ใครให้สลามใครในรัตติกาลลัยละตุลก็อดรฺ?

 

ใครให้สลามใครในรัตติกาลลัยละตุลก็อดรฺ?

 

سَلامٌ هِيَ حَتَّى مَطْلَعِ الْفَجْرِ «»

“สลาม” ศานติแห่งรัตติกาลตราบรุ่งอรุณ

“สลาม” سَلامٌ ถูกกล่าวในความหมาย “สะละมะฮฺ ความปลอดภัยจากภัยบะลาอ์และความชั่วช้าเลวทราม ในโองการ

اُدْخُلُوها بِسَلامٍ ذلِكَ يَوْمُ الْخُلُودِ

“สูเจ้าจงเข้าไปในสวนสวรรค์ด้วยความศานติ นั่นคือวันแห่งการพำนักชั่วนิจนิรันดร” (กอฟ 50 : 34)

سَلامٌ هِيَ‏ حَتَّى مَطْلَعِ الْفَجْرِ

“สลาม” ศานติแห่งรัตติกาลตราบรุ่งอรุณ

และถูกกล่าวในความหมายการให้สลามในโองการ

فَقُلْ سَلامٌ عَلَيْكُمْ‏

“จงกล่าวกับชาวสวรรค์ว่า ขอความสันติพึงมีแด่ท่านทั้งหลาย” (อัลอะอฺรอฟ 7 : 46)

#สารธรรมสำคัญจากโองการนี้

1. “สลาม” «سَلامٌ» คือหนึ่งในพระนามอันไพจิตรของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่พระองค์ทรงตรัสในโองการ

هُوَ اللَّهُ الَّذِي لا إِلهَ إِلَّا هُوَ الْمَلِكُ الْقُدُّوسُ السَّلامُ‌

"พระองค์คืออัลลอฮฺ ที่ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ผู้ทรงอำนาจสูงสุด ผู้ทรงพิสุทธิ์ ผู้ทรงความศานติสุข"  (อัลหัจญ์รุ 59 : 23)

ความหมายของ “สลาม” ในโองการนี้ก็คือพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ทรงมีต่อปวงบ่าวเป็นกรณีพิเศษในรัตติกาลอานุภาพ “ลัยละตุลก็อดรฺ” หมายถึงความสะละมะฮฺ เราะหฺมะฮฺ บะรอกะฮฺ แด่ปวงบ่าว

ในขณะที่พระองค์ทรงปิดประตูลั่นกุญแจ “อะซาบ” การลงโทษและการทรมาน เพราะในค่ำคืนนั้น “วัสวะสะฮฺ” การกระซิบกระซาบล่อลวงของซาตานมารร้ายจะไม่สัมฤทธิ์ผล

ใน “ลัยละตุลก็อดรฺ” #มวลมลาอิกะฮฺจะเสด็จลงมาซิยาเราะฮฺปวงบ่าวที่กำลังประกอบอิบาดะฮฺ #และจะกล่าวทักทายให้สลามกับปวงบ่าวกัลยาณชน #เฉกเช่นที่จะกล่าวทักทายให้สลามเพื่อเป็นการ “อิสติกบาล” ต้อนรับชาวสวรรค์ในวันกิยามะฮฺ

2. “ลัยละตุลก็อดรฺ” คือรัตติกาลที่เต็มไปด้วย “สะละมะฮฺ” จากอัลลอฮฺ ตะอาลา

«سَلامٌ هِیَ حَتّی مَطْلَعِ الْفَجْرِ»

3. “ลัยละตุลก็อดรฺ” คือรัตติกาลที่เต็มไปด้วย  “เราะหฺมะฮฺ” ที่พระองค์เปิดประตูแห่ง “เตาบะฮฺ” การกลับตัวกลับใจ และประตูแห่งความเมตตาแด่ปวงบ่าวอย่างเต็มที่

«سَلامٌ هِیَ حَتّی مَطْلَعِ الْفَجْرِ»

4. “ลัยละตุลก็อดรฺ” คือรัตติกาลที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงลิขิตชะตาชีวิตในปีต่อไปของเราท่านทั้งหลาย บนพื้นฐานของ “สะอาดะฮฺ” ความผาสุก ความสันติสุข และโชคผล ยกเว้นคนที่ต้องการเป็นอย่างอื่น

«سَلامٌ هِیَ حَتّی مَطْلَعِ الْفَجْرِ»

«والحمدللّه ربّ العالمین»

Risalah Qomi