ทำความรู้จักเดือนรอมฎอน

ทำความรู้จักเดือนรอมฎอน


เชคอาลี  พิชัยรัตน์/แปลเรียบเรียง


อะไรคือเดือนรอมฎอน ?
รอมฎอน ในทางภาษาให้ความหมายว่า ความร้อนระอุ และการเผาไหม้ ด้วยเหตุนี้เดือนรอมฎอนจึงได้ชื่อว่าเป็นเดือนแห่งการอภัยโทษบาปต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้กระทำมาเพราะบาปของพวกเขาจะถูกเผาไหม้นั่นเอง ท่านศาสดาแห่งอิสลามได้ดำรัสว่า “เดือนรอมฎอนที่ถูกเรียกขานเช่นนี้ เนื่องจากบาปต่าง ๆ จะถูกเผาไหม้” แน่นอนที่สุดบาปที่ถูกเผาไหม้ย่อมมาจากผลของการถือศีลอดและการละเว้นจากสิ่งต้องห้ามต่าง ๆ ตามศาสนบัญญัติด้วยจิตที่บริสุทธิ์นั่นเอง
������รอมฎอนเป็นชื่อของเดือนหนึ่ง (เดือนที่ 9) ตามปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนเดียวที่ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์อัลกุรอาน และเป็นหนึ่งในสี่เดือนตามปฏิทินอิสลามที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงห้ามทำสงคราม (ฮะรอม) (นอกจากเป็นไปเพื่อการปกป้องเท่านั้น)
������เดือนรอมฎอนอันจำเริญ นอกจากเป็นเดือนแห่งการวิวรณ์พระมหาคัมภีร์อัลกรอานแล้วบรรดาคัมภีร์แห่งฟากฟ้าอื่น ๆ ก็ถูกวิวรณ์ในเดือนนี้เช่นกัน นั้นคือคัมภีร์เตารอต อินญีล ซะบูร และศุฮุฟของบรรดานบีต่าง ๆ 
������มการบันทึกโดยอ้างอิงจากคำดำรัสของศาสดาแห่งอิสลามไว้มากมายถึงความจำเริญและการยกสถานภาพของมนุษย์ในเดือนนี้ ดั่งที่ศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อล) แห่งอิสลามได้ดำรัสว่า “เดือนรอญับคือเดือนของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เดือนชะอ์บานคือเดือนของฉัน และเดือนรอมฎอนคือเดือนแห่งประชาชาติของฉัน” จากคำจำกัดความนี้ทำให้เข้าใจได้ว่าเดือนรอมฎอนอันจำเริญนี้คือเดือนแห่งความเมตตาสำหรับเรา และเราคืออาคันตุกะของพระองค์
������บรรดามุสลิมจะให้ความเคารพและให้ความสำคัญกับเดือนนี้เป็นอย่างมาก เพราะทุกคนถือว่าเป็นเดือนแห่งการขัดเกลาจิตวิญญาณโดยแท้จริง มีผู้ศรัทธาจำนวนมากได้เริ่มตระเตรียมองค์ประกอบทางจิตวิญญาณของเขาตั้งแต่เดือนรอญับและชะอ์บานเพื่อสร้างบรรยากาศในการบำเพ็ญตนและขัดเกลาจิตของตนเพื่อการมาของเดือนรอมฎอน นั้นก็เพื่อให้ชีวิตของเขาเข้าสู่เดือนรอมฎอนด้วยความบะรอกัต (มีสิริมงคล) 
������อกมุมหนึ่งที่น่าสนใจของเดือนนี้ นั้นคือการมอบอาหารให้แก่เพื่อนมนุษย์ มุสลิมผู้ถือศีลอดจะถวิลหาความรักจากพระเจ้าโดยการมอบอาหารให้แก่ผู้อื่นถึงแม้ว่าเขาจะบำเพ็ญตนในการอดอาหารอยู่ก็ตาม นอกจากนี้จะมีการอ่านอัลกุรอาน ทำละหมาด ขอพร ขออภัยโทษ และบริจาคทานตลอดทั้งเดือนอีกด้วย
อ้างอิง
 1. مفردات الفاظ القرآن، راغب اصفهانی، ص 209، دارالکتاب العربی، بیروت.
 2. بحارالانوار، علامه مجلسی، ج 55، ص 341، مؤسسه الوفاء، بیروت.
 3. ر.ک: الکافی، محمد بن یعقوب کلینی، ج 2، ص 628، دارالکتب الاسلامیة، تهران.
 4. وسائل الشیعه، شیخ حر عاملی، ج 2، ص 628، دارالکتب الاسلامیة، تهران.