เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

นมาซกับอัลกุรอาน

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

 นมาซกับอัลกุรอาน

 

 

มีหลายที่ด้วยกันที่นมาซกับอัล-กุรอานถูกกล่าวพร้อมกัน อาทิเช่นกล่าวว่า “จงอัล-เชิญมหาคัมภีร์อัล-กุรอานและจงดำรงนมาซ” (อัล-ฟาฏิร/๒๙)

บางโองการกล่าวว่า “พวกเขาได้ยึดมั่นในคัมภีร์และดำรงนมาซ” (อัล-อะอฺรอฟ / ๑๗๐)

ในบางครั้งทั้งนมาซและอัล-กุรอานถูกอธิบายด้วยคำ ๆ เดียวกันคือ อัซ-ซิกรฺ อัล-กุรอานกล่าวว่า “แท้จริงเราได้ประทานอัซ-ซิกรฺลงมา (อัล-กุรอาน) (อัล-หิจรฺ/๙)

และอัซ-ซิกรฺถูกอธิบายว่าเป็นปรัชญาของนมาซ อัล-กุรอานกล่าวว่า “จงดำรงนมาซเพื่อระลึกถึงข้า” (อัซ-ซิกรี) (ฏอฮา / ๑๔)

นอกเหนือไปจากนี้ ในบางครั้งอัล-กุรอานใช้คำว่า “กุรอาน- แทนที่นมาซ เช่นโองการที่ ๗๘ ซูเราะฮฺ อัล-อิสรอ กล่าวว่า “แท้จริง กุรอานในยามรุ่งอรุณย่อมได้รับการยืนยัน” จุดประสงค์ของอัล-กุรอานในยามรุ่งอรุณ หมายถึง นมาซศุบฮฺ นั่นเอง

การอ่านอัล-กุรอาน ซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺ – เป็นหนึ่งในวาญิบของนมาซ ขณะที่นมาซถูกกล่าวไว้มากมายทั้งในซูเราะฮฺที่ยาวที่สุด (อัล-บะกอเราะฮฺ) และซูเราะฮฺที่สั้นที่สุด (อัล-เกาษัร)
นมาซกับการกิศอดฺ (ล้างแค้น)

มิใช่ศาสนาอิสลามเพียงอย่างเดียวที่กล่าวถึงเรื่องการล้างแค้น แต่เกือบทุกศาสนาได้กล่าวถึงสิ่งนี้เอาไว้ เช่นถ้ามีใครสักคนตัดหูของคนคนหนึ่งขาด เขาจะต้องถูกลงโทษโดยการตัดหูให้ขาดไปเช่นกัน หรือทำฟันของคนอื่นหัก เขาต้องถูกลงโทษด้วยการถูกหักฟัน การทำเช่นนี้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมทางสังคม หรือขโมยต้องถูกลงโทษตัดนิ้วมือสี่นิ้ว โดยเหลือฝ่ามือเอาไว้เพื่อทำสุญูด อัล –กุรอานกล่าวว่า “บริเวณลงสัจญะดะฮฺเป็นของอัลลอฮฺ” (อัล-ญิน /๑๘)

เพราะขณะลงสัจญะดะฮฺต้องให้ฝ่ามือแนบกับพื้น ด้วยเหตุนี้จะเห็นแม้แต่การลงโทษขโมยยังจำเป็นต้องใส่ใจเรื่องนมาซและการสุญูด โดยมีคำสั่งว่าต้องเหลือฝ่ามือเอาไว้เพื่อสิทธิในการปฏิบัติอิบาดะฮฺแม้ว่าคนผู้นั้นจะเป็นขโมยก็ตาม

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม