เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรา และท่านอิมามมะฮดี(อญ.) ตอนที่ 2

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5


การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรา และท่านอิมามมะฮดี(อญ.) ตอนที่ 2

"บุคคลใดที่ไม่ได้รู้จักอิมาม(อ.)ของตนเอง และพวกเขาได้ตายลงไปในสภาพแบบนั้น เท่ากับว่า เขาได้จากโลนี้ไปในสภาพของบุคคลที่ญาฮิล(ผู้ที่โง่เขลา)"
เพราะเรื่องเดียวที่พวกเขาจะต้องทำความรู้จัก
อย่างสมบูรณ์แบบ นั่นก็คือการทำความรู้จักกับ
อิมาม(อ.)ประจำยุคสมัยของพวกเขาเอง

- บวกกับอายะฮ์อัลกุรอาน
ซึ่งอันที่จริงแล้วมีหลายโองการด้วยกัน
ซึ่งคุณครูซัยยิดะฮ์ ซัยหนับ ศักกิตติชาได้ยกซูเราะฮ์ อัต - ตะกาษุร / โองการที่ 8 ดังนี้
ثُمَّ لَتُسْأَلُنَّ يَوْمَئِذٍ عَنِ النَّعِيمِ
"แล้วในวันนั้นพวกเจ้าจะถูกสอบถามเกี่ยวกับความโปรดปรานที่ได้รับ
(ในโลกดุนยา)"
- เเละหนึ่งในนั้นก็คือเนี๊ยะมัต
(ความโปรดปราน)แห่งวิลายัต เนี๊ยะมัตแห่งผู้นำซึ่งในวันกิยามัตนั้นพระองค์จะสอบสวนและจะถามว่า
พวกเราได้ทำอย่างไรต่อเนี๊ยะมัตแห่งวิลายัตหรืออิมาม(อ.)ที่พระองค์ได้มอบให้แก่เรานั่นเอง
สิ่งนี้ถือเป็นบทสรุปที่เราได้คุยกันไปแล้วในตอนที่1
ซึ่งวันนี้เราจะมาทำการพูดคุยถึงเรื่องการสร้างความสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮฺดี(อญ.) ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์นี้ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางด้านจิตใจ เนื่องจากว่าเรายังไม่ได้ พบเจอกับ
อิมาม(อญ.) ณ.เบื้องหน้าของเรา จึงจะต้องเริ่มต้น จากความสัมพันธ์ทางด้านจิตใจ และต่อไปเมื่อเราทำการพัฒนาความสัมพันธ์แล้วเราก็จปฏิบัติตัวได้ เฉกเช่นดัง ท่านอิมาม(อญ.)อยู่ ณ.เบื้องหน้าของเรา
ถ้าเราพัฒนาความสัมพันธ์อันนี้ไปได้
- การสร้างความสัมพันธ์มี 2 รูปแบบ
1) รูปแบบชั่วคราว ในช่วงเวลาที่เฉพาะ เช่น
1.1-การเฉลิมฉลองวันเกิดของ
อิมาม(อญ.)และวันขึ้นรับตำแหน่งการเป็นอิมาม(อ.)ของท่านอิมามมะฮฺดี(อญ.)
เราจะจัดงานเฉลิมฉลองกันแสดงความยินดี ในวันต่างๆที่เกี่ยวข้องกับท่านอิมาม(อญ.) เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับอิมาม(อญ.)
แต่ทำไมถึงเรียกว่าเป็นการสร้างความสำคัญกับท่านอิมาม(อญ.)แบบชั่วคราว ก็เพราะว่าจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น

1.2-การอ่านดุอาต่างๆที่เราได้อ่านกัน เช่น
ดุอานุดบะฮ์ จะอ่านกันในเช้าวันศุกร์ ซึ่งเช้าวันศุกร์เราจะตื่นขึ้นมาและทำการรำลึกถึงท่านอิมาม(อญ.)
หรือร้องไห้ในดุอาก็ตาม
ซึ่งถึงแม้ว่าการอ่านดุอานั้น ถูกนับว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบชั่วคราว แต่ทว่าการทำอย่างสม่ำเสมอนั้น ก็จะไปช่วยในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบที่ 2 นั่นก็คือ
ความสัมพันธ์อย่างแท้จริง ฉะนั้นการอ่านดุอา ไม่ว่าจะเป็นดุอา ฟะรอญะฮ์ ดุอานุดบะฮ์
ซิยารัตอาลิยาซีน หรือการให้สัตยาบันกับ
ท่านอิมามมะฮฺดี(อญ.) ที่อ่านกันในยามเช้าทุกๆวัน ก็ยังถือว่าเป็นการสร้างสัมพันธ์ในรูปแบบชั่วคราวนั่นเอง
1.3- การไปสู่มัสญิดในสถานที่ต่างๆที่เป็นที่รู้จักว่า เป็นสถานที่ของท่านอิมามมะฮฺดี(อญ.) เช่น
"มัสญิดญัมกะรอน" มัสยิดของท่านอิมามมะฮฺดี(อญ.)  
(ที่ประเทศอิหร่านในเมืองกุม)
"มัสญิดอัซซะฮ์ละฮ์" หรือสถานที่ ที่ท่านอิมามมะฮฺดี(อญ.)ได้หายตัวไปจากที่นั่น หรือเป็นจุดเริ่มต้นของการเร้นกายของท่านอิมาม(อญ.)
1.4-การตะวัซซุลไปยังอิมามมะฮฺดี(อญ.) ในยามที่เรามีปัญหาก็ทำการตะวัซซุลไปยังท่านอิมามมะฮฺดี(อญ.)และมีนมาซขอความช่วยเหลือ
จากท่านอิมามมะฮฺดี(อญ.)
ฉะนั้นสี่รูปแบบนี้ที่เราทำอยู่เป็นประจำถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮฺดี(อญ.)ในรูปแบบชั่วคราว
ซึ่งการที่ใช้คำว่า ชั่วคราวนั้นก็เพราะว่า
เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับอิมาม(อญ.) ในช่วงระยะเวลาที่เฉพาะเจาะจง เช่น เช้า วันศุกร์ เย็นวันศุกร์
แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เราต้องการจากบทเรียนที่เรากำลังพูดคุยกันนี้ คือสิ่งที่มากกว่าการ สร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบชั่วคราว นั่นก็คือ
การสร้างความสัมพันธ์อย่างแท้จริง
ถ้าเราสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แท้จริง
กับท่านอิมามมะฮฺดี(อญ.)ได้
ดังนั้นเวลาที่เราอ่านดุอา หรือเวลาที่เราใช้ช่วงเวลาที่เฉพาะ
ก็จะไม่ถูกเรียกว่าการสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบชั่วคราวอีกต่อไป
แน่นอนบุคคลที่สร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบที่แท้จริงกับท่านอิมามมะฮฺดี(อญ.)แล้ว
การอ่านดุอานุดบะฮ์ของเขานั้นกับการอ่านดุอานุดบะฮ์ของคนที่สร้างความสัมพันธ์เพียงชั่วคราวนั้น
จะมีความแตกต่างกัน
ซึ่งเราจะสามารถรับรู้ได้ หรือบางครั้งเราจะเห็น
เพื่อนๆหรือรุ่นพี่บางคนอ่านดุอานุดบะฮ์ไปร้องไห้ไปเป็นต้น
2) เป็นการสร้างความสัมพันธ์อย่างแท้จริง
2.1- การสร้างความสัมพันธ์หรือสร้างความรัก ระหว่างเรากับท่านอิมามมะฮฺดี(อญ.) เราจะต้องรู้สึกรักท่านอิมามมะฮฺดี(อญ.)ก่อนเป็นลำดับเเรก เราจึงจะสามารถสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบที่แท้จริงได้
ซึ่งเราจะรักอิมาม(อญ.)ได้อย่างไร?
อิมาม(อญ.)ผู้ที่เราไม่เคยเห็นเลย
แล้วจะเป็นไปได้ไหม? เป็นไปได้
ความรักนั้นก็จะต้องมีพื้นฐานหรือจุดเริ่มต้นมาจาก
การมี "มะอฺริฟัต" นั่นเอง


นะศีฮัตออนไลน์ ครูซัยยิดะห์ไซหนับ ศักดิ์กิตติชา

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม