อานิสงส์จากการอพยพของลูกหลานนบี(ศ็อลฯ) มายังอิหร่าน

 อานิสงส์จากการอพยพของลูกหลานนบี(ศ็อลฯ) มายังอิหร่าน

 

 เกร็ดความรู้ เนื่องในวันคล้ายวันวะฟาตท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มะอฺศูมะฮ์ บินตฺอิมามมูซา อัลกาซิม(อ.)

บางส่วนจากการบรรยายโดย ฮุจญตุลอิสลามฯ ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี
 

บรรดาอาเล็มอูลามาอฺ และนักวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ได้ทำการค้นคว้า พบว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้ชาวอิหร่านมีความศรัทธาอย่างมั่นคงต่ออะห์ลุลเบต (อ.) นั่นก็คือ การอพยพตามกันมาของบรรดาบนีฮาชิมทั้งหมด ซึ่งการอพยพในห้วงนั้นได้เกิดปรากฏการณ์ความประเสริฐอย่างมากมาย

กอปรกับในหมู่ผู้อพยพจากบรรดาบนีฮาชิม ซึ่งเท่าที่ค้นคว้ามาทั้งหมดเกือบจะไม่มีญาติพี่น้องโดยตรงของท่านอิมามริฎอ(อ)มาถึงยังแผ่นดินโคราซาน(หรือมัชฮัดในปัจจุบัน) ทั้งที่บรรดาบนีฮาชิมอพยพมานับเป็นพันๆคน ต่างคนต่างทยอยมา แต่เนื่องด้วยจำนวนมากของบรรดาบนีฮาชิมได้เสียชีวิตระหว่างทาง มีทั้งเสียชีวิตโดยธรรมชาติ มีทั้งถูกวางยาพิษ และถูกทำชะฮีด โดยคอลีฟะฮ์มะมูนในยุคนั้น และคอลีฟะฮ์อื่นๆ ที่ตามมาก็เช่นกัน พวกเขาพยายามสกัดกั้นตลอดการเดินทาง

ด้วยเหตุนี้ บรรดาบนีฮาชิมที่ได้เสียชีวิตไปในเส้นทาง นับจากมาดีนะฮ์เข้ามาอิรัก และจากอิรักเข้าแผ่นดินโคราซาน โดยแต่ละท่านจะค่อยๆทยอยผ่านเมืองหลายเมือง เช่น ผ่านเมืองกุม และผ่านเมืองต่างๆ ซึ่งกว่าจะไปถึงเมืองมัชฮัด หลายพันคนได้เสียชีวิต และทุกๆสุสานของบนีฮาชิม ถูกทำเป็น ฮูซัยนียะ์(ศาสนสถานในนามของอิมมามฮูเซ็น) หรือ เล็กที่สุด ก็คือ อิมามซอเดะห์(สุสานของลูกหลานศาสดา)

 อิมามซอเดะห์ คือ ใคร

อิมามซอเดะห์ เป็นภาษาฟาร์ซี โดย คำว่า “ซอเดะห์” แปลว่า ลูก เมื่อรวมกัน คำว่า “อิมามซอเดะห์” จึงหมายถึง ลูกหลานของอิมาม ซึ่งคนรุ่นเก่าๆ จะรู้คำ ที่เรียกว่า “ญาดะห์” และ "ญาดะห์" ก็มาจากคำว่า ซอเดะห์

คำว่า “ญาดะห์” ก็คือ ซอเดะห์ เป็นคำเปอร์เซีย ซึ่งแม้แต่คนมลายูกรุงเทพ และมลายูทางใต้ก็ใช้คำนี้ ส่วนที่มาของการเรียก "ญาดะห์" เนื่องจากในสมัยนั้น หนึ่งในวิธีการที่ศัตรูศาสนาทำลายเกียรติของอะห์ลุลเบต คือ สร้างความเกลียดชัง และปลูกฝังความคิดต่อๆกันมาว่า ถ้าใครเป็นคนชั่ว เขาจะเรียก ไอ้ลูกฮาร่ามญาดะห์ คือ ฮาร่ามซอเดะห์ หรือลูกของคนที่ทำฮะร่าม ซึ่งมาจากคำว่า อิมามซอเดะห์ นั่นเอง

ทว่ายิ่งศัตรูของอะห์ลุลเบต ปลูกฝังให้เกลียดชังลูกหลานของท่าน กลับยิ่งทำให้คนอิหร่านได้รู้จักความบะรอกัตจากบรรดาลูกหลานอะห์ลุลเบตเพิ่มมากขึ้น  และยิ่งสุสานลูกหลานอะห์ลุลเบต ซึ่งลูกหลานอะห์ลุลเบตก็จะเป็นอิมามซอเดะห์ ขอใช้คำว่า เป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ (กะรอมัต)มาก เขาจะเรียกว่า ฮาร่าม ฮารัม หรือ ฮารอม โดยในส่วนของฮารอมเล็กๆเหล่านี้ เขาจะเรียกฮารอมของหลายๆท่าน ตัวอย่างเช่น ฮารอมของชาห์อับดุลอาซีม

 ความประเสริฐของอิมามซอเดะห์

อินชาอัลลอฮฺ พวกเราก็คงไปซิยารัตกันบ้างแล้ว โดยเฉพาะของ “ชาร์อับดุลอาซีมอัลฮาซานี” ท่านก็คือ หนึ่งในเครือญาติของท่านอิมามริฎอ(อ) ที่ถูกฝังที่เมืองเรย์ ตั้งอยู่ ณ ชานเมืองเตหะราน

“เมืองเรย์” เป็นเมืองหลวงเก่าของอิหร่าน อีกทั้งชาห์อับดุลอาซีม มีความกะรอมัตและสำคัญเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้สุสานของท่านจึงถูกสร้างเป็นฮารอม และถูกเรียกว่า ฮารอมชาห์อิบรอฮีม

 ความประเสริฐของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ (สลามุลลอฮฯ)

แน่นอนท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ (สลามุลลอฮฯ) มีความกะรอมัต และมีความพิเศษในด้านต่างๆ อย่างมากมาย กอปรกับท่านหญิงได้มาเสียชีวิตในเมืองกุม ซึ่งเกิดจากการสกัดกั้นด้วยวิธีการต่างๆนานาจากศัตรูของอะห์ลุลเบต เช่น มีสงคราม มีการปะทะ มีการปิดล้อม เพื่อไม่ให้บรรดาวงศาคณาญาติของท่านอิมามริฎอ (อ) ไปถึงท่านได้

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้บรรดาบนีฮาชิมและท่านหญิงก็เช่นกัน เกิดการบาดเจ็บล้มป่วย จนในที่สุด ท่านหญิงก็ได้มาเสียชีวิตที่เมืองกุม และถูกฝังที่เมืองกุม และอานิสงส์นี้ จึงทำให้เมืองกุม ได้เป็นเมืองศาสนาอันยิ่งใหญ่จนถึงทุกวันนี้

 ความศักดิ์สิทธิ์ของ “เมืองกุม”

ด้วยกับความบะรอกัตของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ (สลามุลลอฮฯ) “เมืองกุม” จึงเป็น “เมืองกุมที่ยิ่งใหญ่” ซึ่งนอกจากจะเป็นเมืองศาสนาที่ยิ่งใหญ่แล้ว เมืองกุมยังเป็นเมืองที่ผลิตนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ ดั่งตัวอย่าง ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) และท่านอิมามอะลีคาเมเนอี เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า สิ่งต่างๆความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ล้วนมาจากบรรดาอะห์ลุลเบต (อ.)ทั้งสิ้น

หากจะกล่าวถึงความศักดิ์สิทธิ์ และความยิ่งใหญ่ จะพบว่า เมืองกุม ไม่ใช่มีแต่ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์(สลามุลลอฮฯ) ทว่าในเมืองกุมยังมีอีกหลายชาฮ์ และคำว่า ชาฮ์ ในที่นี้เป็นคำแทนสำหรับใช้เรียก บรรดาซัยยิด อาทิ ในเมืองกุมมี “ชาฮ์อิบรอฮีม"

กรณี “ชาห์อิบรอฮีม" เป็นที่โจษขานถึงความกะรอมัตต่างๆของท่าน แต่หากเดินทางออกจากเมืองกุม ไปยังทางอิชฟาฮาน ก็จะมีฮารอมหนึ่ง ที่ชาวอิหร่านเรียกว่า “ฮารอมบีบีสุกัยนะฮ์” (หมายเหตุ คนละท่านกับท่านหญิงสุกัยนะฮ์ที่กัรบาลาอฺ )

“บีบีสุกัยนะฮ์” ในที่นี้ หมายถึง น้องสาวของท่านอิมามริฎอ(อ) ที่ไปเสียชีวิตในระหว่างทางเช่นกัน ซึ่งท่านก็มีความกะรอมัตเป็นอย่างมาก และชาวอิหร่านเชื่อถือเป็นอย่างมากว่า หากหญิงใดไม่มีบุตร เมื่อต้องการบุตรให้ไปขอฮาญัต(สิ่งที่ปรารถนา) ณ สถานที่แห่งนี้ ซึ่งอินชาอัลลอฮฺหลายๆคนก็เคยไปที่ บีบีสุกัยนะฮ์

ความจริงแล้ว บรรดาอาเล็มอูลามะอฺรวบรวมอิมามซอเดะห์ได้เกือบ ๒๐๐๐ ฮารอมทั่วประเทศ แต่เราต่างหากที่ไปซิยารัตยังไม่ครบ บ่งชี้ว่า หลายๆเขตในเมืองกุมก็จะมีอิมามซอเดะห์ หรือ เป็นฮารอมของบรรดาลูกหลานของนบีที่ได้ไปสิ้นชีวิตในระหว่างทาง และไม่ใช่แค่เมืองกุม แต่เป็นตลอดเส้นทาง

ชัดแจ้ง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ อยู่คู่กับคนอิหร่านตลอดมา จะเรียกได้ว่านับเป็นเวลา ๑๐๐๐ กว่าปีก็ว่าได้ ที่ชาวอิหร่านได้เห็นความกะรอมัต (ความศักดิ์สิทธิ์) ของบรรดาสุสานต่างๆอย่างมากมาย

ดังนั้น ด้วยกับความประเสริฐเหล่านี้ ความเชื่อมั่นจึงเกิดขึ้นต่อบรรดาอะห์ลุลเบต(อ) เป้าหมายจะบอกว่า เหล่านี้คือ อานิสงส์เพียงแค่ลูกหลาน ทำให้เป็นความเชื่อมั่น เมื่อเกิดขึ้นมากๆก็จะกลายเป็นศรัทธา ความศรัทธาที่ล้นเปี่ยมก็จะกลายเป็นความรัก เมื่อความรักก่อตัวไปเรื่อยๆ ก็จะกลายเป็นความรักอย่างสุดซึ้ง จนในที่สุดบรรดาสุสานเหล่านี้ จึงครองใจชาวอิหร่านอย่างสมบูรณ์