บทนำ ตัฟซีรซูเราะฮ์ยาซีน

บทนำ ตัฟซีรซูเราะฮ์ยาซีน


ตัฟซีรซูเราะฮ์ยาซีน
ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี
แปลโดย เชค อิมรอน พิชัยรัตน์


บทนำ
มุสลิมในประเทศไทยมีการอ่านซูเราะฮ์ยาซีนกันบ่อยครั้งตามโอกาสต่างๆ ในมัสญิด อิมามบาราห์ ฮุซัยนียะฮ์และศูนย์ต่างๆของอิสลามซึ่งมีผู้คนมากบ้างน้อยบ้างรวมตัวกันอ่านซูเราะฮ์ยาซีนอันจำเริญนี้ มีการเชิญพี่น้องมุสลิมร่วมอ่านซูเราะฮ์ยาซีนในค่ำคืนวันศุกร์ งานวันตายและโอกาสอื่นๆตามสถานที่ต่างๆ ทว่าเป็นที่น่าเสียดายที่ซูเราะฮ์นี้ถูกอ่านกันเพื่อเอามรรคผล(ษะวาบ)เล็กๆน้อยๆ! ทั้งที่ผู้คนแม้แต่คนอ่านซูเราะฮ์ยาซีนเองกลับลืมและไม่ใส่ใจถึงผลทางด้านปัจเจก-สังคม ด้านการเมืองและการเคารพภักดีพระเจ้า (อิบาดัต)ของซูเราะฮ์นี้! อันที่จริงการอ่านซูเราะฮ์นี้จะได้รับมรรคผลมากเป็นทวีคูณตามคำกล่าวของอัลกุรอานเอง ก็ต่อเมื่อได้พินิจพิจารณาถึงความหมายผลพวงและผลที่ตามมาด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะเป็นเพียงการอ่านที่แห้งผาก ปราศจากผลใดๆ แน่นอนว่าเช่นนี้ย่อมได้ประโยชน์และมรรคผลน้อยมาก

เช่นสามารถที่จะยกตัวอย่างเรื่องเล่ามากมายที่เป็นอุทาหรณ์สอนใจอย่างมาก ในซูเราะฮ์นี้ ซึ่งแต่ละเรื่องเล่าสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตของกลุ่มชนหนึ่งหรือสังคมหนึ่งได้เลยทีเดียว 
เล่าเกี่ยวกับชายคนหนึ่งวิ่งมายังที่ชุมนุมอย่างรีบร้อนแล้วกล่าวว่า: โอ้กลุ่มชนของฉัน พวกท่านจงปฏิบัติตามบรรดาผู้ถูกส่งมาเถิด พวกท่านจงปฏิบัติตามบุคคลผู้ซึ่งมิได้ขอรางวัลตอบแทนใดจากพวกท่านและพวกเขาก็ได้รับทางนำแล้ว (ซูเราะฮ์ยาซีน โองการที่ 20 และ 21) แต่กลุ่มชนนั้นกลับกลั่นแกล้งศาสดาของตนสารพัด อันดับแรกพวกเขาได้สังหารบุรุษผู้นี้! สามารถรับสารมากมายจากโองการเหล่านี้แล้วบอกกล่าวแก่ผู้อื่น หรือในด้านปัจเจกซูเราะฮ์นี้ได้ให้คำตอบอย่างชัดเจนแก่ผู้ที่คิดว่าเป็นไปได้อย่างไรกันกระดูกที่ผุกร่อนไปแล้วจะฟื้นกลับมาอีกครั้งหนึ่ง (ซูเราะฮ์ยาซีน โองการที่ 78)! ความคิดเช่นนี้เป็นความคิดที่เสียหายและบิดเบี้ยว เพราะเขาไม่สามารถที่จะมโนภาพหลายทศวรรษที่ผ่านมาว่าเขาไม่มีแม้แต่ร่องรอยของกระดูกที่ผุกร่อนนี้ด้วยซ้ำไปแต่ด้วยพระประสงค์ของพระเจ้าเขากลายเป็นมนุษย์ที่ครบสมบูรณ์ในที่สุด(ซูเราะฮ์ยาซีน โองการที่ 79)! การพูดคุยด้านนี้จากซูเราะฮ์ยาซีนส่งผลต่อจิตวิญญาณโดยทำให้มนุษย์ยึดหลักเอกานุภาพเป็นสรณะและยึดมั่นอัลลอฮ์ผู้ทรงเอกะเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

การทำความรู้จักเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอซูเราะฮ์นี้
นักอรรถาธิบายอัลกุรอานต่างยึดแนวทางและวิธีการหนึ่งในการอรรถาธิบายอัลกุรอาน แนวทางและวิธีการหลักในการอรรถาธิบายอัลกุรอานได้แก่: การอรรถาธิบายเรียงตามลำดับโองการและแบ่งตามเนื้อหา(ตัรตีบีและเมาฎูอี)
 หรือเป็นการดีกว่าที่เราจะกล่าวว่าแนวทางและวิธีการอรรถาธิบายอัลกุรอานที่ใช้กันทั่วไปนั้น บางครั้งคำนึงด้านรูปแบบ ซึ่งครอบคลุมถึง: การอรรถาธิบายเรียงตามลำดับโองการและแบ่งตามเนื้อหา (ตัรตีบีและเมาฎูอี) แต่สำหรับด้านของแหล่งที่มา (มันบะอ์) นั้นคือวิธีการอรรถาธิบายอัลกุรอานด้วยอัลกาอาน  อรรถาธิบายอัลกุรอานด้วยปัญญาและการอรรถาธิบายด้วยการรายงาน (นักลี) ส่วนในด้านของบรรทัดฐาน บางครั้งก็จะใช้วิธีการวินิจฉัย (อิจติฮาด) นิติศาสตร์ (ฟิกฮ์) ไวยากรณ์ (อะดะบี) ปรัชญา และ ... เป็นต้น
เราจะใช้วิธีการของมัรฮูมอัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอีย์ กล่าวคือ วิธีการอรรถาธิบายอัลกุรอานด้วยอัลกุรอาน ในการอรรถาธิบายซูเราะฮ์นี้ ทว่าเราจะผนวกการคิดค้นและการริเริ่มที่สูงกว่าเข้าไป นั่นคือวิธีการที่เบื้องต้นเราจะอรรถาธิบายแต่ละโองการด้วยการช่วยเหลือจากโองการต่างๆที่มีอยู่ในซูเราะฮ์นี้ จากนั้นก็จะนำโองการอื่นๆมาอรรถาธิบายโองการที่กำลังพูดถึงแล้วนำริวายัตที่เกี่ยวข้องมาอธิบายอีกที
 เราเชื่อว่าต้องอรรถาธิบายอัลกุรอานด้วยอัลกุรอานเองจนสุดความสามารถเท่าที่จะทำได้


มีสาวกถามอิมามบาเกร (อ.) ว่า:ท่านออกฮุกุ่มวุญูบสำหรับการนมาซย่อในการเดินทาง (นมาซสองระกะอัตแทนนมาซสี่รอกะอัต)ได้อย่างไร? ทั้งที่มีโองการอัลกุรอานเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า


وَإِذَا ضَرَبْتُمْ فِى ٱلْأَرْضِ فَلَيْسَ عَلَيْكُمْ جُنَاحٌ أَن تَقْصُرُواْ مِنَ ٱلصَّلَوٰةِ

และเมื่อพวกเจ้าเดินทางไปในผืนแผ่นดินก็ไม่เป็นบาปใดๆ แก่พวกเจ้าที่จะลดการนมาซลง (ซูเราะฮ์อันนิซา โองการที่ 101)


อันที่จริงแล้วการตั้งคำถามนี้ขึ้นเพื่อบอกว่าท่านใช้บรรทัดฐานใดทางนิติศาสตร์(ฟิกฮ์) ในการให้ความหมายของ ลาญุนาฮ้า หรือ ลัยสะอะลัยกุม ว่าวุญูบ? ทั้งที่ความหมายภายนอกของลาญุนาฮ้าให้ความหมายถึงการเป็นอิสติห์บาบและอนุญาต?


 อิมามท่านที่ห้า (อ.) ได้ตอบด้วยการยกโองการอัลกุรอานอย่างน่าทึ่งว่า: ด้วยเหตุผลที่ว่าอีกโองการหนึ่งกล่าวว่า:

 

فَمَنْ حَجَّ ٱلْبَيْتَ أَوِ ٱعْتَمَرَ فَلَا جُنَاحَ عَلَيْهِ أَن يَطَّوَّفَ بِهِمَا

ดังนั้นผู้ใดประกอบพิธีฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์ ณ บัยตุลลอฮ์ ก็ไม่เป็นการห้ามแก่เขาที่จะเดินเวียนไปมาระหว่างเนินเขาทั้งสอง


สามารถที่จะออกฮุกุ่มอิสติห์บาบสำหรับการเดินเวียนไปมา (สะแอ)ระหว่างภูเขาซอฟาและมัรวะฮ์ได้อย่างนั้นหรือ?
เราก็เช่นกันได้เรียนและสอนตามหลักของฟิกฮ์ที่ถือว่าด้านภายนอก (ซอฮิร)ของอัลกุรอานนั้นเป็นฮุจญัตจนกว่าจะยังไม่มีฮุจญัตอื่นที่มาแย้ง


ที่มา เพจอัลมุศฏอฟา