เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ภารกิจแห่งการมับอัษ คืออะไร? ตอนที่ 3

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5
ภารกิจแห่งการมับอัษ คืออะไร? ตอนที่ 3
������บางส่วนจากการบรรยายโดย ฮุจญตุลอิสลามฯ ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี ในวันคล้ายวันอีดุลมับอัษ 27 รอญับ ฮ.ศ. 1443 ตรงกับวันที่ 28 ก.พ. 2565
___________________
[เนื้อหาต่อจากตอนที่ 2]
••• ทีนี้ มาดูมับอัษที่เกี่ยวข้องกับท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)​ โดยตรง​ ในประเด็นนี้ สิ่งที่เราอ่านไปก่อนหน้า [ซึ่งเกี่ยวกับการมับอัษบรรดานบีในภาพรวมนั้น] ท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)​ก็ต้องมี​ แต่ทว่าในการมับอัษบรรดาศาสดาทั้งหมด มีมับอัษของท่านมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)​ ที่มีเรื่องอื่นเข้ามา​ หรือมีสิ่งพิเศษอื่นเข้ามา​ อันทำให้การมับอัษท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)​นั้น พิเศษกว่าทุกๆศาสดา
กลับไปยังอายัต ที่เราอ่านตอนเริ่มต้นในการเปิดมัจญลิส​ ซึ่งเอกองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)​ตรัสไว้ ในซูเราะฮ์อาลิอิมรอน โองการที่ 164 ความว่า
‎لَقَدْ مَنَّ اللَّهُ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ إِذْ بَعَثَ فِيهِمْ رَسُولًا مِّنْ أَنفُسِهِمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آيَاتِهِ وَيُزَكِّيهِمْ وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ
"แน่แท้อัลลอฮฺ(ซบ.)นั้นมีบุญคุณอย่างล้นเหลือกับบรรดาผู้ศรัทธา เมื่อได้ส่งรอซูลลงมาในหมู่พวกเขาโดยที่เขา(นบี)จะมาสาธยายโองการของพระองค์ให้พวกเขาฟัง และทำการขัดเกลาพวกเขาและจะสอนคัมภีร์และความรู้ให้กับพวกเขา..."
»»»»»»»»»»»»»
لَقَدْ مَنَّ اللَّهُ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ....
لَقَدْ مَنَّ اللَّهُ — แน่แท้แน่นอน”
لَقَدْ مَنَّ اللَّهُ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ อัลลอฮ์(ซบ)​ตรัสว่า
“อัลลอฮ์นั้นได้มีบุญคุณอย่างล้นเหลือกับบรรดามุมิมีน​ “ — หรือ บรรดาผู้ศรัทธา
ตรงนี้มี​ 2 เรื่องที่เข้ามา:
1) มับอัษทั่วไป​ อัลลอฮ์(ซ.บ)​ พูดกับประชาชาติในภาพรวม​
2) แต่มับอัษท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)​ อัลลอฮ์ (ซ.บ) ตรัสกับมุอฺมิน
อย่างไรก็ดี หากไปดูอายัตอื่น อัลลอฮ์(ซ.บ)​ก็พูดกับประชาชาติในภาพรวมเช่นเดียวกัน อาทิ อายัตต่างๆ ดังที่พระองค์ทรงตรัสกับท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)​โดยตรง
‎إِنَّآ أَرْسَلْنَـٰكَ .. แท้จริงเราได้ส่งเจ้ามา.. หรือ
‎...وَمَا أَرْسَلْنَاكَ إِلَّا كَافَّةً لِلنَّاسِ
แท้จริง โอ้มูฮัมมัดเอ๋ย​ ที่เราส่งเจ้าลงมาเพื่อมนุษยชาติทั้งหมด [ซูเราะฮฺอัลสะบะฮ์:28]
​ดังนี้ เป็นการยืนยันว่าท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)​ก็ถูกส่งมาเพื่อประชาชาติทั้งหมด​
นอกจากนั้น ตัวของอัลกุรอานเอง ก็ยืนยันสิ่งนี้​ โดยอัลกุรอานได้ยืนยันตามที่พระองค์ตรัสว่า
هدی للناس
[อัลกุรอาน] มาเพื่อ “ชี้นำมนุษยชาติทั้งหมด”​ ซึ่งเราจะไม่เข้าไปยังรายละเอียด ทว่าตรงนี้เป็นการสร้างความมั่นใจว่า​ ท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)​ มาเพื่อมวลมนุษยชาติทั้งหมด เหมือนกับท่านนบีทุกองค์
อย่างไรก็ตาม ในอายัตนี้ กล่าวคือ ในซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน โองการที่ 164 — ทำไมอัลลอฮ์(ซ.บ)​ จึงตรัสแบบนี้..ตรัสว่า: لَقَدْ مَنَّ اللَّهُ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ
‘แท้จริงอัลลอฮ์(ซบ)​ได้มีบุญคุณอย่างมากกับบรรดามุอฺมิน’
������คำถาม​ ​: มับอัษของนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)​เพื่อมนุษยชาติทั้งหมดหรือไม่?
[ตอบ] มับอัษของท่านนบีมูฮำหมัด(ศ็อลฯ) เพื่อมนุษยชาติทั้งหมด​ — [ถึงกระนั้น] หากมับอัษของท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)​เป็นไปเพื่อมนุษยชาติทั้งหมด​ แล้วทำไมอัลลอฮ์(ซ.บ)​ จึงตรัสว่า​ บุญคุณนี้สำหรับมุอฺมินเท่านั้น​? — *อันนี้ เป็นเรื่องหนึ่งที่จะเก็บคำตอบไว้ ณ ท้ายมัญลิส
»»»»»»»»»»»»
"บุญคุณอย่างใหญ่หลวง" ​ณ ที่นี่ ในภาษาวิชาการ ในผู้ที่รู้อาหรับ หรือฟาร์ซี​จะบอกว่า ‘ทำไมอัลลอฮ์(ซ.บ) منت (มินนัต) ทำไมอัลลอฮ์(ซ.บ)​ทวงบุญคุณ’ — เนื่องจาก لَقَدْ مَنَّ اللَّه นั้น คือ อัลลอฮ์(ซ.บ)​พูดว่า ‘นี่เป็นบุญคุณอย่างมาก ที่ส่งมูฮัมมัดให้กับพวกเจ้า’​ — หรือหากพูดให้พี่น้องสามารถเข้าใจได้ง่าย คือ เหมือนกับว่า อัลลอฮ์(ซ.บ)​ ทวงบุญคุณ
������คำถาม: ทวงบุญคุณกับใคร??
[ตอบ] กับมุอฺมิน มิใช่ทวงบุญคุณกับมนุษยชาติ​ ทวงบุญคุณกับมุอฺมิน​ แต่ไม่ได้ทวงบุญคุณกับมนุษยชาติ — อนึ่ง เหตุผลของมัน จะมีคำตอบอยู่ ณ ท้ายมัจญลิส — ดังนั้น มีความไม่เหมือนกันอยู่ตรงนี้​
✳️ความแตกต่างของการมับอัษนบีมูฮำหมัด(ศ็อลฯ) กับบรรดานบีองค์อื่นๆ
ความไม่เหมือนกันลำดับที่หนึ่ง คือ การเบียะษัตของทุกๆนบี​นั้น อัลลอฮ์(ซ.บ)​ไม่เคยทวงบุญคุณ​ — ดูได้จากที่ใด?​ — สามารถดูจากอัลกุรอาน ไม่เคยมี[ระบุ] แต่หากอัลลอฮ์(ซ.บ)​ ทรงไปทวงบุญคุณจากที่อื่นนั้น เราไม่ทราบ เราดูจากอัลกุรอานว่าไม่มี​ เช่น ไม่เคยตรัสว่า​ ​لقد من الله علی قوم نوح แท้จริงเรามีบุญคุณกับประชาชาติของนุฮ์​ .. หรือ กับประชาชาติของนบีซอและฮ์ — ไม่มีบอกเช่นนี้ในอัลกุรอาน
มีเพียง 2 ที่เท่านั้น ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ) ทรงทวงบุญคุณในอัลกุรอาน​ ดังที่มีการใช้คำว่า یمن/ من (ยามุนนา/ มันนา) ซึ่งหมายถึง พระองค์กำลังทวงบุญคุณกับผู้อ่าน คือ:
1)ในการส่งนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)​ เป็นการทวงบุญคุณครั้งที่หนึ่ง
2)ในการส่งอิมามมะฮ์ดี​(อ) เป็นการทวงบุญคุณครั้งที่สอง *อินชาอัลลอฮ์​ ถ้ายังมีชีวิตอยู่จะได้ฟังในมัจลิสค่ำคืน​ที่ 15 ชะอฺบาน*
ย้อนกลับมา [ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง] มันมีอะไรพิเศษ ที่สำคัญ ในการมับอัษท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)​จนถึงขั้นที่อัลลอฮ์(ซ.บ)​ต้องทวงบุญคุณ​ และทำไมจึงทวงบุญคุณเฉพาะกับบรรดามุอฺมิน? — ซึ่งประเด็นทวงบุญคุณกับผู้ศรัทธานี้ ให้เราเก็บเอาไว้ก่อน...
������ปรัชญาเบื้องหลังการมับอัษนบี “ในหมู่พวกเขา”
لَقَدْ مَنَّ اللَّهُ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ
แท้จริงอัลลอฮ์(ซ.บ)​มีบุญคุณอย่างมากกับบรรดาผู้ศรัทธา
إِذْ بَعَثَ فِيهِمْ
เมื่อได้ทำการมับอัษ “ในหมู่พวกเขา​“
“ในหมู่พวกเขา” ณ ที่นี่ บางอุลามาอฺบอกว่า [หมายถึง] ในหมู่มวลมนุษย์นี่แหละ ส่งศาสดาในหมู่พวกเขา​ แปลอย่างง่ายในเบื้องต้น โดยไม่ลงรายละเอียดในทุกคำ คือ การนำเอามนุษย์มาเป็นศาสดาของพวกเขา
‎ رسولا من انفسهم — จากพวกเขา​ แบบเดียวกับพวกเขา ซึ่งบางอาเล็มอุลามาอฺ บางนักตัฟซีรให้ความหมาย ​​انفسهم ว่า ศาสดาที่เหมือนกับพวกเขา คือ​ มีเจ็บ​ มีนอน​ มีตาย​ มีกิน มีเลือด​ มีปวด เหมือนมาจาก جنس หรือ มาจากชนิดเดียวกันกับพวกเขา​
อัลลอฮ์(ซ.บ)​ ไม่ได้นำเอามลาอิกัตมาเป็นนบี​ ซึ่งเมื่อก่อน หลายๆคนถามว่า ‘ทำไมอัลลอฮ์(ซ.บ)​ไม่ส่งมลาอิกัตมาเป็นนบี​?’ — มลาอิกัตเก่งนะ ทำได้ทุกอย่าง​ เหาะก็ได้​ ไม่ดีกระนั้นหรือ?
แต่หากอัลลอฮ์(ซ.บ)​ส่งมลาอิกัตมาเป็นนบี​ ปัญหาอะไรจะเกิดขึ้น? — [ตอบ] ก็เป็นข้ออ้างสำหรับเราได้​ มลาอิกัตไม่ใช่มนุษย์​ มลาอิกัตไม่หิว​ ไม่นอน​ ทำอะไรก็ได้​ นมาซทั้งคืน ก็สามารถทำได้ แต่เราทำไม่ได้​ (ฯลฯ)
ดังนั้น ถ้ามลาอิกัตเป็นนบี​ มนุษย์ก็จะมีข้ออ้างอย่างมากมาย​ นั่นคือเหตุผล​ที่ อัลลอฮ์(ซบ)​จึงนำเอามนุษย์มาเป็นนบี ให้ต่อสู้​ ให้ทำเป็นแบบอย่างให้เราดู
ท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)​ หากนมาซมากเกินไป จะเป็นอย่างไร​? อะไรจะเกิดขึ้น— [ตอบ] ขาก็จะบวม​ อาจต้องหายามากินเหมือนกัน หากเราจะบอกว่า ‘นมาซมากมายขนาดนั้น เมื่อยจะตาย’ ท่านนบีก็เมื่อยเช่นเดียวกัน​ ท่านนบีถือบวช แล้วท่านอิ่มทิพย์กระนั้นหรือ? — ไม่ใช่​เช่นนั้น เพราะท่านนบี ก็หิวไม่ต่างกัน​
หิวมากเพียงใด? หิวถึงขนาดที่ว่า [ตัวอย่างเช่น] ท่านอิมามอะลี (อ) ได้นำเอาก้อนหินมาผูกที่ท้อง​ ผูกไว้ให้แน่น เพื่อให้กระเพาะชิดกัน​ เพราะเมื่อกระเพาะชิดกันแล้ว จะมีอาการพออิ่มบ้าง​ หากไม่รัดไว้ กระเพาะจะห่าง ทำใหัอาการหิวมีมากขึ้น
ดังนั้น [บรรดาฮุจญาตของพระองค์] ก็หิวเช่นเดียวกับเรา ท่านอิมามอะลี(อ) ก็เช่นเดียวกัน หิวถึงขั้นที่ว่าเอาหินมาผูกที่ท้อง​ และแม้จะหิวในสภาพนั้น ท่านอิมาม(อ.) ก็ยังบริจาคของที่ตัวเองจะกินให้กับผู้อื่น​
เพื่อจะตัดเหตุผลอันหนึ่ง อัลลอฮ์(ซ.บ)​จึงตรัสว่า
​ من انفسهم
[ส่งนบี]จากหมู่พวกเขา​ เป็นการแสดงให้พวกเขาดู​ ‘ทุกอย่างที่ฉันให้เจ้าทำ​ ฉันก็ทำเอง​ ถ้าฉันใช้ให้พวกเจ้าบริจาค​ ฉันก็บริจาคมากกว่า​ ถ้าฉันใช้ให้นมาซ ฉันนมาซมากกว่า​ ถ้าฉันใช้ให้พวกเจ้าถือบวช​ ฉันถือบวชมากกว่า​ ถ้าฉันใช้ให้พวกเจ้าสู่สงคราม​ ฉันก็ออกสงครามมากกว่า​ ถ้าฉันถูกฟันเลือดก็ออก​ ถ้าฉันถูกตี​ ฉันก็เหมือนกับเจ้าทุกประการ’
นี่คือหนึ่งในปรัชญาที่อัลลอฮ์(ซ.บ)​
رَسُولًا مِّنْ أَنفُسِهِمْ
“ส่งรอซูลมาในหมู่พวกเขาเอง”​ จากประเภทของพวกเขาเอง​ แบบเขาทุกอย่าง •••
[โปรดติดตามตอนต่อไป]

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม