต่ปัญหา คือ ข่าวดีของพวกเรานั้นยังไม่ใช่ข่าวดีจริง ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากสภาวะที่เห็น พบว่า ยังเป็นข่าวดีชั่วคราว ยังเป็นข่าวดีที่หลอกลวง ยังเป็นข่าวดีที่นำความทุกข์มาให้ แต่ถ้าวันใดมนุษย์รู้ว่า มัน คือข่าวดีจริงๆ จะไม่มีใครปฏิเสธข่าวดีแน่นอน

คำว่า “ข่าวดี” นี้ เบื้องต้นท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ) มาบอกทางไปสวรรค์ให้กับมนุษย์ ซึ่งแท้จริงแล้วทั้งหมดที่เราทำนั้น เป้าหมายเพื่อให้ได้อยู่บนสวรรค์ แน่นอนแม้อยู่ในโลกนี้ เราก็อยากได้สวรรค์ อยากได้อะไรได้ดั่งใจ นั่นคือ คุณลักษณะของสวรรค์
ฉะนั้น พึงจำไว้ให้ดี การอยู่ในโลกนี้เราจะไม่มีอะไรได้ดั่งใจทุกอย่าง แต่ถ้าใครอยากได้อะไรให้ได้ดั่งใจทุกอย่าง ขอบอกว่า มี แต่ไม่ใช่ในโลกนี้ แต่อยู่ในโลกหน้าในสวรรค์ เพราะในโลกนี้มนุษย์ จะไม่ได้อะไรดั่งใจแม้แต่อย่างเดียว

และขอยืนยันว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เช่น เรื่องสามี เรื่องภรรยา เรื่องลูก เรื่องครอบครัว เรื่องญาติพี่น้อง เรื่องเพื่อนฝูง เรื่องสังคม เรื่องเศรษฐกิจ รวมทั้งหมดในโลกดุนยา มนุษย์จะไม่ได้ดั่งใจทุกอย่างแน่นอน ทว่ามีสถานที่หนึ่ง ที่มนุษย์จะได้ดั่งใจทุกอย่าง คือ “สวรรค์” ดั่งพระมหาคัมภีร์อัลกรุอ่านตรัสว่า
 
ตัวอย่าง : ซูเราะฮฺ วากีอะฮฺ โองการที่ 21
—————————
وَلَحْمِ طَيْرٍ مِّمَّا يَشْتَهُونَ
(วะละฮฺมี ฏ็อยริน มิมมายัสตะฮูน)
ความว่า และเนื้อนกที่พวกเขาอยากรับประทาน
คำอธิบาย : คำว่า “يَشْتَهُونَ” คือ ทุกอย่างที่เขาประสงค์ อัลลอฮ์(ซบ) อนุมัติจัดให้ เขาจะได้ทั้งหมด
 ตัวอย่าง : ซูเราะฮฺ วากีอะฮฺ โองการที่ 20
—————————
وَفَاكِهَةٍ مِّمَّا يَتَخَيَّرُونَ
(วะฟากิฮะติน มิมมายะตะคัยยะรูน)

 

ความว่า : และผลไม้หลากชนิด ตามแต่พวกเขาจะเลือกกิน
คำอธิบาย :ในอัลกุรอานบอกว่า เขาจะได้“يَتَخَيَّرُونَ”ทุกอย่างตามที่เขาเลือก
 ตัวอย่าง : ซูเราะฮฺ วากีอะฮฺ โองการที่ 33

لَّا مَقْطُوعَةٍ وَلَا مَمْنُوعَةٍ
(ละมักฏูว อะติววะลา มันวูอะฮฺ)
ความว่า : โดยไม่หมดสิ้นตามฤดูและไม่เป็นที่ต้องห้าม

โองการในซูเราะฮ์วากีอะฮ์นี้บอกว่า ในสวรรค์มีสิ่งสำคัญ ๒ ประการ คือ
๑. ไม่มีการตัด “لَّا مَقْطُوعَةٍ”
๒. ไม่มีการห้าม “لَا مَمْنُوعَةٍ”

คำอธิบาย : ในสวรรค์ไม่มีการตัด ไม่ขาดตอน ไม่มีการห้าม และในสวรรค์ไม่มีว่า อันนี้ขอไม่ได้ ไม่มีว่า สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนั้นไม่มี หรือในสวรรค์ไม่มีว่า สิ่งที่ต้องการทั้งหมดไม่มี ซึ่งหากจะกล่าวโดยสรุป อยากอะไรได้ ก็จะได้ตามนั้นนั่นเอง

‎اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وآلِ مُحَمَّدٍ وعَجِّلْ

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม