การทำความดีต่อบิดาอย่างต่อเนื่อง


Tweet
Powered by OrdaSoft!

    HOME I หน้าแรก
    ข่าว
    บทความ
        บทความโลกมุสลิม
        บทวิเคราะห์โลกมุสลิม
    บทความศาสนา
        มะฮ์ดะวียะฮ์-ผู้ที่ถูกรอคอย
        ศาสดาวงศ์วานผู้ทรงเกียรติ
        ครรลองจริยธรรม
        อิสลามกับการแพทย์
        วีรชนแห่งอิสลาม
        คุตบะฮ์ (ธรรมเทศนา)
    อัลกุรอาน-ฮะดิษ
    ภาพ-กิจกรรม
        ภาพ-กิจกรรมของมัสยิด
        สื่อ-VDO
    ติดต่อเรา

ข่าวล่าสุด

    อายะตุลลอฮ์ร่ออีซี ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน
    เกิดเหตุเผากำแพงสถานกงสุลอิหร่านในเมืองกัรบาลา + วิดีโอ
    หลังจาก 41 ปี อิหร่านยังคงอยู่ในแนวหน้าในการปกป้องปาเลสไตน์
    ผู้นำสูงสุดของการปฏิวัติ : การลบรัฐบาลอิสราเอลไม่ได้หมายถึงการลบชาวยิว
    จดหมายของชะฮีดสุไลมานีถึงผู้บัญชาการปาเลสไตน์ : ผมปรารถนาจะเป็นชะฮีดในแนวทางของปาเลสไตน์
    นายพลญะอ์ฟะรี : การปฏิวัติอิสลามจะเปลี่ยนภัยคุกคามจากโคโรนาให้เป็นโอกาส
    จิตวิญญาณครู สอนออนไลน์ขณะป่วยอยู่บนเตียงโรงพยาบาล
    บทบาทของนายพลสุไลมานี ในการป้องกันการล่มสลายของเคอร์ดิสถานอิรัก
    ผู้เชี่ยวชาญอิสราเอลวิเคราะห์สถานการณ์ในอิรัก : กออานีเติมเต็มที่ว่างของสุไลมานี / อิทธิพลระดับภูมิภาคของอิหร่านไม่ได้อ่อนแอลง
    พระเจ้าทรงชี้ถึงอารยธรรมยุคแห่งการปรากฏกาย (ซุฮูร) ด้วยความหมาย "อำนาจการปกครองที่ยิ่งใหญ่"

บทความล่าสุด

    การให้อภัย ในอัลกุรอานและ คำรายงาน (ริวายะฮ์ )
    "มหานครอิสราเอล" กับปฏิกิริยาของอิมามโคมัยนี (ร.ฮ.)
    เดือนรอมฎอนอันจำเริญ ช่วงเวลาแห่งประตูฟากฟ้าถูกเปิด
    สามระดับขั้นของการถือศีลอดจากคำรายงานของอิมามอะลี (อ.)
    คำรายงานการถูกฟันศีรษะของท่านอิมามอะลี (อ.)
    สามรางวัลที่ยิ่งใหญ่ของการพยาบาลผู้ป่วยในวจนะของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)
    ลักษณะนิสัยของคนทราม
    ความดี (อะมั้ล) และการศรัทธา ที่จะเป็นที่ยอมรับจากพระผู้เป็นเจ้า
    เหตุผลการปกปิดหลุมฝังศพและพิธีศพของท่านอิมามอะลี (อ.)
    สองทางนำ สองทางเลือกผู้นำสู่ความสมบูรณ์ และความสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณ
    จริยธรรมทางการเมืองและการปกครอง ในมุมมองของอิมามซอดิก (อ.)
    ความกลัวโทษทัณฑ์และความหวังในความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า

No result.
ครรลองจริยธรรม
สถานะและสิทธิของบิดา มารดา

รายละเอียด
    เขียนโดย Sahibzaman Taem    
    หมวด: ครรลองจริยธรรม    
    เผยแพร่เมื่อ: 30 ตุลาคม 2562
    ฮิต: 1199

สถานะและสิทธิของบิดา มารดา

    เมื่อพิจารณาถึงสถานะของมารดาและความยิ่งใหญ่ของความทุกข์ทรมานที่นางต้องอดทนเพื่อลูกนั้น เป็นสื่อที่ทำให้จำเป็นต้องทำความรู้จักสถานะของมารดา ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ท่านอิมามซัจญาด (อ.) จึงกล่าวว่า : “สิทธิของมารดาของเจ้าคือการที่เจ้าจะรู้ว่านางได้อุ้มครรภ์เจ้ามาโดยที่ไม่มีบุคคลใดที่จะอุ้มครรภ์ใครเช่นนี้ และนางได้มอบดวงใจทั้งหมดของนางให้แก่เจ้า โดยที่ไม่มีผู้ใดจะมอบให้แก่ใคร และนางได้ปกป้องเจ้าด้วยอวัยวะร่างกายทั้งหมดของนาง และนางไม่เป็นห่วงที่ตัวเองจะหิวเพื่อให้เจ้าได้กิน ไม่ใส่ใจว่าตนเองจะกระหายเพื่อให้เจ้าได้ดื่ม ยอมอัตคัดในเสื้อผ้าเพื่อให้เจ้าได้สวมใส่ ยอมตากแดดเพื่อให้เจ้าได้อยู่ในร่มเงาและอดหลับอดนอนเพื่อเจ้า และนางจะคอยปกป้องเจ้าจากความร้อนและความหนาวเย็น ให้มาเกิดขึ้นกับนางแทน (พึงรู้เถิดว่า) แท้จริงเจ้าไม่สามารถที่จะขอบคุณนางได้ นอกจากการช่วยเหลือของอัลลอฮ์และการประทานความสำเร็จของพระองค์” (1)

ลำดับความสำคัญที่มาก่อนของสิทธิของมารดา

    สิทธิของมารดานั้นกว้างขวางและสำคัญยิ่งกว่า แม้แต่สิทธิของบิดา ด้วยเหตุนี้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) จึงกล่าวว่า :

إِذَا كُنْتَ فِيْ صَلَاةِ التَّطَوُّعِ ، فَإِنْ دَعَاكَ وَالِدُكَ فَلَا تَقْطَعْهَا ، فَإِنْ دَعَتْكَ وَالِدَتُكَ فَاقْطَعْهَا

“เมื่อใดก็ตามที่ท่านนมาซอาสา (มุสตะฮับ) แล้วบิดาของท่านเรียกหาท่าน ดังนั้นก็จงอย่าออกจากการนมาซ (2) แต่ถ้ามารดาของท่านเรียกหาท่าน ก็จงออกจากการนมาซเถิด” (3)

การเน้นย้ำอย่างมากมายในการทำดีต่อมารดา

    ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : ท่านศาสดามูซา (อ.) ได้ทูลขอต่อพระผู้เป็นเจ้าถึงสามครั้งว่า : โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ! โปรดให้คำแนะนำกับข้าฯ ด้วยเถิด! ในทั้งสามครั้ง พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงตรัสว่า : ข้าขอกำชับสั่งเสียเจ้าให้เชื่อฟังข้า จากนั้นเขาก็ทูลขออีกว่า : โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ! โปรดให้คำแนะนำกับข้าฯ ด้วยเถิด! พระองค์ทรงตรัสว่า : ข้าขอกำชับสั่งเสียเจ้าในเรื่องของมารดาของเจ้า เขายังคงทูลขออีกว่า : โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ! โปรดให้คำแนะนำสั่งเสียแก่ข้าฯ ด้วยเถิด! พระองค์ทรงตรัสว่า : ข้าขอกำชับสั่งเสียเจ้าในเรื่องของมารดาของเจ้า เขาทูลขออีกว่า : โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ! โปรดให้คำแนะนำสั่งเสียแก่ข้าฯ ด้วยเถิด! พระองค์ทรงตรัสว่า : ข้าขอกำชับสั่งเสียเจ้าในเรื่องของบิดาของเจ้า ท่านอิมามบากิร (อ.) ได้กล่าวเสริมว่า : ด้วยเหตุเช่นนี้จึงกล่าวได้ว่า สิทธิในการทำดีต่อมารดาคือ สองในสาม และสำหรับบิดาคือหนึ่งในสาม” (4)

หมายเหตุ : แม้ว่าในฮะดีษ (วจนะ) ทั้งหลายจะเน้นย้ำถึงการทำดีต่อมารดามากกว่าการทำดีต่อบิดา แต่ในฮะดีษ (วจนะ) บทนี้มีความเป็นไปได้ว่า การเน้นย้ำดังกล่าวที่มีต่อท่านศาสดามูซา (อ.) นั้นเนื่องมาจากคุณลักษณะเฉพาะของมารดาของท่าน

    ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวถึงเอกสิทธิ์ของมารดาว่า : “พึงรู้เถิดว่า สิทธิของมารดานั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นวาญิบที่สุด เนื่องจากนางอุ้มลูกน้อยโดยที่ไม่มีใครจะอุ้มมันเช่นนี้ นางจะใช้หู ตาและอวัยวะทุกส่วนเฝ้าระวังลูกน้อยอย่างมีความสุขและมีความหวัง นางจึงอุ้มลูกน้อยแม้จะด้วยความยากลำบากเพียงใดก็ตาม โดยที่ไม่มีใครที่จะอดทนต่อความยากลำบากเช่นนี้ และนางยอมที่จะหิวโหยเพื่อให้ลูกของนางอิ่ม ยอมกระหายเพื่อให้ลูกได้ดื่มกิน ยอมอัตคัดเสื้อผ้าเพื่อให้ลูกได้สวมใส่ ยอมให้ร่มเงาแก่ลูกน้อย ขณะที่เธออยู่กลางแสงแดด ดังนั้นจงขอบคุณมารดาและทำดีและสุภาพอ่อนโยนต่อนางเท่าที่สามารถกระทำได้ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่สามารถกระทำในสิ่งที่เป็นสิทธิที่น้อยที่สุดของนาง เว้นแต่ด้วยความช่วยเหลือของอัลลอฮ์ และแน่นอนยิ่งอัลลอฮ์ผู้ทรงเกริกเกียรติผู้ทรงเกรียงไกรได้ทรงกำหนดสิทธิของนางไว้เคียงคู่กับสิทธิของพระองค์ โดยที่พระองค์ทรงตรัสว่า : และเจ้าจงของคุณต่อข้าและต่อผู้ให้กำเนิดทั้งสองของเจ้า (และจงระวังจากการเนรคุณ) เพราะทุกคนจะต้องกลับคืนไปยังข้า”  (5)

สถานะและสิทธิของบิดา

   การรับรู้เกี่ยวกับสิทธิ คุณค่าและสถานะของบิดาคือก้าวแรกในการทำดีต่อท่าน ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) กล่าวว่า :

رِضَا الرَّبِّ فِي رِضَا الْوَالِدِ، وَسَخَطُ الرَّبِّ فِي سَخَطِ الْوَالِدِ

“ความพึงพอพระทัยขององค์พระผู้อภิบาลอยู่ในความพึงพอใจของบิดาและความโกรธขององค์พระผู้อภิบาลอยู่ในความโกรธของบิดา”

บิดา บ่อเกิดของความดีงาม (เนี๊ยะอ์มัต)

    ท่านอิมามซัจญาด (อ.) กล่าวว่า : “สิทธิของบิดาก็คือการที่ท่านจะรู้ว่าบิดาเป็นผู้ให้กำเนิดท่านและท่านเป็นหน่อเนื้อเชื้อขัยของท่าน และหากท่านไม่มีเขาแล้วท่านก็จะไม่ถือกำเนิดขึ้นมา ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่ท่านพบสิ่งดีงามในตัวเองที่ทำให้ท่านรู้สึกประหลาดใจ (และมีความสุขใจ) แล้วก็จงรู้เถิดว่า บิดาของท่านคือบ่อเกิดของความดีงาม (เนี๊ยะอ์มัต) ที่ท่านมีอยู่ และจงสรรเสริญและขอบคุณอัลลอฮ์ให้มากเพียงนั้น”

    ท่านอิมามริฎอ (อ.) ก็กล่าวในเรื่องนี้เช่นกันว่า : “ท่านจงเชื่อฟังและทำดีต่อบิดาและจงอ่อนน้อมถ่อมตน จงเถิดทูนและให้เกียรติเขาและจงลดเสียงต่อหน้าเขา เพราะแท้จริงบิดานั้นคือผู้ให้กำเนิดและลูกนั้นคือหน่อเนื้อเชื้อขัยของเขา หากไม่มีบิดาแล้วอัลลอฮ์ก็จะไม่ทรงลิขิตให้ลูกถือกำเนิดขึ้นมา (ดังนั้น) พวกท่านจงใช้ทรัพย์สิน เกียรติและชีวิตของพวกท่านไปเพื่อบิดา ... ชีวิตของท่านและทรัพย์สินของท่านนั้นมาจากบิดาของท่าน ดังนั้นจงปฏิบัติตามบิดาในโลกนี้ด้วยการปฏิบัติตามที่ดีที่สุด และหลังจากการตายของพวกเขาจงขอดุอาอ์ให้พวกเขาและจงขอ

 

การทำความดีต่อบิดาอย่างต่อเนื่อง

 

    ท่านอิมามริฎอ (อ.) ในขณะที่ได้กำชับสั่งเสียเกี่ยวกับการขอดุอาอ์ให้แก่บิดาภายหลังจากการตายของตน ท่านกล่าวว่า มีรายงาน (จากท่านศาสดา) ว่า : “ผู้ใดก็ตามที่ทำดีต่อบิดาของตนในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ แต่หลังจากการเสียชีวิตของบิดาเขาไม่ได้ขอดุอาอ์ให้ อัลลอฮ์จะทรงเรียกเขาว่าผู้เนรคุณ”

 

    ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า

 

إنّ العَبدَ لَيكونُ بارّا بِوالِدَيهِ في حياتِهِما، ثُمّ يَموتانِ فلا يَقضي عَنهُما دُيونَهُما ولا يَستَغفِرُ لَهُما فيَكتُبُهُ اللّه‏ عاقّا

 

“แท้จริงบ่าว (ของพระเจ้า) บางครั้งเขาเป็นผู้กระทำดี (และแสดงความกตัญญู) ต่อผู้ให้กำเนิดทั้งสองของเขาในช่วงเวลาที่ท่านทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อท่านทั้งสองเสียชีวิต เขากลับไม่ชดใช้หนี้สินแทนบุคคลทั้งสอง และไม่วิงวอนขออภัยโทษให้แก่ท่านทั้งสอง อัลลอฮ์จะทรงบันทึกเขาว่าเป็นลูกเนรคุณ”