เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

คำอธิบาย บทยูนุส โองการที่ 41

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5


คำอธิบาย บทยูนุส โองการที่ 41

 

‎وَإِن كَذَّبُوكَ فَقُل لِي عَمَلِي وَلَكُمْ عَمَلُكُمْ أَنتُم بَرِيئُونَ مِمَّا أَعْمَلُ وَأَنَا بَرِي‏ءٌ مِمَّا تَعْمَلُونَ

และถ้าพวกเขาปฏิเสธเจ้า (ไม่ยอมเชื่อถือ กล่าวว่าเป็นเรื่องโกหก) ก็จงกล่าวเถิดว่า  “การงานของฉันเป็นของฉัน และการงานของพวกท่านเป็นของพวกท่าน (ทั้งพวกเราและพวกท่านจะได้เห็นผลที่ตัวเองกระทำลงไปอย่างแน่นอน)  พวกท่านไม่ต้องรับผิดชอบสิ่งที่ฉันกระทำ และฉันก็ไม่รับผิดชอบสิ่งที่พวกท่านกระทำ”

ถอดความจากโองการนี้

1.เราไม่สามารถบังคับให้คนอื่นมีศรัทธามีอีหม่านต่ออัลลอฮฺ ซบ. ได้ ภารกิจของบรรดาศาสดานั้นคือการอบรมสั่งสอนและชี้นำ ไม่ใช่บังคับ « وَإِن كَذَّبُوكَ فَقُل...»

2.ผู้ชี้นำไปสู่อิสลามจะต้องพร้อมรับการถูกกล่าวหาว่าเป็นคนโกหกจากผู้คนบางส่วน « وَإِن كَذَّبُوكَ »

3.ในการชี้นำไปสู่อิสลาม อย่าได้รู้สึกเจ็บปวดไปเลยเมื่อคนอื่นหาว่าเราโกหก เพราะเราจะได้รับรางวัลของพระองค์จากการชี้นำและอบรมสั่งสอน และบรรดาผู้ปฏิเสธจะได้รับบทลงโทษจากการปฏิเสธ และความดื้อรั้นของตนเอง « لِي عَمَلِي وَلَكُمْ عَمَلُكُمْ »

4.ศาสดาได้แสดงจุดยืนที่เด็ดขาดต่อบรรดาผู้ปฏิเสธ « فَقُل لِي عَمَلِي وَلَكُمْ عَمَلُكُمْ »

5.ผลดีและผลเสียจะย้อนกลับไปหาผู้กระทำเท่านั้น « لِي عَمَلِي وَلَكُمْ عَمَلُكُمْ » (คำว่าสำหรับฉัน« لِي »และสำหรับท่าน«لَكُمْ»มาก่อนคำว่าการกระทำของฉัน« عَمَلِي »และการกระทำของท่าน« عَمَلُكُمْ »)

6.อิสลามคือศาสนาแห่งการใช้เหตุผลและจริยธรรม ไม่ใช่ประนีประนอมกับผู้ปฏิเสธ ในเมื่อพวกเขาไม่ยอมรับในสัจธรรม ก็จงแสดงออกไปเลยว่าเราเองก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆที่จะต้องมารับผิดชอบพฤติกรรมและความเชื่อของพวกเขาเช่นกัน « أَنتُم بَرِيئُونَ ، وَأَنَا بَرِي‏ءٌ »

7.ความพึงพอใจที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลหนึ่งจะทำให้เรามีส่วนร่วมในการกระทำของเขาด้วย ไม่ว่าจะเป็นบาปบุญคุณโทษของเขาก็ตาม « أَنتُم بَرِيئُونَ ، وَأَنَا بَرِي‏ءٌ » (สาเหตุที่ผลของการกระทำจะมีเฉพาะแด่คนคนนั้นก็เพราะทั้งตัวเราและตัวเขาต่างก้ไม่ได้มีความพึงพอใจต่อการงานของอีกฝ่าย)

เหตุการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในประวัติศาสตร์

1.เหตุการณ์ของรอซูลุลลอฮฺ ซล.

อบูอุบัยดะฮ์ กล่าวว่า ฉันได้ยินอิมาม ศอดิก อ. กล่าวว่า
เมื่อท่านศาสนทูต ซล. ได้พิชิตนครมักกะฮ์สำเร็จ ท่านได้ไปยืนที่ภูเขาศอฟาและกล่าวว่า

โอ้ บุตรแห่งฮาชิม! โอ้ บุตรแห่งอับดุลมุตตอลิบ! ฉันคือศาสนทูตแห่งพระเจ้าที่มายังพวกท่าน ฉันมีความเมตตาต่อพวกท่าน, จงอย่ากล่าวว่าฉันเป็นส่วนหนึ่งของพวกท่าน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ซบ. ฉันไม่เป็นมิตรต่อผู้ใดในหมู่พวกท่านหรือคนอื่นๆนอกจากพวกท่านเว้นเสียแต่ว่าเขาจะเป็นมุตตะกีนผู้มีความยำเกรงเท่านั้น.
 พวกท่านอย่าได้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาในวันพิพากษาในสภาพที่แบกบาปกรรมที่ทำไว้ในโลกนี้และคนอื่นๆกลับฟื้นคืนชีพมาในสภาพที่แบกเสบียงสำหรับโลกหน้ามาเลย (หมายถึงว่า พวกท่านที่เป็นสายเลือดของฉัน อย่าได้หลงทางในขณะที่คนอื่นๆกลับได้รับทางนำเลย)!
พึงรู้ไว้เถิดว่าฉันได้พูดทุกอย่างที่สำคัญไปหมดแล้วและไม่เหลือสิ่งใดติดค้างพวกท่านอีก! ขอพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพยานในสิ่งนี้ การงานของฉันเป็นของฉัน และการงานของพวกท่านเป็นของพวกท่าน (لی عَمَلی وَ لَکُمْ عَمَلُکُمْ)

2.เหตุการณ์ของอิมามฮุเซน อ.

ในประวัติศาสตร์ รัยยาชีได้บันทึกไว้ว่า เมื่ออิมามฮุเซน อ. ได้เดินทางออกจากเมืองมักกะฮฺ(เพื่อไปสู่กัรบะลา) ผู้นำสารของอัมรฺ บินซะอีดบินอาศ ซึ่งนำโดยยะฮฺยา บินซะอีด ได้เข้ามาขวางกองคาราวานของอิมามฮุเซน อ. เพื่อให้อิมามถอยกลับไป แต่อิมาม อ. ไม่สนใจพวกเขาเหล่านั้น (จนกระทั่งทั้งสองกองคาราวาน)เกิดการปะทะกันรุนแรงขึ้น แต่อิมาม อ. เลือกที่จะเดินทางต่อไป พวกคนนำสารจึงเข้าไปขวางท่านอิมาม อ. อีก แล้วกล่าวว่า
โอ้ฮุเซน ! ที่เจ้าได้แยกตัวจากมุสลิมส่วนใหญ่และเจ้าได้สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชาตินั้น เจ้าไม่เกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ ซบ. บ้างหรือ?
ท่านอิมาม อ. ได้ตอบว่า
‎«لی عَمَلی وَ لَکُمْ عَمَلُکُمْ أَنْتُمْ بَریئُونَ مِمَّا أَعْمَلُ وَ أَنَا بَریءٌ مِمَّا تَعْمَلُونَ»

 “การงานของฉันเป็นของฉัน และการงานของพวกท่านเป็นของพวกท่าน พวกท่านไม่ต้องรับผิดชอบสิ่งที่ฉันกระทำ และฉันก็ไม่รับผิดชอบสิ่งที่พวกท่านกระทำ”

‎الرّسول (صلی الله علیه و آله)- عَنْ أَبِی عُبَیْدَهًْ قَالَ: سَمِعْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ (علیه السلام) یَقُول لَمَّا فَتَحَ رسول‌الله (صلی الله علیه و آله) مَکَّهًْ قَامَ عَلَی الصَّفَا فَقَالَ یَا بَنِی هَاشِمٍ یَا بَنِی‌عَبْدِ‌الْمُطَّلِبِ (علیه السلام) إِنِّی رسول‌الله إِلَیْکُمْ وَ إِنِّی شَفِیقٌ عَلَیْکُمْ لَا تَقُولُوا إِنَّ مُحَمَّداً (صلی الله علیه و آله) مِنَّا فَوَ اللَّهِ مَا

alhassanainth, [4/16/2022 12:38 PM]
أَوْلِیَائِی مِنْکُمْ وَ لَا مِنْ غَیْرِکُمْ إِلَّا الْمُتَّقُونَ فَلَا أَعْرِفُکُمْ تَأْتُونِی یَوْمَ الْقِیَامَهًْ تَحْمِلُونَ الدُّنْیَا عَلَی رِقَابِکُمْ وَ یَأْتِی النَّاسُ یَحْمِلُونَ الْآخِرَهًْ أَلَا وَ إِنِّی قَدْ أَعْذَرْتُ فِیمَا بَیْنِی وَ بَیْنَکُمْ وَ فِیمَا بَیْنَ اللَّهِ عَزَّوَجَلَّ وَ بَیْنَکُمْ وَ إِنَّ لِی عَمَلِی وَ لَکُمْ عَمَلُکُمْ

‎تفسیر اهل بیت علیهم السلام ج۶، ص۴۷۲ بحار الأنوار، ج۲۱، ص۱۱۱/ بحار الأنوار، ج۶۸، ص۱۸۸

‎الحسین (علیه السلام)- فِی کِتَابِ تَارِیخٍ عَنِ الرِّیَاشِی ... خَرَجَ الْحُسَیْنُ (علیه السلام) مِنْ مَکَّهًْ فَاعْتَرَضَتْهُ رُسُلُ عَمْرِوبْنِ‌سَعِیدِ‌بْنِ‌الْعَاصِ عَلَیْهِمْ یَحْیَی‌بْنُ‌سَعِیدٍ لِیَرُدُّوهُ فَأَبَی عَلَیْهِمْ وَ تَضَارَبُوا بِالسِّیَاطِ وَ مَضَی (علیه السلام) عَلَی وَجْهِهِ فَبَادَرُوهُ وَ قَالُوا یَا حُسَیْنُ (علیه السلام) أَ لَا تَتَّقِی اللَّهَ تَخْرُجُ مِنَ الْجَمَاعَهًْ وَ تُفَرِّقُ بَیْنَ هَذِهِ الْأُمَّهًْ فَقَالَ لِی عَمَلِی وَ لَکُمْ عَمَلُکُمْ أَنْتُمْ بَرِیئُونَ مِمَّا أَعْمَلُ وَ أَنَا بَرِیءٌ مِمَّا تَعْمَلُونَ

‎تفسیر اهل بیت علیهم السلام ج۶، ص۴۷۴ بحار الأنوار، ج۴۴، ص۳۶۸

บทความโดย เชคมูฮัมหมัดตะกี มาลาสา

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม