เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ทำไมชีอะฮ์ต้องใช้อัลกุรอานทูนศรีษะในเดือนรอมฎอนด้วย?

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ทำไมชีอะฮ์ต้องใช้อัลกุรอานทูนศรีษะในเดือนรอมฎอนด้วย?

 


#หนึ่งในปัญหาที่ถกเถียงกันไม่หยุด ที่ชนกลุ่มหนึ่งพยายามใส่ร้ายชนอีกกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะในช่วงวาระแห่งค่ำคืน ลัยละตุลกอดร์ นั้น คือทำไมต้องเอาอัลกุรอานมาวางไว้บนศรีษะและดุอาห์ขอพร จริงๆแล้วกรุอานมีไว้สำหรับเพื่อการอ่านและการปฏิบัติเท่านั้น ไม่ใช่เอามาวางไว้บนศรีษะ การกระทำเช่นนี้มันเป็นการบิดอะฮใช่หรือไม่?!!

คำตอบที่แท้จริงและความถูกต้องที่ตั้งอยู่พิ้นฐานแห่งที่มา แน่นอนว่ากรุอานมีไว้สำหรับการอ่านและการปฏิบัติไม่สามารถปฏิเสธในสิ่งนั้นได้ แต่การเอากรุอานมาวางไว้บนศรีษะนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกห้ามไว้แต่อย่างใด!!

เรื่องนี้แน่นอนที่สุดจะต้องมีที่มาโดยเฉพาะแบบฉบับของท่านนบีและบรรดาอะลุลบัยต์ การกระทำดังกล่าวนอกเหนือจากไม่ได้เป็นที่ต้องห้ามแล้ว ยังมีสายรายงานจากพี่น้องชาวสุนนะฮเสียด้วซ้ำว่าการกระทำดังถือว่าอนุมัติให้กระทำได้ซึ่งพวกเขาต่างยืนยันว่า อมีรุลมุมินีน อ.เคยปฏิบัติเช่นนี้มาก่อน

ท่านอบูยูซุฟ ได้นำริวายัตบทหนึ่ง ในตำราชื่อว่า อัลมะริฟะฮ วัตตะรีค ว่า:

حَدَّثَنَا عَبْدُ الْعَزِيزِ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ الْأُوَيْسِيُّ، ثنا إِبْرَاهِيمُ بْنُ سَعْدٍ، عَنْ شُعْبَةَ، عَنْ أَبِي عَوْنٍ مُحَمَّدِ بْنِ عُبَيْدِ اللَّهِ الثَّقَفِيِّ، عَنْ أَبِي صَالِحٍ الْحَنَفِيِّ، قَالَ: رَأَيْتُ عَلِيَّ بْنَ أَبِي طَالِبٍ عليه السلام أَخَذَ الْمُصْحَفَ فَوَضَعَهُ عَلَي رَأْسِهِ حَتَّي لَأَرَي وَرَقَهُ يَتَقَعْقَعُ، ثُمَّ قَالَ: " اللَّهُمَّ إِنَّهُمْ مَنَعُونِي أَنْ أَقُومَ فِي الْأُمَّةِ بِمَا فِيهِ، فَأَعْطِنِي ثَوَابَ مَا فِيهِ ...

จากท่านอบู ศอลิห์ หะนาฟีย์ รายงานว่า "ครั้งหนึ่งฉันเห็นท่านอลี บิน อบีฏอลิบ เอากรุอานมาวางไว้เหนือศรีษะ จนกระทั้งฉันได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวของแผ่นกระดาษ(กรุอาน)นั้น จากนั้นท่านอลีกล่าวขึ้นว่า โอ้พระองค์ พวกเขาได้หักห้ามและสกัดฉันเพื่อไม่ให้ฉันทำหน้าที่ในการปกครองเหนือประชาชาติด้วยอัลกรุอาน แต่ถึงจะกระนั้นแล้ว โอ้พระองค์ โปรดประทานผลแห่งความดีงานนั้นแก่ฉันด้วยเถิด..."

ที่มา:
الفسوي ، أبو يوسف يعقوب بن سفيان (متوفاي277هـ) ، المعرفة والتاريخ، ج 2، ص751، تحقيق: الدكتور أكرم ضياء العمري ، ناشر: ناشر: مكتة الدار ـ المدينة المنورة ، الطبعة الأولي ، 1410هـ .

ابن كثير الدمشقي، ابوالفداء إسماعيل بن عمر القرشي (متوفاي774هـ)، البداية والنهاية، ج 7، ص610، ناشر: مكتبة المعارف - بيروت.

البلاذري، أحمد بن يحيي بن جابر (متوفاي279هـ)، أنساب الأشراف، ج1، ص 348، طبق برنامه الجامع الكبير.

الذهبي الشافعي، شمس الدين ابوعبد الله محمد بن أحمد بن عثمان (متوفاي 748 هـ)، سير أعلام النبلاء، ج 3، ص 144، تحقيق : شعيب الأرناؤوط , محمد نعيم العرقسوسي ، ناشر : مؤسسة الرسالة - بيروت ، الطبعة : التاسعة ، 1413هـ
_______

จึงเป็นที่กระจ่างชัดว่า การกระทำดังกล่าวนอกเหนือการไม่ได้เป็นการบิดอะฮแล้วยังส่งเสริมพี่น้องมุสลิมกระทำในสิ่งนั้นได้เช่นชนบางกลุ่มของพี่น้องมุสลิมเรากระทำกันในค่ำคืน แห่งลัยละตุลกอดร์


บทความโดย เชคยูซุฟ เพรชกาหรีม

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม