ระดับชั้นของอิบาดะฮ์

ระดับชั้นของอิบาดะฮ์

 

ถ้าถามเด็กๆว่าเพราะเหตุใดจึงรักบิดามารดา พวกเขาจะตอบว่า เพราะท่านทั้งสองซื้อขนม,เสื้อผ้า,และรองเท้าให้ แต่ถ้าถามวัยรุ่นว่าทำไมจึงรักบิดามารดา พวกเขาจะตอบว่า เพราะท่านทั้งสองมีบุญคุณให้การเลี้ยงดูเป็นแบบอย่างในการอบรมสั่งสอน และเป็นห่วงเป็นใย

ถ้าให้การเลี้ยงดูพวกเขาจนเติบใหญ่ พวกเขาจะเกิดความผูกพันธ์มากขึ้น มีความคิด และจะไม่คิดถึงรองเท้าและขนมอีก และจะไม่นับประสาอะไรกับบุตรที่คอยรับใช้บิดามารดาโดยยึดเอาวิธีการดังกล่าวเป็นสื่อในการแสวงหาความใกล้ชิดและความสมบูรณ์ของตนซึ่งพวกเขาไม่คิดถึงวัตถุอีกต่อไป แต่พวกเขาจะคิดถึงสิ่งที่สูงกว่านั้น

การปฏิบัติอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺก็เหมือนกัน ใครก็ตามที่ทำอิบาดะฮฺเพื่ออัลลอฮฺ (ซบ.) และเป็นเพราะพระองค์เขาจึงอิบาดะฮฺแน่นอนระดับชั้นของอิบาดะฮฺย่อมมีความแตกต่างกัน ดังเช่น

๑. กลุ่มชนที่ทำอิบาดะฮฺ เพราะต้องการขอบคุณในนิอฺมัตของพระองค์ ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า “ดังนั้นพวกเขาได้ทำอิบาดะฮฺ กับพระผู้อภิบาลแห่งบ้านหลังนี้ผู้ซึ่งได้ประทานอาหารแก่พวกเขาเพื่อขจัดความหิวโหย และประทานความปลอดภัยเพื่อขจัดความหวาดกลัว” (อัล-กุรอยซ์ / ๓)

อิบาดะฮฺประเภทนี้จึงเรียกว่า เป็นอิบาดะฮฺของการขอบคุณซึ่งเหมือนกับเด็กที่รักบิดามารดาของตนเพราะท่านทั้งสองซื้อขนมและรองเท้าให้

๒. กลุ่มชนที่สองทำอิบาดะฮฺ เพราะผลสะท้อนและบะรอกัตของอิบาดะฮฺพวกเขาได้พิจารณาไปที่ผลสะท้อนที่มีต่อจิตวิญญาณ และความด้านในของนมาซ ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า “แท้จริงการนมาซจะยับยั้งความชั่วร้ายและสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย” (อัล-อังกะบูต / ๔๕)

อิบาดะฮฺประเภทนี้เรียกว่า เป็นอิบาดะฮฺที่เติบโตแล้วเหมือนกับความรักของเด็กวัยรุ่นที่มีต่อบิดามารดา ในฐานะที่ท่านทั้งสองให้การอบรมเลี้ยงดู และคอยดูแลมิให้พวกเขาต้องหลงทางออกไป จึงแสดงความเคารพต่อท่าน

๓.เป็นอิบาดะฮฺที่สูงกว่าสองประเภทแรก ดังเช่นที่พระองค์ได้ตรัสกับท่าน นบีมูซา (อ.) ว่า “เจ้าจงดำรงนมาซเพื่อระลึกถึงข้า” ฏอฮา / ๑๔

ท่านนบีมูซา (อ.) มิได้ดำรงนมาซ เพราะอาหารและน้ำที่พระองค์ประทานให้ มิใช้เพราะท่านมีความปรารถนาที่จะออกห่างจากความชั่วและสิ่งต้องห้าม เพราะในความเป็นจริงท่านนั้นห่างไกลจากทั้งสองอยู่แล้วและในฐานะที่ท่านเป็นศาสดาผู้เป็นเจ้าของบทบัญญัติ ท่านจึงดำรงนมาซเพราะความผูกพันและปรารถนาที่จะระลึกถึงพระองค์ ดังนั้นเหตุผลที่ดีที่สุด ในการปฏิบัติอิบาดะฮฺของบรรดาเอาลิยาอฺ (มวลมิตรแห่งอัลลอฮฺ) คือความรักและผูกพันธ์นั่นเอง

แน่นอนเด็กที่เข้าร่วมมัจลิส และมักนั่งใกล้กับผู้ใหญ่หรือนักปราชญ์ เพื่อว่าพวกเขาจะถูกต้อนรับและดูแลเรื่องอาหารการกินอย่างดีเหมือนกับผู้ใหญ่ แต่บางคนมิได้มีความคิดเช่นนี้ พวกเขามีความปรารถนาที่จะได้ประโยชน์จากความรู้ และจริยธรรมที่สูงส่งในตัวของนักปราชญ์ต่างหาก มิได้คิดถึงเรื่องวัตถุ และอาหารการกินแต่อย่างใด สำหรับพวกเขาแล้วแค่เพียงรู้จักมักคุ้นกับนักปราชญ์เท่านั้นก็ถือว่ามีเกียรติและคุณค่ามากมาย

๔. ระดับที่สี่เป็นอิบาดะฮฺที่ดีและสูงส่งที่สุด พวกเขามิได้ประกอบอิบาดะฮฺเพราะความผูกพันธ์ การเติบโตและการขอบคุณ ทว่าเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดกับพระองค์เท่านั้น

อัล-กุรอานกล่าวว่ามีอยู่สี่โองการเมื่ออ่านแล้วเป็นวาญิบต้องสัจญะดะฮฺทันที ซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นให้สัจญะดะฮฺ เพื่อแสวงหาความใกล้ชิดกับพระองค์ อัล-กุรอานกล่าวว่า “เจ้าจงสุญูด และจงแสวงหาความใกล้ชิดเถิด” (อัล-อะลัก/โองการสุดท้าย)

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “อิบาดะฮฺที่ดีที่สุดคือ อิบาดะฮฺที่มิได้ทำเพราะความหวาดกลัวต่อไปไฟนรกหรือเพื่อหวังผลผลรางวัลเป็นการตอบแทน แต่ทำเพราะต้องการแสวงหาความใกล้ชิดกับพระองค์”