เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

การอิบาดะฮ์ต่อพระเจ้าในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

การอิบาดะฮ์ต่อพระเจ้าในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์

การอิบาดะฮ์ คือ การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเอกะเอกองค์อัลลอฮ์ โดยละทิ้งการภักดีสิ่งอื่นนอกเหนือจากพระองค์ ถือว่าเป็นคำสอนสำคัญของของศาสนาอิสลามและเป็นคำสอนของบรรดาศาสดาทั้งหลาย(เป้าหมายของการสร้างมนุษย์)

การอิบาดะฮ์ ถือว่า เป็นเรื่องที่สำคัญ นั่นคือว่า
ในอิสลามถือว่าการอิบาดะฮ์ต่อพระเจ้าเป็นคำสอนที่พึงแสดงออกและอิสลามถือว่าการอิบาดะฮ์เป็นสิ่งที่มาคู่กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์มนุษย์จะแยกออกจากการการอิบาดะฮ์ไม่ได้

โดยหลักปรัชญาได้กล่าวสนับสนุนถึงเรื่องนี้กล่าวคือ
เราเป็นสิ่งถูกสร้าง มนุษย์เป็นสรรพสิ่งที่พระเจ้าสร้างมาดังนั้นต้องรู้จักขอบคุณต่อผู้ให้และเมื่อมนุษย์เป็นสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างมาและให้กำเนิดขึ้นมีชีวิตมีปัจจัยยังชีพจำเป็นที่มนุษย์ต้องขอบคุณต่อผู้สร้างซึ่งการขอบคุณก็คือการอิบาดะฮ์ต่อพระองค์อัลลอฮ์โดยไม่ตั้งภาคีกับสิ่งอื่น

การอิบาดะฮ์บางรูปแบบอยู่ในลักษณะของการกระทำที่เป็นหมู่คณะและบางประเภทเป็นการกระทำของแต่ละคนซึ่งการกระทำที่พึงปฏิบัติของแต่ละคนนั้นเช่น การนมาซ เป็นรูปแบบของการการอิบาดะฮ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นการแสดงออกการอิบาดะฮ์ต่อพระองค์อัลลอฮ์ได้ดีที่สุด เช่น การถือศีลอด

อิสลามได้มีรูปแบบการปฏิบัติที่เฉพาะซึ่งบางคนอาจจะไปนั่งนมาซ ในมุมหนึ่งเป็นส่วนตัวในการอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ ให้เวลากับการอิบาดะฮ์ ระหว่างตัวเขากับพระผู้เป็นเจ้า

ในทัศนะอิสลามถือว่าทุกๆกิจการงานที่ดีและมีประโยชน์ที่มนุษย์ได้กระทำไปพร้อมกับการมีเจตนาเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อพระองค์ หรือกระทำเพื่อความพึงพอใจต่อพระองค์อัลลอฮ์คือการอิบาดะฮ์
ดังนั้นการเรียนหนังสือการอ่านตำราการทำมาหากินการช่วยเหลือผู้อื่นและอื่นๆที่กระทำเพื่อพระองค์อัลลอฮ์ คือการอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์

และยังมีคำสอนที่เฉพาะซึ่งเป็นรูปแบบของการอิบาดะฮ์เป็นพิธีกรรมทางศาสนาเช่น การนมาซ การถือศีลอด การประกอบพิธีฮัจญ์ มีปรัชญาที่เฉพาะได้สอนไว้

ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ได้กล่าวถึง การอิบาดะฮ์ในเชิงที่เรียกร้องให้มนุษย์นั้นมีการการอิบาดะฮ์ต่อพระเจ้าพร้อมกับมีความรู้จักพระองค์อย่างถ่องแท้และเน้นหนักให้มีการการอิบาดะฮ์ในเชิงการยังรู้พร้อมกับการนอบน้อมทางด้านจิตวิญญาณสร้างความผูกพันต่อพระเจ้า

1)การอิบาดะฮ์อย่างเสรีภาพ

อิมามอะลี (อ.) คุฏบะฮ์ที่ 237

แท้จริงชนกลุ่มหนึ่งได้อิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ด้วยความหวังที่จะได้รับรางวัลนั้นเป็นการอิบาดะฮ์ของนักธุรกิจ
กลุ่มหนึ่งได้อิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ด้วยความกลัวนั้นเป็นการอิบาดะฮ์ของทาส
และกลุ่มที่สามได้อิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์เพื่อการขอบคุณต่อพระองค์นั่นคือการอิบาดะฮ์ของผู้มีเสรีภาพที่แท้จริง

อิมามอะลี (อ.) คุฏบะฮ์ที่ 290

สำหรับบ่าวผู้มีเสรีภาพ เขาจะอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์
ถึงแม้ว่าพระองค์จะไม่สัญญาว่าจะลงโทษต่อผู้ฝ่าฝืนเขาก็จะอิบาดะฮ์ต่อพระองค์อัลลอฮ์เพื่อความขอบคุณต่อพระองค์โดยที่ไม่กระทำบาปต่อพระองค์เลย

2)การอิบาดะฮ์คือการรำลึกถึงอัลลอฮ์

การอิบาดะฮ์คือที่มาและเป็นผลสะท้อนและร่องรอยที่ดีพลังของจิตวิญญาณทางด้านจริยธรรมและศีลธรรมแม้แต่ทางด้านสังคมด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮ์ถือว่าเป็นการอิบาดะฮ์ที่ยิ่งใหญ่และถือว่าเป็นการอิบาดะฮ์ที่แท้จริง

อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า

พึงทราบเถิดด้วยการำลึกถึงอัลลอฮ์เท่านั้น
จะทำให้จิตใจสงบนิ่ง

เป้าหมายของการอิบาดะฮ์คือการรำลึกถึงอัลลอฮ์ทำให้หัวใจมีความนอบน้อมและรำลึกถึงพระผู้สร้างและทำให้จิตใจใสสะอาดและเป็นที่มาของการเสริมสร้างพลังแห่งความศรัทธาที่หนักแน่นและมั่นคงในหัวใจ

อิมามอะลี(อ.) คุฏบะฮ์ที่ 220

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงกำหนดให้การรำลึกต่ออัลลอฮ์ทำให้หัวใจมีความสูงส่งและมั่นคงและด้วยการรำลึกต่อพระองค์จะทำให้ได้ยินสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายและจะได้เห็นสิ่งที่ไม่ควรจะเห็นและจะทำให้ความบ้าคลั่งและความทะนงตนเย็นลง
แน่นอนมะลาอิกะฮ์จะลงมายังท่ามกลางพวกเขาและจะประทานความสงบยิ่งแก่พวกเขาและจะเปิดประตูต่างๆแห่งชั้นฟ้าออกสำหรับพวกเขาและจะเตรียมพร้อมให้พวกเขามีเกียรติและความดีงามในตำแหน่งที่พระองค์ทรงเปิดเผยให้กับพวกเขาเนื่องจากความพยายามในการอิบาดะฮ์ต่อพระองค์และพระองค์ทรงสรรเสริญพวกเขาและพวกเขาได้เรียกร้องดุอาอ์ต่อพระองค์พวกเขาจะได้กลิ่นไอแห่งความอภัยโทษและการอภัยและพวกเขาจะรู้สึกว่าความมืดมนของการกระทำบาปได้หมดไปจากตัวของพวกเขา

อาหารทางด้านจิตวิญญาณของมนุษย์คือการรำลึกถึง อัลลอฮ์

3)ลักษณะของการอิบาดะฮ์

อิมามอะลี(อ.) คุฏบะฮ์ที่ 191

บรรดาผู้สวามิภักดิ์ต่อองค์อัลลอฮ์ ยามราตรีที่เงียบนั้นพวกเขาได้อิบาดะฮ์ต่อองค์อัลลอฮ์อย่างเอาจริงเอาจัง พวกเขาจะอ่านคัมภีร์อย่างละเมียดละไมด้วยเสียงแผ่วเบาพวกเขาได้นั่งเพ่งพินิจต่อโองการเหล่านั้นด้วยความยังรู้และเข้าถึงประจักษ์แจ้ง พวกเขาจะนำยามาบำบัดต่อความเจ็บป่วยด้วยภาพภาย

นอกนั้นเมื่อใดที่ฟังเสียงอ่านอัลกุรอานแต่เหมือนกับพวกเขาได้เห็นสารัตถะนั้นและเมื่อใดที่พวกเขาได้อ่านคัมภีร์ที่กล่าวถึงความกรุณาที่คุณของพระองค์อัลลอฮ์พวกเขาจะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะไปให้ถึงจุดหมายปลายทางนั้นหัวใจของพวกเขามีความเร่าร้อนปรารถนามันและเมื่อไหร่ที่พวกเขาได้อ่านถึงโองการเกี่ยวกับการลงโทษและความกริ้วของอัลลอฮ์พวกเขาจะนิ่งเงียบๆและสดับฟังเหมือนกับว่าพวกเขาได้เห็นเป็นไฟแห่งนรกนั้นได้ลุกพล่าน

4)การอิบาดะฮ์ต้องเกิดขึ้นจากหัวใจ

อิมามอะลี(อ.) คุฏบะอ์ที่ 218

บรรดามนุษย์ทั่วไปถือว่าความตายของพวกเขาเป็นเรื่องใหญ่และน่ากลัวแต่ผู้ภักดีที่แท้จริงถือว่าหัวใจที่ตายนั้นคือสิ่งที่น่ากลัวกว่าและถือว่าหัวใจที่ตายนั้นสำคัญกว่า

และลักษณะของบ่าวที่อิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ที่แท้จริง
อิมามอะลี(อ.)ได้กล่าวอีกว่าพวกเขาจะอยู่ในโลกดุนยาที่มีความสัมพันธ์เพียงร่างกายแต่หัวใจของพวกเขามุ่งมั่นต่อความสูงส่งต่อการอิบาดะฮ์
(คำคมที่147)

มาตรแม้นว่าความตายไม่ได้กำหนดไว้สำหรับพวกเขาแน่นอนวิญญาณของพวกเขาจะไม่อยู่ในเรือนร่างนั้นแล้วเพราะพวกเขามีความปรารถนาที่จะได้รับมรรคผลและกลัวการลงโทษ
(คุฏบะฮ์ ที่ 191)

5)การอิบาดะฮ์เป็นการทำให้บาปหมดไป

อิมามอะลี(อ.) คุฏบะฮ์ 197

แท้จริงการอิบาดะฮ์(นมาซ)นั้นจะทำลายล้างบาปเหมือนกับใบไม้ร่วงจากต้นและผู้ทำอิบาดะฮ์ จะมีอิสระจากการพันธนาการด้วยบาปทั้งมวล

ท่าศาสดา(ศ็อลฯ)ได้เปรียบเปรยว่า
แท้จริงการนมาซคือน้ำตาหนึ่งที่อยู่ในบ้านของเขาเมื่อวันหนึ่งเขาได้นมาซครบ 5 เวลานมาซเท่ากับเขาได้ชำระล้างตัวของเขาด้วยน้ำสะอาดน้ำถึง 5 ครั้ง
ดังนั้นจะมีความสกปรกอะไรหลงเหลือในตัวเขาอีกเล่า

6)การอิบาดะฮ์เป็นการสร้างจริยธรรมอันดีงาม

อิมามอะลี(อ.) คุฏบะฮ์ที่ 196 ว่า

การอิบาดะฮ์นั้นจะปกป้องมือเท้าของเขาให้ห่างออกจากการกระทำบาปและปกป้องดวงตาของเขาจากการมองในสิ่งที่ต้องห้ามและจะเสริมเติมความยำเกรงและความนอบน้อมในหัวใจของพวกเขา

เมื่อใดที่มนุษย์ประสบความเลวร้ายทางด้านจิตวิญญาณและมีการป่วยไข้ทางจิตพระองค์ทรงให้การนมาซการถือศีลอดและการจ่ายซะกาตเป็นการปกป้องสิ่งเลวร้ายนั้นและกำจัดมันออกไป

7)การอิบาดะฮ์สร้างความใกล้ชิดต่อพระเจ้าและก่อให้เกิดความผาสุก

เวลาที่มนุษย์อยู่ต่อหน้าพระเจ้าแล้วมีท่าทีเหมือนผงธุลีหนึ่งที่ดื่มดำอยู่ในความโปรดปรานของพระเจ้า
ไม่เห็นตนเองเลยแม้แต่น้อยเพราะว่าจิตใจมุ่งสู่พระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น

#โอ้พระผู้เป็นเจ้า
ข้าไม่ได้อิบาดะฮ์ต่อพระองค์เพราะความกลัวต่อไฟนรก
และไม่ใช่เพื่อหวังจะได้สวรรค์และที่ข้าได้อิบาดะฮ์
เนื่องจากข้าพบว่าพระองค์นั้นเป็นผู้ที่เหมาะสมและเป็นเจ้าของแห่งการอิบาดะฮ์ต่างหาก
ดังนั้นข้าจึงได้อิบาดะฮ์ต่อพระองค์

ท่านศาสดามุฮัมมัดศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ กล่าวว่า

อัลลอฮ์ทรงเมตตามนุษย์เสมอ ถ้าเขาพูดดีก็จะมีกำไรหรือถ้าเขานิ่งเสียก็จะปลอดภัย

นับเป็นความโปรดปรานจากอัลลอฮ์ที่มีต่อมนุษย์อย่างหนึ่งที่ทรงบันดาลให้มนุษย์มีสติปัญญา คิดใคร่ครวญ ให้มีลิ้นไว้พูดจาสนทนากันเพื่ออธิบายให้คนอื่นเข้าใจในสิ่งที่ตนต้องการ โดยที่จะใช้มันเป็นสื่อกลางในการเจรจา ฉะนั้นเมื่อเขาต้องการอะไร
ก็จะใช้ลิ้นพูดออกมาเพื่อให้คนอื่นเข้าใจว่าเขาต้องการอย่างไร
ฉะนั้น ความโปรดปรานนี้ที่อัลลอฮ์ประทานให้เราเป็นความโปรดปรานในด้านการเจรจา การสนทนาจึงจำเป็นที่เราต้องรู้คุณ เราจะต้องใช้ถ้อยคำแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่น ถ้าอยู่ในที่ประชุม เราจะไม่พูดนอกจากจะเป็นเรื่องที่ดีงาม ถ้าเราต้องการจะพูดหรือมีเรื่องต้องสนทนากับผู้คน อันดับแรกเราจะต้องคิดให้รอบคอบกับคำพูดที่เราต้องการจะพูดออกไปถ้าหากเป็นคำพูดที่เป็นประโยชน์เป็นสิ่งที่ดีและเป็นคุณค่าต่อคนอื่น ก็ให้พูดออกไปให้ผู้อื่นได้ยิน คำพูดเช่นนี้แหละจะเป็นที่ยอมรับสำหรับอัลลอฮ์และคนทั้งหลาย เพราะเป็นคำพูดที่นำไปสู่ความดีงามหรือปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ระหว่างคนทั้งหลายให้ดีขึ้น หรือเป็นการสอนผู้อื่นให้มีความรู้ที่เป็นประโยชน์หรือเพิ่มพูนความรักให้เกิดขึ้นระหว่างกัน
ถ้าหากเราพูดจาในสิ่งที่ดีงามเราจะได้รับผลบุญ
จากอัลลอฮ์ คนทั้งหลายจะรักจะให้เกียรติ เราจะได้ผลกำไร
ดังที่ท่านศาสดามุฮัมมัดศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ได้สอนเราไว้
ถ้าหากคนใดไม่สามารถพูดในสิ่งที่มีประโยชน์ได้ก็ให้เขานิ่งเงียบ อย่าพูดในสิ่งที่ไม่ดี เพราะการนิ่งเงียบจะทำให้เขาปลอดภัยจากความกริ้วของอัลลอฮ์เพราะอันตรายอย่างหนึ่งที่จะประสบแก่เขาก็คือผลมาจากคำพูดที่ไม่ดี เพราะในเมื่อเขาทำไม่ดีไว้กับคนใด คนนั้นก็จะสนองตอบเขาด้วยความไม่ดีและจะทำอันตรายให้เขาได้เช่นกัน คำพูดที่ไม่ดีจะก่อปัญหาและอันตรายแก่เธอ จะทำให้เธอเสียใจ แต่เธอจะมีความสุขถ้าหากว่าเธอเงียบไม่พูดอะไร
ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสดามุฮัมมัดศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงเกียรติจึงสอนมารยาทที่ดีงามให้แก่เรา ท่านได้กล่าวว่า
ถ้าจะพูดก็จงพูดแต่ในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ หรือไม่ก็จงนิ่งเงียบเสียเพราะการนิ่งเงียบจะเป็นความดีสำหรับตัวเราเอง
บทสรุป คือ
1 มารยาทหนึ่งของมุสลิมคือต้องไม่พูด เว้นแต่จะพูดด้วยถ้อยคำที่ดีและมีประโยชน์
2ถ้าหากไม่สามารถพูดด้วยถ้อยคำที่ดีได้ก็ให้นิ่งเงียบ
3คนที่ไม่ระวังรักษาลิ้นจะต้องเสียใจ

บทความโดย เกาษัร ซะฮ์รอ

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม