เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ภารกิจแห่งการมับอัษ คืออะไร? ตอนที่ 2

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ภารกิจแห่งการมับอัษ คืออะไร? ตอนที่ 2


บางส่วนจากการบรรยายโดย ฮุจญตุลอิสลามฯ ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี ในวันคล้ายวันอีดุลมับอัษ 27 รอญับ ฮ.ศ. 1443 ตรงกับวันที่ 28 ก.พ. 2565
___________________
[เนื้อหาต่อจากตอนที่ 1]
••• ที่นี่เรามาดูเป้าหมายของ “มับอัษ” โดยการทับศัพท์ มับอัษ หรือ เบียะษะฮฺ คือ อันเดียวกัน ให้ความหมายเดียวกัน
เป้าหมายของการ “มับอัษ” บรรดาศาสดา ซึ่งหากสมมุติเราแปล บะอะษะ เป็นคำว่า อัรซัลนา ارسلنا [ที่หมายถึง ส่ง] เพราะให้ความหมายเดียวกัน แต่อัรซัลนา จะไม่มีความหมายว่า ยกขึ้นมา ขณะที่บะอาษะ คือ ส่งเช่นเดียวกัน แต่เป็นการส่งแบบเทิดขึ้นมา
✳️ เป้าหมายของการเบียะษะฮฺ การส่ง หรือ เทิดบุคคลขึ้นมาเป็นศาสดา
อายัตที่ 1
ในซูเราะฮ์อัลนะฮ์ลฺ โองการที่ 36 เอกองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้ตรัสว่า
‎وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَّسُولًا أَنِ اعْبُدُوا اللَّهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ
"และเราได้ส่งไปยังทุกประชาชาติให้มีรอซูลในหมู่พวกเขา เพื่อให้นำมนุษย์สู่การภักดีต่ออัลลอฮ์(ซบ.)และนำออกมาจากฏอฆูตทั้งหลาย"
ข้อสังเกต: อนึ่ง อายัตนี้ ใช้ยืนยันในหลายๆเรื่อง ซึ่งเราจะอธิบายสักเล็กน้อย เพื่อเสริมความรู้เพิ่มเติม

‎نبیین (นบียีน) คือ รวมนบีทั้งหมด โดยไม่ได้เจาะจงนบีองค์หนึ่งองค์ใด บ่งชี้ว่า ภารกิจที่จะบอกไว้ ณ ที่นี่ จึงเป็นภารกิจหลักของทุกๆศาสดา ทุกๆนบีที่ถูกมับอัษขึ้นมานั้น จะต้องทำภารกิจนี้เป็นอันดับแรก ตามที่บอกในอายัตนี้ เพราะภารกิจมีมากมาย
‎مُبَشِّرِينَ (มุบัรชีรีน) — ภารกิจที่บอกในอายัตนี้ คือ การแจ้งข่าวดีกับบรรดามนุษยชาติ หากนำมาตัฟซีรแบบเร็ว และง่ายที่สุด “แจ้งข่าวดี” คือ การบอกหนทางไปสวรรค์แก่มนุษย์ มาบอกกับพวกเขาว่า ทำดีได้ดี ทำดีได้รับผลตอบแทนที่ดี หากทำดี ชีวิตจะสุขสบาย มาบอกพวกเขาถึงชีวิตที่นิรันดร์ มุบัชชีรีน คือ การมาแจ้งข่าวดี
ลำดับที่สอง  وَمُنذِرِينَ (วะมุนซีรีน) — ทุกๆศาสดาจะต้องทำสิ่งนี้หมดทุกคน มุนซีรีน คือ การเตือน انذار (อินซาร) คือ เตือนให้กลัว กลัวการลงโทษ กลัวไฟนรก กลัวอัลลอฮ(ซ.บ)จะเอาผิด ฯลฯ เรียกว่า มุนซีรีน
ซึ่งนบีทุกองค์ จะต้องบอกกล่าวสิ่งนี้ มาบอกแก่มนุษย์ว่า อันนี้ทำได้ อันนี้ทำไม่ได้ อย่านินทาคนนะ อันนี้เป็นบาปนะ หากทิ้งนมาซ จะถูกลงโทษอย่างไรบ้าง นบีเข้ามาเตือน มิให้กดขี่กัน เตือนว่าผู้ที่กดขี่ จะได้รับการลงโทษ ฯลฯ — มุนซีรีน คือ การห้ามไม่ให้มนุษย์ทำชั่ว
ภารกิจของการมับอัษ [สรุปตาม] อายัตแรก ซูเราะฮฺอัลนะฮ์ลฺ โองการที่ 36
‎  أَنِ اعْبُدُوا اللَّهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ ตรัสถึงภารกิจในการนำมนุษย์สู่เตาฮีด และเอาออกมาจากตอฆูต เป็นภารกิจหลัก เป็นประเด็นใหญ่ ภาพรวม ซึ่งเรายังไม่ลงรายละเอียด
ขณะที่ อีกอายัตหนึ่ง ทรงตรัสว่า  مُبَشِّرِينَ وَمُنذِرِينَ
(มูบัชชิรีนวะมุนซีรีน) มาแจ้งข่าวดี และตักเตือน  
✳️ คมภีร์ควบคู่การมับอัษ
‎ وَأَنزَلَ مَعَهُمُ الْكِتَابَ بِالْحَقِّ — และคู่กับการมับอัษจะต้องมี “กีตาบ” ลงมาด้วย  ต้องมีคัมภีร์ลงมาควบคู่กัน มีตำรับ ตำรา  หากจะกล่าว คือ มี “ธรรมนูญ “ มีรัชธรรมนูญ  หรือรัฐธรรมนูญ  ควบคู่กับการลงมาของนบี
‎وَأَنزَلَ مَعَهُمُ الْكِتَابَ بِالْحَقِّ ดังนั้น คัมภีร์จึงถูกส่งมา  คัมภีร์ที่เป็นสัจจะ เป็น حق
คำถาม: ส่งคัมภีร์มาทำไม?
 คำตอบ: لِيَحْكُمَ بَيْنَ النَّاسِ فِيمَا اخْتَلَفُوا فِيهِ  เพื่อจะมา “ฮุก่ม”  มาตัดสิน หากแปลแบบทั่วไป ทว่าในความเป็นจริง لِيَحْكُم คือ  การมาจัดการ มาฮุกุมัต
คำอธิบาย: เราจะจัดการ[มนุษย์]ได้หรือไม่ ถ้าเราไม่มีรัฐบาล  ไม่มีฮุกุมัต? ในประเทศไทย หากมุสลิมกินเหล้า เราจับไปตีได้ไหม?  เราจะ لیحکم بینهم ได้หรือไม่ ใครทำซีนาเราจะไปตัดคอได้หรือไม่ ในประเทศไทย?  — ไม่ได้  ผิดกฎหมาย  เพราะเราไม่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ  
ผมอธิบายโดยสังเขป เป้าหมายต้องการจะอธิบายคำนี้   لِيَحْكُمَ بَيْنَ النَّاسِ ลงคัมภีร์มาเพื่อที่จะมาตัดสินมนุษย์  อะไรดี  อะไรชั่ว  อะไรเลว  อะไรควรทำ  อะไรไม่ควรทำ  อะไรควรต้องมีบทลงโทษแบบใด คัมภีร์ถูกประทานลงมา เพราะคัมภีร์จะมาบอกเราว่า ต้องจัดการอย่างไร
เราอาจจะไม่ได้อ่านคัมภีร์เตารอต  อินญีล  ทว่าแค่คัมภีร์อัลกุรอานก็เพียงพอ  
กรณีตัวอย่าง: คัมภีร์อัลกุรอานห้ามกินดอกเบี้ยหรือไม่? — อัลกุรอานลงมาห้ามกินดอกเบี้ย  อัลกุรอานลงมาห้ามกินเหล้า  และก็ห้ามอีกหลายๆอย่าง
‎وَ لا تَقْرَبُوا الزِّنی ห้ามทำซีนา  ห้ามซอเล็ม  แล้วจากนั้น นบี(ศ็อลฯ) ยังมาห้ามเพิ่มต่อ
คำถาม: สิ่งต่างๆเหล่านี้ ทั้งสิ่งที่ห้าม และสิ่งที่ใช้ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานจะนำมาตัดสินมนุษย์ ได้หรือไม่ หากเราไม่มี “อำนาจรัฐ “? —พูดในภาษาการเมือง
คำตอบ: ไม่ได้ เราจะไปถึงที่ซึ่งสามารถนำฮุก่มของอัลลอฮ์(ซ.บ)  มาตัดสินกันได้นั้น เราจะต้องมีอำนาจรัฐ  ดังนั้นศาสดามาเพื่อตัดสิน  โดยทางอ้อม  อัลลอฮ์(ซ.บ) จะบอกว่า ส่งศาสดามา “เพื่อมาปกครองพวกเจ้า “ มาเพื่อสร้างรัฐบาลขึ้นมาในโลกนี้  คัมภีร์แห่งการปกครองก็ได้ถูกประทานลงมา
‎لِيَحْكُمَ بَيْنَ النَّاسِ فِيمَا اخْتَلَفُوا فِيهِ [ส่งศาสดามาตัดสิน] ในทุกๆความขัดแย้ง ทั้งหมด นี่คือเป้าหมายของมับอัษ และเป็นเป้าหมายของทุกๆศาสดา  หากสามารถทำได้  ศาสดาส่วนหนึ่งก็ทำได้  ขณะที่ศาสดาอีกส่วนหนึ่งก็ทำไม่ได้  ด้วยเพราะอาจมีหลายเหตุผล
อย่างไรก็ตาม ที่ศาสดาทำไม่ได้ เป็นเพราะศาสดาไม่มีความพร้อม กระนั้นหรือ? — มิใช่เช่นนั้น ศาสดามีความพร้อม หากแต่คนที่ตามศาสดาต่างหาก ที่ไม่มีความพร้อม  
นี่ก็อีกอันหนึ่งที่เป็นภารกิจของมับอัษ เป็นภารกิจหลักของทุกๆศาสดา  อัลลอฮ์ (ซ.บ) ต้องการจะบอกว่ามับอัษลงมาเพื่อสิ่งนี้
ทีนี้มาดูมับอัษที่เกี่ยวข้องกับนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)  โดยตรง •••
[โปรดติดตามตอนต่อไป]
������คำอธิบาย: อัลลอฮ์(ซ.บ) ตรัสว่า:
‎وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَّسُولًا “และเราได้มับอัษไปยังทุกๆประชาชาติ رسولا ให้มีรอซูลในหมู่พวกเขา” — ซึ่งอันนี้เป็นการยืนยันว่า อัลลอฮ(ซ.บ) เคย “ส่ง” นบีไปแล้ว ในทุกๆประชาชาติของโลกนี้ เราจะแปลมับอัษ ณ ที่นี่ว่าส่ง เพื่อให้เข้าใจง่าย
ดังนั้น จึงไม่มีประชาชาติใดในโลกนี้ ที่จะสามารถพูดได้ว่า ‘ไม่เคยมีนบีถูกส่งมายังพวกเรา’ หรือ ‘ในหมู่พวกเรา ไม่มีใครได้รับการมับอัษให้เป็นนบีเลย’ — เพราะในโองการนี้ได้ยืนยันสิ่งนี้
อันที่จริง ยังมีอีกหลายโองการ แต่โองการอื่นๆ ไม่ได้ใช้คำว่า บะอะษะ เราจึงยกมาเพียงหนึ่งโองการ อย่างไรก็ดี เป้าหมายของเรา ไม่ได้ต้องการจะพูดว่า นบีได้ถูกส่งไปยังทุกๆประชาชาติ แต่ที่ยกมา ก็เพื่อเป็นการยืนยัน
ประโยคที่ 2 ของอายัตนี้ [ซูเราะฮ์อัลนะฮ์ลฺ โองการที่ 36] อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้บอกถึงภารกิจหลักของ บะอะษะในประโยคถัดไป กล่าวคือ ทุกๆนบีในทุกๆ ประชาชาติ นบีทุกองค์ที่ถูกมับอัษมาทั้งหมดนั้น มีภารกิจหลัก ที่เหมือนกันประการหนึ่งในเบื้องต้น ขณะที่นบีบางองค์ ก็มีภารกิจพิเศษที่ไม่เหมือนนบีองค์อื่น
ทว่าเราจะกล่าวถึงภารกิจหลักก่อน ภารกิจหลักที่อัลลอฮ์(ซ.บ) ตรัสในซูเราะฮ์อัลนะฮ์ลฺ ตรงนี้ คือ
‎ أَنِ اعْبُدُوا اللَّهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ
“เพื่อนำมนุษย์สู่การภักดีต่ออัลลอฮ์(ซ.บ)...” — หากกล่าวในศัพท์วิชาการก็คือ เพื่อนำมนุษย์เข้าสู่เตาฮีด นี่คือ ภารกิจหลักของทุกๆนบีที่ถูกเบียะษะฮฺ หรือ ถูกมับอัษขึ้นมา
‎ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ  — “และนำออกมาจากตอฆูตทั้งหลาย” — นี่ก็คือภารกิจหลักของทุกๆศาสดา อนึ่ง คือ การเอามนุษย์ออกมาจากตอฆูต เอามนุษย์ออกจากการยอมรับ หรือก้มหัวให้กับบรรดาตอฆูตทั้งหมด
อันที่จริง ตอฆูตนั้น เราสามารถอธิบายได้ ทั้งในนามธรรม และรูปธรรม ตอฆูตที่เป็นรูปธรรม เช่น ฟิรอูน(ล.น) ฮารูน(ล.น) บรรดาผู้กดขี่ทั้งหมด เหล่านี่คือ ตอฆูตที่เป็นรูปธรรม
ในด้านนามธรรม ก็คือ ทุกแนวคิด ทุกความเชื่อ ทุกระบบที่แปลกปลอม นี่ก็ถือเป็นตอฆูตเช่นเดียวกัน
ดังนั้น ภารกิจของบรรดาศาสดา ก็คือ การนำมนุษย์ออกจากระบบการปกครองที่แปลกปลอม ระบบปกครองที่ไม่ได้มาจากอัลลอฮ(ซ.บ) ระบบของตอฆูตทั้งหมดในภาพรวม นี่คือ ภารกิจของมับอัษ โดยทุกๆศาสดาที่อัลลอฮ (ซ.บ) ส่งมานั้น มีภารกิจหลักที่สำคัญ [ดังที่กล่าวมา]
และหลังจากที่บอกถึงภารกิจแล้ว ในอีกอายัตหนึ่ง อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้เริ่มอธิบาย และลงสู่รายละเอียดด้วยพระองค์เอง นั่นคือ ในซูเราะห์บะกอเราะห์ อายัตที่ 213  
ข้อสังเกต: ผมเลือกเฉพาะอายัตที่มีคำว่า บะอะษะ ซึ่งอันที่จริงแล้วมีมากมาย แต่จะยกมาเพียง 3 อายัต และความจริงแล้ว คำว่า ارسلنا อัรซัลนา ก็คือ มับอัษเช่นเดียวกัน แต่ไม่ใช่คำโดยตรง จึงไม่หยิบยกมา ทว่าอัรซัลนา ก็บอกถึงภารกิจหลัก เหมือนคำว่ามับอัษเช่นกัน
������อายัตที่ 2
อายัตที่ 2 ที่เราจะพูดคุยกัน อยู่ในซูเราะฮ์อัลบากอเราะฮ์ โองการที่ 213 ซึ่งเอกองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ) ทรงตรัสว่า:
‎كَانَ النَّاسُ أُمَّةً وَاحِدَةً فَبَعَثَ اللَّهُ النَّبِيِّينَ مُبَشِّرِينَ وَمُنذِرِينَ وَأَنزَلَ مَعَهُمُ الْكِتَابَ بِالْحَقِّ لِيَحْكُمَ بَيْنَ النَّاسِ فِيمَا اخْتَلَفُوا فِيهِ  
“แท้ที่จริงแล้วมนุษยชาติ คืออุมมัตเดียวกันคือพวกเดียวกัน ภายหลังอัลลอฮ์ได้ส่งบรรดานบีมาในฐานะผู้แจ้งข่าวดี และผู้ตักเตือน และได้ทรงประทานคัมภีร์อันกอปรไปด้วยความจริงลงมากับพวกเขาด้วยเพื่อว่าคัมภีร์นั้นจะได้ตัดสินระหว่างมนุษย์ในสิ่งที่พวกเขาขัดแย้งกัน..”
������คำอธิบาย: فَبَعَثَ اللَّهُ النَّبِيِّينَ... อัลลอฮ์(ซ.บ) ได้ทำการเบียะษะฮฺ หรือ มับอัษ บรรดานบีต่างๆ นบีทุกองค์ ลงมา

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม