เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ภาพลักษณ์ของอิบาดะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ภาพลักษณ์ของอิบาดะฮ์

 

- อิบาดะฮฺและการแสดงความเคารพภักดีนั่นเองที่ได้นำท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เสด็จมิอฺรอจญ์ อัล-กุรอานกล่าวว่า

“มหาบริสุทธิ์ยิ่ง (แด่อัลลอฮฺ) ผู้ซึ่งนำบ่าวของพระองค์ เดินทางในยามค่ำคืน จากมัสญิดอัลหะรอม จนถึงมัสญิดอัลอักศอ ” (ซูเราะฮฺบะนีอิสรออีล : ๑)

- อิบาดะฮฺ เป็นสื่อที่ทำให้มวลมะลาอิกะฮฺ ถูกประทานลงมา อัล-กุรอานกล่าวว่า “เราได้ประทานแก่บ่าวของเรา” (อัล-บะกอเราะฮฺ/๒๓) หมายความว่า เราได้ประทานวะฮีย์โดยผ่านมะลาอิกะฮฺญิบรออีล แก่บ่าวของเราคือท่านมุฮัมมัด

- อิบาดะฮฺเป็นเหตุทำให้ดุอาอฺของมนุษย์เราถูกตอบรับ เพราะเมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า นมาซคือข้อสัญญาของอัลลอฮฺ (ซบ.) ดังนั้นใครที่ทำนมาซหรือซื่อสัตย์ต่อสัญญาของอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะซื่อสัตย์กับสัญญาของเขา อัลกุรอานกล่าวว่า “เจ้าจงปฏิบัติตามสัญญาของข้าอย่างเคร่งครัด และเจ้าจะปฏิบัติตามสัญญาของเจ้า”

- มนุษย์ที่ปราศจากอิบาดะฮฺ ตกต่ำยิ่งกว่า ก้อนหินและก้อนกรวด ก้อนทราย และบรรดาปศุสัตว์ทั้งหลาย อัลกุรอานกล่าวว่า “และแท้จริงแล้วหินบางก้อนจะล่วงหล่นลงมาเพราะความหวาดกลัวต่ออัลลอฮฺ” อัล-บะกอเราะฮฺ / ๔๖ แต่หน้าเสียดายที่ว่ามนุษย์บางคน แม้ว่าจะอยู่ ณ พระพักตร์ของพระองค์ก็จะไม่ยอมก้มคาราวะ เพราะศักดิ์ศรีจอมปลอม และความจองหอง มันค้ำคออยู่

- อิบาดะฮฺเป็นเครื่องหมายของความตั้งใจและเป็นบุคลิกภาพหนึ่งของมนุษย์ ขณะที่มนุษย์เป็นผู้มีอารมณ์ มีกิเลส และมีความต้องการในทางลบอยู่ตลอดเวลา แต่มนุษย์สามารถควบคุมสิ่งเหล่านั้นพร้อมทั้งมีความตั้งใจจริงยังพระองค์ ถือว่า เป็นผู้ประสบความสำเร็จ ริวายะฮฺได้กล่าวยกย่องคนพวกนี้ว่า มีความประเสริฐกว่ามะลาอิกะฮฺ แม้ว่า มลาอิกะฮฺจะปฏิบัติอิบาดะฮฺตลอดทั้งวันทั้งคืน แต่นั้นเป็นอิบาดะฮฺของบ่าวผู้ที่ไม่มีอารมณ์ใฝ่ต่ำ จึงไม่มีความปรารถนาไม่มีกิเลสและไม่มีความโกรธ ต่างไปจากอิบาดะฮฺของมนุษย์ผู้มีอารมณ์ใฝ่ต่ำ

- อิบาดะฮฺจะส่งเสริมให้บ่าวผู้ต่ำต้อยไร้ชื่อเสียงบนหน้าแผ่นดิน เป็นผู้มีชื่อเสียงในปรโลกหน้า

- อิบาดะฮฺเป็นสื่อนำพามนุษย์ที่เป็นอณูที่เล็กนิดเดียวไปเชื่อมต่อกับศูนย์พลังงานที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาล

- อิบาดะฮฺเป็นการดูแลจากเบื้องบน ยังสรรพสิ่งทั้งหลาย

- อิบาดะฮฺเป็นการเปล่งบานของความสามารถต่างๆ ความรักและสัมมาสติที่ซ่อนอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน

- อิบาดะฮฺเป็นอัญมณีที่มีค่าสุดประมาณ ซึ่งมนุษย์ได้รับมาด้วยกับการเลือกสรรและความปรารถนาของตนเอง ต่างไปจากเกียรติยศของวงศ์ตระกูล หรือความสามารถพิเศษที่อยู่ด้านในที่มนุษย์มิได้รับมาด้วยกับการเลือกสรรและความปรารถนา

- อิบาดะฮฺเป็นสัญญาใหม่ระหว่างมนุษย์กับอัลลอฮฺ (ซบ.) และเป็นการชำระล้างชีวิตด้านในของมนุษย์

- อิบาดะฮฺเป็นอุปสรรคของกุนาฮ์ความผิด และเป็นตัวชำระล้างผลของความผิดบาปเพราะการระลึกถึงอัลลอฮฺเป็นการป้องกันมิให้มีการสร้างความผิด มิใช่เป็นผู้รู้ในความผิดบาป

- อิบาดะฮฺเป็นการต่อเติมความสมบูรณ์ให้กับจิตวิญญาณ ด้วยกับการระลึกถึงพระองค์แต่ถ้ามนุษย์เติมความสมบูรณ์ด้วยกับการระลึกถึงสิ่งอื่นที่นอกเหนือไปจากพระองค์ เท่ากับเป็นการอธรรมความเป็นมนุษย์ของตนเอง

- อิบาดะฮฺเป็นการให้เกียรติกับพื้นที่ เช่น มัสญิด วิหารกะอฺบะฮฺ และสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งห้ามเข้าไปยังสถานที่เหล่านั้น ในสภาพที่ร่างกายสกปรกมีมลทินจากการร่วมหลับนอนกับภรรยา และร่วมไปถึงสตรีที่มีรอบเดือน

- อิบาดะฮฺเป็นการแสดงความเคารพ ภักดต่อพระผู้เป็นเจ้าซึ่งตัวของมันถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่าแม้ว่า ดุอาอฺและคำวิงวอนของเราจะไม่ถูกยอมรับก็ตาม

- อิบาดะฮฺถูกแนะนำให้กับมนุษย์ทั้งในสภาพที่เขามีความสุขและมีความทุกข์ เช่นครั้งที่พระองค์สัญญากับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า พระองค์จะประทานเกาษัรให้ท่านนั้นทรงแนะนำว่า และเจ้าจงนมาซ อัล-กุรอานกล่าวว่า

“แท้จริงเราได้ประทานเกาษัรฺให้กับเจ้า ดังนั้น เจ้าจงดำรงนมาซเพื่อพระผู้อภิบาลของเจ้าเถิด” (ซูเราะฮฺอัล-เกาษัรฺ )

และเมื่อมนุษย์ได้เผชิญกับอุปสรรคปัญหาและเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดฝันต่าง ๆ พระองค์แนะนำไว้เช่นกัน อัล-กุรอานกล่าวว่า “เจ้าจงแสวงหาความช่วยเหลือด้วยกับความอดทนและนมาซ” (อัล-บะกอเราะฮฺ : ๔๕)
๑๖. นมาซต่าง ๆ ที่ช่วยขจัดปัญหา

อิสลามได้แนะนำว่า เมื่อใดก็ตามที่มีอุปสรรคปัญหา หรือมีความปรารถนาบางสิ่งบางอย่าง ให้ปฏิบัตินมาซที่เฉพาะเจาะจงเอาไว้ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และหนึ่งในนมาซนั้นคือ นมาซญะอฺฟัรฎอยยารฺ

ญะอฺฟัรฎอยยารฺ คือนามของพี่ชายของท่านอิมามอะลี (อ.) ผู้ซึ่งได้เป็นหัวหน้าอพยพไปยังฮะบะเชะฮฺ และสมารถเอาชนะใจของนะญาชีย์กับผู้คนจำนวนมากมายด้วยเหตุผล และมารยาทที่ดีงามทำให้พวกเขาเข้ารับอิสลาม และเป็นผู้วางรากฐานอิสลามในทวีปแอฟริกา

ท่านญะอฺฟัร ได้ถูกฟันแขนขาดทั้งสองข้างในสงคราม บูเตะฮฺและอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ตอบแทนรางวัลให้ด้วยปีกสองข้างในสวรรค์ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกท่านว่า ญะฮฺฟัรฎอยหารฺ หมายถึง ผู้มีปีกสองข้าง

ขณะที่ท่านญะอฺฟัรได้เดินนทางกลับจากฮะบะเชะฮฺ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับท่านว่า “เจ้าปรารถนาให้ฉันมอบรางวัลที่มีค่ายิ่งให้แก่เจ้าหรือไม่ ซึ่งประชาชนส่วนมากคิดว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คงจะมอบแก้วแหวนเงินทองหรืออัญมณีที่มีค่าอื่น ๆ ให้กับท่านญะอฺฟัรเป็นแน่ จึงแห่กันเข้ามาเพื่อดูของรางวัลของท่านศาสดา แต่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กับกล่าวกับท่านญะอฺฟัรว่า “ฉันขอมอบนมาซเป็นรางวัลให้กับเจ้า หากเจ้าปฏิบัติทุกวัน เจ้าจะได้รับรางวัลจากโลกนี้ หรือได้รับสิ่งที่ประเสริฐกว่า และถ้าเจ้าปฏิวัติทุกวันศุกร์ หรือทุกเดือน หรือทุกปี อัลลอฮฺ (ซบ.) จะลบล้างกุนาฮ์ความผิดของเจ้าระหว่างนมาซทั้งสอง” (บิฮารุ้ลอันวาร เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๔๒๑)

ท่านอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า “ทุกครั้งที่มีอุปสรรคปัญหาหรือมีความปรารถนาบางสิ่งบางอย่าง หลังจากนมาซญะอฺฟัรแล้วให้ขอดุอาอฺ อิชาอัลลอฮฺ ดุอาอฺของท่านจะถูกตอบรับ

นมาซดังกล่าวได้รับรายงานที่เชื่อถือได้ทั้งจากซุนนีและชีอะฮฺ ซึ่งได้รับฉายาว่า “อิกซีรอะอฺซัม” และ “กิบรียัตอะหฺมัรฺ” (บิฮารุ้ลอันวารฺ เล่มที่ ๙๑ บาบฟัฎลุ เศาะลาต ฎอยยารฺ)

นมาซญะอฺฟัร เป็นหนึ่งในนมาซมุสตะฮับต่างๆ ที่ช่วยขจัดอุปสรรคปัญหาและยังมีนมาซมุสตะฮับประเภทอื่นอีกมากมาย ประมาณ ๓๕๐ นมาซ ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้ถูกรวบรวมเป็นรูปเล่มแล้ว พร้อมทั้งชื่อและวิธีการปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงความสำคัญ และการให้ความกระตือรือร้นเกี่ยวกับนมาซ
วิธีการปฏิบัตินมาซ ญะอฺฟัรฏอยยาร

นมาซญะอฺฟัร ฏอยยาร มี ๔ ระกะอัต (ให้ทำทีละ ๒ ระกะอัต) สองระกะอัตแรก หลังจาก ซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ ให้อ่าน “ซูเราะฮฺ อัซซิ้ลซะละฮฺ” ส่วนระกะอัตที่สองให้อ่าน “ซูเราะฮฺ อัลอาดิยาต”

สองระกะอัตหลัง หลังจากซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺให้อ่าน อิซาญาอะนัศรุ้ลลอฮฺ ส่วนระกะอัตที่สองให้อ่าน“ซูเราะฮฺ อัต-เตาฮีต”

และเมื่ออ่านซูเราะฮฺจบทุกระกะอัต ก่อนทำรุกูอฺให้อ่านตัสบีหาต อัรบะอะฮฺ

مرّةسُبْحانَ اللهِ وَاَلْحَمْدُ للهِ وَلا اِلـهَ إلاّ اللهُ وَاَللهُ اَكْبَرُ

(ซุบฮานั้นลลอฮิ วั้ลฮัมดุลิ้ลลาฮิ วะลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอฮุ วั้ลลอฮุอักบัร) ๑๕ ครั้ง ขณะที่ทำรุกูอฺให้อ่านตัสบีฮาต ๑๐ ครั้ง เมื่อเงยขึ้นจากรุกูอฺยืนตรงก่อนลง สุญูด ให้อ่าน ๑๐ ครั้ง ขณะที่สุญูดให้อ่าน ๑๐ ครั้งเมื่อเงยหน้าขึ้นจากสุญูดครั้งที่หนึ่งให้อ่าน ๑๐ครั้ง สุญูดครั้งที่สองให้อ่าน ๑๐ ครั้งเมื่อเงยขึ้นให้อ่าน ๑๐ ครั้ง หลังจากนั้นให้ยืนขึ้นเพื่อทำระกะอัตต่อไป และให้ทำเช่นนี้ ๔ ระกะอัต ซึ่งตลอดทั้งนมาซเท่ากับได้อ่านตัสบีฮาตทั้งหมด ๓๐๐ ครั้งพอดี

หลังจากสุญูด ครั้งที่สองในระกะอัตที่ ๔ เมื่ออ่านตัสบีฮาตจบให้อ่านต่อว่า

سُبْحانَ مَنْ لَبِسَ الْعِزَّ وَالْوَقارَ سُبْحانَ مَنْ تَعَطَّفَ بِالَْمجْدِ وَتَكَرَّمَ بِهِ سُبْحانَ مَنْ لا يَنْبَغِي التَّسْبيحُ إلاّ لَهُ سُبْحانَ مَنْ اَحْصى كُلِّ شَىْء عِلْمُهُ سُبْحانَ ذِي الْمَنِّ وَالنِّعَمِ سُبْحانَ ذِي الْقُدْرَةِ وَالْكَرَمِ اَللّـهُمَّ اِنّي أَسْأَلُكَ بِمَعاقِدِ الْعِزِّ مِنْ عَرْشِكَ وَمُنْتَهَى الرَّحْمَةِ مِنْ كِتابِكَ وَاسْمِكَ الاَْعْظَمِ وَكَلِماتِكَ التّامَّةِ الَّتى تَمَّتْ صِدْقاً وَعَدْلاً صَلِّ عَلى مُحَمَّد وَاَهْلِ بَيْتِهِ وَافْعَلْ بى كَذا وَكَذا

“ซุบฮานะ มันละบิซั้ล อิซซะ วั้ลวะกอรอ ซุบฮานะมันตะอัฏเฏาะฟะบิ้ลมัจดิวะตะกัรระมะบิฮี ซุบฮานะ มันลายันบะฆี อัตตัสบีฮฺ อิ้ลลาละฮู ซุบฮานะมันอะหฺซอ กุ้ลละชัยอิน อิ้ลมุฮู ซุบฮานะซิ้ลมันนิวันนิอฺมะฮฺ ซุบฮานะซิ้ลกุดระติวั้ลกะรัม อัลลอฮุมมะอินนีอัสอะลุกะ บิมะอากิดิ้ล อิซซิ มิน อัรฺชิกะ วะมุนตะฮัรฺ ระหฺมะติ มินกิตาบิกะ วัสมิกั้ลอะอฺซอม วะกะลิมาติกัตตามมะติ้ลละตี ตัมมัต ศิดกอน วะอัดลัน ศ็อลลิอะลามุฮัมมะดิว วะอะฮฺลิบัยติฮี วัฟอั้ลบี กะซาวะกะซา (แทนที่คำว่า กะซาวะกะซา ให้ดุอาอฺ ตามที่ตนปรารถนา ) หลังจากนั้นจึงเงยหน้าขึ้น แล้วทำนาซต่อให้เสร็จ

ท่านมุฟัฎฎอล บินอุมัร ได้รายงานว่า เห็นท่าน อิมามศอดิก (อ.) ทำนมาซญะอฺฟัรฏอยยาร เสร็จแล้วท่านได้ยกมือขึ้นและอ่านดุอาอฺว่า  يا رَبِّ يا رَبِّ   “ยาร็อบบี ยาร็อบบี” จนหมดอึดใจ หลังจากนั้นจึงอ่าน  يا ربّاهُ يا ربّاهُ             ยาร็อบบาฮุ ยาร็อบบาฮุ”

จนหมดอึดใจเช่นกัน และอ่าน     رَبِّ رَبِّ   “ร็อบบิ ร็อบบิ” และ  يا اَللّهُ يا اَللّهُ “ยาอัลลอฮุ”

และ    يا حَيُّ يا حَيُّ   ยาหัยยุ ยาหัยยุ “ และ   يا رَحيمُ يا رَحيمُ    “ยาระฮีมุ ยาระฮีมุ” และ

يا رَحْمنُ يا رَحْمنُ “ยาระหฺมาน ยาระหฺมาน”   ๗ ครั้ง     يا اَرْحَمَ الرّاحِمينَ

“ยาอัรหะมัรรอฮิมีน๗ ครั้ง     หลังจากนั้นอ่านว่า

اَللّـهُمَّ اِنّي اَفْتَتِحُ الْقَوْلَ بِحَمْدِكَ وَاَنْطِقُ بِالثَّناءِ عَلَيْكَ وَاُمَجِّدُكَ وَلاغايَةَ لِمَدْحِكَ وَاُثْني عَلَيْكَ وَمَنْ يَبْلُغُ غايَةَ ثَنائِكَ وَاَمَدَ مَجْدِكَ وَاَنّى لِخَليقَتِكَ كُنْهُ مَعْرِفَةِ مَجْدِكَ وَاَيَّ زَمَن لَمْ تَكُنْ مَمْدُوحاً بِفَضْلِكَ مَوْصُوفاً بِمَجْدِكَ عَوّاداً عَلَى الْمُذْنِبينَ بِحِلْمِكَ تَخَلَّفَ سُكّانُ اَرْضِكَ عَنْ طاعَتِكَ فَكُنْتَ عَلَيْهِمْ عَطُوفاً بِجُودِكَ جَواداً بِفَضْلِكَ عَوّاداً بِكَرَمِكَ يا لا اِلـهَ إلاّ اَنْتَ الْمَنّانُ ذُوالْجَلالِ وَالاِْكْرامِ

 “อัลลอฮุมมะอินนี อัฟตะติหุ้ลเกาละบิฮัมดิกะ วะอันติกุ บิษษะนาอิอะลัยกะ วะอุมัจญิดุกะวะลาฆอญะตะลิมัดฮิกะ วะอุษนีอะลัยกะ วะมันยับลุฆุ ฆอยะตะษะนาอิกะ วะอะมะดะ มัจดิกะ วะอันนี ลิเคาะลี เกาะติกะ กุนฮุมะอฺริฟะติมัจดิกะ วะอัยยิซะมะนิน ลัมตะกุน มัมดูฮัน บิฟัฏลิกะ เมาซูฟัน มิมัจดิกะ เอาวาดัน อะลั้ลมุซนิบีนะ บิฮิ้ลมิกะ ตะคั้ลละฟะ ซุกกานุ อัรฏิกะ อันฏออะติกะ ฟะกุนตะ อะลัยฮิม อะฏูฟัน บิญูดิกะ ญะวาดันบิฟัฎลิกะ เอาวาดัน บิกะระมิกะ ยาลาอิลาฮะ อิ้ลลาอันตั้ลมันนานุ ซุ้ลญะลาลิวั้ลอิกรอม
ความบริสุทธิ์ของนมาซ

ความบริสุทธิ์ และความศักดิ์สิทธิของนมาซนั้นในบางครั้งก่อนที่จะทำพิธีอะไรบางอย่าง เช่น การสาบาน หรือ การเป็นพยาน ต้องทำหลังจากทำนมาซแล้ว

อัล-กุรอานซูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ / ๑๐๖ กล่าวว่า

และได้ให้มุสลิม ๒ คนเป็นพยานต่อพินัยกรรมของตน แต่พิธีกล่าวคำยืนยันของพยานต้องทำหลังจากนมาซ หมายความว่า พยานสองคนนั้นต้องทำนมาซก่อน หลังจากนั้นจึงสาบานและคำให้การยืนยันว่า ผู้ตายได้เขียนพินัยกรรมหรือสั่งเสียอะไรไว้ก่อนตายในระหว่างเดินทาง

แต่ในปัจจุบันพิธีกรรมดังกล่าวที่กระทำกันคือ จะทำต่อหน้าอัล-กุรอาน โดยเอามือแตะไว้ที่อัล-กุรอาน หลังจากนั้นจึงกล่าวคำให้การ ขณะที่อัล-กุรอานกล่าวว่า พิธีการสาบานต้องทำหลังจากการทำนมาซแล้ว

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม